รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.6
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศพัฒนา
การวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับชั้นคลินิก
ผู้จัดทำโครงการ
คณะกรรมการจัดการความรู้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
ผู้ให้ความรู้
ทพ.วิธวินท์ เดโชศิลป์ ทพ.ดร.ปกรณ์ ชื่นจิตต์
ผศ.ทพ.ดร.ทักษ์สิทธิ์ จรัสแสงไพศาล และ ผศ.ทพ.ปกิต ตุ้งสวัสดิ์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกให้นักศึกษาทันตแพทย์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้มีคุณภาพครบทั้ง ความรู้ ความสามารถในการรักษา มีจิตใจที่เมตตา และมีจริยธรรมในวิชาชีพ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตได้เลือกวิธีจัดการเรียนการสอนรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่มุ่งเป้าไปยังผลผลิตบัณฑิต ผู้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง เหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย สามารถรับผิดชอบดำเนินการรักษาตามแผนที่วางไว้จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วยตนเอง ทั้งยังติดตามผลการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพฟันให้ดีได้อย่างยั่งยืน
ในการประเมินความพร้อมที่จะเป็นบัณฑิตทันตแพทย์ที่มีคุณภาพตามที่กล่าวไว้ จะมีเกณฑ์จบการศึกษา 2 ส่วนคือ จำนวนขั้นต่ำของกรณีผู้ป่วยที่มีความยากง่ายต่างระดับกันไป ให้มั่นใจได้ว่าบัณฑิตทันตแพทย์จะจบการศึกษาไปประกอบวิชาชีพได้โดยมีพื้นฐานความรู้รูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทันตแพทย์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต และอีกส่วนเป็นคะแนนที่จะสะท้อนคุณภาพของวิธีการรักษาที่ประกอบไปด้วย ความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้รักษาได้ถูกต้อง ด้วยวัสดุ เครื่องมือ ที่ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบัน การวางตัวและความมีมารยาทต่อผู้ป่วย และการบริหารจัดการเวลาที่ใช้ในการรักษา ซึ่งวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญต่อขั้นตอนการวัดและประเมินผลนี้เป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าบัณฑิตทันตแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตจะต้องมีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักที่ได้วางไว้
จากผลการดำเนินการผลิตบัณฑิตมาร่วม 15 ปี เป็นที่น่ายินดีที่วิทยาลัยฯของเราเป็นโรงเรียนทันตแพทย์เอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ ด้วยการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับในวงการทันตแพทย์ศึกษาของประเทศ และประชาชนโดยทั่วไป
ก่อนที่จะเกิดระบบจัดการได้อย่างลงตัว สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด นักศึกษาสามารถทำงานได้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดภายในเวลา 2 ปีของระดับชั้นคลินิก เป็นที่พอใจของผู้บริหารวิยาลัยฯ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรผู้เกี่ยวข้องนั้น วิทยาลัยฯ ได้ผ่านปัญหาสำคัญ 2 เรื่องคือ
- เรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้
- เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ปัญหาที่ 1. เรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้
วิทยาลัยจะต้องจัดเตรียมคณาจารย์ที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาของการรักษาทางทันตกรรม มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าผู้ชำนาญการที่รับรองโดยทันตแพทยสภา หรือไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาจะได้คุณภาพการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยมีสัดส่วนไม่เกิน อาจารย์ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 6 คน เป็นปัญหาการจัดหาอาจารย์ให้ได้ตามที่กล่าวด้วยสาเหตุของจำนวนคณาจารย์ในประเทศมีจำกัด และงบประมาณที่จำกัดของมหาวิทยาลัย
