รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1

HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอน
สู่ความเป็นเลิศ

ผู้จัดทำโครงการ​

นพ.สมเกียรติ แสงอุไร

คณะวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

              ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในทุกด้านของชีวิต การศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ธรรมชาติของนักศึกษาในปัจจุบันแตกต่างจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด เพราะเติบโตมากับเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดและวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเดิม ส่งผลให้รูปแบบการเรียนการสอนจาเป็นต้องปรับตัวตามไปด้วย ซึ่งนักศึกษาต้องการความยืดหยุ่นในการเรียนที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น การเรียนผ่านวิดีโอ หรือการใช้แอปพลิเคชันการศึกษา รายวิชาของหมวดวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับปริบทของนักศึกษาในปัจจุบัน โดยพยายามนาเทคโนโลยีมาผสานกับการเรียนการสอน พัฒนาเนื้อหาให้ทันสมัย และเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนาไปใช้ได้จริงในสายวิชาชีพ อีกทั้งพยายามปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้กับนักศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศสอดคล้องตามวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้งนี้ได้นารายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) มาพัฒนาเพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับการเรียนการสอนในทุกมิติ โดยให้ชื่อโครงการว่า “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ”

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

  1. การพัฒนาสมรรถนะ (competency) ของนักศึกษา โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ
    • ความรู้ (knowledge)
    • ทักษะ (skill)
    • ทัศนคติ (Attitude)
  2. การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน (Transformative Learning)
    • ผ่านประสบการณ์ (experience)
    • นำามาคิดไคร่ครวญ (contemplative thinking)
    • สะท้อนการเรียนรู้ (reflection)
    • แลกเปลี่ยนกัน (rational discourse)
    • ใช้การสนทนา (dialogue) เพื่อให้ได้ข้อสรุป (conceptualization)
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองจากภายใน (behavior change / inside out)

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • เจ้าของความรู้/สังกัด อ.นพ.สมเกียรติ แสงอุไร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

วิธีการดำเนินการ

วางแผนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา ทั้งทางด้าน ความรู้ (knowledge), ทักษะ (skill) และ ทัศนคติ (Attitude) ผ่านกิจกกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับผู้เรียน

ความรู้ (knowledge)

  • พัฒนาทักษะการสอนเน้นกระตุ้นการคิดและการมีส่วนร่วมกับผู้เรียน โดยใช้ใช้คาถามปลายเปิด
    ให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์
  • ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเตรียมการเรียนการสอน ร่วมทั้งนามาจัดกิจกรรมในระหว่างเรียนเพื่อช่วยให้การสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น Kahoot, Mentimeter เป็นต้น
  • พัฒนาทักษะการสอนทั้งการใช้น้าเสียง การยกตัวอย่าง การเล่าเรื่อง (storytelling) เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย และฝึกชื่นชมนักศึกษา และให้กาลังใจอย่างเหมาะสม
  • ผสมผสานการเรียนรู้ทั้งการเรียนในห้องเรียน (On-site) และ การเรียนออนไลน์ (Online) ผ่าน VDO บันทึกการสอนที่ถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของนักศึกษาในปัจจุบัน ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการเรียน นักศึกษาสามารถเลือกฟังเฉพาะหัวข้อที่ไม่เข้าใจ หรือหัวข้อที่จดตามในห้องบรรยายไม่ทัน เพราะได้วาง tag เวลาของแต่ละหัวข้อไว้ให้ รวมทั้งในช่วงท้ายยังเพิ่มเติมการสรุปบทเรียนเน้นประเด็นสาคัญของการเรียนในวันนั้น ซึ่งใช้เทคนิคการถ่ายผ่าน green screen เพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การฟังบทสรุปช่วยให้นักศึกษาฝึกสะท้อนการเรียนรู้ (reflection) ว่าหลังจากฟังบรรยายสามารถจับประเดินสาคัญได้มากเพียงใด
  • จัดให้มีกิจกรรม Tutorials session ในรูปแบบ active Learning ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยให้นักศึกษาช่วยกันลองทาโจทย์ปัญหาไปด้วยกัน ฝึกคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และชี้จุดอ่อนที่ต้องพัฒนาให้กับนักศึกษา

