KR 2.1.1

การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากหันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยการวัดผลในผู้ใช้จริง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1 การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากฟันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือ โดยการวัดผลในผู้ใช้จริง ผู้จัดทำโครงการ​ ผศ.ทญ.ดร.ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​                ในการรักษาทางทันตกรรมการรักษาคลองรากฟันเป็นหนึ่งในงานที่ทันตแพทย์ต้องให้การรักษาเป็นประจำเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ลุกลามเข้าสู่คลองรากฟันหรือกำจัดหนองปลายรากฟัน ฟันทุกซี่จะมีส่วนของคลองรากฟันเป็นที่อยู่ของเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่ภายใน หากมีฟันที่ผุลุกลามหรือมีการติดเชื้อจากสาเหตุใดก็ตามทะลุไปถึงคลองรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะต้องเปิดคลองรากฟันเพื่อเข้าไปกำจัดเชื้อและอุดคลองรากให้สมบูรณ์ให้ฟันซี่นั้นสามารถใช้งานต่อได้โดยปราศจากเชื้อโรค                ฟันของมนุษย์มีหลายรูปร่างและหลายหน้าที่เช่น ฟันตัดด้านหน้า ฟันกรามบดเคี้ยวด้านหลัง ซึ่งฟันแต่ละซี่จะมีจำนวนของคลองรากฟันไม่เท่ากัน ในฟันหลังเช่น ฟันกรามน้อย ฟันกราม มักจะประกอบไปด้วยมากกว่า 1 คลองรากฟัน ในการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อโรคนั้นมีความสำคัญมากที่จะต้องรักษากำจัดเชื้อโรคให้ครบทุกครองรากอย่างดีไม่ให้ยังคงเหลือของเชื้อโรคและลุกลามต่อไปได้อีก การรักษาคลองรากฟันนั้นประกอบไปด้วยหลายขึ้นตอนตั้งแต่การล้างให้สะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และการอุดปิดคลองราก ใช้ระยะเวลาการรักษาอาจจะมากกว่าหนึ่งครั้งจนเสร็จ และต้องมีระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาต่อเนื่องอีกหลายเดือน-ปี                รากฟันเป็นอวัยวะที่อยู่ในกระดูกเบ้าขากรรไกร การตรวจดูผลการรักษานั้นทำได้โดยวิธีเดียวคือการถ่ายภาพรังสีบริเวณรากฟัน เพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษาในขั้นตอนต่างๆ และดูผลสำเร็จของการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการตรวจดูอาการของผู้ป่วยและการตรวจทางคลินิก ดังนั้นในฟัน 1 ซี่ที่ประกอบไปด้วยหลายคลองรากฟัน การถ่ายภาพรังสีรากฟันมักจะมีโอกาสที่รากฟันหนึ่งจะบดบังอีกรากหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้ถ่ายภาพรังสีต้องเอียงกระบอกรังสีหลบให้เกิดการถ่ายลักษณะเฉียง ๆ ให้ได้เห็นรากแบบไม่ซ้อนทับกัน การเอียงหลบของกระบอกรังสีนั้นทำโดยการคาดคะเนจากผู้ถ่ายภาพรังสีตามความถนัดของแต่ละบุคคล บ่อยครั้งยังมีการซ้อนทับกันของรากในภาพรังสี ต้องทำการถ่ายภาพรังสีหลายครั้งโดยเปลี่ยนมุมในการเอียงหลบเพื่อให้สามารถมองเห็นทุกคลองรากได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีจากการเอ็กซ์เรย์ฟันหลายครั้งโดยไม่จำเป็น และเสียเวลาทำงานในการทำให้มีประสิทธิภาพในระยะเวลาจำกัด เนื่องจากมีการซ้อนทับกันของคลองรากทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงองศาในการถ่ายภาพรังสีจนกว่าจะเห็นคลองรากที่ไม่ซ้อนทับกัน โดยการคาดคะเนองศาต่าง ๆ มักเป็นการประมาณของแต่ละบุคคล ไม่มีความแน่นอน                จึงมีการคิดแก้ไขปัญหาความไม่แม่นยำของการวางกระบอกรังสีนี้ ด้วยเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยเข้ามาส่งเสริมการถ่ายภาพรังสีในกรณีที่ต้องมีการเอียงกระบอกรังสีเพื่อให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน และลดการใช้เวลาในการถ่ายภาพรังสี รวมถึงการได้รับรังสีมากเกินความจำเป็นของผู้ป่วย  ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้           อาจารย์จึงได้นำเอาสถิติของฟันแต่ละซี่มาวิเคราะห์ดูก่อนว่ามักจะต้องเอียงกระบอกถ่ายรังสีที่กี่องศาในการถ่ายภาพรังสีให้รากฟันไม่ซ้อนทับกัน โดยนำมาวิเคราะห์ที่ 20 25 30 35 องศาตามลำดับ แล้วมาจัดทำเครื่องมือชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วางทาบอุปกรณ์จับฟิล์มที่ใช้ถ่ายรังสีในงานรักษาคลองรากทั่วไป โดยร่วมกับการจัดตำแหน่งกระบอกรังสี เป็นอุปกรณ์เสริมที่ยังไม่พบเครื่องมือลักษณะนี้มีการขายในท้องตลาดมาก่อน เครื่องมือนี้จะช่วยวางองศาความเอียงของกระบอกถ่ายรังสีได้แม่นยำในองศาที่เลือกโดยไม่ต้องทำการคาดคะเนเองตามความถนัดส่วนบุคคล โดยจากการทำวิจัยพบว่ามีการวางมุมที่ 20 องศาเป็นหลัก โดยทดสอบจากทันตแพทย์ทั่วไปที่ให้การรักษาคลองรากฟัน และทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมเอ็นโดดอนต์ หลังจากการทำวิจัยจึงได้เน้นผลิตเครื่องมือที่ 20 องศาเป็นหลัก ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร.ทญ. ปิยะนุช กรรณสูต วิทยาลัยทันแพทยศาสตร์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              อาจารย์ได้สร้างนวัตกรรมของเครื่องมือ ชื่อ RSU shifter เป็นเครื่องมือที่ไว้วางตำแหน่งเอียงของกระบอกเครื่องถ่ายภาพรังสีที่ 20 องศา หลังจากวิเคราะห์แล้วว่าเป็นมุมที่มีประโยชน์ในการใช้งานให้ถ่ายภาพรังสีได้ไม่เกิดการซ้อนทับของคลองรากมากที่สุด เครื่องมือนี้มีน้ำหนักเบา จัดเก็บง่าย ทำความสะอาดง่าย และใช้งานง่าย สามารถใช้งานกับอุปกรณ์จับฟิล์มหลายชนิดที่มีใช้ตามท้องตลาดทั่วไป ได้ทุกแบบ ผู้ถ่ายภาพรังสีสามารถทำคนเดียวได้ และเครื่องมือยังมีความคงทนสูง สามารถฆ่าเชื้อและนำกลับมาใช้ซ้ำได้                หลังจากสร้างชิ้นงานนวัตกรรมขึ้นแล้ว อาจารย์ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยเพื่อดูผลการใช้งานว่ามีประโยชน์และมีประสิทธิภาพเพียงใด รวมถึงรวบรวมข้อเสียจากการใช้งานมาต่อยอดปรับปรุงชิ้นงานนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อย ๆ  2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 ได้มีการทำวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ หาข้อบกพร่องและนำมาปรับปรุงชิ้นงานในหลายขึ้นตอน การผลิตชิ้นงานนั้นเริ่มจาก version ที่ 1 เป็นเครื่องมือตัวแรกชื่อ PLK jig ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกที่ได้ทำการจดอนุมัติสิทธิบัตร และนำมาทำวิจัยโดยการใช้งาน จึงพบปัญหาหลายอย่างจนพัฒนามาเป็นเครื่องมือ RSU shifter ในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือชิ้นปัจจุบันได้ปรับปรุงข้อเสียของ version ที่ 1 ให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือถ่ายภาพรังสีที่ใช้กันอยู่แล้วในคลินิก ลดการปนเปื้อนของน้ำลาย และใช้งานง่ายขึ้น โดยได้มีการทำวิจัยวัดผลและตีพิมพ์ไปแล้วเช่นกัน ใน World journal of dentistry ในปี 2021 ในบทความเรื่อง A Novel 20° X-ray Angle Shifter for Superimposed Canal Separation โดยทำการวิจัยเครื่องมือที่เอียง 20 องศาในฟันกราม                หลังจากการวัดผลการใช้งานด้วยงานวิจัย ปัจจุบันอาจารย์ก็ได้ทำงานวิจัยเพื่อประเมินเพิ่มเติมอีก โดยเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้และความแม่นยำของวิธีแบบดั้งเดิมจากการคาดคะเนโดยผู้ถ่ายภาพรังสึโดยไม่ใช้เครื่องมือ RSU shifter เปรียบเทียบกับการใช้เครื่องมือที่ได้ผลิต (horizontal shift technique) เป็นการวัดผลกับผู้ใช้อย่างแท้จริงว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปอย่างแท้จริงรึเปล่า และภาพรังสีที่ได้นั้นแตกต่างกันจริงหรือไม่ พบว่าการใช้เครื่องมือ RSU shifter สามารถลดระยะเวลาการถ่ายภาพรังสีได้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพรังสีมุมเดิมในการติดตามการรักษาของรากฟันเดิมในครั้งถัด ๆ ไปได้เป็นอย่างดี ส่วนในกลุ่มผู้ถ่ายภาพรังสีที่มีความเคยชินกับการถ่ายแบบคาดคะเนด้วยตนเองแบบเก่านั้นพบว่า อาจจะยังไม่คุ้นชินกับเครื่องมือเท่าการกะประมาณด้วยตนเองซึ่งอาจจะไม่สามารถถ่ายภาพรังสีในมุมซ้ำเดิมได้ในระยะติดตาม แต่ทั้งนี้พบว่าการใช้เครื่องมือนี้ภาพรังสีที่ได้จะมีคุณภาพที่ดีขึ้นในการเปรียบเทียบ ติดตามผลการรักษา           เครื่องมือนี้ได้ถูกพัฒนาจาก version ที่ 1 มาเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน (10 ปี)  ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องและแก้ไขมาจนปัจจุบัน ซึ่งเครื่องมือที่ได้ถือว่าเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน เปรียบเทียบผล recall ติดตามผลการรักษาได้ดีกว่าในฟันที่รักษาคลองรากฟัน          3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่             การสร้างงานนวัตกรรมเป็นงานวิจัยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาว่างานมีข้อบกพร่องอะไร เมื่อผลวิจัยบ่งชี้ออกมาก็สามารถเอาไปแก้ไข้ชิ้นงานนวัตกรรมนั้นอีก เพราะสิ่งที่ประดิษฐ์แล้วได้ใช้งานก็นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเป็นเครื่องมือที่ดีขึ้น และทำวิจัยกับเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปอีกทำให้ได้ชิ้นงานที่ใช้งานได้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง                    อีกทั้งยังทำให้อาจารย์เกิดผลงานทั้งงานนวัตกรรมและงานวิจัยในชิ้นงานเดียว พออาจารย์ลงมือทำให้จะเห็นแนวทางการต่อยอด รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานให้ต่อยอดชิ้นงานไปได้อีก สิ่งที่อาจารย์ได้คิดต่อไปอีกคือการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็น set เครื่องมือที่ใช้ถ่ายภาพรังสี เนื่องจากในท้องตลาดมีการขายหลายรูปแบบ การใช้งานตามแต่ความถนัดของผู้ถ่ายภาพรังสี อาจารย์จึงคิดที่จะทำ set ของเครื่องมือที่รวบรวมทุกเทคนิคไว้ด้วยกัน ทั้งนี้คนในปัจจุบันชอบสิ่งที่มีความสะดวกสูง และมีความง่ายในการใช้งาน อาจารย์จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ใช้งานง่ายขึ้นอีก ซึ่งแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆนี้ก็ล้วนเกิดขึ้นจากการทดสอบการใช้งานจากงานวิจัยที่พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะให้คำแนะนำออกมาในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice               เวลาเป็นสิ่งที่เร่งรัดนักประดิษฐ์ การผลิตที่ใช้เวลานานก็อาจจะทำให้สิ่งประดิษฐ์นั้นล้าสมัย แต่ในมุมมองของนักวิชาการก็ถือเป็นการได้ประโยชน์ในการทำงานวิชาการมากกว่าการทำธุรกิจ และแน่นอนว่ายังเกิดประโยชน์อย่างสูงในส่วนของการเรียนการสอน และการใช้จริงกับผู้ป่วยในคลินิก                