เทคนิคการจัดการเรียนการสอน
แบบ Story Line สไตล์ นวัตกรรมเกษตร

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6

รางวัลดีเด่น ปี2566

ผู้จัดทำโครงการ​

รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ เศรษฐฐิติ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ สุรวาณิช, ดร.อาทิตย์ พงษ์ทิพย์,
อ.ประณต มณีอินทร์, อ.ธนกร พรมโคตรค้า, อ.ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด

คณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

จากสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์กับแนวทางการศึกษาของยุคเทคโนโลยีปัจจุบันอย่างแท้จริง เนื่องจากทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจเนื้อ หาได้อย่างลึกซึ้ง ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ได้ ไม่สามารถต่อยอดทางความคิดได้ และไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นทางคณะนวัตกรรมเกษตรจึงส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน และการประมวลผลองค์ความรู้เชิง “บูรณาการ” โดยผนวกกันระหว่างการบูรณาการทางเทคนิคการสอน และบูรณาการด้านประมวลความรู้หรือการสอบ เน้นให้นักศึกษาสามารถเห็นความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาวิชาซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ นำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการกับชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ อีกทั้งการเรียนการสอนเชิงและการสอบประมวลผลเชิง “บูรณาการ”

ตามแบบฉบับนวัตกรรมเกษตร ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชนเพิ่มขึ้นด้วย

และเนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนและในทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การเรียนการสอน และการประมวลผลองค์ความรู้เชิง“บูรณาการ” ที่คณะนวัตกรรมเกษตรดำเนินการนั้น เป็นการนำ เทคนิค Storyline Method ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนแบบ “บูรณาการ” เป็นหลัก ซึ่งการบูรณาการในที่นี้ คือ 1) การบูรณาการด้านเทคนิคการสอน เนื้อหารายวิชาในหลายๆวิชาในเทอมนั้นๆเข้าด้วยกัน การบูรณาการทางเทคนิคการสอนของคณะนวัตกรรมเกษตร เป็นการนำเทคนิคการสอนต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายวิธีเข้ามาใช้ร่วมกันในการสอน โดยจะเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม และการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ที่สำคัญคือการใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) และเทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทดลอง (Project-Based Learning) ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์อื่นๆจากนอกห้องเรียน นอกจากนั้นยังมีกระบวนการประเมินผลพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย กระตุ้นให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการค้นคว้าด้วยตนเอง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นๆ และผู้เรียนคนอื่นสามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น สำหรับการบูรณาการเนื้อหาในหลายๆวิชาเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนของคณะนวัตกรรมเกษตร เน้นการผสมผสานความรู้ที่ได้จากการเรียนในแต่ละรายวิชา โดยที่ผู้สอนจะมีการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการขึ้นในรูปแบบของ Problem-Based Learning หรือ Project-Based Learning และให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากในรายวิชาต่างๆ มาใช้ประกอบในกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา และทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการนั้นๆ พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลของกิจกรรมบูรณาการในรูปแบบของการสัมมนา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะของการนำเสนอผลงานและพัฒนาบุคลิกภาพไปในตัวเป็นการจัดการเรียนการสอนที่คณะนวัตกรรมเกษตรดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงเทคนิครูปแบบให้เข้ากับยุคสมัยของสื่อสังคมและความสนใจของนักศึกษาเป็นหลัก 

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ : นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Storyline

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยจะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ เรียกว่า การกำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา   “บูรณาการ” เกิดจากผู้เรียนนำความรู้จากทุกรายวิชามาประมวลผลผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ซึ่งการนำความรู้จากทุกรายวิชามาเชื่อมโยงกัน จะมีรายวิชาหลัก (Main Project) และรายวิชารอง (Secondary Project) รวมอย่างน้อย 3 วิชา ผนวกกับข้อมูล/ข้อคิดเห็นของเกษตรกร (Data base) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น Data Science จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชน จึงทำให้เกิด “การสอบบูรณาการ” ซึ่งการสอบดังกล่าวผู้เรียนต้องนำเสนอผลงานบูรณาการในรูปแบบการสัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนด้วย 

ลักษณะเด่นของวิธีการสอน 
เป็นการกำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ โดยเน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งยังคงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด และนอกจากนี้ยังยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างกลุ่ม  เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 
โดยเน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning) 

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เจ้าของความรู้ นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.  2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เจ้าของความรู้ถอดความรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอน แบบ Storyline Method หลังจากที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557

วิธีการดำเนินการ

คณะนวัตกรรมเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนและการประเมินผล จึงได้นำรูปแบบการการสอบประมวลผลแบบบูรณาการมาใช้ตั้งแต่ปี 2557 และเห็นว่าเป็นวิธีการประเมินผลที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ สามารถประเมินผลได้ครอบคลุมทุกด้านและได้มีการปรับปรุงรูปแบบการสอบบูรณาการให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถาณการณ์ปัจจุบัน  จากการที่คณะนวัตกรรมเกษตร  ได้ดำเนินการสอบประมวลความรู้แบบบูรณาการมาเป็นเวลา 10 ปี มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

  1. อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมกำหนดวันสอบบูรณาการลงในปฏิทินกิจกรรมคณะ 
  2. ประชุมกลุ่มย่อยของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละ รายวิชา ของแต่ละชั้นปี  โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะกำหนดให้มีการสอบบูรณาการในภาคการศึกษาที่ 2 ส่วนชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 สอบบูรณาการ ทั้งสองภาคการศึกษา ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะไม่มีการสอบบูรณาการ แต่จะเป็นการสอบสัมมนาและโครงการพิเศษ 
  3. อาจารย์ประจำกลุ่ม 
  1. กำหนดกรอบเนื้อหาวิชา (Storyline) ซึ่งเป็นการกำหนดหัวข้อเชิงบูรณาการ อาจเป็นกิจกรรมในรูปแบบของ Problem-Based Learning หรือ Project-Based Learning ซึ่งการกำหนดการสอบเชิงบูรณาการนี้จะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาของหลายๆรายวิชา และผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาที่นำมาบูรณาการร่วมกัน แล้วประกาศให้นักศึกษาทราบ พร้อมยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของเนื้อหาวิชาและแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ 
  2. ชี้แจงเกณฑ์การประเมิน 
  3. กำหนดวันสอบบูรณาการ รูปแบบการเตรียมสื่อเพื่อนำเสนอ 
  4. ติดตาม สังเกตุการณ์ กระตุ้นและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจำได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องท่องจำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ
  5. อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นกรรมการประเมินผลการสอบบูรณาการของนักศึกษา ตั้งคำถาม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับจากการนำเสนอมาปรับปรุง และจัดทำรายงานบูรณาการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  1. นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในทุกรายวิชา มาใช้ประกอบในกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สำหรับแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร วางแผนหรือบริหารจัดการระบบเกษตรให้มีความเหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตสูง มีการจัดการสุขภาพพืชได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีความทันสมัย และทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย
  2. นักศึกษานำเสนอและอภิปรายผลของกิจกรรมบูรณาการในรูปแบบของการสัมมนา มีการตั้งคำถามจากผู้สอนหลายๆท่านและผู้เรียนคนอื่นๆ รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆภายในห้องสัมมนา
  3. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบบูรณาการไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปช่วยเหลือชุมชนและสังคม รวมถึงการนาความรู้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจต่อไป
  1. Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว 

  • ผลการดำเนินงาน  
  1. Class GPA ของทุกรายวิชา สูงขึ้น จากการจัดการเรียนการสอนและการสอบเชิงบูรณาการแบบ Storyline พบว่าทุกรายวิชา นักศึกษามีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ปกติ นักศึกษาสามารถนำเสนอผลงานบรูณาการได้ สามารถตอบคำถามและเชื่อมโยงองค์ความรู้ในแต่ละส่วนของรายวิชาได้ เป็นอย่างดี และจากการสังเกต นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเตรียมการในการสอบบูรณาการ ทำความเข้าใจกับเนื้อหารายวิชา นักศึกษามีความสุข มีความภาคภูมิใจในการตอบคำถามอย่างเข้าใจ ทำให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมจากคะแนนและเกรดเฉลี่ยรวม (Calss GPA) สูงขึ้น เพราะนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง (Project-Based Learning) ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ผู้เรียนได้ฝึกการนำเสนองานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม พร้อมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อเสนอแนะจากผู้สอน และผู้เรียนคนอื่นๆ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนอีกด้วย โดยกิจกรรมบูรณาการ เกิดจากผู้เรียนนำความรู้จากทุกรายวิชามาประมวลผลผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ซึ่งการนำความรู้จากทุกรายวิชามาเชื่อมโยงกัน จะมีรายวิชาหลัก (Main Project) และรายวิชารอง (Secondary Project) รวมอย่างน้อย 3 วิชา ซึ่งในแต่ละรายวิชามีการปรับปรุงให้ทันสมัยตามเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ ผนวกกับข้อมูล/ข้อคิดเห็นของเกษตรกร (Data base) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น Data Science จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชน จึงทำให้เกิด “กิจกรรมบูรณาการ” โดยกิจกรรมดังกล่าวผู้เรียนต้องนำเสนอผลงานบูรณาการในรูปแบบการสัมมนา และมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนด้วย ดังนั้น จึงเป็นการประเมินนักศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกๆ รายวิชาอีกด้วย จากการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการมีลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนตั้งระดับชั้นปีที่ 1 ถึงระดับชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นการการเรียนการสอนรายวิชาที่เป็นวิชาพื้นฐานเป็นลำดับแรกที่เป็นความเหมาะสมเอื้อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในระดับชั้นปีที่สูงขึ้นไป นอกจากนี้การเรียนรู้ของนักศึกษาใช้เป็นระบบเปิด ที่ไม่จำเป็นต้องมีการท่องจำบทเรียนเพียงอย่างเดียว นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น Ipad เป็นต้น หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ มาประกอบกับการเรียน ผ่านระบบการค้นคว้าข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา นักศึกษาทุกคนจะต้องมีการสอบประมวลผลความรู้ที่ได้เรียนมาในรูปแบบการนำเสนอบรรยาย ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ คือ Tiktok เพื่อให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนและหลักสูตรก็ได้มีการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเพิ่มขึ้นด้วย 
  2. ส่งเสริมการทำวิจัยของนักศึกษา : การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่เป็นนวัตกรรม จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาของเราได้สำรวจและค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อจุดประกายความคิดนำมาเป็นโจทธิ์วิจัยเชิงบูรณาการได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จาก การที่นักศึกษา เข้าใจการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา แล้วนำมาตั้งโจทย์วิจัย หรือโครงการพิเศษ ตั้งสมมุติฐาน และหาวิธีพิสูจน์สมมุติฐาน บนพื้นฐานของความถูกต้องของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผ่านรายวิชาโครงการพิเศษ ซึ่งจะมีการประเมินองค์ความรู้จากอาจารย์ประจำหลักสูตร ตัวอย่างผลการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการสอบแบบบูรณาการของคณะ และเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาคิดโจทย์วิจัยแบบบูรณาการ และงานวิจัยดังกล่าวได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นคือ “เรื่องผลของทริปโตเฟนร่วมกับแสง LED ต่อคุณภาพและสารสำคัญในเห็ดเมจิกภายใต้สภาพปลอดเชื้อ” (THE EFFECT OF TRYPTOPHAN IN COMBINATION WITH LED LIGHT ON THE QUALITY AND CONSTITUENTS OF MAGIC MUSHROOMS UNDER STERILE CONDITIONS)
  3. ส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา ; จากการที่ทางคณะได้จัดให้มีการสอบแบบบูรณาการ และมีการนำเสนอผลงานผ่านการสัมมนา เป็นผลทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเรียงลำดับเนื้อ การเตรียมสื่อ บุคลิกภาพ ทำให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ทำให้มีผลงานวิจัยของนักศึกษาที่ผ่านการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ และได้รับรางวัลเป็นประจำทุกปี เช่น 

ปี 2564 

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การให้ปุ๋ยน้ำหมักมูลหนอนไหมต่อการเจริญเติบโตและสารสำคัญในบัวบก” 

: ของนางสาวปรัชยาพร ศรอินทร์ ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 7  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา 

: ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับชมเชย

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของต้นและปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวมในใบกัญชา (Cannabis sativa

: ของนายภูวณัฐ อินทนนท์ นายศิวกร จันทบาล ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่  7 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา 

: ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับดีเด่น

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การให้ปุ๋ยน้ำหมักมูลหนอนไหมต่อการเจริญเติบโตและสารสำคัญในบัวบก” 

: ของนางสาวปรัชยาพร ศรอินทร์ ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 7  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา 

: ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับชมเชย

ปี 2566

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลของ การให้กรดซาลิไซลิกทางใบต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารสำคัญของพริกกะเหรี่ยง ” 

: ของนายวทัญญู แก้วมณี  ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

: ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า ระดับดีมาก  

  1. ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลของรังสี UV-C ต่อปริมาณสาระสำคัญในเห็ดขี้ควาย Psilocybe cubensis

;  ของนายทัชพล วิชาชัย และธนัชยา เกณฑ์ขุนทด ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 9  มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา 

: ได้รับรางวัลการนำเสนอแบบบรรยายในระดับดีเด่น

ส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของนักศึกษา ; สืบเนื่องจากข้อที่ 1.2  ทำให้นักศึกษาของคณะมีผลงานวิจัยที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารให้ตีพิมพ์บทความวิจัย  เช่น  ผลงานวิจัยเรื่อง “ ผลของปริมาณความเข้มข้นของสารแทนนินต่อการงอกเมล็ดพันธุ์กัญชา RSU 01”  ของ นางสาวชลธิชา จันทร์เทศนา  ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ให้ตีพิมพ์ ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 วารสารเพื่อการรับรองคุณภาพของ TCI

ปัญหาอุปสรรค

          เนื่องจากยังคงมีนักศึกษาอีกส่วนหนึ่งแต่เป็นส่วนน้อยที่ยังต้องการการพัฒนาศักยภาพเป็นพิเศษ  อาจารย์ประจำหลักสูตร จึงได้มีการประชุมเพื่อวางแผนและหาแนวทางในการประเมินผลในหลากหลายวิธีการเพื่อให้เหมาะกับศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถเรียนรู้ได้ และสำเร็จการศึกษาได้ตามมาตรฐานคุณภาพที่คณะกำหนด

 

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

การตรวจสอบผลการดำเนินงาน

คณะนวัตกรรมเกษตร ได้มีการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการสอบแบบบูรณาการ เป็นประจำทุกปี และถูกกำหนดอยู่ในปฏิทินกิจกรรมของคณะเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการติดตามและประเมินผล

การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ : ประสบการณ์จากการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลแบบบูรณาการ (Storylie)  พบว่า มีส่วนช่วยในด้านต่างๆดังนี้

  1. ช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้นักศึกษาได้รับเนื้อหาความรู้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยอาจารย์พยายามถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเนื้อหาที่ยากให้เข้าใจง่ายๆโดยใช้นวัตกรรม ทำให้นักศึกษาสนใจและเข้าใจบทเรียนมากขึ้น ก่อให้เกิดความรู้และความคิดใหม่ในการแก้ปัญหา แทนการค้นหาคำตอบจากที่อาจารย์บอก  
  2. หลีกเลี่ยงการรับเนื้อหาความรู้มากมายในคราวเดียว โดยอาจารย์ที่จะเป็นผู้ย่อยข้อมูลให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และการทำให้ข้อมูลสั้นกระชับลงจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจพื้นฐานได้เร็วขึ้น
  3. ช่วยตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา– ถึงแม้ว่าเกรดและข้อสอบสามารถบอกอะไรบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้และความรู้ของนักศึกษา แนวคิดการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ช่วยให้อาจารย์ตรวจสอบชั้นเรียนและรู้ดีขึ้นว่านักเรียนต้องเจอกับปัญหาใดเพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด
  4. ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา–วิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นและแตกต่าง กระตุ้นให้พวกเขากล้าพูดและมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          สืบเนื่องจากคณะนวัตกรรมเกษตร ได้ดำเนินการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน แบบ Storyline method มาปรับใช้กับการเรียนการสอนและการสอบประมวลความรู้ทางด้านนวัตกรรมเกษตรแบบบูรณาการมาตั้งแต่ปี 2557จนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากการสอบวัดองค์ความรู้ทางวิชาการของแต่ละรายวิชาซึ่งเป็นการประเมินความรู้แบบแยกส่วนหรือแยกเนื้อหา และได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องหรือจุดด้อยต่างๆรวมถึงปรับรูปแบบการสอบประมวลผลให้เข้ากับสถาณการณ์ปัจจุบัน เช่น การสรุปเนื้อหาจากรายวิชาที่ได้เรียน เป็นอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) ที่เข้าใจง่าย และสามารถเผยแพร่ความรู้จากนักศึกษาสู่ผู้สนใจด้านการเกษตร หรือเกษตรกรหัวก้าวหน้า เป็นการบูรณาการความรู้และส่งต่อสู่เกษตรกรผู้ใช้จริง ผ่านช่องทางออนไลน์ และการจัดหน่วยให้ความรู้แก่เกษตรกร แต่ยังคงดำเนินการตามรูปแบบของ Storyline method เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ KR1.4.2 อาจารย์มีผลการประเมินประสิทธิผลการสอนโดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป  และ KR1.4.3 อาจารย์ผู้สอนมีผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยนักศึกษาในระดับ 4.01 ขึ้นไป

Scroll to Top