รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1
การวิจัยนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา
เรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2
(The Research on Innovative learning Media with the Search Engine on antibacterial Drugs in pharmaceutical chemistry II)

ผู้จัดทำโครงการ
ผู้จัดทำโครงการ รศ.ดร.ภัททวัฒน์ มณีวัฒนภิญโญ
นศภ.จารวี สุริโย นศภ.อรณัฏฐ์ หวยสูงเนิน นศภ.ณัฐกิตต์ เกตุพิมล
ผศ.ดร.ภก.อภิรุจ นาวาภัทร และผศ.ดร.ภญ.สุชาดา จงรุ่งเรืองโชค
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาททางด้านการจัดการศึกษามากขึ้นโดยผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีและความทันสมัยของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาใช้ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในปัจจุบันมีช่องทางในการศึกษาที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเว็บไซต์สื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคทางด้านการพัฒนาสื่อการสอน กลายมาเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึง และใช้งานได้อย่างสะดวก และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในการจัดการเรียนการสอน หรือเป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ได้
ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ผ่านเบราว์เซอร์ Safari, edge หรือ Google chrome ซึ่งจะจำกัดการลงทะเบียนในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ด้วย E-mail ของทางมหาวิทยาลัยรังสิต เท่านั้น โดยสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกในการทบทวนบทเรียน โดยที่ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ตามต้องการ
วิชา Pharmaceutical chemistry II รหัส PHA 333 เป็นวิชาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มีรูปแบบเป็นการเรียนแบบบรรยาย 2 หน่วยกิต ซึ่งเนื้อหารายวิชา เกี่ยวข้องกับโครงสร้างยาหลายกลุ่ม ปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่ใช้ในทางเภสัชกรรม การค้นพบยา การออกแบบและพัฒนายา ตัวยาจากแหล่งที่มาต่าง ๆ ได้แก่ ยาที่ได้จากธรรมชาติ ยากึ่งสังเคราะห์ ยาสังเคราะห์และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ โดยแบ่งเนื้อหาตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการนำไปใช้ ธรรมชาติทางเคมี คุณสมบัติทาง physical chemistry ของตัวยา อันตรกิริยาของยา และความสัมพันธ์ระหว่างสูตรโครงสร้างทางเคมีกับการออกฤทธิ์ของยา ทางทีมผู้วิจัยมีความประสงค์จัดทำนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนนี้ขึ้นเพื่อช่วยในการเรียน วิชา Pharmaceutical chemistry II ในหัวข้อกลุ่มยาต้านแบคทีเรีย เพื่อให้ผู้เรียนนั้นได้เข้าใจเนื้อหา และโครงสร้างกลุ่มยาต้านแบคทีเรียมากขึ้น มีแบบทดสอบก่อน และหลังใช้งานเว็บไซต์ว่าผู้เรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งในเว็บไซต์จะให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มยาต้านแบคทีเรียอ้างอิงจำนวนการแบ่งกลุ่มยาตามเอกสารคำสอนของอาจารย์ผู้สอนของรายวิชาเภสัชเคมี 2 รหัส PHA 333 มีการแสดงข้อมูลโครงสร้างทางเคมีของกลุ่มยาต้านแบคทีเรียต่างๆ มีข้อมูลพื้นฐานทาง pharmacology สามารถให้ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าชม และมีช่องคำค้นหาตามกลุ่มยาที่สนใจและต้องการหาข้อมูลนั้นได้
ดังนั้นสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ควรทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และหรือใช้ร่วมกับการเรียนบรรยาย ซึ่งสื่อนี้ช่วยให้นักศึกษาสามารถนำทักษะมาใช้ในวิชา pharmaceutical chemistry II ได้ อีกทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจน โดยในการจัดทำสื่อเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และเป็นช่องทางในการทบทวนความรู้ทางเภสัชเคมีนี้มีแนวทางในประเมินผลโดยดำเนินงานในรูปของโครงการวิจัย
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