และด้วยการทำงานของนักศึกษาพร้อมกันทั้งหมดประมาณ 200 คน จะมีการนัดผู้ป่วยมารักษาโดยมีชนิดงานที่เป็นไปตามแผนการรักษาที่ได้วางไว้ ทำให้ในแต่ละคาบเวลา เกิดปัญหาการซ้ำซ้อนของชนิดงานที่เกินจำนวนอาจารย์ตรวจงานชนิดนั้นๆที่ได้วางตารางตรวจงานไว้ล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน จึงต้องให้นักศึกษาลงคิวนัดผู้ป่วยในแต่ละคาบไว้ล่วงหน้า เป็นปัญหาของนักศึกษาที่ต้องนัดผู้ป่วยให้ได้พอดีกับโควตางานนั้นๆในแต่ละคาบ อีกทั้งการลงเวลานัดยังใช้แฟ้มเอกสารลงคิวด้วยการเขียน เกิดปัญหาต่อนักศึกษาเป็นอย่างมากในการแย่งคิวทำงาน และการนัดผู้ป่วยให้ลงพอดีคิว
การพัฒนาระบบลงคิวแบบออนไลน์ เกิดขึ้นจากปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด 19 ทำให้ต้องมีมาตรการ social distancing เพื่อทดแทนการลงคิวแบบเขียนลงในกระดาษและนักศึกษาต้องมารวมกลุ่มเพื่อลงคิวกันทำให้เกิดความแออัดและเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ จึงเกิดแนวคิดที่จะระบบลงคิวแบบออนไลน์ขึ้นเพื่อใช้งาน
วิธีการ
ระบบลงคิวออนไลน์ ถูกพัฒนาขึ้นจาก Google sheets ที่เป็น online application ของ Google ผู้เข้าใช้ต้อง login ด้วย account ที่ออกให้โดยมหาวิทยาลัย (@rsu.ac.th) ทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานโดยบุคคลภายนอกองค์กรไม่สามารถเข้าใช้งานได้
นักศึกษาสามารถ login เข้ามาลงคิวปฏิบัติงานสาขาต่าง ๆ ได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้การบริหารจัดการคิวนักศึกษาและการแบ่งเวรตรวจการปฏิบัติงานคลินิกมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เป็นการประหยัดทรัพยากรทั้งกระดาษ เวลา บุคคล เมื่อเทียบกับวิธีการเดิมที่เขียนบนกระดาษ นอกจากนี้เอกสารที่ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย
นอกจากนี้มีการต่อยอดจากการระบบลงคิวของนักศึกษาสู่ระบบการจัดการแบ่งเวรอาจารย์ของแต่ละสาขาเพื่อลงตรวจการปฏิบัติงานคลินิก จากเดิมที่การแบ่งนักศึกษาให้อาจารย์แต่ละคนจะจัดสรรและเขียนบนกระดาษจากนั้นติดประกาศที่หน้าคลินิก โดยการจัดสรรนักศึกษาแต่ละคาบต้องมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบการจัดสรรทำหน้าที่คิดคำนวณสัดส่วนนักศึกษาที่เหมาะสมตามจำนวนอาจารย์ที่ลงปฏิบัติงานของแต่ละสาขาจากนั้นกระจายนักศึกษาให้อาจารย์แต่ละคน เมื่อข้อมูลการลงคิวของนักศึกษาอยู่ในระบบออนไลน์ทำให้สามารถเขียนเป็นอัลกอริทึมเพื่อคิดคำนวณสัดส่วนและแบ่งนักศึกษาให้กระจายไปยังอาจารย์แต่ละคนได้อัตโนมัติทำให้ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของอาจารย์ได้ และนักศึกษาสามารถตรวจสอบว่าตนเองต้องส่งงานกับอาจารย์ท่านใดได้ง่ายจากระบบออนไลน์
มีการพัฒนาเชื่อมต่อกับระบบให้คะแนนการปฏิบัติงานออนไลน์ (daily performance) ทำให้ระบบมีความสมบูรณ์มากขึ้นตั้งแต่นักศึกษาเริ่มลงคิวปฏิบัติงานไปจนกระทั่งลงคะแนนผลการปฏิบัติงานเพื่อประเมินผล
การพัฒนาปรับปรุง
ระบบมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยรับ feedback จากผู้ใช้งานทั้งนักศึกษา และอาจารย์ โดยมีการสร้างกลุ่มไลน์ขึ้นเพื่อรับทราบและตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ ทำให้ระบบมีความเสถียรขึ้นเป็นลำดับและปัญหาเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานลดน้อยลงอย่างมาก
ประโยชน์ที่ได้รับ
- นักศึกษาไม่เสียเวลากับการรอลงคิวปฏิบัติงานคลินิกในแต่ละวัน
- ลดการรวมกลุ่มทำให้เกิด social distancing
- บันทึกข้อมูลเป็นออนไลน์ สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้กรณีเกิดปัญหา
- ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของอาจารย์ในการจัดสรรนักศึกษาที่ลงปฏิบัติงานคลินิก
- นักศึกษาสามารถเพิ่มลดคิวได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นระบบออนไลน์ไม่ต้องไปดูบนแผ่นกระดาษทำให้ไม่เกิดคิวว่างที่เกิดจากการยกเลิกกระทันหันของผู้ป่วย
