รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, 2.1.1
การเลือกใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

ผู้จัดทำโครงการ
ผศ. ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
หัวใจสำคัญของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คือ การทำวิจัย แต่นักศึกษาส่วนใหญ่จะขาดทักษะและความรู้ที่เพียงพอต่อการทำวิจัย ตลอดจนความกลัวในเรื่องการใช้สถิติ และตัวเลขต่างๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการทำวิจัย
ซึ่งการวิจัยทางการศึกษานั้นเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของกระบวนการค้นคว้า กระบวนการแสวงหาความรู้ การศึกษาหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และมีจุดมุ่งหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/สถานศึกษา อันประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ผู้สอน นักเรียน/นักศึกษา ผู้เรียน สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเนื้อหาสาระรายวิชา รวมถึงหลักสูตรที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่มุมต่างๆ
ซึ่งหากจะแบ่งตามเทคนิคการเก็บข้อมูลเป็นเกณฑ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจำแนก เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยอธิบาย หรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้ 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการ ความรู้สึก นึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริงในเรื่องที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณา วิเคราะห์ และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ 3. การวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mixed-methods research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาและค้นหาความจริงหรือองค์ความรู้ใหม่โดย การบูรณาการหรือผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ครอบคลุม สมบูรณ์ ทั้งในเชิงลึกที่ให้ข้อมูลแบบละเอียดและการศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจแบบองค์รวมโดยการวิเคราะห์ ค่าหรือตัวเลขเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยวิธีการทางสถิติ และการออกแบบการวิจัยแบบ ผสมผสานจะมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาวิจัย
ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาต้องเริ่มที่ปัญหาวิจัย (Research problem) เป็นลำดับแรก โดยปัญหาวิจัยจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย (Research question) และวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective) ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยทางการศึกษาควรคำนึงถึงตัวแปร (Variable) ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในศาสตร์ทางด้านการการศึกษา เช่น ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational quality assurance) นโยบายและแผน (Policy and plan) การพัฒนากลยุทธ์ (Strategy) โมเดลหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และความเสี่ยงทางการศึกษา (Educational risk) เป็นต้น เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยชัดเจนแล้ว การออกแบบการวิจัย ด้านต่างๆ จะตามมา ทั้งการออกแบบการวิจัย (Research design) แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) และแบบแผนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis design)
ทั้งนี้การวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณบางเรื่องอาจใช้สถิติพื้นฐาน (Basic statistics) เท่านั้น แต่บางเรื่องก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถิติขั้นสูง (Advanced statistics) แต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถิติเลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สถิติจึงถูกนำไปใช้เป็นหลักในการวิจัยทางการศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่นิยมใช้ในการศึกษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย โดยนักการศึกษาและนักสถิติมีบทบาทที่แตกต่างกันในการใช้สถิติเพื่อการวิจัย กล่าวคือนักสถิติ คือ ผู้ผลิต (Producer) ขณะที่นักการศึกษาคือผู้บริโภคหรือผู้ใช้ (Consumer/user) ดังนั้นการวิจัยทางการศึกษาจึงเน้นการนำสถิติไปใช้เพื่อตอบคำถามวิจัยที่สนใจศึกษาหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการศึกษามากกว่าที่การคิดค้นสูตรทางสถิติใหม่
