KR 3.3.3

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3, 5 : KR 3.2.1 KR 5.2.1 กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดทำโครงการ​ อ.นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​            เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก  สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการ จากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้ ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้            การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ                         ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริง วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ งทะเบียนเข้าร่วมอบรมจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการ ลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขห้องปฏิบัติการใน เว็ปไซด์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ จัดทำแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการตามแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดในระบบให้ได้มากที่สุด ปรึกษาวิทยากร เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือหาวิธีการทดแทนตามข้อกำหนด (สามารถปรึกษาศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้) ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการหลังการดำเนินการ ส่งภาพห้องปฏิบัติการ ก่อน-หลังดำเนินการ รวมทั้งแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ทันตามกำหนด โดยก่อนและหลังดำเนินการต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กรรมการจากมหาวิทยาลัยแม่ข่ายพิจารณาการภาพถ่ายและแผนการยกระดับ หรือพิจารณาออนไลน์ เมื่อได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ให้ส่งแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องปฏิบัติการใหม่ ให้จัดทำโปสเตอร์แสดงผลการดำเนินงาน และส่งบทคัดย่อให้ผู้ประสานงานโครงการ ให้ทันตามกำหนด เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอการดำเนินงานในงานประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง กรณีที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง เพื่อนำเสนอระดับประเทศ  ให้จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านของข้อกำหนด โดยเน้นจุดเด่นในการดำเนินการให้มากที่สุด สำหรับห้องปฏิบัติการเก่า ให้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรมการธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการยกระดับความปลอดภัย และส่งแผนการดำเนินงานพัฒนาห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ครบตามเอกสารแบบฟอร์มที่แจ้งมา และต้องส่งเอกสารให้ทันตามเวลากำหนดซึ่งระยะเวลาการส่งเอกสารไม่เกิน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าหลังการอบรม เมื่อส่งเอกสารครบถ้วน จะได้รับทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการเต็มจำนวน 2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน 1. นำไปใช้กับ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ห้องปฏิบัติการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเรียบร้อย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของห้องปฏิบัติการจากการได้ไปนำเสนอในระดับประเทศ2.บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการห้องปฏิบัติการปลอดภัย3.บุคลากร นักศึกษา พนักงานทำความสะอาด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย  และมีขั้นตอนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม    3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK 3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ  ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist  3.2  การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ 3.2.1  การได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 23 มกราคม 2567  ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์ 3.2.2ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้เป็นวิทยากร ในการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน รุ่นที่ 12 ณ จ.พระนครศรีอยุธยา  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับเชิญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ศูนย์ พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน  2 กลุ่มห้องปฏิบัติการ  และห้องปฏิบัติการของการประปานครหลวง จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ระดับโรงเรียน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 3.3 สรุปอภิปรายผล  บทสรุปความรู้                เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ ได้รับโล่รางวัลโล่ ห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่น ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการ ได้รับทุนสนับสนุนการธำรงรักษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ  หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ  องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย

กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Read More »

การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.1 การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ ผู้จัดทำโครงการ​ คุณรัตนาภรณ์ กาศโอสถ สำนักหอสมุด หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​          วารสารรังสิตสารสนเทศเป็นวารสารทางวิชาการทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  ที่ผลิตโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ด้วยดำริของอดีตผู้อำนวยสำนักหอสมุด ดร.อุทัย ทุตยะโพธิ ในแนวคิดที่อยากเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้กับบรรณารักษ์ ด้วยการจัด Journal Club ขึ้น โดยให้บรรณารักษ์ ได้มีการอ่านบทความ อ่านหนังสือที่น่าสนใจ และนำความรู้ที่ได้มาสรุปและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เกิดมีการนำองค์ความรู้ต่างๆ ออกสู่สาธารณะ จึงได้มีการจัดทำวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ โดยให้บรรณารักษ์เริ่มฝึกการเขียนบทความ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้อาจารย์ หรือบรรณารักษ์จากสถาบันอื่นๆ มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้วย ซึ่งวารสารมีชื่อว่า “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดีอนมกราคม-มิถุนายน 2539                                  การจัดทำวารสารในระยะแรก มีการหมุนเวียนบรรณารักษ์หัวหน้าแผนกเป็นบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ โดยจะร่วมกันทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ที่สนใจเขียนบทความ ลงในวารสารทั้งภายในและภายนอก ด้วยข้อมูลความรู้ต่างๆ ทางด้านสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์นั้น ไม่ค่อยมีแหล่งที่จะให้เกิดการเผยแพร่บทความงานวิจัย บทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับอาจารย์ / บรรณารักษ์ / นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการหาแหล่งตีพิมพ์  เพื่อต้องการปรับคุณวุฒิ หรือต้องการเผยแพร่ผลงาน ให้ความสนใจอยู่พอสมควร                                                 ต่อมาการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบทางวิชาการมากขึ้น กำหนดรูปแบบการเขียนบทความที่ชัดเจน กำหนดเนื้อหา รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม มีที่ปรึกษาประจำวารสารประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  กองบรรณาธิการประจำวารสารได้เชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกจากสถาบัน การศึกษาต่างๆ มาเป็นกองบรรณาธิการประจำวารสาร เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมาเป็นผู้อ่านและประเมินบทความก่อนได้รับการตีพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฯลฯ แต่ละบทความจะมีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ 3 ท่าน ซึ่งบทความจากภายในจะต้องสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย บทความจากภายนอกสามารถสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิได้ทั้งภายในและภายนอก แต่ไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเดียว/หน่วยงานกันกับผู้เขียน               มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน  เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย องค์ความรู้ทางวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระบบสารสนเทศและการจัดการ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์  และศึกษาศาสตร์ โดยเปิดรับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  ประเภทบทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทความปริทัศน์ (Review article) และบทความแนะนำหนังสือ (Book Review) บทความที่เสนอลงตีพิมพ์สามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ บทความที่เสนอลงตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน ผู้เขียน จะต้องเคร่งครัดในจรรยาบรรณไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนบทความเท่านั้น สำหรับกำหนดระยะเวลาการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ คือจะเพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม                                                      ต่อมาในปี พ.ศ. 2559  สำนักหอสมุดได้นำเสนอ “วารสารรังสิตสารสนเทศ” ให้ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centra : TCI) พิจารณารับรองคุณภาพวารสารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยได้ประกาศผลการจัดกลุ่มและพิจารณานำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI  เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559  วารสารรังสิตสารสนเทศมีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่ม 2 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ถึงปัจจุบัน             และสืบเนื่องด้วยกระบวนการในการรับ-ส่ง บทความจากผู้เขียน  การส่งบทความให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ และการแก้ไขต่างๆ  มีขั้นตอนที่ไม่สะดวกเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้าจากกระบวนการทางสำนักหอสมุดจึงได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศให้มีการลดขั้นตอนให้สะดวกยิ่งขึ้นทั้ง ผู้ส่ง ผู้รับ และผู้ทรงคุณวุฒิขึ้น ระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ทำให้มีบริการวารสารรังสิตสารสนเทศแบบออนไลน์บนเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศที่ https://rilj.rsu.ac.th เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้เขียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศเป็นปี่ที่ 29 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคา-ธันวาคม 2566 รวมเป็นระยะเวลา 28 ปี มีจำนวนวารสารรังสิตสารสนเทศตีพิมพ์เผยแพร่มากถึง 56 ฉบับ                                                                    ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge) :  อื่นๆ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุด (https://rilj.rsu.ac.th)  วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้ เมื่อผู้เขียนส่งบทความเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบ เมื่อบทความผ่านการพิจารณาจากคณะผู้จัดทำวารสารแล้ว จะดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ พร้อมแจ้งชำระค่าเผยแพร่บทความ                            ทำหนังสือเชิญเพื่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านและประเมินบทความ                     เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิตอบรับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการจัดทำหนังสือเพื่อส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน โดยมีเอกสารประกอบการจัดส่งดังนี้    4.1 หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอานและประเมินบทความ                                        4.2 บทความต้นฉบับ      4.3 แบบประเมิน                                                                                                      เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและประเมินบทความเรียบร้อยและส่งกลับ คณะผู้จัดทำวารสารจะดำเนินการแจ้งให้ผู้เขียนบทความ เพื่อปรับแก้บทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะไว้                           หลังจากผู้เขียนบทความมีการปรับแก้ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว คณะผู้จัดทำวารสารจะทำการตรวจสอบรายละเอียดให้ตรงตามแบบฟอร์มของวารสาร             ขอ DOI ประจำบทความไปที่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ที่ https://doi.nrct.go.th    ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วนำเผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ สำนักหอสมุดที่ https://rilj.rsu.ac.th                     ทำการบันทึกข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารรังสิตสารสนเทศลงในระบบ Fast-track Indexing ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( Thai-Journal Citation Index Centre: TCI )                            2. Prototype testing in an operational environment – DO ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน           การจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 สำนักหอสมุดได้เผยแพร่วารสารมากกว่า 58 ฉบับ ปัจจุบันมีการเผยแพร่วารสารผ่านเว็บไซต์ที่ https://rilj.rsu.ac.th โดยผู้เขียนสามารถส่งบทความและดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว          ภาพที่ 1 หน้าจอเว็บไซต์วารสารรังสิตสารสนเทศ ภาพที่ 2 หน้าจอสำหรับผู้เขียนเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 3 หน้าจอเข้าสู่ระบบการส่งบทความต้นฉบับ ภาพที่ 4 หน้าจอแสดงบทความต้นฉบับที่ส่งเข้าระบบ (สำหรับคณะผู้จัดทำวารสาร) ภาพที่ 5 หน้าจอสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่ระบบ ภาพที่ 6 หน้าจอสำหรับคณะผู้จัดทำจัดการระบบ 3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่             การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวารสารรังสิตสารสนเทศของสำนักหอสมุด เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางวารสารรังสิตสารสนเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการทำงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลสูงยิ่งขึ้น  บุคลากรสำนักหอสมุด เกิดการพัฒนาในด้านการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการวารสาร และได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพวารสาร เช่น วิธีการประสานงานและรับบทความจากผู้เขียน การประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ การปรับแต่งเว็บไซต์วารสาร เป็นต้น                                 งานจัดทำวารสารรังสิตสารสนเทศ มีแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐาน ส่งผลให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพ เช่น หน้าเว็บไซต์วารสารและระบบการส่งบทความออนไลน์มีมาตรฐานตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)    มีการบันทึกข้อมูลบทความวารสารเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล TCI แบบ Fast Track (Fast-track Indexing System)เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์ของข้อมูลสำหรับการสืบค้นข้อมูล                                                       สำนักหอสมุดเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการเผยแพร่วารสารรังสิตสารสนเทศ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนักหอสมุดในการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ            ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice           เนื่องด้วยระบบฐานข้อมูลวารสารรังสิตสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่แสดงผลการสืบค้นเฉพาะวารสารรังสิตสารสนเทศเพียงวารสารเดียวไม่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของวารสารอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย  เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้สืบค้นข้อมูลได้ครบถ้วน สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ควรเข้าร่วมและใช้ระบบฐานข้อมูล RSU Journals 3.0 เป็นแหล่งรวมการเผยแพร่บทความในวารสารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิต                 วารสารรังสิตสารสนทศของสำนักหอสมุด ได้จัดทำมาเป็นเวลา 28 ปี มีการพัฒนาเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2  ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้ดำเนินงานที่จะร่วมกันผลักดันให้วารสารรังสิตสารสนเทศก้าวสู่กลุ่ม 1 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) ในเวลาต่อไป  

การทำวารสารเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ Read More »

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.3 กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้จัดทำโครงการ​ อาจารย์นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​           เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งอาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการของศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนําข้อมูลของห้องปฏิบัติการนี้ไปดําเนินการเพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ ประเภทความรู้และที่มาความรู้ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริงความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : นำประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในระบบมาตรฐานอื่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน วิธีการดำเนินการ 1. วิธีการดำเนินการ   1. ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย (Lab safety)   2. ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ ESPReL check list ตามข้อกำหนดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( ESPReL check list จากจำนวนข้อกำหนด 162 ข้อ 7 องค์ประกอบ การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation มีข้อกำหนดพื้นฐาน 137 ข้อ)   3. นำคะแนนจาก ESPReL check list ที่ได้มาวิเคราะห์ Gap Analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ   4. ดำเนินการตาม gap analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ       4.1 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายใน 6 เดือนแรก       4.1.1 จัดทำนโยบาย แผนการดำเนินงาน โครงสร้างการบริหารจัดการความปลอดภัยและตั้ง ทีมงานดำเนินการ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ       4.1.2 จัดทําระบบบันทึกข้อมูลสารเคมี ทำบัญชีรายการวัสดุห้องปฏิบัติการ สารเคมี และ แยกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายในระบบ GHS และสารที่ไม่สามารถเข้ากันได้ จัดหาภาชนะรองรับสารเคมีที่เหมาะสม กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บสารเคมี จัดทํารายงานความเคลื่อนไหวสารเคมี แนวปฏิบัติในการจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว จัดหาอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสารเคมี จัดหา spill kit หรืออุปกรณ์ทดแทนที่เหมาะสมในกรณีสารเคมีหกรั่วไหล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) ข้อกำหนดในการจัดเก็บแก็ส ติดตั้งอุปกรณ์ห้องเก็บแก๊ส จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน quality procedure/ work Instruction/ safety data sheet (SDS)       4.1.3 การจัดการข้อมูลของเสีย การบันทึกข้อมูลของเสีย การรายงานข้อมูล การแยก ประเภทของเสีย การเก็บบรรจุของเสีย การตรวจสอบภาชนะบรรจุ เขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) การลดการเกิดของเสีย การบำบัดและกำจัดของเสีย       4.1.4 จัดทําระเบียบปฏิบัติในการใช้งานเครื่องมือทุกชนิดในห้องปฏิบัติการ ทำ Preventive Maintenance เครื่องมืออุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ยกเลิกการใช้งานปลั๊กพ่วงและเขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) ในกรณีที่ต้องใช้งานปลั๊กพ่วง       4.1.5 การป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย จัดทําแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติและภาวะ ฉุกเฉิน ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน จัดทําแบบประเมิน/ รายงานความเสี่ยงรายบุคคลและห้องปฏิบัติการ จัดทํารายงานอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ จัดทำและบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการให้เข้มงวด       4.1.6 อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ แม่บ้าน และนักศึกษาผู้มาใช้บริการห้องปฏิบัติการ       4.2 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายหลัง 6 เดือน       4.2.1 ขออนุมัติงบประมาณ จัดซื้อ ตู้เก็บกรด ตู้เก็บสารไวไฟ       4.2.2 ขออนุมัติงบประมาณซ่อมแซมพื้นห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้ เหมาะสมกับการใช้งาน       4.2.3 ประสานงานฝ่ายอาคารและสิ่งแวดล้อม ขอข้อมูลการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ระบบโครงสร้าง ระบบสุขาภิบาล ระบบระบายอากาศ ระบบฉุกเฉิน   5. ยื่นเอกสารการขอรับการตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยก่อนยื่นขอรับการตรวจประเมินให้พิจารณาดังนี้       5.1 เมื่อสามารถดำเนินการตาม Gap Analysis ครบถ้วน และเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่าทุกองค์ประกอบ ได้คะแนนเต็ม 100% สามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation ครบทุกองค์ประกอบได้       5.2 เมื่อดำเนินการตาม gap Analysis สำเร็จแล้วบางส่วน และเมื่อเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยทั้ง 7 องค์ประกอบได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80% โดยมีบางองค์ประกอบได้คะแนนเต็ม 100 % และจะต้องไม่มีองค์ประกอบใดเลยได้คะแนนน้อยกว่า 50% ก็จะสามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation เป็นรายองค์ประกอบได้   6. ผู้ตรวจประเมิน จะทำการตรวจสอบเอกสารที่ยื่นขอรับการตรวจประเมิน และถ้าผู้ตรวจประเมิน พิจารณาแล้วว่าห้องปฏิบัติการนั้นมีความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถให้การรับรองมาตรฐานได้ จะทำการนัด วัน เวลาในการเข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการที่ยื่นขอการรับรอง   7. ในวันที่คณะผู้ตรวจประเมิน เข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการ หัวหน้าห้องปฏิบัติการจะต้อง เตรียมเอกสารหลักฐานครบทั้ง 7 องค์ประกอบให้คณะผู้ตรวจประเมินตรวจสอบ และเตรียมบุคลากรที่ทำหน้าที่นำเสนอ ตอบคำถาม และพาคณะผู้ตรวจประเมินเข้าไปตรวจสอบในจุดต่างๆของห้องปฏิบัติการ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย    8. เมื่อคณะผู้ตรวจประเมินทำการตรวจประเมินครบถ้วนแล้ว จะแจ้งสรุปผลการตรวจประเมิน ข้อบกพร่องและข้อสังเกตเบื้องต้นกับหัวหน้าห้องปฏิบัติการ    9. คณะผู้ตรวจประเมินจะจัดทำรายงานข้อบกพร่องและข้อสังเกตที่ตรวจพบ ส่งให้ห้องปฏิบัติการ ดำเนินการแก้ไข และระบุวันที่ต้องส่งรายงานการแก้ไข   10. ห้องปฏิบัติการ ต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่คณะผู้ประเมินตรวจพบ และจัดทำรายงานแก้ไข ข้อบกพร่อง พร้อมเอกสารที่แสดงการแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ส่งให้กับผู้ตรวจประเมินตามวันที่ระบุไว้ ส่วนข้อสังเกตสามารถดำเนินการแก้ไขและส่งพร้อมการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายหลังได้    11. คณะผู้ตรวจประเมิน ตรวจสอบการแก้ไข และสรุปผลการตรวจประเมิน ส่งให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พิจารณา    12. กรณีที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติออกใบรับรองมาตรฐานระบบ Peer Evaluation ใน 2 รูปแบบ คือ        1. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายองค์ประกอบ        2. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกองค์ประกอบ (7 องค์ประกอบ) 2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    ผลการดำเนินการ การลงมือปฏิบัติจริง1. ภาพถ่ายก่อน/หลังดำเนินโครงการ2. ประเมินผ่านระบบ ESPReL Checklist              % ก่อนดำเนินโครงการ                 % หลังดำเนินโครงการ1) การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย                              33.3                                                1002) ระบบการจัดการสารเคมี                                                          67.5                                                1003) ระบบการจัดการของเสีย                                                          62.9                                                1004) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ            2.4                                                1005) ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย                                          49.2                                                1006) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ        3.7                                               1007) การจัดการข้อมูลและเอกสาร                                                       14.3                                               100รวม                                                                                         51.5                                               1003. การตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ     3.1  ผ่านการประเมินครบทั้ง 7 องค์ประกอบ     3.2 ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ4. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    เนื่องจากต้องมีการขอเอกสารการตรวจโครงสร้าง ระบบอาคาร จากหน่วยงานอื่นทำให้การดำเนินงานมีความล่าช้า  3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่    1. การตรวจสอบผลการดำเนินการ       1.1 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist       1.2 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยคณะผู้ตรวจประเมิน และนำข้อบกพร่องและข้อสังเกต จากคำแนะนำของผู้ตรวจประเมิน มาทำการแก้ไข   2. การนำเสนอประสบการการนำไปใช้       2.1 การได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 5 เมษายน 2565 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น      2.2 ได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงาน ในการประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2565 (ครั้งที่ 3) 10 พฤศจิกายน 2565 โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสรุปอภิปรายผล บทสรุปความรู้เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ    1. ผ่านการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ    2. ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ    3. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และรับมอบทุนสนับสนุนการดำเนินงาน การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice          ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ดูรูปภาพ/กิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

Scroll to Top