ตัวอย่าง VDO บันทึกการสอน : https://youtu.be/uWmAnXKjb-Q

ทักษะ (skill)

  • เนื่องจากคู่รายวิชานี้ยังรวมถึงการเรียนในภาคปฏิบัติการ (เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PSO223) ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของ learning pyramid จึงยิ่งช่วยเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักศึกษา
  • กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเรียนภาคปฏิบัติการจะช่วยพัฒนาทักษะที่หลากหลาย ที่สามารถนาไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงในสายวิชาชีพ เช่น
    o ทักษะในการอภิปรายผลการทดลองที่ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราห์อย่างเป็นระบบ
    o ทักษะในการทาปฏิบัติการซึ่งเป็นพื้นฐานการใช้งานอุปกรณ์ห้องปฏิการต่างๆ ที่สามารถเป็น
    ประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพในอนาคต
    o ทักษะการนาเสนอผ่านกิจกรรม Conference ซึ่งถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด เพราะนักศึกษาได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเอง ทาให้เข้าใจบทเรียนอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

 

ทัศนคติ (Attitude)

  • ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อปลูกฝังทัศนคติที่พึงประสงค์ให้กับนักศึกษา โดยออกแบบโครงการหรือกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่พบในการเรียนการสอนที่ผ่านมา ได้แก่

ปัญหาที่ 1: นักศึกษาไม่เข้าห้องเรียน (on-site)
          จากปัญหาในปัจจุบันที่นักศึกษามักไม่เข้าเรียน on-site และในขณะเดียวกันก็ไม่มีวินัยพอที่จะทบทวนบทเรียนในรู้แบบ online จึงมักทบทวนบทเรียนไม่ทันในการสอบแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงหาแนวทางที่จะดึงดูดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยเชิญชวนว่าหากเข้าฟังบรรยายครบทุกครั้งจะมอบเกียรติบัตรให้ ซึ่งเป็นเกียรติบัตรในรูปแบบ online ที่สามารถจัดทาได้ง่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
          พบว่าช่วยให้นักศึกษาพยายามเข้าชั้นเรียนกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านๆ มา และเมื่อผู้เรียนเหล่านี้สามารถติดตามเนื้อหาและทบทวนบทเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะส่งผลดีต่อคะแนนสอบ ส่งผลให้สามารถตระหนักถึงความสาคัญ และมีทัศนคติที่ดีต่อเข้าเรียน on-site และอยากเข้าชั้นเรียนมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

ปัญหาที่ 2: นักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนสูง มักไม่ถูกกระตุ้นศักยถาพ

โดยปกติแล้วผู้ดูแลรายวิชา (course coordinator) มักเฝ้าระวังและติดตามผลการเรียนของนักกศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่ามากกว่ากลุ่มอื่น เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้มีศักยภาพให้ทัดเทียมเพื่อนๆ โดยมักไม่มีโครงการหรือกิจการรมการเรียรู้ใดที่มีเป้าประสงค์ในการกระตุ้นศักยถาพของนักศึกษามีสมรรถนะในการเรียนสูง
ทางรายวิชาตระหนักถึงความสาคัญในการดูและนักศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมในทุกกลุ่ม จึงจัดให้มีโครงการต้นแบบเพื่อกระตุ้นสักยภาพของนักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนสูง โดยถ้าสามารถทาคะแนนได้เต็มในหัวข้อสรีรวิทยาของระบบประสาท และสรีรวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมอบเกียรติบัตรพิเศษให้ ถึงแม้ นักศึกษากลุ่มนี้หลายคนอาจเคยได้คะแนนสูงสุดมาก่อน และได้รับคาชมเชยบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องเคยชิน แต่การทาคะแนนได้เต็มยังต้องอาศัยความพยายามให้มากขึ้นอีกหลายเท่า นับเป็นการเพิ่มความท้าทาย ช่วยกระตุ้นศักยภาพของนักศึกษาในกลุ่มที่มีสมรรถนะในการเรียนสูงได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นแรงบรรดาลใจให้กับนักศึกษาทุกระดับ ช่วยให้นักศึกษาจะตระหนักถึงความจริงได้ว่า “ไม่ว่าจะมีสมรรถนะในการเรียนสูงเพียงใดหากต้องการความสาเร็จที่สูงขึ้น ก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่”

