รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.
โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทำโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหาร และพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขงจังหวัดมุกดาหาร

ผู้จัดทำโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤตพร ลาภพิมล อ.มัลลิกา จงศิริ อ.รังสิต เจียมปัญญา ดร.ปาริษา มูสิกะคามะ และ ดร.ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ
นักศึกษา นางสาวปุณยวีร์ วงศ์สระหลวง นางสาวณิรินทร์ญา ชัยนิติรัศมิ์ นางสาวศศิเมศวร์ แน่นอุดร นางสาวณัฐวดี นิลลออ นาย ชวลิต ตระหง่านกุลชัย นายชนกันต์ พลเคน นายปิยะ สาทตพันธ์ นางสาวชาคริยา ภัทรมนัสกุล และนางสาวชัญญา ลือชัย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ในปีการศึกษา 2567 ทางสํานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดมุกดาหาร มีแผนจัดทําโครงการผังพัฒนา
พื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จึงได้ขอความร่วมมือทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ศึกษาและออกแบบพื้นที่ในบริเวณเมืองเก่าและพื้นที่ริมแม่น้ําโขง ทางคณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพจึงนํา โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การบริการวิชาการแบบให้เปล่าและบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา ARC 423 หัวข้อพิเศษเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม (Special Topics for Architectural Design)
โครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองของจังหวัดมุกดาหารเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วม ในการ
พัฒนาเมืองระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกับภาคเครือข่ายอื่นๆ และประชาชนใน
พื้นที่ในการเล่าเรื่องราววิถีชุมชนและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย
(Workshop and Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนและถอดผลออกมาเป็นผัง
กายภาพการพัฒนาพื้นที่เมืองมุกดาหาร
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การออกแบบชุมชนเมืองและสถาปัตยกรรม (Urban Design and Architecture)
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
อื่น ๆ (ระบุ) กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประสบการณ์
ปัญหาความต้องและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่เมืองร่วมกัน
วิธีการดำเนินการ
ทีมอาจารย์และนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ลงพื้นที่สํารวจชุมชนเมือง
มุกดาหาร รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย (Workshop and Focus Group) เพื่อแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นในหัวข้อ “มองเมืองมุกดาหารสู่เมืองชาญฉลาด อยู่อาศัยดี มีอัตลักษณ์ (Mukdahan Smart Livable &
Environment City)” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อรับ
ฟังข้อมูลความคิดเห็นผ่านประสบการณ์ ปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการ
จัดทําผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง เป็นระยะเวลา 5 วัน (วันที่ 1-5
กรกฎาคม 2567)
เมื่อได้ศึกษาข้อมูลทางปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทางทุติยภูมิ(Secondary Data) แล้ว ทาง
อาจารย์และนักศึกษาได้นําข้อมูลทั้งหมดมาสรุปวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกันด้วยกระบวนการออกแบบเมือง
เพื่อให้ได้แนวคิดการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับเมืองมุกดาหารและนําไปสู่การจัดทําผังพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ
โดยสะท้อนออกมาเป็นโครงการนําร่องต่างๆ ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดําเนินการ การนําไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทํางาน
การบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทําโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่า มุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองให้กับหน่วยงานระดับจังหวัด โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ในโครงการนี้นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทํางานตั้งแต่ต้นจนจบ คือ การวางแผนเดินทางและสํารวจพื้นที่ การเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย การลงพื้นที่สํารวจเมืองย่านและชุมชน การสัมภาษณ์บุคคลและตัวแทนหน่วยงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย รวมทั้งการสรุปผลวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจนได้แนวคิดและแนวทางการวางผังออกแบบพัฒนาพื้นที่ พร้อมทั้งได้เข้าร่วมนําเสนองานต่อรองผู้ว่าราชการและตัวแทนหน่วยงานจังหวัดมุกดาหาร การบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนนี้ นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองมาพัฒนาในพื้นที่จริง ได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ ความต้องการของผู้คนในสถานภาพระดับต่างๆ ฝึกฝนทักษะการสื่อสารเพื่อพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้พบปัญหาอุปสรรคทั้งเชิงระบบและโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองซึ่งเป็นข้อจํากัดเชิงนโยบาย ในฐานะนักออกแบบสามารถนําทักษะองค์ความรู้ไปช่วยแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ได้ด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เมืองมุกดาหารน่าอยู่น่าอาศัยและน่าท่องเที่ยว เมื่อเมืองมีศักยภาพทางกายภาพที่ดีแล้วย่อมส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจสังคมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา






รูปภาพที่ 1 กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย (Workshop and Focus Group) วันที่ 2 กรกฎาคม 2567






รูปภาพที่ 2 การลงสำรวจพื้นที่เมืองมุกดาหารและสรุปผลการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการวางผังและออกแบบ
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
จากผลการดําเนินงานนี้ได้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาพื้นที่คือ โครงการนําร่องซึ่งเป็นแนวคิดและแนวทางการออกแบบวางผังพัฒนาพื้นที่ให้กับเมืองมุกดาหาร โดยโครงการนําร่องนี้เป็นโครงการที่ได้มาจากการถอดประสบการณ์ ปัญหาความต้องการจากทุกภาคส่วนร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการและกลุ่มย่อย มาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมืองพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการใช้งานในมิติต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองที่ช่วยให้ภาครัฐขับเคลื่อนนําไปจัดทําแผนพัฒนาระดับจังหวัดและท้องถิ่นต่อไป
นอกจากผลลัพธ์การพัฒนาพื้นที่แล้ว ในด้านวิชาการและวิชาชีพนักศึกษายังได้ใช้องค์ความรู้และทักษะทางการออกแบบมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่จริงซึ่งเป็นโจทย์การศึกษาและออกแบบ เป็นประเด็นความท้าท้ายที่ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และสรุปผลการออกแบบที่ไม่เน้นเพียงความสวยงามเท่านั้นแต่ต้องออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนในเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการถอดบทเรียนด้วยเครื่องมือ คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และกลุ่มย่อยเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ชุดประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ทั้งระดับปัจเจกบุคคล และกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาความต้องการ ความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ ถอดออกมาเป็นบทเรียน (Explicit Knowledge) ได้แก่ แนวคิดและแนวทางออกแบบพัฒนาพื้นที่ และสรุปผลออกมาเป็นชุดความรู้ใหม่ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการนําร่องพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เป็นการเชื่อมโยงต่อยอดชุดความรู้ของคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ

รูปภาพที่ 3 แนวทางการพัฒนาจัดทำผังแนวคิดพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง ซึ่งได้มาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นและกลุ่มย่อย



รูปภาพที่ 4 โครงการนำร่อง – การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก




รูปภาพที่ 5 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงศูนย์การท่องเที่ยวและศูนย์ OTOP เมืองมุกดาหาร



รูปภาพที่ 6 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงภูมิทัศน์และพื้นที่ริมแม่น้ำโขงเพื่อเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม
และพื้นที่สาธารณะของเมือง

รูปภาพที่ 7 โครงการนำร่อง – การปรับปรุงถนนคนเดินและทางเดินเท้าเพื่อเชื่อมต่อกิจกรรมและ
การใช้งานในชีวิตประจำวัน
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จในการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อจัดทําโครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่านเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร เกิดจากความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ซึ่ง เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองมุกดาหารไปสู่เมืองชาญฉลาด อยู่อาศัยดี มีอัตลักษณ์ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของชาวเมืองซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยและเจ้าของพื้นที่ เป็น การรับฟังข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก Bottom-up ขึ้นมาซึ่งจะสะท้อนปัญหาและความต้องการของชาวเมืองมุกดาหารอย่างแท้จริงไปสู่ภาครัฐซึ่งเป็นผู้จัดทําแผนและนโยบายในระดับ Top-down ในฐานะสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดกิจกรรมครั้งนี้ได้ประสานติดตามเพื่อผลักดันให้โครงการนํา ร่องบรรจุลงในแผนพัฒนาจังหวัดซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทํางานพัฒนาจังหวัดปี2570 ของทางฝ่ายแผนและ นโยบายจังหวัดมุกดาหารเพื่อจัดตั้งงบประมาณอันเป็นกลไกของภาครัฐในการนําแผนแปลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อ ช่วยขับเคลื่อนให้โครงการเกิดผลสําเร็จต่อไป