รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6
การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง
... จากชีววิทยาองค์รวม
ผู้จัดทำโครงการ
ผู้วางโครงการ ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์
ผู้ให้ความรู้ ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม
คณะวิทยาศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การจัดการเรียนสอนรายวิชาต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักที่งมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความสามารถ(ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่ง จนเกิดเป็นสมรรถนะทางการศึกษาด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างไปตามแต่ละเนื้อหา ทั้งด้านความรู้(cognitive domain) ด้านทักษะ (psychomotor domain) และด้านเจตคติ(affective domain)ในระดับต่างๆ การบูรณาการองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ปฎิบัติในสถานการณ์จริง เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ (ability to do)ในด้านใดด้านหนึ่งจนเกิดเป็นสมรรถนะด้านต่างๆขึ้นในตัวผู้เรียน
จากแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมโครงงาน (วิชา BIO131/ 132) เรื่อง “สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” ซึ่งเป็นสถานการณ์การเรียนรู้ที่กำหนดให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางชีววิทยา เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์….เป็นสวนกระถางจากขยะเมล็ดผลไม้” ควบคู่ไปกับการ ฝึกทักษะการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดผลไม้ การเพาะเมล็ด การรดน้ำ ดูแลต้นกล้า รวมถึงฝึกทักษะการนำเสนอ การบันทึกภาพทางวิชาการ การใช้ application ต่างๆ ได้แก่ Line application ในการปรึกษาหารืออาจารย์ผู้สอน ทักษะการใช้ Padlet application สำหรับการรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน ทักษะทำงานแบบบูรณาการภายใต้การแนะนำจากผู้สอนอย่างใกล้ชิดและมีความสุขแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สร้างเสริมคุณธรรมด้านความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ได้แก่ การตรงต่อเวลา ขยัน อดทน รักษาสัจจะ และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนอีกด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับจากกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากการการได้ฝึกทักษะการบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริงแล้ว ยังเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยาเพื่อลดของเสียหรือของเหลือทิ้ง(เมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการบริโภค) เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG1) Economy) เป็นวาระแห่งชาติ โดยโครงงานนี้เป็นกิจกรรมตัวอย่างที่นักศึกษาสามารถทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำแล้วมีความสุข และผลผลิตที่ได้มาสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อการค้าได้อีกด้วย
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
• องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ)
• L.E. (Learning Experience): นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
• การวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่ชุมชน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :
ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)
– ผลงานเรื่อง ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม (L.E.: Learning Experience) เรื่อง สารอันตรายในน้ำมันทอดซ้ำ:
ชุมชนวัดรังสิต(ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ประจำปี 2563)
– ผลงานเรื่อง “โครงการจัดอบรม ปลูกผักกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม”
– ผลงานเรื่อง “โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน”
เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (องค์ความรู้ เรื่อง L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
• แบบรายงานผลการจัดการความรู้ ปี การศึกษา 2563 :
(https://lc.rsu.ac.th/km/files/form/form_10_2021_04_20_125535.pdf)
• Clip: https://www.youtube.com/watch?v=E63-ar_lLs4
อื่น ๆ (โปรดระบุ) : E book ไม้ประดับจากขยะเมล็ดผลไม้
(โดย ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม & ลาวัณย์ วิจารณ์) เป็นองค์ความรู้ที่ได้จาก การบริการวิชาการ โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ปี 2565 (รหัส โครงการ 650437 : Ornamental Gardening For Life (สรรสร้างพันธุ์พืชเป็นไม้ประดับ)
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้/สังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
• ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การ แบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
• ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์ /สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ : องค์ความรู้ 1_ L.E. (Learning Experience) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ : องค์ความรู้ 2_ การวางโครงการบริการวิชาสู่ชุมชน
อื่น ๆ (ระบุ) สมรรถนะ (Competency) ด้านการใช้ Padlet application ในการบริหารจัดการและการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
วิธีการดำเนินการ
1. แบ่งนักศึกษาออกเป็น 24 กลุ่มๆละ 3-4 คน
2. กำหนดให้แต่ละกลุ่ม บูรณาการความรู้ทางชีววิทยา (อาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ) เป็นหลักในการเพาะเมล็ดผลไม้ เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ เป็นสวนผลไม้กระถางขนาดเล็ก
3. กำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 6 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.-13 มี.ค. 2567)
4. มอบหมายแต่ละกลุ่มประชุม/ปรึกษาหา/ ร่วมกันคัดเลือกชนิดผลไม้ /เลือกซื้อ/รับประทานผลไม้และนำขยะเมล็ดผลไม้ใช้เป็นเมล็ดสำหรับเพาะต้นกล้า/เลือกซื้อวัสดุปลูก /ทำการเพาะเมล็ด/ดูแล/ออกแบบสรรคสร้างสวนกระถางเม,ดผลไม้เหลือทิ้งที่สวยงาม/ช่วยกันตกแต่งสวนกระถาง/รายงานผลดำเนินงานทุกขั้นตอน ผ่าน Padlet application (รายละเอียดการดำเนิน เอกสารแนบ ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)
5. การดำเนินกิจกรรมของทุกกลุ่ม อยู่ภายในคำแนะนำอย่างใกล้ของปรึกษาอาจารย์ทั้ง onsite และ online (line application)
6. ประเมินผลงานโดยคณาจารย์ และมอบรางวัลผลงานดีเด่น (onsite)
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ตัวอย่าง ผลงานของนักศึกษาทั้งหมด 92 คน (24 กลุ่ม โครงงาน)
รายละเอียดศึกษาได้จาก ไฟล์ลิงค์ด้านล่าง
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การประเมินผลโครงการแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ด้านการนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการทำสวนกระถาง พบว่า กลุ่มโครงงานทั้ง 24 กลุ่ม สามารถนำองค์ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในการเพาะกล้าผลไม้ และสามารถทำสวนไม้กระถาง ได้ตามวัตถุประสงค์การสอน ที่ได้กำหนดไว้
2. ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการทำโครงงาน พบว่า
• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับอาณาจักรพืช การเจริญพัฒนาของต้นกล้า การแบ่งเซลล์แบบ Mitosis การสังเคราะห์แสงมากขึ้น
• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การนำเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานผลไม้นานาชนิด ช่วยลดขยะจากการรับประทานผลไม้ได้
• ร้อยละ 96 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการเพาะเมล็ดผลไม้เพื่อทำเป็นสวนไม้กระถางขนาดเล็กสามารถทำเป็นอาชีพได้
• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้ก่อทำให้เกิดงานศิลปะที่สามารถทำเป็นอาชีพได้
• ร้อยละ 99 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ทำให้สามารถนำองค์รู้ความรู้ทางชีววิทยามาปรับใช้เพื่อลดปัญหาขยะเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งจากการรับประทานได้
หลังจากครบกำหนดการส่งผลงาน ได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึก (refection) เกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ 9 ประเด็น คือ ทำโครงงานนี้สนุก มีความสุข /ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเห็นต้นไม้เติบโต /ตื่นเต้นมากๆเมื่อเห็นต้นไม้ของเราไม่งอกสักที /การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้/การนำองค์ความรู้ทางชีววิทยาสามารถขยะเมล็ดผลไม้ลดปัญหาโลกร้อนได้/เราควรนำขยะเมล็ดผลไม้ทำ มาทำเป็นสวนไม้กระถาง ตกแต่งไว้ที่บ้าน/เราควรฝึกผีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เอาไว้ขายในอนาคต /เราควรฝึกฝีมือนำขยะเมล็ดผลไม้ทำสวนไม้กระถาง เพื่อให้เป็นของขวัญกับคนที่เรารัก/ควรจัดการเรียนการสอนแบบนี้อีก
โดยสอบถามความคิดเห็นว่า มีความคิดเห็นในระดับใด (เห็นด้วยอย่างยิ่ง/เห็นด้วย/ไม่แน่ใจ/ ไม่เห็นด้วย /ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ) กับข้อความทั้ง 9 ประเด็นข้างต้น ผลการสะท้อนความรู้สึก พบว่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 นักศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย ในทุกประเด็น รายละเอียดความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้
จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมในโครงการนี้ นอกจากสามารถกระตุ้นให้นักศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการบูรณาการความรู้ทางชีววิทยา มาประยุกต์ใช้เพื่อสรรค์สร้างงานศิลป์ที่สวยงามแล้ว ยังทำให้นักศึกษามีความเข้าใจถึงองค์ความรู้เหล่านั้นอย่างชัดเจน สนุก ตื่นเต้นเร้าใจ และมีความสุข และที่สำคัญที่สุดคือ นักศึกษาทุกกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ ทั้งขยัน อดทน มีวินัย ตรงต่อเวลาในการส่งผลงานที่ใช้เวลายาวนานถึง 6 สัปดาห์ และเมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ไขจนทำให้ทุกกลุ่มสามารถผลิตผลงานสวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้งได้สำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์การศึกษาครบทั้ง 3 ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ
3.รับผิดชอบด้านความในการทำโครงงาน พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่ม มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ
ในการทำงานให้สำเร็จ รายละเอียดพิจารณาจากการส่งผลงานทุกขั้นตอนผ่าน Padlet และขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้ง Onsite และผ่าน line application
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience Model: L.E. Model) โดยใช้ผลการเรียนรู้จากโครงงานนี้ (ผลการเรียนรู้ในเรื่อง การเรียนการสอน เรื่อง สวนกระถางเมล็ดผลไม้เหลือทิ้ง…จากชีววิทยาองค์รวม” เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และต่อยอดทำวิจัย R&D เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Model ดังกล่าว โดยใช้กระบวนการ induction approach ซ้ำๆในหลากหลาย case ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการ duction approach ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด
ในทางกลับกัน หากผลจากวิจัยดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็นโจทย์วิจัยชุดใหม่ที่รอการท้าทายให้นักวิจัยต้องคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และทำการพิสูจน์ทดสอบโดยใช้กระบวนการวิจัย R&D ทางการศึกษา ทั้งกระบวนการ induction approach และ duction approach ทำต่อเนื่องกันไปอย่างไม่จบสิ้น วิธีการดังกล่าวนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เกิด นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็น Good Practice ได้ในท้ายที่สุด ซึ่งในครั้งนี้ผู้สอนและผู้วางโครงการได้ดำเนินการจัดวิจัย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การวิจัย R&D ในลำดับต่อไปในเวลาที่เหมาะสม