รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, KR 2.1.3
How to get publisged in Q1 journals?
(ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1)
ผู้จัดทำโครงการ
รศ.ดร.เฟื่องฉัตร จรินทร์ธนันต์ ผศ.ดร.อภิชัย ศรีเพียร
ดร.อุทัยพร สิงห์คำอินทร์
คณะเทคนิคการแพทย์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
เนื่องจากปัจจุบันการศึกษาและทำวิจัยเป็นอีกหนึ่งภาระงานทีมีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อองค์กร สำหรับทางด้านวิชาการ และการเรียนการสอน บุคลากรบางท่านอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารวิชาการต่าง ๆ การจัดการความรู้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ ตีพิมพ์อย่างไรให้ได้ Q1 โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อย่างมากมาย จะทำให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งอาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้านอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
- เลือกหัวข้อวิจัยโดยหัวหน้าทีมผู้วิจัย
- ทีมผู้วิจัยดำเนินการประเมิน โดยการทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดความเป็นไปได้
- กำหนดสมมติฐาน หรือวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน
- ออกแบบระเบียบวิธีวิจัยที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ทันสมัย ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์และผลการทดลอง
- ขอจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรม รับรองความยินยอม และการรักษาความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย
- รวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีการใช้สถิติที่ถูกต้องเหมาะสม
- พิจารณาเลือกลงตีพิมพ์ในวารสาร Q1 และวารสารที่มี impact factor สูง
- ร่างต้นฉบับโดยทำตามคำแนะนำจาก website ของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์
- การแก้ไขภาษาอังกฤษ และการทบทวนเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
- ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- การออกแบบระเบียบวิธีวิจัย
- การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิดงานวิจัย
- การขอจริยธรรม
- การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
- การเขียน และการสื่อสารในการทำงานที่เป็นทีม
- กระบวนการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
- การตรวจสอบภาษาอังกฤษ
- การสร้างเครือข่าย และการทำงานร่วมกัน
- การเรียนรู้ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร. จตุรวัฒน์ ปวีณวงศ์ชัย และ ดร.นิภาพร เทวาวงค์
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
คัดเลือกวารสารที่มีขอบเขตงานวิจัยตรงกับงานวิจัยของตน รวมทั้งมีการตรวจสอบ quartile และ impact factor จาก website เช่น scopus งานวิจัยที่จะลงใน Q1 ควรมีการทดลองที่หลากหลาย ใช้เทคนิคที่ทันสมัย จำนวน sample มากพอสมควร ตรวจสอบและจัดทำ manuscript ตามคำแนะนำของวารสารให้ถูกต้อง เขียน cover letter ถึง editor ด้วยประเด็นที่สำคัญ น่าสนใจ หลังจาก submit คอยติดตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการแก้ไขตามคำแนะนำด้วยความรอบคอบ หากถูก reject ไม่ควรท้อ ควรปรับปรุง และส่งวารสารอื่นที่ตรงกับขอบเขตงานวิจัยของตน
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
1. กำหนดวัตถุประสงค์ และการสรุปผลที่ชัดเจน โดยการเขียนบทคัดย่อที่มีความถูกต้องชัดเจน มีจุดน่าสนใจ การเขียนบทคัดย่อและ manuscript สำหรับการตีพิมพ์อาจมีอุปสรรคด้านการใช้ภาษาอังกฤษ
- เลือกสถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยที่เหมาะสม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง สถานที่ทำการปฏิบัติงานวิจัยอาจมีไม่เพียงพอ จะต้องมีการวางแผนจัดสรรให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงาน
- ต้องมีการขอจริยธรรม Ethical Considerations และ IBC (Institutional Biosafety Committee) ให้เรียบร้อย ซึ่งการขอหนังสือรับรองดังกล่าวอาจใช้เวลานาน ดังนั้นการทำวิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนให้รอบคอบรัดกุม เพื่อให้การขอหนังสือดังกล่าวไม่เป็นการรบกวนเวลาปฏิบัติการวิจัย
- มีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอาจจำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติโดยเฉพาะ
- การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลการทดลอง พร้อมบันทึกเป็น Files ให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการสำรองข้อมูลทั้งหมดให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการสูญหายของาข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
- การตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง และความสามารถในการทำซ้ำได้
- การจัดทำเอกสาร และการรายงาน เพื่อความโปร่งใส
- แบ่งสัดส่วนผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ซึ่งถ้าเป็นการแบ่งสัดส่วนอย่างไม่ยุติธรรมและเท่าเทียมอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาได้
- การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการปรับปรุงซ้ำ การทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือเป็นการช่วยทบทวนให้ผลงานมีความถูกต้องมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรมในการวิจัยที่ดีต่อผู้ร่วมงาน
- การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทิศทางงานวิจัยในอนาคต เพื่อจะได้การตีพิมพ์ในมาตราฐานที่ดี
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
- กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดการความรู้งานวิจัยแต่ละสาขา การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะทำให้ผลงานการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับจากวารสารทางวิชาการ และมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น
- ขอบเขตงานวิจัยตรงกับวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการที่ตรงสายงานจะทำให้ได้รับการแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผลงานและเป็นการปรับปรุงให้ผลงานนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น
- ทดสอบโดยการทำซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง และให้ผลเหมือนเดิม การทดสอบซ้ำและให้ผลการทดสอบเหมือนเดิม มีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เมื่องานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว และการทดสอบเป็นที่ยอมรับสามารถทำซ้ำได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าการทดสอบไม่สามารถทำซ้ำได้ จะถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิจัยจากทั่วโลกถึงมาตรฐานการวิจัยของตัวนักวิจัยเอง และอาจส่งผลร้ายแรงต่อนักวิจัยถ้างานวิจัยนั้นถูกถอดถอนจากวารสารทางวิชาการ (retraction)
- ทบทวนผลงานวิจัยว่าเป็นที่ยอมรับในวารสารที่จะส่ง ก่อนส่ง manuscript ให้วารสารทางวิชาการพิจารณา ผู้วิจัยจะต้องแน่ใจว่าผลงานวิจัยมีความครบถ้วนครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่เสนอในตอนแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูงขึ้น
- ติดตามและแก้ไข เมื่อมีการตอบกลับจาก editor การแก้ไขตามคำแนะนำของ editor หรือ reviewer จะช่วยทำให้ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบางครั้ง คำแนะนำดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้นักวิจัยจะต้องพิจารณาตามความถูกต้องและเหมาะสม
- ปรับรูปแบบผลงานชื่อ สถานที่ เพื่อรอการตีพิมพ์ซึ่งในแต่ละวารสารระยะเวลาการตีพิมพ์ไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะเวลาการตีพิมพ์ของแต่ละวารสารทางวิชาการไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนว่าต้องการตีพิมพ์ในวารสารใด และปัจจุบันแหล่งทุนมักจะถามถึงผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้อาจจะนำเสนอในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับความสำคัญต่างๆ เช่น T1 หรือ Q1 เป็นต้น
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
- ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ระหว่างทีมวิจัย
- ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และนอกองค์กร จากประสบการณ์ในการตีพิมพ์
- ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรความรู้ หนังสือ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อให้ได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน
- ส่งเสริมความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยและการสนับสนุนการจัดการความรู้ให้ทีมวิจัย
- บันทึกแนวทางปฏิบัติการทดลองที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ได้รับ
- ควรมีความปลอดภัย และการรักษาความลับของงานวิจัย
- ควรสนับสนุนให้เผยแพร่ผลการวิจัย และการมีส่วนร่วม