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การวิจัยทางการศึกษาสวนใหญเปนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จําเปนจะตองมีการวิเคราะห
ทางสถิติ เมื่อผูวิจัยออกแบบการวิจัย และออกแบบการสุมตัวอยางแลว ขั้นตอนสุดทายของการเขียนระเบียบวิธี
วิจัย คือ การออกแบบการวิเคราะหขอมูล ซึ่งผูวิจัยจะตองเลือกใชสถิติใหเหมาะสมและถูกตองตามแบบแผนการวิจัยที่กําหนดไวซึ่งตองวิเคราะหคําถามวิจัย วาควรใชสถิติใด ในการวิเคราะหขอมูล จะตองวิเคราะหใหไดวาคําถามวิจัยทางดานการศึกษามีลักษณะอยางไร คลุมเครือหรือบงชี้ชัดเจนถึงเทคนิคทางสถิติที่จะนํามาใชวิเคราะหหรือไม และควรพิจารณาถึงเจตนาของคําถามวิจัยวาตองการคําตอบอะไร การใชสถิติในงานวิจัยทางการศึกษา ขึ้นอยูกับปญหาวิจัยแตละเรื่อง เชน ใชสถิติเพื่อบรรยายหรือพรรณา (Descriptive statistics) ใชสถิติเพื่อสรุปอางอิงจากกลุมตัวอยางไปหากลุมประชากร (Inferential statistics) ใชสถิติขั้นสูง (Advanced statistics) เพื่อตอบคําถามวิจัยที่ซับซอน การผสมผสานระหวางการใชสถิติเชิงบรรยายสถิติเชิงสรุปอางอิง และสถิติขั้นสูง (Mixed statistics) การใชสถิติแบบไมอาศัยคาพารามิเตอร (Nonparametric
statistics) เนื่องจากขอมูลมีขนาดเล็กหรือมีระดับการวัดของตัวแปรที่สถิติแบบอาศัยคาพารามิเตอร (Parametric
statistics) ไมสามารถวิเคราะหไดซึ่งสถิติที่นิยมใชในการวิจัยทางการศึกษา มีรายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 1 รายละเอียดของสถิติที่นิมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา
การเลือกใช้สถิติ | แนวทางโดยสรุป |
Analysis of Variance (ANOVA) | การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เช่น คะแนนสอบจากการสอนด้วยวิธีการสอน 3 วิธี เป็นต้น ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณกับตัวแปรเชิงกลุ่ม โดยที่ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (1 ตัว) ส่วนตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม |
Needs Assessment Research | Priority Needs Index (PNI) แบบปรับปรุง เป็นสูตรที่ปรับปรุงจากสูตร PNI แบบดั้งเดิม เป็นวิธีการหาค่าผลต่างของ (I – D) และหารด้วยค่า D เพื่อควบคุมขนาดของความต้องการจำเป็นให้อยู่ในพิสัยที่ไม่มีช่วงกว้างมากเกินไป และให้ความหมายเชิงเปรียบเทียบ เมื่อใช้ระดับของสภาพที่เป็นอยู่เป็นฐานในการคำนวณอัตราการพัฒนาเข้าสู่สภาพที่คาดหวัง PNImodified = (I – D) / D |
Multiple Regression Analysis (MRA) | การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรพยากรณ์ (X) หลายตัวที่มีต่อตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์ 1 ตัว (Y) (ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีเพียง 1 ตัว จะเรียกว่า Simple regression) |
Factor Analysis | การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้เพื่อลดจำนวนตัวแปรให้น้อยลง โดยรวมกันเป็นองค์ประกอบ และใช้น้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) มาช่วยอธิบาย ตัวแปรแต่ละตัวในแต่ละองค์ประกอบ มี 2 ประเภท คือ Exploratory Factor Analysis (EFA) และ Confirmatory Factor Analysis (CFA) เป็นต้น |
Structural Equation Modeling (SEM)/ Linear Structural Relationship (LISREL) | โมเดลสมการโครงสร้าง นำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงสาเหตุ หรือโมเดลสมการโครงสร้าง หรือเรียกว่าการวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis) คือ Linear Structural Relationship หมายถึง โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น |
Path Analysis | การวิเคราะห์เส้นทาง นำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผลโดยอาศัย แผนภาพเส้นทาง (Path diagram) และสมการโครงสร้าง (Structural equation) เป็นหลักในการวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุ ที่มีต่อตัวแปรผลใน 2 ด้าน คือขนาดและทิศทาง และเป็นการอธิบาย ความสัมพันธ์ใน 2 แบบ คือ ทางตรง (Direct effect) และทางอ้อม (Indirect effect) |
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge)
❒ เจาของความรู/สังกัด ผูชวยศาสตราจารย ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช/สังกัดวิทยาลัยครูสุริยเทพ
วิธีการดำเนินการ
การเลือกใช้สถิติที่เหมาะในการวิจัยทางการศึกษา ผู้วิจัยจะต้อง