ปัญหาที่ 3: นักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่ำ ขาดความเชื่อมันในตัวเองและขาดแรงบรรดาลใจในการเรียน
รายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นสองรายวิชาต่อเนื่อง เดิมเป็นรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ (PSO225) เพียงตัวเดียว ปัญหาที่พบคือมีนักศึกษาที่ไม่ผ่านรายวิชาสะสมอยู่จานวนมาก ในกลุ่มนี้ยังรวมถึงนักศึกษาที่ได้รับเกรด F ของรายวิชาที่เป็นวิชาบังคับก่อน
หลังจากได้พูดคุยกับนักศึกษาเหล่านี้พบว่าส่วนใหญ่มักขาดความเชื่อมันในตัวเอง และขาดแรงบรรดาลใจในการเรียน พอใกล้สอบก็ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือส่งผลให้จาเนื้อหาบทเรียนไม่ได้ จึงมักสอบไม่ผ่านในหลายรายวิชา

ดังนั้นจึงมีโครงการเพื่อมุ่งพัฒนาทัศนคติ และสร้างความเชื่อมันในตัวเองให้กับนักศึกษาในกลุ่มนี้ โดยมีกระบวนการโดยสังเขปดังนี้

  • โครงการนี้สงวนให้เฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่มีสมรรถนะในการเรียนต่า คือเคยได้รับ F หรือ W ในรายวิชานี้ และรวมทั้งกลุ่มที่ได้เคยได้รับ F ในรายวิชาที่เป็นวิชาบังคับก่อน
  • ให้ทาการ re-exam เฉพาะการสอบครั้งที่ 3 และ 4 สารองไว้ตั้งแต่หลังการสอบครั้งนั้นๆ โดยไม่ต้องรอผลการตัดเกรด
  • เมื่อสิ้นสุดรายวิชาให้นาคะแนนปกติทาการตัดเกรดก่อน หากสอบผ่านรายวิชาได้ตามปกติ จะไม่ใช้คะแนนในส่วนที่ re-exam ไว้
  • นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแต่สามารถสอบผ่านโดยไม่ จาเป็นต้องใช้คะแนน re-exam สามารถได้รับเกรดตามปกติตามความสามารถของตนเอง
  • นักศึกษาที่รวมคะแนนปกติแล้วได้รับเกรด F จะนาคะแนนจากการ re-exam ที่สารองไว้มาแทนที่ในการสอบครั้งนั้นๆ ซึ่งหากแทนที่เพียงแค่การสอบครั้งที่ 3 แล้วสามารถได้เกรด D ก็ไม่จาเป็นต้องทาการสอบ re-exam ในครั้งที่ 4
  • นักศึกษาที่ใช้คะแนนจากการ re-exam มาแทนที่จะได้รับเกรดไม่เกิน D หากมองเผินๆ จะคล้ายกับการ re-exam ตามปกติ แต่ในความจริงแล้วนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมากสอบ re-exam สะสมคะแนนไว้ทั้งที่ยังไม่ทราบว่าจะได้รับ F หรือไม่ หากเปรียบเทียบจะคล้ายกับการทาประกันชีวิตมากกว่า ด้วยกระบวนการนี้จะช่วยให้นักศึกษาซึ่งเดิมจะขาดความมั่นใจในการเรียน มีสมาธิในการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น เพราะเขาจะรู้สึกว่าในทางที่ร้ายที่สุดก็ยังมีโครงการที่ยังให้โอกาสพวกเขาอยู่ และในกรณีที่สามารถสอบผ่านได้ด้วยตนเองจะยิ่งสร้างความเชื่อมันในตัวเอง (self-esteem) ให้กับนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับนักศึกษากลุ่มนี้เพราะไม่มีใครจะสร้างความเชื่อมั่นแทนคนอื่นได้ จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

            ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน จากการนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ถือได้ว่าประสบผลสาเร็จเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านผลการเรียน ที่พบว่าที่ดีที่สุดเท่าที่

เคยเปิดการเรียนการสอนรายวิชานี้มา ทั้งยังได้รับความพึงพอใจจากผู้เรียนดังแสดงในตัวอย่างจากแบบประเมินที่ได้รับจากนักศึกษา เช่น

  • Physioเป็นวิชาที่เข้าใจนักศึกษาที่สุดตั้งแต่หนูเรียนในคณะนี้มาแล้วค่ะ จัดการสอบและจัดเวลาเรียนได้สมเหตุสมผล คิดถึงนักศึกษาและพูดกับนักศึกษาตรงๆในจุดที่ต้องแจ้ง อยากขอบคุณอาจารย์ทุกคนมากๆค่ะ
  • วิชานี้คือวิชาที่ทาให้หนูได้รู้ว่ายังมีเหล่าอาจารย์ที่จริงใจและตั้งใจที่จะสอนนักศึกษาจริงๆ ใส่ใจทุกรายละเอียดดีเทล สไลด์สวย สอนดีทุกคนจริงๆค่ะ หนูประทับใจมากจริงๆค่ะ แบบมากๆจากใจ ปกติหนูไม่ชอบเรียนวิชาแบบนี้เลยค่ะ แต่วิชานี้เพราะอาจารย์สอนกันใส่ใจมากๆจริงๆเลยทาให้หนูมีแรงเรียนแล้วก็สอนเข้าใจด้วยค่ะ มันเลยง่ายขึ้นหน่อยสาหรับหนู ขอบคุณอาจารย์ทุกคนมากๆจริงๆนะคะ อยากมอบรางวัลโนเบลให้ค่ะ
  • วิชานี้ในทั้งเรื่องการจัดการ การประสานงาน เนื้อหาที่เรียน รูปแบบการเรียนการสอน รวมถึงอาจารย์ทุกท่าน สาหรับผม ผมชอบมากที่สุดแล้วครับ รู้สึกอาจารย์ใส่ใจ เข้าใจนักศึกษา ให้ขาดได้ตามบริหาร ช่วงใกล้สอบก็มีวิดีโออัดให้โดยไม่ต้องเข้าเรียน ในไลน์ก็ยังคอยอัพเดทเรื่องต่างๆ เป็นไลน์กลุ่มเรื่องเรียนวิชาเดียว ที่มีแจ้งเตือนแล้วทาให้อยากกดเข้าไปอ่าน ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากครับ ชอบวิชานี้ที่สุดเท่าที่เรียนมา จริงๆ ครับ สู้ๆ ครับอาจารย์ทุกคน
  • ขอบคุณอาจารย์หมวด สรีรวิทยาทุกคนค่ะ สอนดีมากๆเลยค่ะ เป็นวิชาที่รู้สึกยาก เพราะเป็นเรื่องกระบวนการต่างๆของร่างกาย มีขั้นตอนต่างๆ แต่อาจารย์หลายท่านทาให้เข้าใจ อธิบายได้ดี รวมถึงมี tutorial ขึ้นมาเพื่อเตรียมความพร้อมขอบคุณมากๆเลยค่ะ

            หลังจากสิ้นสุดรายวิชาพบว่ามีนักศึกษาจานวน 35 คนที่เข้าเรียนครบทั้ง 50 ชั่วโมง (นับรวมตลอดการเรียนของทั้งรายวิชา PSO222 และ PSO223) และไม่มีนักศึกษาคนใดเลยที่ขาดเรียนเกินกาหนดของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าในจานวนนี้มีนักศึกษาในกลุ่มที่มีสมรรถนะในการเรียนต่า (กลุ่มที่ได้รับเกรด F หรือ W มาก่อน) ได้รับเกียรติบัตร 12 คน (คิดเป็น 30%) หากนาข้อมูลไปเทียบกับผลการเรียนของนักศึกษาในกลุ่มนี้พบว่ามีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทาให้ศึกษาในกลุ่มนี้ตระหนักถึงความสาคัญของการเข้าเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน on-site มากขึ้น

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการ NEURO CHALLENGE และ CARDIO CHALLENGE
           ถึงแม้ในปีนี้จะไม่มีนักศึกษาทันตแพทย์ที่มีสมรรถนะในการเรียนสูงคนใดสามารถทาคะแนนเต็มได้สาเร็จในรายวิชา PSO222 แต่หลังจากได้พูดคุยกับนักศึกษาในกลุ่มนี้พบว่าตัวโครงการได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขาเพื่อกระตุ้นตัวเองให้มีศักยถาพเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ได้นาแนวปฏิบัติของรายวิชานี้ไปใช้กับรายวิชา สรีรวิทยา (PSO201) สาหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ในรายวิชานี้มีนักศึกษาสามารถทาคะแนนได้เต็มในระบบหัวใจและหลอดเลือด 1 คน ซึ่งนอกจากจะเป็นขวัญและกาลังใจต่อผู้ที่รับเกียติบัตรเองแล้ว ยังส่งผลต่อความภาคภูมิใจต่อเพื่อนร่วมคณะให้มีแรงบันดาลใจ มีความพยายามในการเรียนเพิ่มากขึ้น

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการ RESCUE PROJECT
            เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประสบผลสาเร็จเกินคาดหมาย จากนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 19 คน ในจานวนนี้สามารถตัดเกรดโดยใช้คะแนนของตนเองตามปกติมากถึง 15 คน ซึ่งผลดีอย่างมากต่อนักศึกษาในกลุ่มนี้ เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความความมั่นใจ เพิ่มขวัญและกาลังใจให้กับตนเอง ช่วยเป็นเครื่องยืนยันว่าถึงแม้จะมีสมรรถนะในการเรียนต่าแต่ถ้ามีความพยายามก็สามารถทาสาเร็จได้ดังใจหวัง ซึ่งจากแบบประเมินของผู้เข้าร่วมโครงการพบว่าได้รับความพึงพอใจในระดับ 5 คะแนนเต็ม
           อีกทั้งในจำนวน 4 คนที่ต้องใช้คะแนน re-exam เข้าทดแทน ยังพบว่ามี 3 คนที่ใช้เพียงคะแนน re-exam ของการสอบครั้งที่ 3 เท่านั้น ก็สามารถสอบผ่านได้โดยไม่จาเป็นต้องนัดสอบหลังจากการสอบครั้ง 4 จึงยังช่วยเพิ่มความความมั่นใจ เพิ่มขวัญและกาลังใจให้กับพวกเขาได้เช่นเดียวกัน เพราะเขาจะรู้สึกว่าด้วยความพยามของเขาเองอย่างเต็มทีเสริมกับความช่วยเหลือเพียงหนึ่งครั้งก็สามามารถผ่านไปได้

            ในขณะที่นักศึกษาคนสุดท้ายจะยังคงสอบไม่ผ่านถึงแม้จะใช้คะแนน re-exam ทั้งสองครั้งแล้วก็ตาม ถือว่าโครงการนี้ยังมีอานาจจาแนกกลุ่มเด็กที่สมรรถนะในการเรียนระดับต่ามากถึงแม้จะให้โอกาสแต่ก็ยังขาดความพยายาม ชี้ปัญหาให้เขาได้ตระหนักและมุ่งพัฒนาเพื่อมีศักยภาพให้เพิ่มขึ้นในอนาคต

              ทั้งนี้ในแต่ละขั้นตอนตลอดโครงการนี้นักศึกษายังได้พัฒนาทักษะในหลายด้านที่สอดคล้องกับ Transformative learning เช่นกระบวนการ brainstorming, reflection, rational discourse ช่วยให้ได้ผลลัพท์ทางการศึกษาที่ดีในระดับที่สร้างความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของนักศึกษา จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรในอนาคต
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ

  1. การประเมินผลการเรียนของรายวิชา PSO222 จะไม่มีการเรียนภาคปฏิบัติการ (ภาคปฏิบัติการจัดอยู่ในรายวิชา PSO223) ทาให้นักศึกษามีความกดดันระหว่างเรียนพอสมควร เพราะคะแนนจะมาจากการสอบเพียงสองครั้ง ร่วมกับคะแนน post-test ถ้าหากขาดความพร้อมในการทบทวนบทเรียนก่อนการสอบจะมีโอกาสสอบไม่ผ่านสูง
  2. เนื่องจากนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์มีการเรียนและการสอบในหลากหลายวิชา ทาให้บ่อยครั้งนักศึกษาเลือกที่จะไม่เข้าห้องเรียน และใช้เวลาสาหรับทบทวนเนื้อหาที่กาลังจะสอบ ส่งผลให้ในการสอบครั้งหลังๆ จะตามทบทวนเนื้อหาที่ไม่เข้าเรียนมาก่อนไม่ทัน

              จะเห็นได้ว่าเมื่อเราดูแลรายวิชาให้ครอบคลุมในทุกด้าน และดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึงผ่านโครงการที่หลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละสมรรถนะการเรียนรู้ ถึงแม้จะเป็นเพียงรายวิชาเดียวก็ให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติของนักศึกษาไปในทางที่ดีขึ้นได้ หากนำแนวปฏิบัตินี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับปริบทของรายวิชาต่างๆ ตลอดหลักสูตร จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางการศึกษาตรงตามวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

             การดำเนินงานของโครงการ “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ”สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) การนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับปริบทของนักศึกษาในปัจจุบัน โดยพยายามนาเทคโนโลยีมาผสานกับการเรียนการสอน เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ active Learning ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน อีกทั้งยังมีอีกหลายโครงการที่มุ่งพัฒนาทางด้านทัศนติ ซึ่งถือเป็นโจย์ยากในการปลูกฟังแนวคิดที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างยั่งยืน สร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางการศึกษา และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอนมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังจากผลการเรียน และผลจากการประเมินการเรียนการสอน สามารถสะท้อนความสาเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี โดยได้ถอดบทเรียนจากโครงการและนาไปปรับใช้กับรายวิชาต่างๆ ของหมวดวิชาสรีรวิทยา ตลอดจนยังนาแนวปฏิบัติมาใช้กับการเรียนการสอนรายวิชาสรีรวิทยาสาหรับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 1 และ 2 (PSO222, PSO223) ในปีการศึกษาปัจจุบัน รวมทั้งยังมีโอกาสร่วมแชร์แนวปฏิบัตินี้ในการประชุมพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ ประจาปีการศึกษา 2567 ซึ่งคณาจารย์แต่ละท่านสามารถนาข้อมูลไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับปริบทของรายวิชาตนเอง

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

            ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจะได้ประโยชน์จากโครงการ “HOLICTIC APPROACH แนวทางการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ”เพียงใด นอกจากรูปแบบโครงการที่หลากหลายและครอบคลุมกับนักศึกษาทุกกลุ่มแล้ว อีกสิ่งที่สาคัญไม่แพ้กันคือ ความตั้งใจของตัวนักศึกษาเอง ถึงแม้รายวิชานี้จะมุ่งพัฒนาการเรียนการสอนในทุกด้านเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนให้กับนักศึกษาแต่ด้วยปริบทนักศึกษาในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต ก็ไม่ง่ายนักที่จะเปลี่ยนทัศนคติให้กับนักศึกษาทุกคนได้ จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกรายวิชาตลอดหลักสูตรคอยช่วยกันหล่อหลอมเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความเป็นเลิศตามต้องการ
            นอกจากการมุ่งพัฒนานักศึกษาแล้วสิ่งสาคัญอย่างยิ่งคือการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ควบคู่ไปด้วย จึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสาคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับคณาจารย์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเต็มกาลังความสามารถ ในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกเลิกการแจกเกียรติบัตรอาจารย์สอนดีเด่น (ที่ได้รับเมื่อมีคะแนนประเมินจากนักศึกษาในระดับสูง) ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างแรงจูงใจเพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนของคณาจารย์ หากมีแนวปฏิบัติอื่นใดที่ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะสมในการสร้างแรงจูงใจแก่คณาจาย์สามารถนามาประกาศใช้เพิ่มเติม ย่อมส่งผลดีต่อนักศึกษาเพราะจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

Scroll to Top