Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.2

RSU อาสา เปลี่ยน

ผู้จัดทำโครงการ​

คุณจุฑามาศ กิจวรรณจักร์ และ คุณกนกกร ชูแก้ว

สำนักงานกิจการนักศึกษา

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

            สำนักงานกิจการนักศึกษา สานต่อนโยบายของฝ่ายกิจการนักศึกษา ในการพัฒนาทักษะผู้นำนักศึกษา โดยการบูรณาการทักษะ Hard  skills และ Soft skills อีกทั้งนำผลของการจัดโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม รุ่นที่ 1 ในหัวข้อ เรื่อง “พลังสร้างทีม” ซึ่งเห็นความสำคัญของการสร้างผู้นำนักศึกษา หัวใจหลัก คือ การทำงานเป็นทีม  ซึ่งได้ดำเนินการจัดพัฒนาทักษะดังกล่าวกับกลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมนอกหลักสูตร และให้ความเห็นว่า ควรรวมกลุ่มนี้และขยายผลเปิดกว้างกับกลุ่มนักศึกษาทั่วไป และอยากให้รวมกลุ่มผู้นำในการจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้านจิตอาสา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาส่วนใหญให้ความสนใจ และประสงค์ให้เน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                   ดังนั้น จึงจัดโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม ปีที่ 2 หรือ รุ่นที่ 2 ในหัวข้อ RSU อาสา เปลี่ยน” เพื่อปลูกจิตสำนึกจิตอาสาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคขวดน้ำพลาสติกใส หรือขวดพลาสติก ประเภท Polyethylene Terephthalate (PET) ที่ใช้แล้ว เพื่อรวบรวมและนำส่งมอบให้กับทางศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมวัดจากแดง เพื่อนำมาแปรเป็นผ้าไตรหรือผ้าบังสุกุลจีวรต่อไป  รวมถึงการพัฒนานักศึกษาให้เกิดกระบวนการเรียนรู้คิดสร้างสรรค์โครงการ ด้วยการระดมความคิดจากกกลุ่มแกนนำนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการต่อไปในอนาคต

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้

               นำทักษะ Hard  skills ที่เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาร่วมกับทักษะ  Soft skills ในการทำงานเป็นทีม ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์  ค้นหา Good Practice รูปแบบหรือตัวอย่างกิจกรรม ในการพัฒนาความมีจิตอาสาในตัวนักศึกษาด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยขยายผลดำเนินโครงการสืบเนื่องเป็นรุ่น ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะนักศึกษา ได้ให้บุคลากรทุกระดับในมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมด้วย นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกับองค์กรภายนอก คือ ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยนำขวดน้ำพลาสติกไปแปรรูปเป็นผ้าไตรจีวรถวายพระสงฆ์ ทั้งนี้เป็นไปตาม Concept ของโครงการ คือ RSU อาสา เปลี่ยน” 

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : อื่นๆ ได้แก่ ความรู้มาจากการระดมความคิดของกลุ่มเจ้าหน้าที่และกลุ่มนักศึกษา ในแนวทางหรือรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้าน “จิตอาสา” โดยเน้นการปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ Concept “RSU อาสา เปลี่ยน” และได้ร่วมมือกับองค์กรภายนอก

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้

  1. จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยกลุ่มทีมงานเจ้าหน้าที่สำนักงานกิจการนักศึกษาและกลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมนอกหลักสูตร
  2. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน นำผลจากการดำเนินงานโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม ปีที่ 1 หัวข้อ “พลังสร้างทีม”มาต่อยอด ดำเนินการสืบเนื่อง โดยประชุมแกนนำ ระดมความคิดหารูปแบบ โครงการต้นแบบ Good Practice และกลุ่มแกนนำ ซึ่งนำข้อเสนอแนะจากรุ่นที่ 1 ขยายผลรับสมัครนักศึกษาทั่วไปที่มีใจรักทำกิจกรรมจิตอาสาด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และคิดรูปแบบกิจกรรมที่ให้ทุกคนทุกระดับในมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้ ดำเนินการสืบเนื่อง โครงการสรรค์สร้างกิจกรรม ปีที่ 2 ใช้หัวข้อว่า “ RSU อาสา เปลี่ยน” นอกจากนี้ ได้ติดต่อกับองค์กรภายนอก คือ ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยนำขวดน้ำพลาสติกไปแปรรูปเป็นผ้าไตรจีวรถวายพระสงฆ์
  3. จัดกิจกรรมตามแผนงาน
  • กิจกรรมที่ 1 ปลูกจิตสำนึกด้านการมีจิตอาสา และปลูกจิตสำนึกให้ความตระหนักเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำวัสดุมารีไซเคิล โดยเปิดรับบริจาคขวดน้ำที่ใช้แล้ว นำมารวบรวมและส่งมอบให้กับทางศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมวัดจากแดง เพื่อนำมาแปรสภาพขวดน้ำ เป็น “ผ้าไตร”หรือผ้าบังสุกุลจีวร ซึ่งถือว่าได้บุญ แปรของเหลือใช้หรืออันตรายต่อสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็น “บุญ” 
  • กิจกรรมที่ 2 พัฒนาการเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกด้านการมีจิตอาสาในด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ปลูกจิตสำนึกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม จะเป็นแกนนำ “RSU อาสา เปลี่ยน” โดยเดินทางร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติปาชายเลน ณ คลองโคลน จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ ได้จัดกระบวนการระดมความคิด (Brainstorm) คิดโครงการกิจกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการอย่างจริงต่อเนื่องในปีการศึกษาหน้า เพื่อให้เกิดแนวทางการผลิตโครงการในอนาคต
  1. สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน

                   นำผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงและต่อยอด รวมถึงเสนอต่อผู้บริหาร ขอรับคำแนะนำในการพัฒนาและขอรับการสนับสนุน จัดโครงการ/กิจกรรมต่อเนื่อง เป็น Good Practice รวมถึงได้แกนนำนักศึกษา ในชื่อ “RSU อาสา เปลี่ยน”

 

2. Prototype testing in an operational environment – DO

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

          ผลการดำเนินงานโครงการ สร้างสรรค์นักกิจกรรม ปีที่ 2 หัวข้อ “RSU อาสา เปลี่ยน”  แบ่งรูปแบบกิจกรรม 2 รูปแบบ

  • กิจกรรมที่ 1 มอบงานให้นักศึกษาแกนนำ “RSU อาสา เปลี่ยน” เปิดหน่วยรับบริจาคขวดน้ำพลาสติกใส จากนักศึกษาและบุคลากรทั่วไปของมหาวิทยาลัย ทุกหน่วยงานและวิทยาลัย/คณะสถาบัน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 ซึ่งได้รับความสนใจให้การตอบรับด้วยดี สามารถรวบรวมได้มากถึง 10,000 ขวด และได้จัดส่งมอบให้กับศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม วัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 66 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งจะได้นำขวดน้ำเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผ้าไตรจีวรถวายแด่พระสงฆ์
  • กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาทักษะความมีจิตอาสาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา หัวข้อ “RSU อาสา เปลี่ยน”  โดยพัฒนาทักษะ Hard  skills และ Soft skills ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต และกิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยเรียนรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนและลงพื้นที่ปลูกป่าชายเลน พื้นที่ตำบลคลองโคลน

                   ได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ Soft skills ดังนี้

                   กิจกรรมหัวข้อ “พัฒนาทักษะความรู้ การทำงาน ผ่านการทำกิจกรรมสันทนาการ” เพื่อให้นักศึกษาการให้ความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมกับการทำงานร่วมกันในกลุ่มเพื่อนนักศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ และได้ใช้ลังกระดาษเป็นวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการเล่นเกมสันทนาการ

                   กิจกรรม หัวข้อ “กระชับความสัมพันธ์” เพื่อเสริมสร้างความรักและความสามัคคีของทีมนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันของ แกนนำ “RSU อาสา เปลี่ยน”

                   กิจกรรม หัวข้อ ระดมความคิดสร้างสรรค์โครงการด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยพัฒนากระบวนการคิด (Brainstorm) เพื่อให้เกิดแนวทางการผลิตโครงการในอนาคต เพื่อสืบสานและต่อยอดให้เกิดโครงการต้นแบบ หรือ Good Practice  โดย รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการนักศึกษา เป็นวิทยากร  ทั้งนี้  นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้นำเสนอโครงการต้นแบบด้านปลูกจิตสำนึกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อความยั่งยืนหลายโครงการ ซึ่งทางสำนักงานกิจการนักศึกษา จะคัดเลือกโครงการดังกล่าวมาต่อยอดและดำเนินการจริงในปีการศึกษาหน้า เช่น โครงการเตรียมความพร้อมผู้นำ Smart Camp และโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม ปีที่ 3 สานต่อ แกนนำนักศึกษา “RSU อาสา เปลี่ยน”

                   ในการดำเนินกิจกรรมส่วนที่ 2 ในพื้นที่ ตำบลคลองโคลน จังหวัดสมุทรสงคราม มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 36 คน

                   สำหรับปัญหาหรืออุปสรรคการดำเนินงาน ไม่มี  เนื่องจากได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกฝ่าย

          

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

          จากผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการประเมินผลความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับด้านการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาความมีจิตอาสาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.73  

          ทั้งนี้ ประเด็นการสรุปและอภิปรายผล ได้รับการประเมินในเกณฑ์ดีมากทุกข้อ ซึ่งขอนำเสนอเฉพาะประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ กิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.91 ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของเพื่อนนักศึกษาที่เข้าร่วมทีม/โครงการ ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.91 การระดมควาคิดเรียนรู้พัฒนาทักษะความมีจิตอาสา หัวข้อ “RSU อาสา เปลี่ยน” ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.82 การปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.77 การพัฒนาทักษะความมีจิตอาสาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.86  สาระการเรียนรู้และประโยชน์ที่ได้รับ ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.82 การนำไปประยุกต์ใช้ทำกิจกรรมในอนาคต ระดับ “ดีมาก”ด้วยค่าคะแนน 4.73

          นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมเปิดใจ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นแกนนำ “RSU อาสา เปลี่ยน”ได้กล่าวสรุปและบอกถึงสิ่งดีที่ได้รับ ดังนี้

  • “การทำกิจกรรมร่วมกัน พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันและจิตอาสา คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ได้รู้ถึงวิธีการปลูกป่าชายเลน และสานสัมพันธ์พี่น้อง”
    • “ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ตอนทำกิจกรรมโรบอตและกิจกรรมคิดโครงการ และการสร้างจิตสำนึกในการดูแลธรรมชาติ การปลูกต้นโกงกาง การนำขวดน้ำ วัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์”
    • “ได้สนิทกับเพื่อนมากขึ้น ได้เรียนรู้ถึงจิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศติดทะเล”
    • “ได้ลองไปปลูกป่าจริงๆ ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่ปกติอาจจะไม่ได้เจอแบบนี้ ได้รู้จักกันมากขึ้นมีการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและช่วยเหลือกัน”
    • “การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันของธรรมชาติ คน สัตว์ เป็นสิ่งที่ล้ำค่า ควรตระหนัก และมีจิตสำนึกอนุรักษ์เพื่อส่วนรวม”
    • “ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลน ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคย เพราะหนูยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการปลูกป่าชายเลน เป็นอะไรที่สนุกมาก เอ็นจอยกับค่ายนี้มากๆ”
    • “ได้พัฒนาภาวะผู้นำ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
    • “ได้รับประสบการณ์ปลูกป่าชายเลนและได้รับความสนุกสนาน รู้จักการอยู่ร่วมกันและสามัคคีกันมากขึ้น”
    • “เข้าใจในการปลูกป่ามากขึ้น และได้เข้าใจการทำงานเป็นกลุ่มได้มากกว่าเดิม”

             ด้านกลุ่มบุคลากรได้สะท้อนความคิดเห็นกับโครงการในภาพรวมว่า ชื่นชอบมากที่นำขวดน้ำพลาสติกที่เหลือใช้นำไปรีไซเคิล เปลี่ยนเป็นบุญได้ เหมือนได้ทำบุญ ได้ช่วยถวายผ้าไตรจีวรให้กับพระสงฆ์ทางอ้อม อยากให้มีโครงการแบบนี้ทุกๆปี จะคอยเก็บขวดน้ำไว้ให้ฯลฯ

               บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ได้ค้นพบ การผสมผสานทักษะของ Hard  skills และ Soft skills ด้วยการปลูกจิตสำนึกจิตอาสาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “RSU อาสา เปลี่ยน” ต้องเริ่มเปลี่ยนที่จิตสำนึกของนักศึกษา สร้างแกนนำนักศึกษาในการจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสร้างเสริมจิตสำนึกกับทุกคนใน มหาวิทยาลัยรังสิต  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมพร้อมใจให้ความร่วมมือ เห็นคุณค่าจากสิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกที่เน้นความยั่งยืนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

            เปิดตัวสร้างแกนนำนักศึกษา “RSU อาสา เปลี่ยน” และต่อยอดจัดโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม เป็นประจำทุกปี นับเป็นรุ่น  โดยคัดเลือกโครงการที่เป็นผลระดมความคิดในครั้งนี้มาต่อยอดและดำเนินการจริงในปีการศึกษาหน้า เช่น โครงการเตรียมความพร้อมผู้นำ Smart Camp และโครงการสรรค์สร้างนักกิจกรรม ปีที่ 3 สานต่อ แกนนำนักศึกษา “RSU อาสา เปลี่ยน” และเชิญชวนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในกิจกรรมปลูกจิตสำนึก จิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อม “เปลี่ยน”สิ่งของเหลือใช้ในมือเราแปลเป็น “บุญ” เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ไปรีไซเคิล หรือ บริจาค ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือผู้ด้อยโอกาส ซึ่งสำนักงานกิจการนักศึกษา ร่วมกับ กลุ่มนักศึกษาทุนกิจกรรมนอกหลักสูตร ดำเนินการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา

ติดตามชมข้อมูลกิจกรรมได้ในคลิปโครงการสร้างสรรค์นักกิจกรรม ปีที่ 2  หัวข้อ “RSU อาสา เปลี่ยน”

ภาคผนวก