รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, 2.5.1

การทำวิจัยและการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
ของอาจารย์รุ่นใหม่

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร.ธีระพงค์ สีสมุทร์

คณะวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          การทำวิจัยในอาจารย์รุ่นใหม่ที่เพิ่งได้รับการบรรจุเข้าทำงานในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากอาจารย์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะต้องมุ่งการทำงานในส่วนของการสอนที่ต้องจัดเตรียมให้พร้อมสมบูรณ์เพื่อทำการสอนนักศึกษา ทำให้อาจารย์บางท่านไม่สามารถจัดสรรเวลาในการทำวิจัยได้ ยิ่งไปกว่านั้นการเข้าบรรจุทำงานในมหาวิทยาลัยในบางคณะ อาจจะไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยที่เพียงพอทำให้ไม่สามารถเริ่มทำงานวิจัยได้ ทำให้อาจารย์รุ่นใหม่บางคนไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยได้ในช่วงแรกของการเริ่มเข้าทำงาน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

          ความรู้ที่นำมาใช้คือ แนวปฏิบัติจากคลังความรู้ KM Rangsit University ประจำปี 2562 โดย ดร.สุรชัย กาญจนาคม เรื่อง เทคนิคการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการลงในวารสารวิชาการนานาชาติ ที่ได้กล่าวถึงเทคนิคการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการลงในวารสารวิชาการนานาชาติให้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเทคนิคการมี citation สูง ๆ ในผลงานวิจัยของเรา

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

  • ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • เจ้าของความรู้

วิธีการดำเนินการ

การทำวิจัยหลังจากการได้รับบรรจุเป็นบุคลากร ต้องมีการแบ่งเวลาในการทำวิจัยดังนี้

  1. การออกแบบงานวิจัยและหาหัวข้องานวิจัย ต้องมีความสอดคล้องกับความถนัด ทุนวิจัยและวัสดุอุปกรณ์
    ในห้องปฏิบัติการของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ โดยแผนงานวิจัยทั้งหมดต้องวางกรอบเวลาให้ชัดเจน จนถึงขั้นการตีพิมพ์ว่างานวิจัยฉบับนี้ต้องได้รับการตีพิมพ์ในช่วงเวลาไหน
  2. การทำวิจัยภาคสนามต้องจัดตารางสอนให้มีช่วงเวลาที่จะสามารถออกสารวจและเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้
    อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 14-21 วัน
  3. การทำวิจัยในส่วนของการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางชีววิทยาโมเลกุลที่ต้องใช้ห้องทดลอง มีการวางแผนก่อนทำการทดลองทุกครั้งเพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับช่วงเวลาในการสอน
  4. เมื่อได้ผลการทดลองแล้ว ทำการเลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ ต้องเป็นวารสารที่มีคุณภาพซึ่งอยู่ในฐาน SCOPUS จากนั้นทาการเตรียมต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษร่วมกับผู้ร่วมวิจัย จะต้องมีการนัด
    ประชุมกันทุกคนโดยใช้รูปแบบออนไลน์สาหรับผู้ร่วมวิจัยต่างสถาบันและนักวิจัยต่างประเทศ โดยจะนัดในช่วงเย็นที่ไม่มีภาระกิจจากการสอนแล้ว
  5. ทำการ submit บทความจากนั้นติดตามผลการพิจารณาร่างบทความอย่างสม่าเสมอ แก้ไขตาม
    ข้อเสนอแนะของ editor และ reviewer โดยต้องทำให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กาหนดเพื่อให้งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ตามกาหนดเวลาที่วางไว้

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

ตั้งแต่เริ่มเข้าทางานในตาแหน่งอาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ในเดือนธันวาคม 2565 ในระยะเวลา 2 ปี
อาจารย์ ดร. ธีระพงค์ สีสมุทร์ มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐาน SCOPUS โดยมี
ทั้งหมด 6 เรื่องดังนี้ (ไฟล์ที่แนบมา)

