รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1

การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ผ่านการกระบวนการปฏิบัติงานจริง
ของโครงการธุรกิจจำลอง บุญตะวัน

ผู้จัดทำโครงการ​

ผศ.ดร. วราพร ลักษณะลม้าย

คณะเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          เนื่องจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร คือ การสร้างนักศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจอาหาร การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ถึงแม้ว่านักศึกษาจะได้รับความรู้ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของแต่ละรายวิชาก็ตาม ปัญหาที่พบคือ นักศึกษาไม่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจึงได้ประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา

โครงการจัดตั้งบริษัทจำลอง บุญตะวัน เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ปฎิบัติงานจริงในการทำธุรกิจแปรรูปผักผลไม้ที่ล้นตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลเกษตร โครงการนี้ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในแต่ละรายวิชา

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้

          เรื่อง การตลาด บัญชี และ การบริหารจัดการธุรกิจ

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

อื่นๆ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยตนเอง

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้

  1. ประชุมนักศึกษาชั้นปี 2 เพื่อสร้างความเข้าใจ วัตถุประสงค์ของบริษัท จำลอง บุญตะวัน และ การบูรณาการความรู้ของนักศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการบริษัทบุญตะวัน
  2. นักศึกษาแบ่งทีม แต่ละทีมประกอบด้วยนักศึกษา 4-5 คน
  3. ในภาคการศึกษา 1/2566 การฝึกปฏิบัติจริงจะเน้นเรื่อง การสร้างวินัย เช่น การตรงต่อเวลา และ การทำงานเป็นทีม รูปแบบของการฝึกงานดังนี้
    1. นักศึกษาแต่ละทีมจะผลัดเวรกันไปขายผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ เช่น น้ำผลไม้ต่าง ๆ ที่ตลาดสัมมากร ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ โดยนักศึกษาจะต้องเรียนรู้การเบิกผลิตภัณฑ์ไปขายให้เพียงพอในแต่ละวัน และ การรายงานผลการขายทุกวัน
    2. ในระหว่างการขาย นักศึกษาจะได้รับโจทย์ให้ศึกษา เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และหัดพูดคุยกับผู้ซื้อ ชัดชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์บุญตะวัน เป็นต้น
  4. ในภาคการศึกษา ที่ 2 / 2566 การฝึกปฏิบัติจะเน้นเรื่อง การสร้างกลยุทธ์การขาย การจัดทำโปรโมชั่น การตั้งราคา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติที่ใช้ความรู้ในภาคทฤษฎีเข้ามาปฎิบัติจริงมากขึ้นกว่าในภาคการศึกษา 1 / 2566 และการฝึกหัดการเจรจากับ คู่ค้าทางธุรกิจ (Business to Business)

 

2. Prototype testing in an operational environment – DO

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
               ผลการดำเนินงาน ภาคการศึกษาที่ 1 / 2566 พบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ นักศึกษามาตรงเวลา เบิกสินค้าไปขาย ตามระบบที่วางไว้ และ รายงานผลให้อาจารย์ที่รับผิดชอบวิชานี้  อย่างไรก็ตามพบว่า นักศึกษาหลายคน ยังขาดความกล้าที่จะพูดคุยกับลูกค้า แต่ในขณะเดียวกัน นักศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ที่แต่เดิมไม่กล้าพูดคุย กลับมีความกล้ามากขึ้น

               ผลการดำเนินงานในภาคการศึกษาที่ 2 / 2566 แม้ว่าจะยังไม่จบภาคการศึกษา แต่เมื่อประเมินผลตั้งแต่เริ่มเปิดภาคการศึกษา นักศึกษา เริ่มเก็บข้อมูลและ วิเคราะห์ผู้ซื้อ ได้จำนวนหนึ่ง และ เริ่มคิดกลยุทธ์การขาย โดยการตั้งราคาให้เหมาะสม จัดทำ โปร รูปแบบต่าง ๆ และ สื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค และ นักศึกษาได้ฝึกหัดการเจรจากับคู่ค้าทางธุรกิจ โดยนำสินค้าไปฝากขาย และ มีการเจรจาผลประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งการ ดูแลคู่ค้าของตนเอง ฝึกหัดการวางแผนงาน และการจัดระบบการเก็บเงิน และ นำสินค้าไปส่ง เป็นต้น    

          ปัญหาอุปสรรคการทำงาน คือ เวลาในการเรียนวิชาต่าง ๆ กระชั้นชิดกับการจัดทำกิจกรรม ในช่วงเวลา 11.30 – 12.30 ทำให้นักศึกษามีเวลาในการปฏิบัติได้น้อยในแต่ละสัปดาห์ เพราะ ต้องรีบไปเรียนให้ทัน

         

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

                   การเรียนการสอนของหลักสูตร ธุรกิจฯอาหาร นั้น พบว่า การเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว และ การปฏิบัติในรายวิชาต่าง ๆ ใม่เพียงพอที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำธุรกิจ นอกจากนั้นยังพบว่า นักศึกษาไม่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่เรียนในห้องเรียน มาใช้ในการปฎิบัติจริงได้

      ดังนั้นการสร้างการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาคทฤษฎี และ ภาค ปฏิบัติ ในชั้นเรียน จะช่วยทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำธุรกิจได้ดีขึ้น

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          ควรเริ่มกิจกรรมตั้งแต่นักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 เพื่อ สร้างกรอบความคิด การเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และ ควรจะเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างโจทย์จากกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ลองผิด ลองถูกจากการปฎิบัติจริง และเมื่อนักศึกษาได้เรียนภาคทฤษฎีก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น และ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโจทย์ที่แตกต่างกันได้                                                     

Scroll to Top