ปัญหาที่ 2. เรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะใช้ยืนยันการบรรลุผลการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย แต่ด้วยมิติของเป้าหมายที่กำหนดให้ได้ทั้งความรู้ความสามารถและการได้ถึงจิตใจที่เมตตาเป็นมิตร และมีจริยธรรมในวิชาชีพ ทำให้การวัดและและประเมินผลต้องสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกด้าน ด้วยวิธีวัดที่เหมาะสม มีความเที่ยงตรง สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนจนนักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายและสอบผ่านเกณฑ์ได้ตามกำหนดเวลาในแต่ละภาคการศึกษา
วิทยาลัยฯได้เริ่มใช้การวัดและประเมินผลนักศึกษาขณะรักษาผู้ป่วยทันตกรรมทุกครั้งตามหัวข้อที่ตรงต่อเป้าหมายที่ต้องการ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย โดยให้อาจารย์ผู้ดูแลการรักษาเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแบบให้คะแนน เรียกว่า “Daily Performance” และด้วยการทำงานของนักศึกษา 9 คาบต่อ 1 อาทิตย์ (คาบละ 3 ชั่วโมง) จึงเกิดเป็นข้อมูลในเอกสารจำนวนมาก ประมาณการเป็นจำนวนกว่าหมื่นรายการต่อภาคการศึกษา เป็นปัญหาต่อการนำข้อมูลมาประเมินผลอย่างยิ่ง ทั้งยังยากต่อการจะวิเคราะห์ให้เกิดข้อมูลที่จะใช้เป็นแนวทางปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
อาจารย์ผู้ให้คะแนนก็มีความยากลำบากที่จะต้องเขียนบันทึกข้อมูลที่ตนเองประเมิน ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันกับที่นักศึกษาทำงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ไม่ขาดตกบกพร่อง
วิทยาลัยฯได้มีความพยายามบริหารจัดการปัญหามาระยะหนึ่ง จนถึงเวลาที่ทีมอาจารย์ประจำของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ รวม 4 ท่านตามรายชื่อ “ผู้ให้ความรู้แก่รายงานถอดประเด็นความรู้นี้” ที่ได้เฝ้าสังเกตปัญหา และพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำ ถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข จนสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศมาพัฒนาการวัดและประเมินผล โดยใช้ระบบ digital data ลงคะแนน “Daily Performance” โดยใช้งาน google service คือ google sheet และ google form
จนได้เห็นผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ได้ตรงต่อประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนใน 2 หัวข้อหลักดังนี้
- การบันทึกในระบบ digital data ลดปัญหาการบันทึกด้วยการเขียน การรวบรวมข้อมูล การจัดแบ่งข้อมูลให้ใช้วิเคราะห์ได้ง่ายและรวดเร็ว ลดการคลาดเคลื่อนของข้อมูลเมื่อไม่ได้บันทึกทันที ข้อมูลอยู่ถาวรใน cloud ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารกองโต ลดสภาวะโลกร้อน
- การวัดและประเมินผลทำได้ทันทีหลังการบันทึก สามารถประเมินได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ระหว่างเรียน จนจบการเรียน
- นักศึกษารับทราบ summerize feedback ทันที
- อาจารย์ที่ปรึกษาและ ผู้บริหาร สามารถติดตามผลการเรียนรู้ในภาพรวมได้ทุกเวลา สามารถช่วยตักเตือน แนะนำ เพื่อให้ผลการเรียน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- ความช่างสังเกต การรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร และมีจิตอาสาที่พร้อมจะมีส่วนในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีๆที่จะช่วยพัฒนาองค์กร
- ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จนเกิดงานที่มีคุณค่า
- จิตสำนึกของความเป็นครูที่ต้องการให้ศิษย์จบการศึกษาเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบ ในเวลาที่กำหน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้ คณาจารย์ประจำ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ รวม 4 ท่าน