  1. Seesamut, T., Chanabun, R., Likhitrakarn, N., Siriwut, W., Srisonchai, R., Pholyotha, A.,
    Sutcharit, C. & Jeratthitikul, E. (2023). First Record of a Cavernous Land Leech
    3 Sinospelaeobdella cavatuses (Hirudinda: Haemadipsidae) from Thailand. Tropical
    Natural History, 7, 213-220.
  2. Chanabun, R., Aoonkum, A., Seesamut, T., Bantaowong, U. & Panha, S. (2023). Four new
    terrestrial earthworm species from the northeast Thailand (Oligochaeta, Megascolecidae). ZooKeys, 1176, 195-219.
    https://doi.org/10.3897/zookeys.1176.106517
  3. Pholyotha, A., Panha, S., Sutcharit, C., Jirapatrasilp, P., Seesamut, T., Liew, T. & Tongkerd, P. (2023). Molecular phylogeny of the land snail family Euconulidae in Thailand and its position in the superfamily Trochomorphoidea (Stylommatophora:  imacoidei),
    with description of a new  genus. Invertebrate Systematics, 37, 571-605.
  4. Seesamut, T., Oba, Y., Jirapatrasilp, P. et al. (2024). Global species delimitation of the cosmopolitan marine littoral earthworm Pontodrilus litoralis (Grube, 1855). Scientific Reports, 14, 1753. https://doi.org/10.1038/s41598-024-52252-8
  5. Tongkerd, P., Lwin, N., Páll-Gergely, B., Chanabun, R., Pholyotha, A., Prasankok, P.,
    Seesamut, T., Siriwut, W., Srisonchai, R., Sutcharit, C. & Panha, S. (2024). 
    Contributions of a small collection of terrestrial microsnails (Pupilloidea,
    Hypselostomatidae) from Myanmar with description of three new species. ZooKeys,
    1195, 157-197. https://doi.org/10.3897/zookeys.1195.112112
  6. Likhitrakarn, N., Jeratthitikul, E., Sapparojpattana, P., Siriwut, W., Srisonchai, R., Jirapatrasilp,
    P., Seesamut, T., Poolprasert, P., Panha, S., & Sutcharit, C. (2024). Six new species of
    the pill millipede genus Hyleoglomeris Verhoeff, 1910 (Diplopoda, Glomerida,
    Glomeridae) in Thailand revealed by dna-barcoding. Contributions to Zoology, 93(4),
    289-323. https://doi.org/10.1163/18759866-bja10062

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดาเนินการ การนาเสนอประสบการณ์การนาไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้
หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
          ได้ความรู้ในการวางแผนช่วงเวลาในการทำวิจัย ทาให้สามารถทางานวิจัยคู่ขนานไปกับการสอนในภาคปกติได้ กระบวนการทำวิจัยสาหรับอาจารย์ที่บรรจุเข้าทางานใหม่มีดังนี้

  1. การออกแบบงานวิจัยและหาหัวข้องานวิจัย โดยแผนงานวิจัยทั้งหมดต้องวางกรอบเวลาให้ชัดเจน โดย
    สามารถทำคู่ขนานไปกับการสอนในช่วงเวลาปกติได้
  2. การทำวิจัยภาคสนามต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดการตารางสอนของตนเองในอนาคต
  3. การทำวิจัยในส่วนของการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางชีววิทยาโมเลกุลสามารถทำการศึกษาในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นหลังจากการสอนได้
  4. การเตรียมต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษร่วมกับผู้ร่วมวิจัย จะสามารถนัดในช่วงเย็นที่ไม่มีภาระกิจจาก
    การสอนแล้วและไม่รบกวนเวลาสอนของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นผู้ร่วมวิจัย
  5. submit บทความจากนั้นติดตามผลการพิจารณาร่างบทความอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้งานวิจัยได้รับการ
    ตีพิมพ์ตามกำหนดเวลาที่วางไว้

 

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          การมี contribution ร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานวิจัยในกลุ่มเดียวกัน มีความสาคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลต่อการนำมาอ้างอิงร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการวิจัย แนวคิด ทำให้งานวิจัยเรามีคุณภาพมากขึ้น สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูงๆได้

Scroll to Top