- ศึกษาแนวคิดของการใช้สถิติเบื้องต้นและสถิติขั้นสูงแต่ละประเภทในภาพกว้างก่อนว่า จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีลักษณะอย่างไร ตัวแปรอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด เมื่อผู้วิจัยตัดสินใจได้แล้ว จึงค่อยศึกษารายละเอียดในเชิงเทคนิควิธีของสถิติวิเคราะห์ประเภทนั้นในเชิงลึก (In-depth Study) เช่น การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ/หาความสัมพันธ์ สถิติที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น Correlation Analysis, t-test, F-test, ANOVA, ANCOVA, MANOVA เป็นต้น การสร้างสมการทำนาย เช่น Multiple Regression Analysis เป็นต้น การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร เช่น Structural Equation Modeling/ LISREL, Path Analysis เป็นต้น การหาองค์ประกอบของคุณลักษณะแฝง (Latent Trait) เช่น EFA, CFA เป็นต้น ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ใช้สถิตินอนพาราเมตริก เช่น – test, Two-way ANOVA เป็นต้น
- พิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ เช่น การวิเคราะห์ LISREL ควรใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน อย่างน้อย 25 เท่าของจำนวนตัวแปร เป็นต้น
- พิจารณาข้อจำกัดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น SPSS วิเคราะห์ได้ เฉพาะ EFA แต่หากผู้วิจัยต้องการทำสถิติที่สูงขึ้น คือ CFA ก็ต้องใช้โปรแกรม LISREL หรือ AMOS หรือถ้าข้อมูลที่เป็นตัวแปรอิสระ สามารถแบ่งได้อย่างน้อย 2 ระดับขึ้นไป โปรแกรมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ก็ควรจะเป็น HLM หรือ MLwiN เป็นต้น
- สามารถเลือกใช้สถิติเพียงประเภทเดียว หรือผสมผสานกันก็ได้ในงานวิจัย 1 ชิ้น การเลือกสถิติเพียงประเภทเดียว อาจจะเหมาะสำหรับงานวิจัยขนาดเล็ก ที่ต้องการคำตอบวิจัยเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น การบูรณาการและผสมผสานสถิติหลายประเภท จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยที่มีหลากหลายมิติ ที่คำถามการวิจัยอาจมีหลายข้อที่ต้องการคำตอบที่แตกต่างกัน ใช้ระยะเวลา งบประมาณ และวิธีดำเนินการวิจัยหลายขั้นตอน ซึ่งในศาสตร์สาขาด้านการศึกษา มักจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research)
2. Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
- อาจารย์ที่ปรึกษาปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาที่มีความไม่เข้าใจในการทำวิจัย ความกังวล/ความกลัวในเรื่องความรู้ทางสถิติที่ไม่เพียงพอ โดยการพูดคุยและชี้แนะการทำวิจัยที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
- ให้ตัวอย่างงานวิจัยในประเด็นที่นักศึกษาสนใจ นำกลับไปอ่านทำความเข้าใจและย่อยข้อมูลตัวอย่างงานวิจัย แล้วกลับมารายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาภายใน 1 สัปดาห์
- อาจารย์ที่ปรึกษาทดลองให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การควบคุมดูแล โดยทำตามขั้นตอนในกระบวนการการทำวิจัยตั้งแต่การกำหนดปัญหานำวิจัย นำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจนก่อนว่านักศึกษาในฐานะผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไร ต้องการคำตอบอะไรจากผลการวิจัย ไม่ใช่การนำสถิติเป็นตัวตั้ง โดยยึดหลัก 5W1H คือ ต้องการศึกษาใคร (Who) ในประเด็นอะไร (What) ทำการศึกษาช่วงเวลาใด (เมื่อใด) (When) ศึกษาหน่วยงานใด (Where) ทำไมจึงต้องการศึกษาเรื่องนี้ (Why) และจะออกแบบหรือทำวิจัยอย่างไร (How)
- นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยจะต้องเสนอประเด็นที่จะทำการวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยกำหนดเป็นคำสำคัญ (Key word) แล้วนำมาขยายความออกเป็นชื่อเรื่อง โดยสื่อให้เห็นถึงตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการจะศึกษา ระบุถึงประชากรหรือกลุ่มที่ต้องการศึกษา และระบุสถานที่ๆ ต้องการศึกษา
- นักศึกษาจะต้องกำหนดคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนจะนำไปสู่การเลือกใช้สถิติว่าตัวแปรจะอยู่ในมาตรการวัดระดับใด และเหมาะสมกับคำถามวิจัยแบบใด มีจำนวนตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร
- กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กมากจะไม่สามารถใช้สถิติบางประเภทได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจจะใช้วิธีการเลือกกลุ่มประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Total Population Sampling) หรือการกำหนดจำนวนกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างให้ไม่น้อยกว่า 20-25 เท่าของตัวแปร ซึ่งในบางครั้งการเลือกสถิติที่ใช้นั้นผู้วิจัยอาจจะระบุสถิติไว้ประเภทหนึ่ง แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปไม่ได้ ผู้วิจัยจะต้องปรับเปลี่ยนสถิติที่จะใช้ทดสอบใหม่ เช่น ระบุไว้ว่าใช้ Multiple regression แต่ไม่สามารถรันข้อมูลออกได้ ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะสามารถใช้ ANOVA ในการรันข้อมูลและสามารถได้ผลการวิจัยที่เพียงพอสามารถตอบคำถามการวิจัยหรือไม่
- นักศึกษาจะต้องทำงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยไม่ทิ้งช่วงระยะเวลาหรือหยุดทำงานวิจัยไปเป็นระยะเวลานาน ควรขอคำปรึกษาและแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเคร่งขรัด
- อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องศึกษาเพิ่มเติมและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในประเด็นใหม่ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และกระบวนการทำวิจัยใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
- อาจารย์ที่ปรึกษาต้องต้องช่วยหาทาออกให้แก่นักศึกษา ในบางกรณีที่นักศึกษากำหนดสถิติที่จะใช้ในงานวิจัยที่นำเสนอในโครงร่างฯ ต่อคณะกรรมการการสอบไปแล้วนั้น ไม่สามารถประมวลผลในโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการ Error ของข้อมูล หรือจำนวนข้อมูลที่เก็บมาไม่เพียงพอต่อการประมวลผลทางสถิติบางประเภท ดังนั้นการช่วยหาทาออดให้นักศึกษาโดยการใช้สถิติประเภทอื่นทดแทนได้หรือไม่ อย่างไร
- อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษา ให้นักศึกษาเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง มั่นใจ ขยัน มีวินัย และอดทน จะทำให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน กับอาจารย์ที่ปรึกษาท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายในการให้คำแนะนำการทำวิจัย ตลอดจนการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัยของนักศึกษาแต่ละคน
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
- นักศึกษาในฐานะผู้วิจัยสามารถผลิตผลงานการวิจัย ได้ผลสอบผ่านในระดับดีมาก
- ผลงานการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในฐานข้องมูล TCI 1 ขึ้นไป
- นักศึกษาได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
- หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาไปใช้ในต่อยอดการบริหารจัดการหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การนำผลการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ไปต่อยอดจนได้รับรางวัลโรงเรียนสุขภาวะดิจิทัลระดับชาติ เป็นต้น
การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในงานวิจัยทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะทำให้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมีความเที่ยงตรง ถูกต้อง และแม่นยำ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สถิติระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้สถิติขั้นสูงแทนสถิติพื้นฐาน จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสังเคราะห์สถิติที่นิยมนำามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษาที่นิยมใช้สถิติเชิงบรรยายนำมาใช้ในการวัด และวิเคราะห์ตัวแปรทางการศึกษาได้อย่างครอบคลุม นักวิจัยทางการศึกษาจึงต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีทางสถิติที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัย เพื่อจะได้ข้อค้นพบที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างมีคุณภาพ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
- อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติความกลัวเกี่ยวกับเรื่องสถิติของนักศึกษา
- การทำความเข้าใจในเรื่องการใช้สถิติ ด้วยการให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติม ยกตัวอย่าง และสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น
- อาจารย์และนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่ควรทิ้งช่วง/ขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะเวลานาน ทำงานร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน step by step
- ความร่วมมือร่วมใจระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา ให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ
- อาจารย์ที่ปรึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยปราศจากอคติ