รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1
“Creative Young Designers Season 3”
โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย
ผู้จัดทำโครงการ
อาจารย์ลัดดาวัลย์ สารพัฒน์ อาจารย์พชร รัตนคุปต์
และอาจารย์ลลิตา สีมันตร
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ตามที่สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ ได้ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมการผลิตผลงานสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านองค์ความรู้ นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้คณาจารย์และนักศึกษาของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ มีผลงานอย่างสรรค์อย่างต่อเนื่องนั้น และเพื่อเป็นการต่อยอดให้กับอาจารย์และนักศึกษาสามารถนำผลงานสร้างสรรค์ รวมถึงงานวิจัย นวัตกรรมทางด้านแฟชั่น ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในโครงการจัดการความรู้ด้านทางด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หัวข้อโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 เป็นการดำเนินงานด้านการออกแบบและพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือกับบริษัท ประชารัฐสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนการดำเนินการดำเนินโครงการความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงการขยายช่องทางการตลาดเพื่อก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษาแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การออกแบบเครื่องแต่งกาย และเครื่องประกอบการแต่งกาย (Accessories) และการตัดเย็บ การตลาดด้านแฟชั่นการออกแบบที่มุ่งเน้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่แล้วและเพิ่มกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ รวมถึงการนำผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นไม่อยู่ในกรอบของเสื้อผ้าแบบเดิม ๆ
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้ในชั้นเรียน และปราชญ์ชาวบ้าน
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้/สังกัด สาขาวิชาแฟชั่นดีไชน์ และ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
1) กิจกรรมเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2) กิจกรรมมีการบูรณาการกับ R การเรียนการสอน รายวิชาดังนี้
- รายวิชาFAS490การกออกแบบแฟชั่นโดยร่วมมือกับผู้ประกอบการ
- FAS377 การตกแต่งพื้นผิวผ้า
3) อื่นๆระบุ พัฒนาศักยภาพนักศึกษา
– ประชุมออนไลน์กับผู้ประกอบการในเบื้องต้นถึงความต้องการของผู้ประกอบการ ในด้าน รูปแบบ กลุ่มลูกค้า
อัตลักษณ์ท้องถิ่น ลักษณะรูปแบบของผ้าว่ามีผ้าอะไรบ้าง โดยผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มก็คือผ้าสามฤดูที่ได้
แรงบันดาลใจจากเทือกเขาภูพานที่มีความอุดมสมบูรณ์
– นำข้อมูลประชุมและแบ่งงานนักศึกษาเป็นกลุ่มเลือกแรงบันดาลใจเป็นเทือเขาภูพานที่มีน้ำไหลผ่านสามฤดูความอุดมสบูรณ์
– ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการนักศึกษาทดลองทอผ้าศึกษาฝ้ายที่นำมาทอชนิดต่างๆ ความพิเศษของฝ้ายในจังหวัดหนองบัวลำภูที่แตกต่างจากที่อื่นคือสี ที่มีสีน้ำตาลที่เกิดจากแร่ธาตุจากดินภูเขาที่ปลูก
– ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติซึ่งได้จากพืชในท้องถิ่น เช่นคราม เป็นต้น
– พูดคุยและเลือกแบบที่นักศึกษาได้ออกแบบมาหลังจากที่ประชุมกันในรอบแรก และนำไปปรับปรุงอีกครั้ง
– ขึ้นต้นแบบ จำนวน 10 ชุด ปรับแก้เพื่อให้ได้ตามรูปแบบที่ดีไซน์
– ตัดเย็บชุดจริง จำนวน 10 ชุด
– ถ่าย LOOK BOOK
– จัดแสดงแฟชั่นโชว์ส่งมอบผลงานให้กับผู้ประกอบการ ณ พัฒนาแกลลอรี่ อาคารคุณหญิงพัฒนา
– จัดแสดงแฟชั่นโชว์ ณ งาน Sx Expo (Sustainability Expo) ในวันที่ 3 ต.ค 2566
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
นักศึกษาได้ลงพื้นที่พูดคุย ศึกษากระบวนการทอผ้าจากผู้ประกอบการ และพูดคุยความต้องการของผู้ประกอบการ รวมถึงการศึกษากลุ่มลูกค้าของมือ กลุ่มทอผ้าภูริษาผ้าไทย ตำบลเมืองใหม่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยนำผ้าทอมือ ผ้าขาวม้ามาออกแบบและตัดเย็บ จัดแสดงผลงานผ่านการเดินแฟชั่นโชว์ และผู้ประกอบการนำไปวางโชว์เพื่อจัดจำหน่ายโดยได้รับเป็นพรีออเดอร์จากผลงานที่นำไปโชว์
อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน เนื่องจากผ้าทอมือความกว้างของหน้าผ้าจะไม่กว้างเหมือนผ้าที่ขายในท้องตลาดทั่วไปทำให้ต้องมีการดีไซน์การวางแบบตัดผ้าให้ได้ตามรูปแบบที่ออกแบบไว้นอกจากนี้ยังสามารถจัดวางลวดลายในการตัดต่อเพื่อให้เกิดความงามได้จากปัญหาหน้ากว้างไม่พอในการวางแพทเทิร์น
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
หลังการดำเนินการเสร้จสิ้นลงสามารถติดตามผลได้จากสื่อออนไลน์ของกลุ่มภูริษาผ้าไทยกลุ่มทอผ้าสามารถนำต้นแบบไปต่อยอดจากรูปแบบเดิมที่โครงการได้ออกแบบไว้ไปต่อยอดโดยใช้ผ้าสีอื่นมาตัดเย็บ หรือนำเสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า นำไป mix & match กับเสื้อผ้าของทางร้านที่มีอยู่เดิม เพิ่มช่องทางการตลาดและขยายกลุ่มลุกค้าที่มีอยู่เดิม หรือการนำเศษเหลือผ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษผ้า
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ในการทำงานโครงการระยะยาวจำเป็นต้องมีการวางแผนในเรื่องวัสดุผ้าที่นำมาใช้เนื่องจากการทอผ้าแต่ละครั้งมีจำนวนจำกัด สีเป็นการย้อมแบบธรรมชาติย้อมมือหากต้องการผ้าชนิดนั้นหรือสีนั้นต้องซื้อเพื่อไว้เลย และการคำนวณผ้าต้องดูตามหน้าผ้าของร้านเป็นหลักเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการตัดเย็บ รวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมการใช้วัสดุให้เหลือเศษน้อย หรือนำเศษวัสดุมาออกแบบต่อยอดให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่ขึ้นมา