รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2566
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.3
ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านกิจกรรมการบูรณาการทางวิชาการในรายวิชา
ผู้จัดทำโครงการ
อ.อำพร พัวประดิษฐ์ อ.อุษณีย์ มะลิสุวรรณ
และ อ.ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์
วิทยาลัยนานาชาติ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติมีโอกาสค่อนข้างจำกัดในการทำกิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กัน (Interactive activity) เพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสารและการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ในขณะที่กิจกรรมที่มีอยู่ก็มักเป็นไปในลักษณะพัฒนาตนเองโดยเฉพาะ และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนน้อย อาทิเช่น การไปแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความสนใจอย่างเข้มข้นจริงจัง ความมั่นใจในตนเอง ความสามารถในการสื่อสารและสถานภาพทางเศรษฐกิจ หรือการเข้าร่วมสัมมนา มักเป็นลักษณะ one way communication ปราศจาก engagement การมีส่วนร่วมในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น เนื่องจากข้อจำกัดทางภาษา (Language barrier) จึงนำไปสู่แนวคิดในการจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาสองกลุ่มนี้ โดยการบูรณาการวิชาการในรายวิชาของหลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติร่วมกัน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การถกเถียงระดมความคิดการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมต่าง ๆ ร่วมกันความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- Integration: การบูรณาการ
การจับคู่บูรณาการรายวิชาที่เหมาะสมโดยผู้สอนทั้งสองฝ่ายสมัครใจและต้องการพัฒนาทั้งตัวผู้สอนเองและตัวนักศึกษา เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นสากล (Internationalization) ผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางของวิชาตนเอง เช่น การสัมภาษณ์คนไข้, การเล่นเกมส์, การต่อ Lego การ discussion ด้านวัฒนธรรม
- Communication: การสื่อสาร
ทำอย่างไรให้นักศึกษาไทยมีจุดเริ่มต้นในการกล้าพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในลักษณะที่สามารถเข้าใจกันได้ โดยไม่คาดหวังความถูกต้องของโครงสร้างทางภาษา 100% ส่วนนักศึกษาต่างชาติหัดพูดทักทายเป็นภาษาไทย
- Personality: บุคลิกภาพ
ทำอย่างไรให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้บุคลิกภาพที่มีมิติทางวัฒนธรรมของแต่ละผ่าย เพื่อให้เข้าใจลักษระการตอบสนองจากการสื่อสารผ่านวัจนภาษา (verbal communication) และอวัจนภาษา (non-verbal communication)
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explecit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)
เจ้าของความรู้/สังกัด หลากหลาย
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้/สังกัด อ.อำพร พัวประดิษฐ์ อ.อุษณีย์ มะลิสุวรรณ อ.ศรีสองรัก พรหมวิทักษ์ วิทยาลัยนานาชาติ
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการตามขั้นตอน plan, do, check, act ดังนี้
- แสวงหาความร่วมมือจากผู้สอนทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติและจับคู่รายวิชา
- แบ่งกลุ่มทำงานนักศึกษาที่มีส่วนผสมระหว่าง Thai และ non-Thai อย่างเหมาะสม
- เตรียมกิจกรรมที่เหมาะสม ไม่ยาก หรือซับซ้อนและสนุก
- เตรียมใจนักศึกษาทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติต้องมีความเข้าใจบุคลิกภาพของนักศึกษาไทยที่มักแสดงออกผ่านอวัจนภาษาในการสื่อสาร เช่น ยิ้มมากกว่าพูด นักศึกษาสรรหาเทคนิคเองเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อีกฝ่ายแสดงออกมา เช่น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
- ผู้สอนทำหน้าที่เป็น coach ดึงเอาความสามารถของนักศึกษาออกมาและกระตุ้นให้มีการ discussion, critical analysis, problem-solving, solution และpresentation
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
- อุปสรรคทางภาษา (Language barrier) ยังคงเป็นปัญหาหลักในตอนเริ่มต้นของนักศึกษาไทย แต่ถูกทะลายลงด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน การไม่มีช่องว่างระหว่งวัยและความคิด
- ตัวกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนและเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การ discussion ด้านวัฒนธรรม ทำให้ทั้งสองฝ่ายกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาไทย
- เวลาที่ใช้ดำเนินการประมาณ 2 ชั่วโมง/วัน เหมาะสมกับกิจกรรม
- ทุกคนตั้งใจทำงานให้บรรลุเป้าหมาย นักศึกษาไทยและต่างชาตินำเสนอหน้าชั้นร่วมกัน โดยฝ่ายแรกใช้ภาษาอังกฤษนำเสนออย่างง่าย ๆ เข้าใจได้ บางคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี เป็นที่ชื่นชมของเพื่อนร่วมชั้น
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
- เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษา ผู้สอนทำหน้าที่เป็น coach ดึงความสามารถนักศึกษาออกมาพร้อมทั้งกระตุ้นให้กำลังใจ ไม่จับผิด ให้เป็นตัวของตัวเองและกล่าวยกย่องชมเชย
- การเตรียมความพร้อม ไม่ใช่เฉพาะสำหรับนักศึกษาเท่านั้น แต่รวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคือผู้สอนทั้งสองฝ่าย ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้บรรยากาศของกิจกรรมน่าสนใจ ไม่น่ากลัว ทำให้นักศึกษาอยากเข้าร่วมเพราะสนุกและได้เพื่อนใหม่
- นักศึกษาไทยสะท้อนเรื่องเวลาของกิจกรรมที่น้อยไป จึงนำไปสู่การเพิ่มเวลาจาก 3 ชั่วโมงเป็น 9 ชั่วโมง (3 วันไม่ต่อเนื่อง) ในครั้งต่อ ๆ ไป และอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้เพิ่มขึ้นอีก
- เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมที่สร้างรอยยิ้มร่วมกัน เช่น ขนมครก นักศึกษาพม่าเรียกว่า Husband and wife cake โดยอธิบายจากลักษณะของขนมที่มีสองฝาประกบบนล่าง
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
- นักศึกษานานาชาติอยากให้เพิ่มความท้าทายและความน่าสนใจของกิจกรรมให้มากขึ้น กิจกรรมครั้ง
ต่อ ๆ ไปจึงเน้น discuss เพื่อทำ business deal ร่วมกัน หรือออกแบบ design สินค้าร่วมกัน - เพิ่มเวลากิจกรรมมากขึ้นในครั้งต่อไป โดยดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา รวมรายวิชาที่เข้าร่วมทั้งสิ้นโดยประมาณ 10 รายวิชา จากวิทยาลัยนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม คณะรัฐศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์