รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1

สื่อการสอนออนไลน์ ถูกใจวัยโจ๋

ผู้จัดทำโครงการ​

รองคณบดีฝ่ายบริหารและกรรมการจัดการ
ความรู้วิชาการบริหารการศึกษา

คณะเทคนิคการแพทย์

ผู้ให้ความรู้​​

คณาจารย์กลุ่มวิชาธนาคารเลือด

คณะเทคนิคการแพทย์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

         ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนไม่มีความเบื่อหน่าย นักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น Kahoot, Canva, Socrative, ZipGrade และ ClassDojo เป็นต้น ซึ่งแต่ละ application ก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเลือกตามความเหมาะสม โดยคณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคนิคการแพทย์ มีความประสงค์ที่จะทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 4 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงนำเอา application kahoot มาประยุกต์ใช้กับนักศึกษาปีที่ 3 ในวิชา MTH341 และ space race ของ socrative มาประยุกต์ใช้กับการฝึกงานธนาคารเลือดของนักศึกษาปีที่ 4 เพื่อกระตุ้นความสนใจให้แก่นักศึกษาผ่านการเล่นเกมส์แข่งขันตอบคำถาม อีกทั้งยังเป็นการประเมินผลการเรียนว่านักศึกษามีความเข้าใจในบทเรียนมากน้อยเพียงใด

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, สังกัด กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต คณะเทคนิคการแพทย์

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
คณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ได้ดำเนินการนำความรู้จากการใช้ application kahoot และ space race ของ socrative มาประยุกต์ใช้กับความรู้ทางด้านธนาคารเลือด โดยสามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยสรุปคือ นำ kahoot มาใช้กับการเรียนการสอนวิชา MTH341 กับนักศึกษาปีที่ 3 จำนวน 164 คน ที่ห้อง 7-100 และนำ space race ของ socrative มาใช้ในการฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน วิชาธนาคารเลือด ภาคการศึกษา 2/2565 มีจำนวน quiz ใน socrative ทั้งหมด 68 ข้อ แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 15 กลุ่ม ทำ quiz ก่อน และหลัง

2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    
    คณาจารย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ได้ดำเนินการนำ kahoot มาใช้กับการเรียนการสอนวิชา MTH341 กับนักศึกษาปีที่ 3 จำนวน 164 คน ที่ห้อง 7-100 การดำเนินการยังคงมีอุปสรรคบางประการ เช่น ห้องที่ใช้จัดกิจกรรมแคบเกินไป โจทย์ปัญหายาวเกินไป รูปภาพเล็กเกินไป นักศึกษาที่นั่งอยู่ด้านหลังมองไม่ค่อยเห็น  นอกจากนี้ยังได้นำ space race ของ socrative มาใช้ในการฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน วิชาธนาคารเลือด ภาคการศึกษา 2/2565 มีจำนวน quiz ใน socrative ทั้งหมด 68 ข้อ แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 15 กลุ่ม ทำ quiz ก่อนและหลัง หลังจากดำเนินการมีข้อคิดจากนักศึกษาต่อการใช้ space race ของ socrative คือ การทำ quiz ครั้งแรก ยังไม่ได้คิดวิเคราะห์ เพราะต้องรีบหาคำตอบให้ทันเวลา แต่พอ quiz อีกรอบพร้อมเฉลยทำให้เข้าใจมากขึ้น

3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     
    ผลการประเมินจากนักศึกษาต่อการนำ kahoot มาใช้ในการติววิชา MTH341 พบว่า
kahoot เหมาะกับการนำมาใช้ในการติววิชา MTH341 เป็น 3.98 เนื้อหาการติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot มีการจัดลำดับการนำเสนอที่เหมาะสมเข้าใจง่าย เป็น 4.23 การติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot ดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน เป็น 4.38 รูปแบบการติวสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็น 4.15 อาจารย์มีการเฉลยและอธิบายเนื้อหา และมีรางวัลเพื่อเสริมแรงอย่างเหมาะสม เป็น 4.47 ส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์ เป็น 4.32 และความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมสำหรับการติววิชา MTH341 โดยใช้ kahoot เป็น 4.09 แสดงถึงความพอใจของนักศึกษาที่ดีต่อการนำ kahoot มาใช้
    สำหรับผลการประเมินจากนักศึกษาต่อการนำ socrative มาใช้ในการฝึกงานวิชาธนาคารเลือด พบว่า
การใช้เมนู space race ของ application socrative มีรายละเอียดดังนี้
1. ทำให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือทางด้านธนาคารเลือดมากขึ้น มากน้อยเพียงใด เป็น 4.23
2.การใช้เมนู space race ของ application socrative ทำให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์โจทย์ทางด้านธนาคารเลือดมากขึ้น มากน้อยเพียงใด เป็น 4.38
3.หลังการใช้เมนู space race เมื่อมีการใช้เมนู quiz เพื่อให้นักศึกษาเลือกคำตอบอีกครั้ง และมีการเฉลย ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาด้านธนาคารเลือดมากน้อยเพียงใด เป็น 4.85
4.การใช้โปรแกรม microsoft whiteboard, paint เพื่อเขียนคำอธิบายประกอบคำถามและเฉลย ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาด้านธนาคารเลือด มากน้อยเพียงใด มีค่าคะแนนเแลี่ยเท่ากับ 4.54
5.นักศึกษาได้ประโยชน์จากการใช้สื่อการสอนออนไลน์ด้วย application socrative เพื่อสอนเนื้อหาทางด้านธนาคารเลือด มากน้อยเพียงใด เป็น 4.69
ทั้งหมดนี้แสดงถึงความพอใจของนักศึกษาที่ดีต่อการนำ space race ของ socrative มาใช้ในการกระตุ้นการเรียนการสอนต่อนักศึกษาทางด้านวิชาธนาคารเลือด

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

         ปรับสื่อการสอนใน kahoot และ socrative ให้มีความเหมาะสม ลงตัวมากขึ้น เช่น ปรับขนาดตัวหนังสือ และรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ปรับโจทย์ให้สั้นลง ปรับขนาดห้องให้ใหญ่ขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการนำไปใช้ในวิชาอื่นเพิ่มมากขึ้น

Scroll to Top