ระบบการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.3
การจัดการความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ได้มากที่สุด โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น พัฒนาคนหรือผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาฐานความรู้ขององค์กร จากเหตุผลดังกล่าวสถาบันกีฬา จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ การนำกระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และพัฒนาฐานความรู้ภายในหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและบังเกิดผลต่อการปฏิบัติด้านพัฒนาองค์กร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรวบรวม การจัดการความรู้สถาบันกีฬา (KM) ในสถาบันกีฬา และพัฒนาเป็นประจำทุก ๆ ปี
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : –ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : –
1. วิธีการดำเนินการ 1. ประชุม/วางแผนเตรียมการผู้ฝึกสอนและพิจารณานักกีฬา คัดตัวนักกีฬาที่ทำการแข่งขันในแต่ละรายการ 2. ดูจากพื้นฐานของนักกีฬา ในด้านต่างๆ เช่น รูปร่าง ผลการแข่งขัน และจิตใจ 3. ส่งทีมโค้ชไปคัดตัวนักกีฬาและดูความสามารถของนักกีฬาแต่ละคน 4. ก่อนการฝึกซ้อมโค้ชจะให้นักกีฬา ทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยจะต้องผ่าน 7 ท่าก่อนในการฝึกซ้อมทุกครั้ง เช่น วิดพื้น ซิคอัพ ยกเข่าสูง กระโดดเข่าชิดอก แบคอัพ พุ่งหลัง และซอยเท้า เป็นต้น 5. โค้ชอธิบายแบบการฝึกซ้อม กีฬายูยิสสูในแต่ละวัน ตามโปรแกรมที่วางไว้
2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน การตรวจผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์ที่นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความ 3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ 1. ผู้ฝึกสอน/โค้ช ทดสอบทักษะการฝึกซ้อมกีฬายูยิตสู 2. ผู้ฝึกสอน/โค้ช สังเกตการณ์ความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการฝึกซ้อมกีฬายูยิตสูในแต่ละสัปดาห์ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข 3. มีการส่งนักกีฬายูยิตสู เข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ เช่น แข่งขันยูยิตสู ชิงแชมป์ประเทศ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และการคัดตัวทีมชาติเพื่อแข่งขันในระดับนานาชาติ
จากการฝึกซ้อมของนักกีฬายูยิตสู พบว่า นักกีฬาส่วนใหญ่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝึกซ้อมและสามารถปฏิบัติทักษะการทุ่ม การล็อค การต่อย การเตะ การเข้าหาคู่ต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง และยังมีนักกีฬาบางคนที่ยังไม่สามารถปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องได้ ผู้ฝึกสอนก็จะเรียกนักกีฬามาฝึกซ้อมเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดไป และให้เพื่อนๆรุ่นพี่ๆ มาช่วยกันฝึกซ้อมและแนะนำในการฝึก การทุ่ม ล็อค การต่อย การเตะ และการเข้าหาคู่ต่อสู้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการแข่งขันมากขึ้น และดูนักกีฬาที่ไม่ถนัดในด้านใดก็จะเสริมสมรรถภาพในด้านนั้นๆ ให้กับนักกีฬายูยิตสู
ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์การฝึกซ้อมให้มากกว่านี้ 2. ควรมีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรม/ ด้านการให้ความรู้ในกีฬายูยิตสูเพิ่มขึ้น 3. ควรส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ในการส่งผู้ฝึกสอนเข้าร่วมการอบรมเป็นประจำทุกปี