- อาจารย์ ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ รหัสบุคลากร 5990255
- อาจารย์ ดร ทันตแพทย์ ปกรณ์ ชื่นจิตต์ รหัสบุคลากร 5890119
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ทักษ์สิทธิ์ จรัสแสงไพศาล รหัสบุคลากร 5990141
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ปกิต ตุ้งสวัสดิ์ รหัสบุคลากร 5990139
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
- อาจารย์ทั้ง 4 ท่าน เริ่มปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในชั้นคลินิก
- วิเคราะห์ปัญหาของวิธีวัดผลการฝึกปฏิบัติรักษาผู้ป่วยทันตกรรมด้วย “Daily Performance” ในกลุ่มคณาจารย์ผู้ตรวจงานในคลินิก นักศึกษา และ ผู้รับผิดชอบการประเมินผล โดยมีทีมทำงานที่อยู่ต่างสาขากัน ใกล้ชิดกันในขณะทำงาน มีโอกาสพูดคุยแบ่งปันความรู้ และแนวทางการแก้ไขตามความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นจุดเริ่มต้นงาน
- นำเสนอแนวทางที่ร่วมกันคิดต่อผู้บริหาร หลังการเห็นชอบจากผู้บริหาร เริ่มนำออกใช้จริง และเปิดรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำกลับมาปรับปรุง
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
เริ่มมีการใช้แบบให้คะแนนออนไลน์ในปีการศึกษา 2565 และได้เก็บรวบรวมปัญหาและมีการปรับใหญ่ในปีการศึกษา 2566 ทีมอาจารย์ทั้ง 4 ท่านยังคงเดินหน้าปรึกษาหารือกัน รับฟังปัญหา ข้อแนะนำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
1.นักศึกษาสามารถเข้าไปตรวจสอบการลงคะแนนปฏิบัติงานของตนเองเพื่อทบทวนปริมาณการลงปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา
2.อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและช่วยวางแผนการทำงานในคลินิกของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่พบและการพัฒนาที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาจารย์ลงคะแนนแล้วไม่ขึ้นในระบบ หรืออาจารย์ลืมลงคะแนน จึงแก้ไขโดยสร้างระบบให้นักศึกษาเช็คข้อมูลเองได้ อาจารย์กรอกข้อมูลส่วนวันที่หรือเวลาผิด แก้ไขโดยระบบขึ้นข้อมูลวันที่และเวลาให้อัตโนมัติ หรืออาจารย์เลือกชื่อนักศึกษาในผิด แก้ไขโดยสร้าง QR code ส่วนตัวของนักศึกษา และพัฒนาต่อยอดมาถึงระบบที่มี link ให้คะแนนตามข้อมูลการแบ่งโซน
ในส่วนของการลงคิวปฏิบัติงานในคลินิกผ่านออนไลน์นั้น ทำให้นักศึกษาสามารถใช้ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือ คอมพิวเตอร์ในการลงนัด หรือเลื่อนนัดคนไข้ได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาวันหยุด หรือเสาร์-อาทิตย์ ช่วยในการวางแผนและกระตุ้นการทำงานของนักศึกษา โดยให้นักศึกษาทำการประเมินหลังการใช้งาน 2 ครั้ง และพบว่า นักศึกษาลงคิวผิดพลาดและไม่เข้าใจวิธีการใช้งานในบางจุด จึงแก้ไขโดยมีการจัดประชุมออนไลน์เพื่อชี้แจงเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการดำเนินงานของโปรแกรมที่จะติดขัดเมื่อมีจำนวนผู้ใช้โปรแกรมพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยจำนวนนักศึกษามีปริมาณมากและช่วงเวลาที่เริ่มลงคิวพร้อมกัน จึงได้แก้ไขโดยการจำแนกและเพิ่มส่วนของการเก็บข้อมูลให้มากขึ้น ในบางครั้งมีนักศึกษาที่ลงคิวแล้วไปกดพลาดลบโดนข้อมูลของคนไข้นักศึกษาท่านอื่น จึงได้เพิ่มให้ทำการล็อคอินเข้าโดยใช้อีเมลเป็นการยืนยันตัวตนเพื่อให้สามารถตามการทำงานได้ว่าใครทำอะไร รวมถึงกรณีที่มีปัญหาใดๆก็สามารถตามหาต้นเหตุได้
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
- การสนับสนุนการทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เนื่องจากการทำงานเป็นทีมจะสามารถเติมเต็มศักยภาพได้อย่างสูงสุด นำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาต่อเนื่องยั่งยืน
- การสนับสนุนให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถนอกเหนือวิชาชีพของตนนำศักยภาพของตนเองมาใช้เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนได้