รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1

การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด
การศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ ในวิชาการทดสอบพิษวิทยา
สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์

ผู้จัดทำโครงการ​

ผศ.ดร.ภญ.ธิดารัตน์ เพ็ชรมณี และ ดร.ภญ.นลินี ประดับญาติ

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

ในปัจจุบันองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากกระบวนการศึกษาและวิจัยทำให้ค้นพบวิวัฒนาการใหม่ ๆ ทั้งด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ดังนั้นในบริบทของสถานศึกษาซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างบุคลากรให้เกิดปัญญาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้ทันต่อโลกและเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนเกิดผลลัพธ์จากการเรียนในเชิงประจักษ์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ปี 2561 ของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีการเปลี่ยนแปลงรายวิชาจากหลักสูตรเดิมโดยเพิ่มการเรียนการสอนรายวิชาวิชา PHA 552 (การทดสอบพิษวิทยา: Toxicology testing) สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5 สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ โดยมีเนื้อหา8ครอบคลุมหลักการและทฤษฎีของการทดสอบทางพิษวิทยาในการศึกษาวิจัยที่ไม่ได้ทำในมนุษย์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันความปลอดภัยในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ ตามแนวทางของ ASEAN Common Technical Dossier (ACTD) การออกแบบการทดลองและแปลผลการทดสอบความเป็นพิษที่เกิดจากการให้ยาครั้งเดียว ความเป็นพิษที่เกิดจากการให้ยาซ้ำ ความเป็นพิษต่อยีน ฤทธิ์ก่อมะเร็ง และความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์และการพัฒนาของทารก เป็นต้น

วิชานี้มีความสำคัญต่อการทำงานวิจัยและพัฒนายา รวมถึงการขึ้นทะเบียนยา ที่เภสัชกรจะต้องมีความเข้าใจ สามารถคัดเลือก วิเคราะห์และค้นหาข้อมูลการทดสอบพิษวิทยาในฐานข้อมูลได้ อีกทั้งวิชานี้สอนโดยอาจารย์หลายท่านในหมวดวิชาเภสัชวิทยา โดยอาจารย์แต่ละท่านจะสอนในหัวข้อที่ตนเองมีความถนัด และเนื้อหาของแต่ละหัวข้อไม่ได้เชื่อมโยงกัน ซึ่งแต่ละหัวข้อยังมีรายละเอียดเนื้อหาที่ซับซ้อนและยากต่อการทำความเข้าใจอันจะนำไปสู่ความสนใจในเนื้อหารายวิชาตลอดจนผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนของทั้งรายวิชาจึงมีความสำคัญ โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของทั้งรายวิชา เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียนที่ชัดเจน ผู้สอนก็มีเป้าหมายในการสอนที่ชัดเจนเช่นเดียวกับผู้เรียน และช่วยให้ผู้สอนจัดการรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิชาตั้งไว้ การจัดการเรียนรู้วิชานี้ จึงเป็นการประยุกต์แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ (outcome-based education) ในการเรียนการสอน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้

          กระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมแบบเน้นการบรรยาย และด้วยลักษณะเนื้อหาที่ยากต่อการทำความเข้าใจ และบ่อยครั้งในกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดการบูรณาการหรือเน้นผลลัพธ์ที่จะเกิดต่อผู้เรียน ส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความจำในระยะสั้น ขาดการประมวลความรู้ และขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาอันส่งผลต่อทำให้คุณภาพและผลลัพธ์ของรายวิชาไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ดังนั้นในรายวิชานี้จึงมีการใช้ประสบการณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนผลการวัดและประเมินผลรายวิชาในปีการศึกษาที่ผ่านมาสำหรับพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีการในการจัดการเรียนการสอน

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :

อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาและปรับปรุงประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดต่อผู้เรียน

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : 
เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.ภญ. ธิดารัตน์ เพ็ชรมณี และ อ.ดร.ภญ. นลินี ประดับญาติ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้

  1. กำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมายโดยเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา PHA 552 การทดสอบพิษวิทยา ในเทอม 1/2566 และ 1/2567
  2. การสร้างและทดสอบเครื่องมือสำหรับกระบวนการเรียนและการสอนโดย ประชุมคณาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อออกแบบการเรียนการสอนของรายวิชาและกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเน้นผลลัพธ์ โดยใช้กระบวนการ ADDIE model ในการออกแบบการเรียนการสอน และประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นผลลัพธ์ และกิจกรรมของรายวิชา
  3. ผู้วิจัยชี้แจงผู้เรียนเกี่ยวกับเป้าหมายของรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรทำได้หลังจบการเรียนวิชานี้
  4. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผลลัพธ์ โดยมีการสื่อสารกับผู้เรียนตลอดรายวิชาผ่าน Microsoft Teams
  5. ผู้เรียนได้รับการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วย formative assessment ในกิจกรรมของรายวิชา
  6. ประเมินความเห็นต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชา PHA 552 โดยสร้างแบบประเมิน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

 

 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ประกอบด้วยเพศ และปีที่เข้าเรียน

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน โดยมีข้อคำถาม 22 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการสอน และการประเมินผล 2) ด้านคุณภาพและเนื้อหาการเรียนการสอน 3) กิจกรรม case discussion 4) ด้านความเข้าใจเนื้อหาจากการทำ case discussion และความพึงพอใจโดยรวม 1 ข้อ แบบสอบถามเป็นแบบ Likert Scale มี 5 ระดับ เรียนจากระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดถึงระดับความพึงพอใจมากที่สุด

ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 1 ข้อ

          การตรวจสอบคุณภาพแบบประเมิน ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอาจารย์เภสัชศาสตร์และมีความเชี่ยวชาญในด้านการศึกษาจำนวน 3 ท่าน ประเมินความเที่ยงตรง (IOC) ของเครื่องมือ

  1. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถาม และผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา
  2. รวบรวมข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษา ของรายวิชา PHA 552
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลผ่าน Microsoft Forms
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  5. มีการลงพื้นที่ทำวิจัยภายในห้องเรียน 4-201B มหาวิทยาลัยรังสิต

2. Prototype testing in an operational environment – DO

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลลัพธ์ต่อผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน มีทักษะในการสืบค้นข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การบูรณาการองค์ความรู้และเกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเป็นความรู้ ความจำในระยะยาวส่งผลทำให้ผลการวัดและประเมินรายวิชานี้มีค่าระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเรียนการสอนแบบเน้นการบรรยายในปีการศึกษาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากตารางเรียนของรายวิชาจัดในช่วง 15.00-17.00 น. ซึ่งผู้เรียนผ่านการเรียนรายวิชาอื่น ๆ มาตลอดทั้งวันและในกระบวนการเรียนการสอนโดยวิธีการดังกล่าวผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมตลอดคาบเรียนจึงอาจส่งผลให้ผู้เรียนมีความเหนื่อยล้า อันจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการเรียนรู้ได้

         

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้ให้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามผลการดำเนินกิจกรรมของรายวิชาซึ่งพบว่า รายวิชานี้และรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้รับการประเมินจากผู้เรียนในระดับที่ดี ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจคิดวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ ตลอดจนสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาและวิจัยทางด้านพิษวิทยาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกระบวนการวิจัยและพัฒนาตลอดจนการขึ้นทะเบียนตำรับยา ผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ผลงานในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา (The 7thAsian Association of Schools of Pharmacy (AASP) Pharmacy Education Forum; The 7th AASP) และวารสาร Interprofessional Journal of Health Sciences (TCI2) ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อผู้เรียนนี้จึงเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ที่ยั่งยืนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ต่อผู้เรียนทำให้ในกระบวนการเรียนสอนผู้เรียนต้องมีกิจกรรมทั้งการค้นคว้า การบูรณาการองค์ความรู้ตลอดชั่วโมงการเรียน และตารางเรียนของรายวิชาอยู่ในช่วง 15.00 – 17.00 น. ซึ่งผู้เรียนมีเรียนในรายวิชาอื่น ๆ มาตลอดทั้งวันอันจะส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้า ดังนั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปรึกษากับฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อปรับตารางเวลาเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์และผลลัพธ์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุดในปีการศึกษาถัดไป ซึ่งฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ต่อผู้เรียนดังกล่าวจึงได้พิจารณาปรับตารางเรียนรายวิชาให้เหมาะสมโดยจัดการเรียนการสอนรายวิชา PHA552 นี้ในภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป

หลักฐานและเอกสารประกอบ

  • ผลงานวิจัยเรื่อง Evaluating Pharmacy Students’ Perceptions with Outcome-Based Learning in Toxicology Testing ตีพิมพ์ในวารสาร Interprofessional Journal of Health Sciences ฉบับที่ 22 (1) ฉบับเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567
Scroll to Top