การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย
ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR2.1.3 KR2.2.1 KR2.2.2 KR2.2.3 KR2.3.1 KR2.3.2 KR2.4.1 KR2.4.2
รางวัลดีเด่น ปี2566
ผู้จัดทำโครงการ
รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 และได้รับยกระดับจากคณะเป็นวิทยาลัยในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561ทางวิทยาลัยฯได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยทั้งในระยะยาว (5ปี)และระยะสั้นที่รียกว่า Action Plan มาตลอดระยะเวลาโดยทิศทางที่สำคัญของแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปีแรก (2560-2564) ได้มีทิศทางในการเป็น “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” โดยการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์นั้นได้เน้นในเรื่องของการ Synergy ทั้งภารกิจและทรัพยากรมนุษย์และเมื่อสิ้นสุดแผนยุทธศาสตร์ในระยะ5ปีได้ทำการประเมินแผนพบว่าเราสามารถดำเนินการตามแผนงานจนสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกมิติและหลังจากทำการประเมินสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกในทุกมิติแล้วจึงได้ระดมสมองกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วนทั้งบุคลากรสายอาจารย์และสายสนับสนุนการเรียนรู้ นักศึกษา รวมทั้งองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะที่ 2 (2565-2569) ขึ้นมาโดยในแผนนี้ได้มีทิศทางในการก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยสิ่งหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากที่เรียกว่า “ปณิธาน”ก็คือการมุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน” และการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้นั้นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่วิทยาลัยให้ความสำคัญก็คือเรื่องของ “การพัฒนางานวิจัย”
สืบเนื่องจากตั้งแต่เข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เป็นต้นมาทั้งในตำแหน่งอาจารย์ประจำและผู้บริหารของภาควิชาและหลักสูตรจนมาเป็นคณบดีภาระงานหลักที่สำคัญมากอันหนึ่งของผู้ที่เป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาคือภาระงานวิจัย และภารกิจหลักอันนี้ก็จะเป็นยาขมของคณาจารย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากร ที่สำคัญก็คือขาดผู้ที่เชี่ยวชาญจริงๆ มีประสบการณ์และบารมีจริงๆทางด้านการวิจัยและขาดแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะมาพัฒนาทิศทางการวิจัย พัฒนานักวิจัย พัฒนาทีมวิจัย ไม่มีทิศทาง ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการทำวิจัย ไม่มีการพัฒนาทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีผลงานวิจัยเชิงประจักษ์มากนัก ไม่มีพี่เลี้ยงที่มีบารมีและประสบการณ์ในการขอหรือดึงทุนวิจัยเข้ามา จึงได้มีแนวความคิดและวางแผนงานในการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยฯขึ้นมาโดยเริ่มต้นจากศูนย์ในระยะเริ่มต้นในขณะที่ยังเป็นหลักสูตรหนึ่งในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบันที่ได้รับการยกระดับมาเป็นคณะและวิทยาลัยตามลำดับ โดยจุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่ต้องการมากที่สุดที่ต้องไปให้ถึงให้ได้ก็คือในการที่จะพัฒนางานวิจัยอย่างจริงจังและครบวงจร พัฒนาทีมวิจัยที่เข้มแข็งและยั่งยืนสืบต่อกันเป็นทอดๆ มีทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งต่างๆอย่างยั่งยืนจากทั้งในระดับมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง จนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ดังนี้
- องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร (หลักการ 4 M)
- องค์ความรู้ทางด้านการบริหารงานวิจัย
- องค์ความรู้ทางด้านการวิจัย
- การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและองค์กรในลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน
องค์ความรู้อื่นๆที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา แระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัยรวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี
วิธีการดำเนินการ
- การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัย
การสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยได้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่1 เป็นระยะเริ่มต้นจากศูนย์แบบลองผิดลองถูก (ในขณะที่หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)
ปีการศึกษา 2543 – 2547 ได้เริ่มจากการทำวิจัยทางด้านเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจำนวน 90,000บาท มีผู้ช่วยวิจัย 1 คน มีจุดมุ่งหมายในการที่จะทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทดแทนการจัดซื้อจากต่างประเทศเพื่อที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยรังสิตและนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศโดยมีระยะเวลาในการวิจัย 1 ปี ต่อมาได้รับทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องการพัฒนาเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต
ผลที่ได้รับ ได้ชุดเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และแสดงผลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีบริษัทเอกชน (บริษัทอินเทลเล็คท์)ได้เข้ามาขอทำความร่วมมือในการผลิตในเชิงพาณิชบ์ในระยะ 3 ปีกว่า300ชุดเพื่อนำไปจำหน่ายในราคาถูกให้กับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา รวมทั้งใช้ในการบริการวิชาการให้กับคณะครูอาจารย์ทั่วประเทศจำนวนหลายครั้ง ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2544 ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นสาขาสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษาจากสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี2545 เป็นต้น
ระยะที่ 2 ระยะกำลังพัฒนาเพื่อสานต่อ (ในขณะนั้นหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)
ปีการศึกษา 2548 – 2558 เป็นระยะที่เริ่มมีเครดิตและชื่อเสียงทางด้านการวิจัยออกภายนอก โดยได้เริ่มทดลองขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ในขณะที่ทีมวิจัยที่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาก็เริ่มขอจากขอทุนวิจัยจากภายในมหาวิทยาลัยของสถาบันวิจัย ในแง่การตีพิมพ์ผลงานวิจัยนั้น ทางคณาจารย์ของภาควิชาได้นำผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไปตีพิมพ์ทั้งในแบบProceeding และวารสาร ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมากกว่าปีละ 20 ผลงาน มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา มีผลการประเมินการประกันคุณภาพในระดับภาควิชาทางด้านการวิจัยในระดับสูงมากในทุกปี
ระยะที่3 ระยะการเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม (ได้รับการยกระดับจากหลักสูตรเป็นคณะและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา2558)
ปีการศึกษา 2558 – 2564 ระยะนี้เป็นระยะที่มีความพร้อมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการที่จะเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการทำวิจัยและนวัตกรรมอย่างจริงจัง โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ มีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทัศนคติของคณาจารย์และนักศึกษาที่ได้ผ่านการเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม มีผลงานที่ผ่านมาว่าเราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำวิจัยได้ประสบความสำเร็จสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานชาติจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งมีทุนสนับสนุนการวิจัยที่มากพอสมควรในแต่ละปี มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวิจัยที่ได้สนใจเข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้นมาช่วยเป็นMentor ในด้านการชี้แนะแนวทาง การเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ รวมทั้งได้รับอาจารย์ประจำวัยหนุ่มที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศอังกฤษที่มีประสบการณ์เป็นอาจารย์และเคยทำงานวิจัยมาจากต่างประเทศจำนวนหนึ่งมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยฯรวมทั้งได้เปิดหลักสูตรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการทำงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมนอกจากนั้นได้ทำความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลและสถานให้บริการทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพแหล่งทุนวิจัยและนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเครือข่ายหาโจทย์วิจัย แหล่งทดสอบผลการวิจัยทางคลินิกแหล่งทุนวิจัย รวมทั้งแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการจริง ส่งผลทำให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไปมาเป็นระยะที่เริ่มต้นเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัย อย่างต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อยๆจนกลายเป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรม มีผลงานวิจัยและผลการตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการรวมทั้งวารสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศต่อปีเป็นจำนวนมากรวมทั้งได้มีการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการนำไปใช้งานได้จริง เริ่มมีการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ในลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ได้มีการนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ในการให้บริการวิชาการ และใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นไปเรื่อยๆในทุกๆปี โดยการที่ทางคณะ/วิทยาลัยได้มีTrack วิจัยและจัดห้องวิจัยที่ชัดเจนเพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนและการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาในทุกระดับการศึกษา โดยนักศึกษาจะเวียนกันเข้าไปเริ่มรู้จักการทำวิจัยตั้งแต่ในชั้นปีที่2 เริ่มทำในชั้นปีที่3 และทำจริงจังในชั้นปีที่4โดยทางคณะ/วิทยาลัยจะประสานงานกับผู้รับผิดชอบในระดับมหาวิทยาลัยในการอำนวยความสะดวกในด้านเวลานอกเวลาทำการให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้ทำการวิจัยได้เต็มที่เกือบ24ชั่วโมง โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังในเบื้องต้นก็คือบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของคณะ/วิทยาลัยจะเป็นบรรยายกาศของคณะ/วิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น คณาจารย์มีผลงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์รวมทั้งมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพและได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากลมากขึ้น นอกจากนั้นทางคณะ/วิทยาลัยได้ทำการพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์(ศูนย์BIS) เพื่อใช้เป็นฐานในการนำเอาผลงานวิจัยถ่ายทอดและมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมรวมทั้งใช้เป็นฐานในการให้บริการทางวิชาการทั้งในรูปแบบของเพื่อการศึกษาและเชิงพาณิชย์อีกทางหนึ่งด้วย โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำหรับการพัฒนานักศึกษาในด้านการพัฒนานวัตกรรม งานบริการวิชการและการฝึกทักษะและจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการอีกทางหนึ่งด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายปลายทางที่สุดก็คือผลักดันให้คณะ/วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตเข้าสู่คณะ/วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย นวัตกรรมและผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ
- เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
มีการวางแผนในเชิงกลยุทธ์ มีความมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อให้งานเป็นไปตามแผน โดยเริ่มต้นจากการทำเป็นตัวอย่างให้ดู พัฒนาEco-Systems การทำงานให้น่าทำงาน วางแผนพัฒนาทัศนคติการทำงานของบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามทิศทาง ที่เหมาะสม มีการประเมินผล ให้รางวัลและการลงโทษในระดับต่างๆที่เหมาะสม โดยได้วางกลยุทธ์ในการพัฒนาที่ต้องวางพื้นฐานจากการสร้างเครดิตจากผลงานวิจัยแบบครบวงจรจากชิ้นเล็กๆไปหาใหญ่ เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการขอทุนวิจัยจากขนาดเล็กในระดับมหาวิทยาลัยไปหาทุนวิจัยขนาดใหญ่จากข้างนอกมหาวิทยาลัย สร้างทีมวิจัยจากขนาดเล็กๆ แล้วค่อยๆขยายขนาดของทีมวิจัยขึ้นมา แสวงหา ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทีมวิจัยและให้ข้อเสนอแนะและความรู้กับทีมวิจัยมากขึ้น เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กระตุ้นให้นักศึกษาได้ร่วมเข้ามาเป็นทีมวิจัยต่อเนื่องเป็นทอดๆกันในแต่ละรุ่นมากขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำวิจัยทั้งในด้านของสถานที่และเครื่องมือในการวิจัยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งกระตุ้นให้มีการทำภาระกิจแบบSynergy คือการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะต่างๆทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ การนำผลวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การใช้ผลการวิจัยมาใช้ในงานบริการวิชาการ และ ดำเนินการในเชิงพาณิชย์
- ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น
ผู้ร่วมงานที่ดีมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่ดีในการทำวิจัยเพียงแต่ยังไม่รู้ทิศทางดังนั้นพอมีทิศทางในการวิจัยที่ชัดเจน มีนักวิจัยที่มีประสบการณ์มาช่วยชี้แนะ ใส่ทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการทำวิจัยก็จะทำให้การพัฒนางานวิจัยของคณะ/วิทยาลัยให้ไปได้เร็วมากขึ้น และ การที่มีผู้บังคับบัญชาที่ดีในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งท่านดร.อรรถวิท อุไรรัตน์อธิการบดีได้ให้การส่งเสริม และสนับสนุนอย่างดียิ่งทำให้สามารถดำเดินแผนงานในแนวทางที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องตลอดมาทำให้การพัฒนางานเป็นไปตามแผนงานโดยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
สำหรับผลการดำเนินงานการพัฒนาในวงรอบPDCAในแผนยุทธศาสตร์ระยะ5ปีใน2ระยะ(นับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะ/วิทยาลัย : 2558-2559 และ 2560 – 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในทุกมิติที่เรียกว่า ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยฯ โดยผลลัพธ์หรือความสำเร็จของผลการดำเนินงานสามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
2.1 Eco-Systems
ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยที่วิทยาลัยฯได้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานของบุคลากรและนักศึกษาในทุกภาคส่วนรวมทั้งสอดคล้องและส่งเสริมการเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์และปณิธานของวิทยาลัยโดยวิทยาลัยได้ทำการพัฒนาตามกระบวนการPDCAอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ประกอบด้วย
- ห้องวิจัยและบรรยากาศการทำวิจัย ที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับการทำวิจัยและการจัดการเรียนการสอนไปพร้อมกันเหมือนกับมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในต่างประเทศ
- ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านของการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองในการเป็น“วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” สำหรับการดำเนินการในด้านนี้ทางวิทยาลัยฯได้ดำเนินการตามวงรอบPDCAการพัฒนาทำนองเดียวกับด้านการพัฒนาระบบสิ่งสนับสนุนด้านอื่นๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่กล่าวมาข้างต้นโดยได้มีการพัฒนาระบบห้องวิจัย ระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัย ระบบการนำผลงานวิจัยไปดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการวิจัยของคณาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาในทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก
2.2 ผลงานวิจัย
ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งคะแนนประกันคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ติด 3 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยรังสิตในตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จนี้ก็คือความพร้อมของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งรวมทั้งการทำวิจัยด้วยในทุกมิติที่ส่งผลทำให้การขอทุนวิจัย การผลิตผลงานวิจัยการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยรวมทั้งงานบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยได้ทำในลักษณะ Synergy ภารกิจนั่นเอง
ผลลัพธ์ของการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
- ในแต่ละปีการศึกษาได้มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับสากลจำนวนประมาณไม่น้อยกว่า 20 ผลงานต่อปี
- ในแต่ละปีการศึกษามีผลงานการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประมาณไม่น้อยกว่า 5 ผลงานต่อปี โดยวิทยาลัยมีอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรรวม 62 ผลงาน
- ทุนสนับสนุนการวิจัยต่อปีทั้งจากภายในและภายนอกในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท
- ส่งผลทำให้อาจารย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์สามารถพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการเกือบครบ100 เปอร์เซ็นต์
- ส่งผลทำให้มีความพร้อมจนสามารถเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว
- ส่งผลทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 160 คน เป็น 320-350 คน ในปัจจุบัน
- รางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรม รางวัล Start-Up ทั้งในระดับสถาบัน ระดับประเทศและระดับนานาชาติ ของคณาจารย์และนักศึกษาจำนวนมาก
- ผลงานวิจัยและนวัตกรรมบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ บางส่วนสามารถใช้งานในสถานการณ์จริง ได้อยู่ระหว่างการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์
- วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นเป้าหมายแรกๆของบุคคลจากภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมดูงานทางด้านนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยรังสิตเพราะปัจจัยที่สำคัญลำดับแรกๆก็คือต้องการมาเยี่ยมชมนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาของวิทยาลัยฯ
- วิทยาลัยฯได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกเช่นได้รับการรับรองจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ศฟ.) Thailand Center of Excellence in Physics (ThEP) สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) ให้เป็นศูนย์วิจัยในเครือข่าย
- คะแนนประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนของการวิจัยและในภาพรวมทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ/วิทยาลัยเป็นอันดับหนึ่งในทุกปีการศึกษาตลอดมา
- ชื่อเสียงเรื่องการวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นำมาซึ่งการได้รับเชิญเพื่อทำความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับเครือข่ายทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการจริงภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
อุปสรรคหรือปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำงานก็คือทัศนคติในการทำงานของบุคลากร โดยทางผู้บริหารในทุกระดับของคณะ/วิทยาลัยได้มี Growth Mindset และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโดยถือว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้ ที่สำคัญก็คือผู้ที่มีทัศนคติในการทำงานที่ดีและเหมาะสมจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่และผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขทัศนคติการทำงานให้สอดคล้องกับแนวทางของคณะ/วิทยาลัยได้ก็จะมีมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคจากภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับตัวเราในการที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากภายนอกเกิดขึ้น
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การพัฒนาในด้านการวิจัยนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาประการหนึ่งก็คืออัตราการเจริญเติบโตของงานวิจัยเพราะเราต้องพัฒนาผลงานวิจัยอย่างน้อยต้องมากกว่าหรือเท่ากับอัตราการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าของภายนอกทั้งในระดับประเทศหรือระดับสากลไม่เช่นนั้นจะทำให้การพัฒนาของเรานั้นอยู่กับที่หรือล้าหลัง ดังนั้นการบริหารจัดการการพัฒนางานวิจัย ให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน นั้นจะต้องประกอบด้วยการสำรวจตัวเอง (การทำSWOT) ในทุกๆด้าน การวางแผนงานและการวางเป้าหมายที่ดีและเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพขององค์กรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคต การลงมือดำเนินงานอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง การสร้างเครดิตและผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ การประชาสัมพันธ์ผลงานที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีการประเมินผลและทบทวนผลงานและเป้าหมายการดำเนินการเป็นระยะๆตามช่วงเวลาที่เหมาะสม (PDCA)
อย่างไรก็ตามการพัฒนางานวิจัยไม่มีเรื่องของความสำเร็จที่แน่นอนตายตัว ไม่มีจุดหมายที่แน่นอนตายตัว เพราะทุกๆอย่างจะเปลี่ยนไปตามเวลา ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและกาลเวลา แต่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละช่วงเวลาจะเป็นการยกระดับพื้นฐานของความแข็งแกร่งและศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยมากขึ้น ความสำเร็จจริงๆของงานวิจัยก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์จริงได้ มีการนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ และสามารถทำให้ภาคการผลิตมีความเชื่อถือในเครดิตและเข้ามาให้ความร่วมมือในด้านต่างๆแก่ทีมวิจัยอย่างจริงๆจังๆในทุกๆด้าน อันจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เป็นไปอย่างครบวงจร
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีหลายกลุ่มคณะ/วิทยาลัย จากการดำเนินการในเรื่องการสร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มาเป็นระยะเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับทิศทางการเป็นไปของทุกมิติของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของสังคมไทย และสังคมโลกนั้นเราไม่สามารถแข่งขันได้เลยถ้าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่มีการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนเพราะไม่รู้จะเอาองค์ความรู้ที่ไหนไปพัฒนาผู้เรียน สิ่งที่สำคัญก็คือเมื่อมีเทคโนโลยีที่สูงมากขึ้นเช่นปัญญาประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆมากมายในปัจจุบันเช่น Chat GPT หรืออื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาล้วนแล้วแต่จะสามารถแทนที่การจัดการเรียนและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมได้หมดสิ้น ดังนั้นการพัฒนาคณะ/วิทยาลัยให้เป็นคณะแห่งการวิจัยนั้นน่าจะเป็นแนวทางหลักแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างของโลกในศตวรรษที่ 21 นี้
สำหรับการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้นจริงๆแล้วการที่ผลงานการพัฒนาทางด้านการวิจัยในหลายๆปีที่ผ่านมาได้ออกสู่สายตาและเป็นที่รับรู้ทั้งในสื่อภายในสถาบัน สื่อสารมวลชนระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของการพัฒนาทางด้านผลงานวิจัยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่แล้ว อย่างไร ก็ตามในหลายคณะ/หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรังสิตและหรือสถาบันการศึกษาของภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรบางองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศไทยได้ใช้แนวทางบางส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรง