การพัฒนาภาษาอังกฤษจากการบูรณาการ
การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4
รางวัลดีเด่น ปี2564
ผู้จัดทำโครงการ
ปาริฉัตร แก้กลาง
สำนักงานนานาชาติ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การพัฒนาภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ภายใต้โครงการ P2A Virtual Mobility โดยการนำกิจกรรม P2A Virtual Journey มาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชา RSU150/RSU180 Creative Management การจัดการเชิงสร้างสรรค์
เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการเดินทางไปแลกเปลี่ยนยังต่างประเทศ การเรียนการสอน และการดำเนินกิจกรรม ทางสำนักงานนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดตั้งโครงการ P2A Virtual Mobility ตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 1/2563 โดยมีชื่อกิจกรรมว่า P2A Virtual Journey มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาของบัณฑิตไปสู่ระดับความเป็นสากล และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นักศึกษาไทยและต่างประเทศ โดยการนำกิจกรรมดังกล่าว ไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ ซึ่งรูปแบบของกิจกรรม เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เสมือนจริง ผ่าน Facebook Group หรือโปรแกรม Zoom รองรับกลยุทธ์ทางด้านการศึกษาในยุค New Normal ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจารย์ผู้สอน เห็นควรว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างมาก จึงนำกิจกรรมมาสอดแทรกการเรียนการสอนในรายวิชา RSU150/RSU180 Creative Management การจัดการเชิงสร้างสรรค์ จากสถาบัน Gen.Ed มหาวิทยาลัยรังสิต
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
☑ ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
☑ ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)
เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
วิธีการดำเนินการ
- สำรวจค่านิยมการใช้สื่อสังคมในแต่ละประเทศ
จากการสำรวจผู้ใช้สื่อ social ในแต่ละประเทศ พบว่าหลายประเทศนิยมใช้ Facebook ในการสร้างเครือข่าย จึงนำมาใช้เป็น Platform ในการจัดกิจกรรม P2A Virtual Journey สร้าง Platform การจัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคม Facebook Group และ Facebook Fanpage ในนาม P2A Virtual Mobility
เนื่องจาก Facebook Group สามารถจำกัดปริมาณคนเข้าถึงได้ เป็น private group ทำให้สะดวกแก่การนำมาใช้ในระบบการศึกษา หรือการจัดกิจกรรมออนไลน์ และ Facebook Fanpage ไม่จำกัดปริมาณคนเข้าถึง สะดวกแก่การนำมาใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลกิจกรรม และการถ่ายทอดสดออนไลน์
- หลังจากที่ได้ Platform ที่เป็นรูปธรรมแล้ว จึงดำเนินการประสานงานภายในกับอาจารย์ สถาบัน Gen.Ed สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถาบันภาษาอังกฤษ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติจีน ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงาน Wisdom Media และศูนย์ RSU Cyber University เพื่อวางแผนกิจกรรมร่วมกัน และหามหาวิทยาลัยพันธมิตรในต่างประเทศที่มีความสนใจ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ ระหว่างวันที่ 17 และ 26 พฤศจิกายน 2564 และ วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ก็ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ Universitas Islam Indonesia, Indonesia และ Universiti Malaya, Malaysia มหาวิทยาลัย จาก 10 ประเทศอาเซียน
- สร้างรูปแบบ และแนวทางการจัดกิจกรรม
หลังจากที่ได้กำหนดการที่ชัดเจนแล้ว จึงเริ่มต้นกิจกรรม โดยใช้ชื่อเรื่องว่า Career in the next 10 year โดยแนวทางการจัดกิจกรรม สรุปได้ดังนี้ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนใหม่ แต่ละกลุ่มต้องประกอบด้วย นักศึกษาอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และ P2A Ambassador จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
- แบ่งกลุ่มเรียบร้อย ให้นักศึกษาทุกคนแนะนำตัวทำความรู้จักกันบน Facebook Group: P2A Virtual mobility และจัดตั้งแชทกลุ่ม ผ่าน LINE หรือ WhatsApp เพื่อปรึกษาหารือในการทำคลิปวีดิโอกลุ่มร่วมกัน เกี่ยวกับอาชีพที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งนักศึกษาสามารถทำงานนี้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ แต่ละกลุ่มจะต้องส่งผลงานดังนี้
– กำหนดให้ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ประกอบด้วย 1) แสดงเทคนิคที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานร่วมกัน และ 2) คลิปวิดีโอกลุ่ม มีความยาวไม่เกิน 5 นาที และสมาชิกทุกคนได้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในคลิปวิดีโอนั้น โดยบรรยายเนื้อหาที่สอดคล้องกับหัวเรื่อง Career in the next 10 year โดยมีหัวข้อย่อยให้เลือกทำคลิปวิดีโอ 2 ข้อ ได้แก่ 1. The Technology and tools that will be needed in the next 10 years 2. The skills that will be needed in the next 10 years ซึ่งนักศึกษาจะได้ความรู้เพิ่มเติมมาจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในแต่ละหัวข้อจากวิทยากรพิเศษทั้ง 3 ประเทศ ผ่านกิจกรรมสัมมนาในงานนี้
– ส่งคลิปวิดีโอลง Google Drive ภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการทั้ง 3 ประเทศพิจารณาคัดเลือกมา 5 คลิปวิดีโอที่ตรงตามเกณฑ์ตัดสินที่กำหนดไว้ เพื่อนำคลิปที่ถูกคัดเลือกมานำเสนอในวันประกาศรางวัล วันที่ 1 ธันวาคม 2564 โดยให้ผู้ชมเป็นผู้ตัดสินใจ เลือกคลิปวิดิโอที่น่าสนใจที่สุดมา 1 คลิป ผ่านการโหวตคัดเลือกบนลิ้งค์ google form เพื่อค้นหากลุ่มผู้ชนะในกิจกรรม
“รับของรางวัล คือ E-Certificate”
- ประเมินวัดผลการจัดกิจกรรมพบว่าอาจารย์และนักศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยพันธมิตรเข้าร่วมกิจกรรมแล้วพึงพอใจในกิจกรรมนี้ จึงส่งผลให้มีกิจกรรมนี้ต่อเนื่องในทุกปีการศึกษา
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
2.1 ผลการดำเนินการ
กิจกรรมประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับที่ดีทั้งกับนักศึกษาและอาจารย์ และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง
2.2 การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง
การนำกิจกรรมมาประยุกต์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศข้ามประเทศได้ผ่านการจัดกิจกรรมเสมือนจริง ทดแทนการเดินทางไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถทำได้ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19
2.3 อุปสรรค์หรือปัญหาในการทำงาน
- ปัญหาในการบริหารเวลา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ ซึ่งมีกำหนดการของการเรียนต่างกัน กิจกรรมระหว่างวันที่ 17 และ 26 พฤศจิกายน 2564 และ วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ที่กำหนดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่นักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กำหนดสอบปลายภาค ของปีการศึกษาที่ 1/2564 แต่ก็ต้องกำหนดตามนี้เพื่อให้ตารางเวลาการทำกิจกรรมของทั้ง 3 ประเทศดำเนินการร่วมกันได้ หากนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมติดสอบ ให้นักศึกษาตามงานจากเพื่อนในกลุ่มนอกรอบ เนื่องจากเป็นงานกลุ่ม นักศึกษาสามารถปรึกษาหารือกันนอกรอบได้ตลอด จนกว่ากิจกรรมจะสิ้นสุด
- ปัญหาการสื่อสารภายใน เนื่องจากมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานและวิทยาลัยที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจผิดในรายละเอียดของกิจกรรม แก้ปัญหาด้วยการสร้างกลุ่ม Admin ผ่าน Line group เพื่อการประสานงานที่ถูกต้อง และรับทราบโดยทั่วกัน แก่นักศึกษาไทยและต่างชาติ
- ปัญหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านโปรแกรม Zoom มีจำนวนมากเกินไป แก้ปัญหาด้วยการ Live สดผ่าน Zoom ใช้ Facebook Fanpage: P2A Virtual Mobility ในการ Live เพื่อรองรับผู้ชมจำนวนมากได้ และสามารถประชาสัมพันธ์กิจกรรมสู่สาธารณะได้
- ความสามารถทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม จึงแนะนำให้นักศึกษาไทยสื่อสารกับเพื่อนต่างชาติระหว่างดำเนินกิจกรรมให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จริง สร้างความคุ้นชินในการใช้ภาษาอังกฤษ และยังเพิ่มทักษะด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ ในเรื่องการฟัง พูด อ่าน และ เขียน ผ่านการสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ
- จำนวนและความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจากทั้ง 3 ประเทศที่เข้าร่วม
- มหาวิทยาลัยพันธมิตรเห็นควรให้มีโครงการและกิจกรรมดังกล่าวเป็นประจำทุกปีการศึกษา
- กิจกรรมนี้ตอบโจทย์แผนยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ (Internationalization) ในเรื่องของการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตไปสู่ความเป็นสากลที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษของนักศึกษาและบุคลากร ในเรื่องของทักษะภาษาอังกฤษ ได้แก่ การฟัง (Listening) การพูด (Speaking) การอ่าน (Reading) และ การเขียน (Writing) เป็นต้น
การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
จากการจัดกิจกรรม P2A Virtual Mobility พบว่านักศึกษาและบุคลากรกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารมากขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะได้ทดลองใช้ภาษาอังกฤษ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากชาวต่างชาติ และยังสามารถนำไปต่อยอดการปฏิบัติงานในอนาคตได้ ทั้งนี้การจัดกิจกรรมออนไลน์เหล่านี้ นอกจากจะได้พัฒนาภาษาอังกฤษแล้วยังช่วยให้นักศึกษาและบุคลากรได้เรียนรู้การปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคมนานาชาติ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ควรจะมีระบบมาสนับสนุนในการเก็บข้อมูลการทำกิจกรรมด้านนานาชาติ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเป็นสากลแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิต ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ปี 2565-2569