รายวิชา Pharmaceutical Chemistry II (PHA 333) เป็นรายวิชาหลักในหลักสูตรเภสัชศาสตร์สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะบรรยาย จำนวน 2 หน่วยกิต รายวิชานี้มุ่งเน้นการศึกษาทางด้านเคมีเภสัชกรรม โดยครอบคลุมองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของตัวยาหลากหลายกลุ่ม ปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในทางเภสัชกรรม หลักการค้นพบยา การออกแบบและพัฒนายา ตลอดจนแหล่งที่มาของตัวยา ซึ่งอาจเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ยากึ่งสังเคราะห์ ยาสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ เนื้อหาของรายวิชาได้รับการจัดระเบียบตามกลุ่มเภสัชวิทยาของยา โดยเน้นการศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของสารออกฤทธิ์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ โครงสร้างทางเคมี สมบัติทาง physical chemistry อันตรกิริยาระหว่างยา ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งล้วนเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรในการวิเคราะห์ ประเมิน และบูรณาการข้อมูลทางเคมีของยาเพื่อสนับสนุนการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยในเวชปฏิบัติ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชา Pharmaceutical Chemistry II จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในแนวทางที่มีประสิทธิภาพคือการพัฒนา website ที่รวบรวมข้อมูลทางเคมีของยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับค้นหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมี กลไกการออกฤทธิ์ สมบัติทาง physical chemistry อันตรกิริยาระหว่างยา และข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ของยากลุ่มนี้ Website ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ โดยช่วยให้สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ข้อมูลทางเคมีของยาในการศึกษาทางเภสัชกรรม นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับเภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการศึกษาในรายวิชา Pharmaceutical Chemistry II ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาให้แก่นักศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก เพิ่มศักยภาพในการค้นคว้า และสนับสนุนการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์สามารถปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
วิธีการดำเนินการ
อาจารย์ประจำวิชา PHA 333 เภสัชเคมี 2 จะแนะนำเว็บไซต์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยได้ทดลองใช้งานจริง จากนั้นมีแบบทดสอบก่อนเข้าเรียน (pre-test) ในเว็บไซต์ แบบทดสอบหลังเรียน (post-test) และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ให้ผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นการขอความร่วมมือจากนักศึกษา และไม่มีผลต่อการวัดผลของรายวิชา โดยมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมและระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้
- ประชากร (Population : N) นักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA 333) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 150 คน
กลุ่มตัวอย่าง (Sample : n) นักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA 333) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 110 หรือ 109 คน (คำนวณตาม Taro Yamane ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05)
- การสร้างและทดสอบเครื่องมือ
- ผู้วิจัยออกแบบสื่อการเรียนรู้สำหรับการใช้ใน วิชาเภสัชเคมี 2 (PHA333)
- ผู้วิจัยเตรียมเนื้อหา และออกแบบบทเรียนบน Microsoft Excel และทดลองใช้กับกลุ่มเล็กเพื่อนำความเห็นปรับปรุงสื่อการเรียนรู้
- ผู้วิจัยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนรู้ (pre-test) เพื่อประเมินความเข้าใจ และทักษะด้านเคมีทางยา
- ผู้วิจัยชี้แจงผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย ในวิชาเภสัชเคมี 2 PHA 333 ห้องเรียนแจ้งกับผู้เรียนในคาบเรียน และให้ผู้เรียนใช้สื่อการเรียนรู้ช่วงว่างโดยใช้งานก่อน หรือหลังเรียนในคาบเรียน
- ผู้วิจัยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนรู้ (post-test) เพื่อประเมินความเข้าใจและทักษะด้านเคมีทางยาสำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย หลังจากใช้สื่อการเรียนรู้ ช่วงว่างโดยใช้หลังเรียนในคาบเรียน
โดยผู้วิจัยสร้างแบบประเมินความเห็นต่อสื่อการเรียนรู้สำหรับหัวข้อยาต้านแบคทีเรีย ในวิชาเภสัชเคมี 2 (PHA333) โดยสร้างแบบประเมิน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ประกอบด้วยเพศ ปีที่เข้าเรียน และสาขาวิชา
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้โดยมีข้อคำถาม 18 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ความเห็นต่อเนื้อหา และแบบฝึกหัด 2) ความเห็นต่อสื่อการเรียนรู้ และความพึงพอใจโดยรวม 1 ข้อ
แบบสอบถามเป็นแบบ Likert Scale มี 5 ระดับ เรียงจากระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดถึงระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ จำนวน 1 ข้อ
ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content validity) จากอาจารย์เภสัชกรผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยทุกข้อคำถามต้องมีค่า Index of item-Objective Congruence (IOC) 0.5-1.0 และหาความเชื่อมั่นของการหาความเชื่อมั่น แบบความสอดคล้องภายใน (Measure of Internal Consistency) ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เป็นความสอดคล้องกันระหว่างคะแนนรายข้อเป็นตัวแทนของคุณลักษณะเด่นเดียวกันที่ต้องการวัด วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeffident: ) การให้คะแนนเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ยังใช้ได้กับแบบทดสอบที่ให้คะแนนแบบ 0, 1
- การเก็บรวบรวมข้อมูล : เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยได้จากแบบสอบถามความพึงพอใจ และ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) โดยได้จากแบบทดสอบ pre-test และ post-test
- การวิเคราะห์ข้อมูล : นี้ผู้วิจัยได้นำคะแนนที่ผู้ร่วมวิจัยได้ทำแบบทดสอบก่อน และหลังใช้งาน. เว็บไซต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะประเมินได้ว่าผู้ร่วมวิจัยนั้นมีความเข้าใจหลังใช้งานนวัตกรรมมากหรือน้อยเพียงใด และนำ Index of item-Objective Congruence (IOC) 0.5-1.0 ในแบบสอบถามความพึงพอใจ มาประเมินผลข้อมูลว่าค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินความพึงพอใจค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test เพื่อหานัยสำคัญทางสถิติ
- มีการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม ในห้องห้องเรียนรายวิชา pharmaceutical chemistry II (PHA333) มหาวิทยาลัยรังสิต
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
โครงการวิจัย “นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2” ได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้และเครื่องมือช่วยทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II โดยเน้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ครอบคลุมโครงสร้างทางเคมี กลไกการออกฤทธิ์ และสมบัติของยาปฏิชีวนะกลุ่มต่าง ๆ ระบบนี้ได้รับการออกแบบให้สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test) จากนั้นศึกษาเนื้อหาและทำแบบทดสอบหลังเรียน (post-test) ผลการดำเนินโครงการพบว่า มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 121 คน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ คะแนนเฉลี่ย pre-test ก่อนการเรียนอยู่ที่ 3.00 คะแนน (จากเต็ม 6 คะแนน) ในขณะที่คะแนนเฉลี่ย post-test หลังจากการทบทวนเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 5.15 คะแนน (จากเต็ม 6 คะแนน) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผลคะแนนเป็นรายบุคคล พบว่า
- นักศึกษาที่ได้คะแนน post-test 5 คะแนน มีจำนวน 55 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.45
- นักศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม 6 คะแนน มีจำนวน 56 คน คิดเป็น ร้อยละ 46.18
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจของนักศึกษาในเนื้อหาวิชาเภสัชเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงาน
แม้ว่าผลลัพธ์ของโครงการจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา แต่ยังพบอุปสรรคและปัญหาบางประการในกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
- ความท้าทายในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
- การจัดทำฐานข้อมูลของยาปฏิชีวนะต้องอาศัยความถูกต้องของข้อมูลทางเคมีและเภสัชวิทยา ซึ่งจำเป็นต้องมีการทบทวนข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และใช้เวลาในการพัฒนาโครงสร้างข้อมูลให้เป็นระบบที่ใช้งานง่าย
- การพัฒนาโปรแกรมค้นหาให้สามารถดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำต้องอาศัยการทดสอบและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง
- การใช้งานจริงของนักศึกษา
- นักศึกษาบางส่วนอาจไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ทำให้ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้งานระบบ
- การทบทวนเนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาบางกลุ่ม
- ปัจจัยด้านความพร้อมของระบบและอุปกรณ์
- ปัญหาทางเทคนิค เช่น ความเร็วในการเข้าถึงระบบ การรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกัน และข้อผิดพลาดของโปรแกรม อาจส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา
- อุปกรณ์ของนักศึกษาบางคนอาจไม่รองรับการใช้งานโปรแกรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาในอนาคต
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่พบในการดำเนินโครงการ สามารถพิจารณาปรับปรุงในด้านต่อไปนี้
- ปรับปรุงฟังก์ชันของระบบให้มีความเสถียรและใช้งานง่าย
- พัฒนาอินเทอร์เฟซให้เหมาะสมกับการใช้งานผ่านอุปกรณ์หลากหลายประเภท
- เพิ่มระบบช่วยเหลือผู้ใช้ เช่น คู่มือการใช้งานออนไลน์ หรือคลิปวิดีโอแนะนำ
- เพิ่มเนื้อหาหรือเครื่องมือเสริมการเรียนรู้
- ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ interactive หรือแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของยา
- เพิ่มแบบฝึกหัดหรือข้อสอบจำลองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินความเข้าใจของตนเองได้ก่อนการสอบจริง
- ปรับกลยุทธ์การส่งเสริมการใช้งานระบบ
- จัดกิจกรรมแนะนำการใช้งานสื่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนในวิชา PHA 333
- จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น
โดยสรุป ผลการดำเนินโครงการนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในการเพิ่มพูนความเข้าใจด้านเภสัชเคมีของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อพัฒนาและขยายขอบเขตของโครงการให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในระยะยาว
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
โครงการวิจัย “นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2” ได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยเสริมการเรียนรู้และทบทวนเนื้อหาทางเคมีเภสัชกรรมเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II โดยมีการตรวจสอบผลการดำเนินงานผ่านการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รวมถึงการเก็บรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานสื่อการเรียนรู้นี้ การนำไปใช้จริงพบว่า นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 สามารถเข้าถึงและใช้โปรแกรมค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 121 คน ซึ่งเริ่มต้นด้วยการทำ pre-test ก่อนใช้สื่อการเรียนรู้ และทำ post-test หลังจากการศึกษาเนื้อหา ผลการประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยของ pre-test อยู่ที่ 3.00 คะแนน (เต็ม 6 คะแนน) และเพิ่มขึ้นเป็น 5.15 คะแนน (เต็ม 6 คะแนน) ใน post-test แสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้นี้สามารถช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจของนักศึกษาในเนื้อหาได้อย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ การสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อสื่อการเรียนรู้นี้ โดยให้ความเห็นว่าระบบสามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม นักศึกษาบางส่วนยังพบปัญหาด้านเทคนิค เช่น ความยากในการค้นหาข้อมูลเฉพาะด้าน และข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบ
สรุปและอภิปรายผล
จากผลการดำเนินโครงการ สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
- ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้
- โปรแกรมค้นหานี้ช่วยให้คะแนน post-test ของนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 00 เป็น 5.15 คะแนน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้นี้สามารถช่วยพัฒนาความเข้าใจและความสามารถในการจำแนกข้อมูลของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สัดส่วนนักศึกษาที่ทำคะแนนได้สูงขึ้นหลังใช้สื่อการเรียนรู้ ยืนยันถึงความเหมาะสมของเนื้อหาและความสามารถของโปรแกรมในการสนับสนุนการเรียนรู้
- ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
- นักศึกษาสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลา ลดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในห้องเรียน
- ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้แบบ self-directed learning ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)
- อุปสรรคและข้อจำกัด
- ปัญหาด้านเทคนิค เช่น การเข้าถึงระบบที่อาจไม่เสถียรในบางช่วงเวลา และข้อจำกัดของอุปกรณ์ของนักศึกษาบางส่วน
- นักศึกษาบางรายยังขาดความคุ้นเคยกับการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ทำให้ต้องมีระยะเวลาในการปรับตัว
บทสรุปความรู้และความรู้ที่ค้นพบใหม่
จากโครงการวิจัยนี้ สามารถสรุปองค์ความรู้และข้อค้นพบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในอนาคต ดังนี้
- การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาที่มีเนื้อหาจำนวนมาก
- สื่อการเรียนรู้แบบ interactive หรือระบบค้นหาแบบดิจิทัลสามารถช่วยลดภาระการจดจำข้อมูลของนักศึกษา และทำให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น
- การออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบ
- การใช้ pre-test และ post-test เป็นแนวทางที่ดีในการวัดผลการเรียนรู้ และสามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาเครื่องมือวัดผลทางการศึกษาอื่น ๆ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ
จากการดำเนินโครงการนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเรื่องยาต้านแบคทีเรียในวิชาเภสัชเคมี 2 พบว่ามีศักยภาพในการช่วยเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นในอนาคต ควรมีแนวทางการพัฒนาเพิ่มเติม รวมถึงระบุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ ดังนี้
1. การปรับปรุงระบบให้สามารถค้นหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
หนึ่งในข้อจำกัดของระบบปัจจุบันคือการค้นหาข้อมูลที่อาจยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุม ดังนั้น ควรพัฒนาระบบให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการค้นหาตาม โครงสร้างทางเคมี หรือ กลไกการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเภสัชเคมีของยาต้านแบคทีเรีย
แนวทางการพัฒนา:
ปรับปรุง algorithm การค้นหาให้สามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ หมู่ฟังก์ชันทางเคมี หรือ ลักษณะโครงสร้างโมเลกุล ของยาได้
เพิ่มฟังก์ชัน การเชื่อมโยงข้อมูลทางเภสัชวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาในร่างกายได้ง่ายขึ้น
ออกแบบระบบที่สามารถ แสดงความสัมพันธ์ของยาในกลุ่มเดียวกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจการเปรียบเทียบเชิงโครงสร้างและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
2. การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Artificial Intelligence (AI) หรือ Machine Learning (ML) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
AI และ ML สามารถช่วยให้ระบบค้นหาข้อมูลมีความแม่นยำมากขึ้น โดยสามารถเรียนรู้จากพฤติกรรมของผู้ใช้ และปรับปรุงการนำเสนอข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา
แนวทางการพัฒนา:
ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่เกี่ยวข้องกับการค้นหา
พัฒนา Chatbot อัจฉริยะ ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในเชิงลึก และช่วยตอบคำถามของนักศึกษาแบบเรียลไทม์
ใช้เทคนิค Natural Language Processing (NLP) เพื่อทำให้การค้นหาข้อมูลโดยใช้ภาษาธรรมชาติมีความแม่นยำมากขึ้น
Machine Learning-based Recommendation System ที่สามารถแนะนำข้อมูลหรือบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักศึกษาสนใจ
3. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น แอนิเมชัน หรือแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติ
การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และ แบบจำลอง 3 มิติของโครงสร้างยา สามารถช่วยให้นักศึกษาเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้ชัดเจนขึ้น
แนวทางการพัฒนา:
สร้าง แอนิเมชันแสดงกลไกการออกฤทธิ์ของยา ในระดับเซลล์หรือโมเลกุล เพื่อช่วยให้เห็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับยาต้านแบคทีเรีย
พัฒนา โมเดลโครงสร้าง 3 มิติของยา ที่สามารถหมุนและปรับมุมมองได้ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างเชิงพื้นที่ของโมเลกุล
เพิ่ม interactive Learning Modules เช่น แบบจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality, VR) หรือแบบจำลองเสริม (Augmented Reality, AR) เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสกับโมเลกุลยาในมิติที่สมจริงมากขึ้น
4. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ
นอกจากแนวทางการพัฒนาแล้ว ปัจจัยต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้โครงการบรรลุผลตามเป้าหมาย
4.1 การสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา
การบูรณาการสื่อการเรียนรู้เข้าสู่หลักสูตรของรายวิชา PHA 333 Pharmaceutical Chemistry II อย่างเป็นระบบ
การส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
4.2 ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
การพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน
การรักษาความเสถียรของระบบและเพิ่มขีดความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันของผู้ใช้จำนวนมาก
4.3 การมีส่วนร่วมของนักศึกษาและการรับผลการประเมินเพื่อการปรับปรุง
ควรมีระบบ feedback mechanism เพื่อให้นักศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม และนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
การส่งเสริมการเรียนรู้แบบ active Learning โดยให้มีแบบฝึกหัด ทดสอบความเข้าใจ และกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง