รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KRไม่ระบุ (4.1.6/1)

กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นสากลผ่านโครงการการทูตสู่ชุมชน

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร.จิระโรจน์ มะหมัดกุล

สถาบันการทูตและการต่างประเทศ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

           โครงการ “การทูตสู่ชุมชน” มีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN) และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดนาวง รวมถึงให้นักศึกษาสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน ผ่านการปฏิสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาที่พบ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษามีทักษะภาษาอังกฤษที่จำกัด ทำให้ต้องออกแบบกิจกรรมที่เข้าถึงง่ายและสนุกสนาน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ทักษะภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน
  • วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา
  • ทักษะการทำงานเป็นทีมข้ามวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

  • อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้จากหลักสูตร IRD101 Southeast Asia’s Politics, Economy and Culture และความรู้จากรายวิชา IRD331 ASEAN Studies

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  •  เจ้าของความรู้/สังกัด อาจารย์และนักศึกษาคณะการทูตและการต่างประเทศ
  • อื่น ๆ (ระบุ) ประสบการณ์ของนักศึกษาและอาจารย์ที่ดำเนินโครงการ การถ่ายทอดความรู้จากนักศึกษาไปสู่นักเรียน การทำงานเป็นทีมระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

วิธีการดำเนินการ

  • นักศึกษาแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
  • วางแผนกิจกรรมล่วงหน้า โดยนักศึกษาไทยและต่างชาติร่วมกันกำหนดแนวทางการสอนและลำดับการดำเนินกิจกรรม
  • จัดกิจกรรมที่โรงเรียนวัดนาวง โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มและเข้าร่วมกิจกรรมฐานความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษและอาเซียน
  • ใช้กิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน เช่น เกมการฟัง พูด อ่าน เขียน และเกมทายคำศัพท์
  • นักศึกษาทำงานร่วมกันในการดูแลฐานกิจกรรมและให้คำแนะนำนักเรียน
  • หลังกิจกรรม นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติร่วมกันประเมินผลและสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม
  • จัดการประเมินผลความพึงพอใจและการเรียนรู้ของนักเรียนหลังจบกิจกรรม 

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

  • นักเรียนโรงเรียนวัดนาวงได้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 6 ฐาน ได้แก่ ฐานการฟัง (Listening), ฐานการพูด (Speaking), ฐานการอ่าน (Reading), ฐานการเขียน (Writing), ฐานคำศัพท์ (Vocabulary) และฐานความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ASEAN
  • นักศึกษาสถาบันการทูตฯ ได้ฝึกฝนการถ่ายทอดความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานร่วมกันในบริบทระหว่างประเทศ
  • นักศึกษาไทยและต่างชาติได้ทำงานเป็นทีมในการจัดกิจกรรมร่วมกัน ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
  • นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และเกิดความสนใจต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
  • กิจกรรมบางอย่างซับซ้อนเกินไปสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น
  • การสื่อสารระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติในบางกรณีต้องใช้เวลาปรับตัว

 

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

  • ผลการประเมินโครงการจากนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 65 จาก 5.00 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมได้รับการตอบรับที่ดี
  • นักเรียนให้คะแนนความสำคัญของโครงการ 79 และเห็นว่าควรจัดโครงการนี้ในปีต่อๆ ไป (4.92)
  • นักเรียนร.ร.วัดนาวงได้รับประโยชน์จากกิจกรรมรวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน
  • นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในวิชา IRD101 Southeast Asia’s Politics, Economy and Culture และ IRD331 ASEAN Studies กับสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การทำงานเป็นทีมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกันและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 

บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

  • การใช้กิจกรรมที่เน้นการเล่นและการแข่งขันช่วยเพิ่มความสนใจของนักเรียน
  • นักเรียนระดับประถมศึกษายังมีทักษะภาษาอังกฤษที่จำกัด ทำให้ต้องปรับรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับของพวกเขา
  • การทำงานเป็นทีมระหว่างนักศึกษาไทยและต่างชาติช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเรียนรู้การทำงานแบบสากล

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

  1. ควรจัดเตรียมงบประมาณสำหรับโครงการบริการวิชาการในปีต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ปรับรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยใช้สื่อที่เข้าใจง่ายขึ้น
  3. เสริมกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
  4. ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ทักษะด้านการทูตและการต่างประเทศในบริบทการสอนและการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม
  5. เพิ่มกิจกรรมที่ช่วยให้นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติเข้าใจการทำงานเป็นทีมข้ามวัฒนธรรมมากขึ้น เช่น เวิร์กช็อปก่อนเริ่มกิจกรรมและการสะท้อนผลหลังจบโครงการ
Scroll to Top