การทำวิจัยจากนวัตกรรมให้สำเร็จนั้น อาจารย์ได้แนะนำว่าให้สร้างนวัตกรรมแล้วส่งจดสิทธิบัตร เมื่อมีการจดสิทธิบัตรแล้วก็สามารถนำเครื่องมือไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการนำมาทำวิจัยต่อ จะพบว่าของที่ประดิษฐ์ชิ้นนั้นมีประโยชน์ และได้ค้นพบว่าเครื่องมือที่ตนเองผลิตขึ้นมามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จนมาถึงเครื่องมือชิ้นล่าสุดที่ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ และมีประโยชน์กับนักศึกษามาก                การทำงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัยรังสิตในการส่งเสริมให้จัดทำชิ้นงาน แต่เวลาในการทำมีไม่มากเนื่องจากมีตารางการสอนที่ค่อนข้างเต็มเวลา อาจจะต้องใช้เวลานอกในการทำผลงานบ้าง แต่ต้องทำไปเรื่อย ๆ ไม่ทอดทิ้ง ก็จะได้ผลงานที่เป็นประโยชน์ออกมา ง่ายต่อผู้ใช้งานจริง และอยากให้ผู้ใช้ได้นำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษา           อย่างไรก็ตามอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ จะเป็นการดีถ้ามหาวิทยาลัยสามารถมีทีมที่สนับสนุนคอยชี้แนะให้ผลงานสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้

การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือวางองศาการถ่ายภาพรังสีเพื่อการรักษารากหันหลายคลองราก ไปสู่การทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือโดยการวัดผลในผู้ใช้จริง Read More »

How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3 How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1) ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.ดร.เฟื่องฉัตร จรินทร์ธนันต์ ผศ.ดร.อภิชัย ศรีเพียร ดร.อุทัยพร สิงห์คำอินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​              เนื่องจากปัจจุบันการศึกษาและทำวิจัยเป็นอีกหนึ่งภาระงานทีมีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อองค์กร สำหรับทางด้านวิชาการ และการเรียนการสอน  บุคลากรบางท่านอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารวิชาการต่าง ๆ การจัดการความรู้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1 โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อย่างมากมาย จะทำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งอาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้านอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้ เลือกหัวข้อวิจัยโดยหัวหน้าทีมผู้วิจัย ทีมผู้วิจัยดำเนินการประเมิน โดยการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดความเป็นไปได้ กำหนดสมมติฐาน หรือวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ทันสมัย ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์และผลการทดลอง ขอจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรม รับรองความยินยอม และการรักษาความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย รวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีการใช้สถิติที่ถูกต้องเหมาะสม พิจารณาเลือกลงตีพิมพ์ในวารสาร Q1 และวารสารที่มี impact factor สูง ร่างต้นฉบับโดยทำตามคำแนะนำจาก website ของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การแก้ไขภาษาอังกฤษ และการทบทวนเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ การออกแบบระเบียบวิธีวิจัย การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดงานวิจัย การขอจริยธรรม           การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การเขียน และการสื่อสารในการทำงานที่เป็นทีม กระบวนการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การตรวจสอบภาษาอังกฤษ การสร้างเครือข่าย และการทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด  ผศ.ดร. จตุรวัฒน์ ปวีณวงศ์ชัย และ ดร.นิภาพร เทวาวงค์ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้              คัดเลือกวารสารที่มีขอบเขตงานวิจัยตรงกับงานวิจัยของตน รวมทั้งมีการตรวจสอบ quartile และ impact factor จาก website เช่น scopus งานวิจัยที่จะลงใน Q1 ควรมีการทดลองที่หลากหลาย ใช้เทคนิคที่ทันสมัย จำนวน sample มากพอสมควร ตรวจสอบและจัดทำ manuscript ตามคำแนะนำของวารสารให้ถูกต้อง เขียน cover letter ถึง editor ด้วยประเด็นที่สำคัญ น่าสนใจ หลังจาก submit คอยติดตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการแก้ไขตามคำแนะนำด้วยความรอบคอบ หากถูก reject ไม่ควรท้อ ควรปรับปรุง และส่งวารสารอื่นที่ตรงกับขอบเขตงานวิจัยของตน 2. Prototype testing in an operational environment – DO      ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน                 1. กำหนดวัตถุประสงค์ และการสรุปผลที่ชัดเจน โดยการเขียนบทคัดย่อที่มีความถูกต้องชัดเจน มีจุดน่าสนใจ การเขียนบทคัดย่อและ manuscript สำหรับการตีพิมพ์อาจมีอุปสรรคด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เลือกสถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยที่เหมาะสม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง สถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยอาจมีไม่เพียงพอ จะต้องมีการวางแผนจัดสรรให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงาน ต้องมีการขอจริยธรรม Ethical Considerations และ IBC (Institutional Biosafety Committee) ให้เรียบร้อย ซึ่งการขอหนังสือรับรองดังกล่าวอาจใช้เวลานาน ดังนั้นการทำวิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนให้รอบคอบรัดกุม เพื่อให้การขอหนังสือดังกล่าวไม่เป็นการรบกวนเวลาปฏิบัติการวิจัย มีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอาจจำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติโดยเฉพาะ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลการทดลอง พร้อมบันทึกเป็น Files ให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการสำรองข้อมูลทั้งหมดให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการสูญหายของาข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง และความสามารถในการทำซ้ำได้ การจัดทำเอกสาร และการรายงาน เพื่อความโปร่งใส แบ่งสัดส่วนผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ซึ่งถ้าเป็นการแบ่งสัดส่วนอย่างไม่ยุติธรรมและเท่าเทียมอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาได้ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการปรับปรุงซ้ำ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือเป็นการช่วยทบทวนให้ผลงานมีความถูกต้องมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรมในการวิจัยที่ดีต่อผู้ร่วมงาน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทิศทางงานวิจัยในอนาคต เพื่อจะได้การตีพิมพ์ในมาตราฐานที่ดี 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดการความรู้งานวิจัยแต่ละสาขา การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะทำให้ผลงานการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับจากวารสารทางวิชาการ และมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ขอบเขตงานวิจัยตรงกับวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการที่ตรงสายงานจะทำให้ได้รับการแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผลงานและเป็นการปรับปรุงให้ผลงานนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ทดสอบโดยการทำซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้ผลเหมือนเดิม การทดสอบซ้ำและให้ผลการทดสอบเหมือนเดิม มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่องานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว และการทดสอบเป็นที่ยอมรับสามารถทำซ้ำได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าการทดสอบไม่สามารถทำซ้ำได้ จะถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิจัยจากทั่วโลกถึงมาตรฐานการวิจัยของตัวนักวิจัยเอง และอาจส่งผลร้ายแรงต่อนักวิจัยถ้างานวิจัยนั้นถูกถอดถอนจากวารสารทางวิชาการ (retraction) ทบทวนผลงานวิจัยว่าเป็นที่ยอมรับในวารสารที่จะส่ง ก่อนส่ง manuscript ให้วารสารทางวิชาการพิจารณา ผู้วิจัยจะต้องแน่ใจว่าผลงานวิจัยมีความครบถ้วนครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่เสนอในตอนแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น ติดตามและแก้ไข เมื่อมีการตอบกลับจาก editor การแก้ไขตามคำแนะนำของ editor หรือ reviewer จะช่วยทำให้ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้ง คำแนะนำดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้นักวิจัยจะต้องพิจารณาตามความถูกต้องและเหมาะสม ปรับรูปแบบผลงานชื่อ สถานที่ เพื่อรอการตีพิมพ์ซึ่งในแต่ละวารสารระยะเวลาการตีพิมพ์ไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะเวลาการตีพิมพ์ของแต่ละวารสารทางวิชาการไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนว่าต้องการตีพิมพ์ในวารสารใด และปัจจุบันแหล่งทุนมักจะถามถึงผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้อาจจะนำเสนอในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับความสำคัญต่างๆ เช่น T1 หรือ Q1 เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ระหว่างทีมวิจัย ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และนอกองค์กร จากประสบการณ์ในการตีพิมพ์ ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรความรู้ หนังสือ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อให้ได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยและการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้ทีมวิจัย บันทึกแนวทางปฏิบัติการทดลองที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ได้รับ ควรมีความปลอดภัย และการรักษาความลับของงานวิจัย ควรสนับสนุนให้เผยแพร่ผลการวิจัย และการมีส่วนร่วม

How to get publisged in Q1 journals? (ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1) Read More »

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 1.3.7, KR 2.1.1, KR 2.1.2, KR 2.1.3, KR 2.1.4,KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.3, KR 2.5.1, KR 2.5.4 การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง ผู้จัดทำโครงการ​ 1) อ.ทพ. ณัฐวุฒิ ศุภชวโรจน 2) อ.ทพ. สิรวิชฐ์ เลิศชาตรีพงษ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​​ 1) ผศ.ทญ.ดร. อุมาพร วิมลกิตติพงศ์ 2) ผศ.ทญ.จิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           – ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : – วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   การทำวิจัยจะทำงานร่วมกันเป็นทีม 2 คน โดยจะมีการแบ่งภาระงานกันชัดเจน เพราะถ้าทำวิจัยคนเดียวอาจทำให้ไม่สามารถส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อเนื่องได้   – มีการสลับกันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยผู้ร่วมวิจัยจะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ทำให้แบ่งเบา และดูแลทีมงานวิจัยได้อย่างทั่วถึง    – มีการวางโครงการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นไปได้ โดยจะพิจารณาศักยภาพของทีมวิจัย เพื่อสร้างกรอบเป้าหมาย หัวข้อ ให้เหมาะสม และมีการดูแลความสัมพันธ์ในทีม เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย   – พิจารณาวารสารที่สนใจตีพิมพ์ตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีเนื้อหา และรูปแบบงานวิจัยที่สอดคล้อง เพิ่มโอกาสในการได้รับการตีพิมพ์   – มีการแบ่งงานในทีมวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษา โดยนักศึกษาโดยจะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยดำเนินการทดลอง และทำให้เกิดผลขึ้นมา แต่ส่วนหลักของงานวิจัยเช่น การสรุปผลหรือการอภิปรายผล ทีมอาจารย์จะเป็นแกนหลัก 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากนักศึกษาที่ร่วมทำการวิจัยเป็นชั้นปีที่เริ่มทำคลินิก มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง ไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทได้อย่างเต็มที่     อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ เป็นเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีอยู่ในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้อุปกรณ์ ของสถาบัน ต้องวางแผนเพื่อจะให้นักศึกษาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเสียเวลาที่จะใช้ในคลินิกของตัวเองที่จะต้องทำงานอยู่แล้วให้น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ    การระบุปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ โดยทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนการวิจัย เพื่อให้แผนงานวิจัย ดำเนินได้เนื่อง และสำเร็จลุล่วงได้ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    การพิจารณาผลงานที่ได้ และมีการปรึกษากันในทีม เพื่อต่อยอดในการเผยแพร่ผลงาน หรือส่งแข่งขันประกวดทั้งในงานวิจัย และนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยจะพิจารณาถึงความตั้งใจของนักศึกษาร่วมด้วย จะมีการกระตุ้นทีมให้นำเสนอผลงานที่ตั้งใจทำ โดยในหลาย ๆ ครั้งพบว่า นักศึกษามีศักยภาพที่จะทำ และสามารถทำได้อย่างดี โดยทั้งนี้ความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้มีความภูมิใจในผลงาน และพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน เพื่อสร้างชื่อเสียงต่อไป ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice         – ควรพิจารณาการจัดสรรเวลาที่ชัดเจน โดยหากสามารถจัดช่วงเวลาของงานวิจัยอยู่ในช่วงที่นักศึกษาไม่ได้มีภาระหนักมาก สามารถให้ความสำคัญกับงานวิจัยได้เต็มที่ น่าจะทำให้ได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าไว้        – การสนับสนุนด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยอำนวยความสะดวก และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้นทุนการวิจัยที่จะลดลงอย่างมาก        – การมีสถาบันร่วมวิจัยที่เป็นทางการ อาจจะช่วยเพิ่มช่องทาง ในการติดต่อ หรือเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยได้มากขึ้น 

การดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง Read More »

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3, KR 2.2.1, KR 2.2.2, KR 2.2.3, KR 2.4.2, KR 2.5.2 เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : โครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​         หลายปีมานี้ยานพาหนะไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประเทศไทยหรือในตลาดโลก เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพาหนะทุกขนาด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า,รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, รวมถึงสกูตเตอร์ไฟฟ้า และในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมทั้งในแง่ของการลดมลพิษ, ประสิทธิภาพของรถ,การประหยัดค่าใช่จ่ายทั้งในแง่การบำรุงรักษาและการชาร์จเทียบกับการเติมน้ำมัน      เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่บริษัท Thai Frostech ได้พัฒนาและจำหน่ายสกูตเตอร์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Momen ได้เล็งเห็นการเติบโตของตลาด รวมถึงการเก็บเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในกลุ่มผู้ใช้งาน สกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบยืนสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม Momen ได้เล็งเห็นตลาดในกลุ่มของสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการรถสมรรถนะสูง ทั้งในแง่ของกำลังขับ ระบบความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ที่ทาง Momen ต้องการเข้าไป      จากปัจจัยข้างต้น Momen จึงได้นำเสนอโครงการเพื่อขอเสนอรับทุน ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้าโมเดลใหม่ชื่อ Momen Mini Bike ซึ่งจะเป็นสกูตเตอร์สมรรถนะสูง ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่รักกิจกรรม โดยเรามีเป้าหมายที่จะสร้างรถสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบนั่งที่มีระบบขับเคลื่อนดีเยี่ยม มีความปลอดภัย ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จ สามารถถอดชิ้นส่วน เคลื่อนย้ายสะดวกใส่ในรถเก๋งได้ ปัจจุบันโครงการ Momen Mini Bike อยู่ในขั้นตอนการเตรียมผลิตต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบและปรับปรุง ก่อนผลิตและจำหน่ายจริง  ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : https://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebaseความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    1. ศึกษาทุนด้านนวัตกรรม ยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม         1.1 ตรวจสอบคุณสมบัติ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าเงื่อนไขและคุณสมบัติตามที่กำหนดในการสมัครโปรแกรม Prove of Concept” (POC) ดังกล่าวข้างต้น        1.2 พิจารณาผลงานปัจจุบันว่ามีความคล้องกับเงื่อนไขทุน และเจตนารมณ์ของโครงการหรือไม่ ซึ่ง Momen Mini Bike มีความสอดคล้องและเข้าเกณฑ์เพื่อรับทุนจากกองทุน TED FUND ในหลายด้าน ดังนี้ :              1)  “Prove of Concept (POC)”: Momen Mini Bike เป็นต้นแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและนำไปสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับความต้องการของ TED FUND ในการสนับสนุน POC โครงการ            2) นวัตกรรมและเทคโนโลยี: Momen Mini Bike ใช้วัสดุอลูมิเนียม 7075, ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ, แบตเตอรี่ลิเธียม NMC, และระบบกล่องคอนโทรล Signwave ซึ่งเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด            3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม: Momen Mini Bike ช่วยลดการใช้พลังงานทดแทน ลดมลพิษที่เกิดจากการขับขี่ และส่งเสริมการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมขนส่งที่สะอาด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ รวมถึงส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม    2. เตรียมนำเสนอผลงาน        2.1 ทบทวนข้อมูลและเอกสาร: ตรวจสอบและทบทวนข้อมูลและเอกสารที่คุณมีอยู่ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เช่น แผนธุรกิจ, แผนงานวิจัยและพัฒนา, ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง        2.2 จัดเตรียมสไลด์นำเสนอ: สร้างสไลด์นำเสนอ (PowerPoint หรือเครื่องมือนำเสนออื่น ๆ) เพื่อสื่อสารข้อมูลที่สำคัญในแต่ละด้านของโครงการ ให้เน้นความกระชับ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ        2.3 เนื้อหาสำคัญในการนำเสนอ :               • แนะนำทีมงานและความสามารถ: แสดงความสามารถของทีมงาน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความกระตือรือร้นในการทำงาน             • อธิบายปัญหาที่โครงการต้องการแก้ไข: ชี้แจงปัญหาและความต้องการของตลาด และวิธีที่ Momen Mini Bike สามารถตอบสนองความต้องการนี้             • นำเสนอแนวความคิดของโครงการ: อธิบายวิธีการทำงานของ Momen Mini Bike และประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้             • แสดงผลการวิจัยและพัฒนา: นำเสนอผลของการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง  2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    2.1  อธิบายปัญหาอยางชัดเจน           ในกรณีของ Momen Mini Bike นั้นกำหนดปัญหาของสกูตเตอร์ในปัจจุบันไว้คือ         – Performance ประสิทธิภาพ เช่น ระบบขับเคลื่อน high performance มีน้อย, high end มีน้อย         – Design and Manufacturing การออกแบบและงานประกอบ         – Mobility การพกพาลำบาก         – ใช้ระยะเวลานานในการชาร์จไฟ         – ระยะทางในการขับขี่น้อย ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (distance per charge)     2.2 นำเสนอแนวความคิดของโครงการเพื่อแก้ปัญหา           1. Performance : พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาสกูตเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้           2. Design and Manufacturing : ปรับปรุงการออกแบบและกระบวนการผลิตให้มีความเป็นระบบ ควบคุมคุณภาพสูง และให้สามารถประกอบและผลิตได้อย่างรวดเร็วและประหยัด           3. Mobility : พิจารณาการออกแบบให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น อาจจะมีการใช้วัสดุที่น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง รวมถึงการออกแบบที่สามารถปรับขนาดหรือพับเก็บได้           4. การชาร์จไฟ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือนำเสนอวิธีการชาร์จที่เร็วขึ้น เช่น ใช้แหล่งจ่ายพลังงานที่มีความเร็วในการชาร์จเพิ่มขึ้น หรือวิธีการชาร์จแบบใหม่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น           5. ระยะทางขับขี่ต่อการชาร์จ : พิจารณาการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีความจุมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ระยะทางที่มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้ง2.3 แสดงผลการวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน     ในการนำเสนอโครงการในรอบ POC ผู้นำเสนอควรมีตัวอย่างงาน ผลการวิจัยและพัฒนา ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสดงให้คณะกรรมการเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อ  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    โครงการได้รับคำชื่นชมในการนำเสนอที่โดดเด่น และเจ้าของโครงการมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง Momen Minibike อาจได้รับคำชมเรื่องการออกแบบเนื่องจากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ :    – ดีไซน์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์: Momen Mini Bike อาจมีการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร โดดเด่น และน่าสนใจ ทำให้คนสนใจ    – ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: Momen Mini Bike นำเสนอความคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบ ทำให้มีความน่าสนใจและความคิดสร้างสรรค์    – ความสะดวกสบายและประสิทธิภาพ: การออกแบบของ Momen Mini Bike อาจสะท้อนถึงความสะดวกสบายในการขับขี่ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่    – การพิจารณาเชิงตัวอย่างผู้ใช้: การออกแบบของ Momen Mini Bike นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ต่างๆ รวมถึงการพิจารณาเรื่องขนาด น้ำหนัก และรูปร่างของผู้ขับขี่    – การใช้วัสดุและส่วนประกอบที่มีคุณภาพ: การใช้วัสดุคุณภาพสูงและส่วนประกอบที่ทำงานได้ดี อาจทำให้ Momen Mini Bike ดูแล้วมีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ      อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพิจารณาทุนได้ให้คำแนะนำ และชูจุดเด่นที่เรามีมากขึ้นได้แก่       – นำ Data ที่ได้จากเซ็นเซอร์ของรถ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น       – กรรมการพิจารณาตัดงบ จึงทำให้ไม่ได้งบเต็มจำนวนตามที่ขอ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice • Momen minibike ได้เพิ่มเติมจุดเด่นจากคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อเพิ่มจุดเด่นและความแตกต่าง• โดยการเพิ่ม iOS, Android Application เพื่อใช้เช็คสถานะต่างๆของรถ• Testing & Quality Assurance• ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ• ขอมาตรฐานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย• เพื่อไม่ให้โครงการถูกตัดงบประมาณ ผู้เสนอโครงการควร• วิเคราะห์ความต้องการของโครงการ : สำรวจความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาและส่งเสริมโครงการ Momen Mini Bike ให้สำเร็จลุล่วง• วางแผนงบประมาณและต้นทุน : หาค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ โดยคำนึงถึงต้นทุนวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการทดสอบ การตลาด และการดำเนินงานอื่นๆ ให้สอดคล้องและไม่เกินวงเงินแต่ละหมวดหมู่• จัดทำงบประมาณเสนอขอทุน : จัดทำงบประมาณโครงการในรูปแบบที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดของกองทุน TED FUND โดยแยกเป็นรายได้และรายจ่าย และคำนวณยอดขอรับทุน• ประเมินความเสี่ยงในงบประมาณ : วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงบประมาณ และวางแผนในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น• ตรวจสอบความสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน : ตรวจสอบว่างบประมาณและข้อมูลที่เสนอในการขอทุนสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อกำหนดของกองทุน TED FUND รวมถึงการให้ความชัดเจนและครอบคลุม

เทคนิคการของทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund)“Prove of Concept” Read More »

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม”

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.5.2 การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” ผู้จัดทำโครงการ​ รศ.พิเศษ นพ.สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา อาจารย์พิเศษ ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชวิถีและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           การทำวิจัย และนวัตกรรมก็มีลักษะเหมือนกันจะต่างกันที่แนวคิด การทำวิจัยจะมุ่งเป้าหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ ( Specific) ส่วน นวัตกรรม คือการเอาหลายๆ ปัจจัย หลายๆ ศาสตร์ มาร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คำถาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในการทำวิจัย หรือ นวัตกรรม คือ 1.การฟัง การฟังนั้นควรฟังอย่างเปิดใจ Active Listening และ 2.การตั้งคำถาม ซึ่งคำถามจะแสดงให้รู้ถึงความคิดของผู้ถาม และควรตั้งคำถามที่เปิดโลกทัศน์ คำถามที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ควรมีการจดบันทึก จดเฉพาะสิ่งสำคัญ          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการในการทำวิจัย และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ดี ทั้งการทำนวัตกรรมและการทำวิจัย เป็นสิ่งที่ประกอบกันของกระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะช่วยสนับสนุนของกันและกันงานวิจัยจะสนับสนุนนวัตกรรมและนวัตกรรม อาศัยงานวิจัยในการพัฒนาในขั้นต่อไป ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ประสบการณ์ของเจ้าของความรู้ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, เปรียบเทียบขบวนการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ในปัจจุบันนั้น การมุ่งเน้นทั้ง 2 ขบวน เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้พัฒนาความคิดใหม่จากกระบวนการที่อาจารย์และรุ่นพี่ทำกันมาโดยเปิดการสร้างจินตนาการและความคิดที่เฉพาะเป็นประเด็นที่สนใจ วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ    การทำวิจัย หรือ นวัตกรรม นั้นควรมีการตั้งคำถามที่ดี ต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงความคิดและเหตุผล รู้จักตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน สามารถ เล่าเรื่อง และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายๆ Story telling        การสร้างและพัฒนางานนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ได้ จากวิธีคิด มีวิธีคิด 6 วิธี คือ      1. หลุดจากกรอบแห่งโลกความจริง                  2. สร้างสรรค์จากความฝัน      3. เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นไอเดีย                               4. ต่อให้ติดพิชิตความต่าง      5.มองมุมกลับ ปรับมุมมอง เหมือนลูกเต๋า      6. ตัวเลขมหัศจรรย์ ซึ่งเราควรรับมือโดยการสร้างเป้าหมายใหม่ๆ อย่างรวดเร็วในโลกแห่งการแข่งขัน และควรเลือกสิ่งที่เราถนัดสร้างสมรรถนะ (Core Competency) หลักในการเอาชนะคู่แข่งคือ       1) การคิดอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการคิด โดยใช้การคิดแบบเป็นขั้นตอนใช้ สุ จิ ปุ ริ      2) จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา      3) พัฒนากระบวนการคิด Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ฝังลึกทำให้เกิดทัศนคติและประสบการณ์      4) ควรมีการยืดหยุ่นปัญหา โดยใช้ Active Listening จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์      5) การปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน      6) นักศึกษาแพทย์ควรมีพรสวรรค์และพรแสวง      7) เครื่องมือในการทำงานควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ      8) การดำเนินงานแบบเป็นขั้นตอน ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาทำแต่งานที่เร่งด่วนเฉพาะหน้าตลอดเวลา 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ปรากฏการณ์ เล็กๆ บางอย่างเราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น Black Swan Phenomenon แต่ถ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ยากเกินความควบคุมได้ เช่น การเกิดโรคโควิด ก็เปรียบเสมือนปัญหาที่พบในการทำงาน เพราะฉะนั้นในการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นั้นเราต้องจัดลำดับขั้นตอน เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาในปัจจุบันมีลักษณะ VUCA ; V : Volatile (เปลี่ยนแปลงง่าย) U : Uncertained (ไม่มั่นคง,ไม่แน่นอน) C : Complex (ซับซ้อน) และ A : Ambiguity (กำกวม ความคลุมเครือ) 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     1. คนเราจะประสบผลสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวให้ปฏิบัติตามได้ แต่ต้องเริ่มด้วยความพยายาม และมีความสนใจในสิ่งนั้น    2. ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาสของชีวิต พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือป้าหมายที่วางไว้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice หลักในการทำงาน และเป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ควรใช้หลักของพระพุทธเจ้าสอน คือ อิทธิบาท 4 คือ         ฉันทะ คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน หาพรสวรรค์ ความถนัดให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำในสิ่งนั้นๆ         วิริยะ คือ การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ มีความขยันมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ         จิตตะ คือ โฟกัสที่จุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น่อยู่กับสิ่งที่ทำ         วิมังสา คือ การศึกษาจากคนที่เคยสำเร็จมาเป็นต้นแบบ

การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย เรื่อง “เก่งกว่าเดิมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม” Read More »

Scroll to Top