รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1

กระบวนการและขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ผู้จัดทำโครงการ​

คุณณัฐวรรณ วาเรืองศรี

สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          ในปัจจุบันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสําคัญอย่างมากในสถาบันการศึกษา มีการตื่นตัว ในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดรายได้กลับสู่สถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นการใช้ประโยชน์ รวมถึงทั้งการให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ แก่นักวิจัยเ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานนั้น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต จากอดีตที่ผ่านมาจนถึง ณ.ปัจจุบัน พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัย มีการขอยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามีปริมาณค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุกระบวนและขั้นตอนในการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก ในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารในการยื่น ซึ่งส่งผลให้การยื่นจดทะเบียนจนกระทั่งได้รับใบรับรองใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน  บางครั้งอาจมีมากถึง 3-5 ปี ดังนั้นหากมีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษา ตั้งแต่การร่างคำขอและการทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีเครื่องมือที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้งาน และทำงานในทุกๆ สถานที่ได้ตลอดเวลา ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวก และช่วยให้บุคลากรทำงานง่ายขึ้น และอาจทำให้มีการตื่นตัว ในเรื่องการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น  

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :

เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา (https://www.ipthailand.go.th/th/)  

เว็บไซต์สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา (https://biip.rsu.ac.th/patent/)  

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้

ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร  มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

     ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (สำหรับบุคลากร มรส.)

1.ยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยเตรียมข้อมูลการประดิษฐ์ เนื้อหารายละเอียดตามไฟล์ข้อ 1- 6 และส่งเป็นไฟล์รูปแบบ word มายัง E-mail: bsic@rsu.ac.th ท่านสามารถศึกษา ตัวอย่างการเขียนคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ คำชี้แจงในการเตรียมคำขอ ได้ดังนี้ (ส่งไฟล์ Zip ให้ทางอีเมล์)

  1. แบบฟอร์ม Invention disclosure
  2. รายละเอียดการประดิษฐ์
  3. รูปเขียน (ถ้ามี)
  4. ข้อถือสิทธิ
  5. บทสรุปการประดิษฐ์
  6. หนังสือยืนยันประเภทในการยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์อนุสิทธิบัตร

2.สำนักงานฯ ตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของคำขอ และส่งให้ผู้ประดิษฐ์ตรวจสอบ 
3.หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จะจัดทำเอกสารประกอบ (หนังสือโอนสิทธิ) ส่งให้ผู้ประดิษฐ์และคณะลงนาม (โดยคณะผู้ประดิษฐ์แนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ท่านละ 1 ฉบับ โดยไม่ต้องลงวันที่กำกับ) 
4.สำนักงานฯ รวบรวมเอกสารและส่งให้สำนักงานนิติการ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารลงนาม
5.สำนักงานฯ ส่งเอกสารไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญา
6.สำนักงานฯ จะนำส่งสำเนาเอกสารการจดทะเบียนให้กับทางผู้ประดิษฐ์ทุกครั้ง และผู้ประดิษฐ์สามารถเช็คสถานะของผลงานของตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/ 

2. Prototype testing in an operational environment – DO

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดทำเวปไซต์ของหน่วยงานขึ้นมา เพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าไปอ่านรายละเอียดและการดาวน์โหลดเอกสาร รวมถึงกระบวนการในการจัดทำเอกสาร และการติดตามเอกสารในแต่ละขั้นตอน และในอนาคตทางสำนักงานฯ จะมีตัวแทนสิทธิบัตรที่จะช่วยในการของการจัดทำเอกสารให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการได้รับใบรับรองทรัพย์สินทางปัญญาแบบสมบูรณ์

               อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลให้มีการยื่นจดทรัพย์สินยังมีปริมาณน้อย อาทิเช่น

               -บุคลากรบางท่านไม่ทราบว่าในนามมหาวิทยาลัยรังสิต จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนด้านทรัพย์ทางปัญญา และไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา  

               -บุคลากรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สามารถเบิกค่าตอบแทนของผลงานได้และนำไปกรอกในข้อมูลประกันคุณภาพประจำปีการศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนค่าถ่วงน้ำหนักของผลงานด้านวิชาการได้

          -บุคลากรที่เป็นผู้ประดิษฐ์ส่วนใหญ่มัก ไม่เข้าใจในเรื่องระยะเวลาและขั้นตอนการทำงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณการยื่นจดของทั้งประเทศ   

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

           ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร

 

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          ปัจจุบันทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำเว็บไซต์ https://biip.rsu.ac.th/patent/  ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีรายละเอียดของสถานะการจดทรัพย์สินทางปัญญา แบบ Real Time ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร

Scroll to Top