รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 3, 5 : KR 3.2.1 KR 5.2.1
กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จากสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผู้จัดทำโครงการ
อ.นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร
ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการ จากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติได้
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :
จากการลงมือปฏิบัติจริง
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
- งทะเบียนเข้าร่วมอบรมจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย
- ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการ
- ลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขห้องปฏิบัติการใน เว็ปไซด์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ
- จัดทำแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการ
- ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการตามแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดในระบบให้ได้มากที่สุด
- ปรึกษาวิทยากร เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือหาวิธีการทดแทนตามข้อกำหนด (สามารถปรึกษาศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้)
- ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการหลังการดำเนินการ
- ส่งภาพห้องปฏิบัติการ ก่อน-หลังดำเนินการ รวมทั้งแผนการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ทันตามกำหนด โดยก่อนและหลังดำเนินการต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
- กรรมการจากมหาวิทยาลัยแม่ข่ายพิจารณาการภาพถ่ายและแผนการยกระดับ หรือพิจารณาออนไลน์
- เมื่อได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ให้ส่งแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
- สำหรับห้องปฏิบัติการใหม่ ให้จัดทำโปสเตอร์แสดงผลการดำเนินงาน และส่งบทคัดย่อให้ผู้ประสานงานโครงการ ให้ทันตามกำหนด เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอการดำเนินงานในงานประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง
- กรณีที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง เพื่อนำเสนอระดับประเทศ ให้จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านของข้อกำหนด โดยเน้นจุดเด่นในการดำเนินการให้มากที่สุด
- สำหรับห้องปฏิบัติการเก่า ให้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรมการธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการยกระดับความปลอดภัย และส่งแผนการดำเนินงานพัฒนาห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ครบตามเอกสารแบบฟอร์มที่แจ้งมา และต้องส่งเอกสารให้ทันตามเวลากำหนดซึ่งระยะเวลาการส่งเอกสารไม่เกิน 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าหลังการอบรม เมื่อส่งเอกสารครบถ้วน จะได้รับทุนสนับสนุนห้องปฏิบัติการเต็มจำนวน
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
1. นำไปใช้กับ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ห้องปฏิบัติการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเรียบร้อย ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของห้องปฏิบัติการจากการได้ไปนำเสนอในระดับประเทศ
2.บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการห้องปฏิบัติการปลอดภัย
3.บุคลากร นักศึกษา พนักงานทำความสะอาด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย และมีขั้นตอนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
3.1 การตรวจสอบผลการดำเนินการ
ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist
3.2 การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้
3.2.1 การได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย :
ภาคกลาง วันที่ 23 มกราคม 2567 ณ โรงแรม รามา การ์เด้นส์
3.2.2ได้รับเชิญจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติให้เป็นวิทยากร ในการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน รุ่นที่ 12 ณ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567
- ได้รับเชิญจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ศูนย์
พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน 2 กลุ่มห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของการประปานครหลวง จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ
- ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ระดับโรงเรียน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
3.3 สรุปอภิปรายผล บทสรุปความรู้
เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ
- ได้รับโล่รางวัลโล่ ห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่น
- ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการ
- ได้รับทุนสนับสนุนการธำรงรักษา
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบดีเด่นและทุนสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย