รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.2.1, 1.2.4, 5.1.2, 5.3.2

การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อยกระดับ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

ผู้จัดทำโครงการ​

รศ.นันทชัย ทองแป้น

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

           ทิศทางการบริหารจัดการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้น ได้ใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์ มุ่งเน้นการบูรณาการทุกภาระกิจแบบครบวงจร โดยหลักการที่สำคัญที่นำมาใช้คือ การSynergy ของทุกองคาพยพทั้งคนและภารกิจของวิทยาลัย โดยเน้นในเรื่องการปฏิบัติภารกิจใดๆ ต้องส่งผลทำให้มีเกิดผลลัพธ์เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ต่อเนื่องในภารกิจอื่นๆต่อๆกันไปอย่างครบวงจร เช่น การบริการวิชาการ ต้องสามารถให้เกิดผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ การประชาสัมพันธ์เพื่อนำชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัย รวมทั้งการนำไปใช้ในการดำเนินการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ สามารถนำไปสู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมโดยมีรูปแบบการทำงานโดยสรุปดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่

           พิจารณาจากรูปที่ 1 จะเห็นว่าภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Great University) ได้นั้นต้องเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Learning University) และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเสาะแสวง (Inquiring University) โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญคืองานสอน งานวิจัย และงานบริการวิชาการรวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยมีการทดลองแบบ Service Learning ที่เน้นการเรียนรู้ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมหรือภาค Real Sector ที่เกี่ยวข้องโดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้

          วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีปรัชญาว่า“นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ” มีปณิธานในการมุ่งทำให้ “โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงานและโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน”และมีวิสัยทัศน์คือ ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยมีคำขวัญประจำวิทยาลัยว่า “เรียนรู้จากประสบการณ์จริง”

          วิทยาลัยฯ มีความเชื่อและได้มีหนึ่งในสมมติฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการเพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติของหลักสูตรและวิทยาลัยฯประสบความสำเร็จคือ “การพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ” โดยในเรื่องดังกล่าวนี้เรามีความเชื่อว่าหนึ่งในตัวแปรต้นหรือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการก็คือ “งานบริการวิชาการ”และมีตัวแปรตามซึ่งหมายถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ก็คือ

  1. ความสำเร็จในการพัฒนานักศึกษาทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทัศนคติและการมีงานทำและ/หรือการประกอบอาชีพส่วนตัว
  2. ความสำเร็จในการพัฒนาอาจารย์ทั้งในแง่คุณภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
  3. ความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
  4. ความสำเร็จในการพัฒนาวิชาชีพ
  5. ความสำเร็จในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ

          โดยมีตัวแปรควบคุมคือ “งานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์.

          ที่กล่าวมาโดยสรุปคือหนึ่งในแผนแนวคิดและยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่มุ่งใช้การบริหารจัดการจะเน้นการโดยใช้เป้าหมายเป็นฐาน (Target Based Management) ที่เน้นการพัฒนาบัณฑิตที่เปลี่ยนจาก Formative/Informative Learning เป็น Transformative Learning โดยมุ่งให้เป็นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership, Change Agent Skill) โดยใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการ

รูปที่ 2 แสดงยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการ

เมื่อ S คือ ภาระงานบริการวิชาการ   R คือ ภาระงานวิจัย  และ T/L คือ ภาระงานสอน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

  1. แนวคิดในการการพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ
  2. ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

  • อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง 
  1. องค์ความรู้ทางด้านการบริหารที่ประกอบด้วยหลักการการจัดการองค์กร
  2. องค์ความรู้ทางด้านการบริหารภารกิจการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา(การบริหารการศึกษา งานวิจัย งานบริการวิชาการ)
  3. องค์ความรู้ทางด้านการพัฒนางานบริการวิชาการและการใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ
  4. องค์ความรู้แบบองค์รวมในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของศตวรรษที่ 21 ยุคหลังโควิด-19 รวมทั้งยุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ที่เกี่ยวข้องกับมิติต่างๆทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์โดยเน้นในเรื่องของสภาพปัญหาและข้อจำกัด (Pain Point) ในทุกมิติขององคาพยพทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทยทั้งเรื่องของวิชาการ การวิจัย และงานบริการวิชาการ เรื่องของวงจรชีวิตของเครื่องมือและเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ เรื่องของคนและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ และการพัฒนา Career Path ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้กับประเทศไทยรวมทั้งการจัดการศึกษาและพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิต
  5. การศึกษาดูงานจากสถาบันการศึกษาและ Real Sector รวมทั้งองค์กรในลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • อื่น ๆ (ระบุ) เป็นความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์การทำงาน องค์ความรู้อื่นๆ ที่ตกผลึกจากประสบการณ์การทำงานทางด้านการบริหารงานในระดับหมวดวิชา ระดับภาควิชา แระดับหลักสูตรระดับคณะและวิทยาลัยรวมทั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพรวมทั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งประเทศไทยมากว่า 30 ปี รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาให้กับภาค Real Sector ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain ต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

วิธีการดำเนินการ

          องค์ความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เป็นหลักสูตรอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์จนมีการเติบโตขึ้นเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในปัจจุบัน โดยมีความเชื่อในเรื่องของใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ก็คือ “เรียนรู้จากประสบการณ์จริง” และเชื่อว่าทิศทางการพัฒนาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จะต้องมีทิศทางความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าและนวัตกรรมของโลก โดยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี & นวัตกรรมจะต้องไม่เป็นความแปลกหน้า-แปลกแยกของนักศึกษาและบัณฑิต

          ดังนั้นการวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ต้องตอบสนองโลกของความต้องการจริงที่เรียกว่า Demand Driven ซึ่งเป็นปณิธานของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ว่า เรามุ่งทำให้“โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน”โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการทำให้การพัฒนาในทุกมิติของวิทยาลัยฯ อยู่ในทิศเดียวกับความก้าวหน้าของโลก อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของโลกในปัจจุบันและอนาคตนอกจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในทุกด้านอย่างรวดเร็ว (Technology Disruption) ก็คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ซึ่งการรับมือกับสิ่งท้าทายเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้การปรับเปลี่ยนพลิกโฉมในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Re-inventing Innovation) ร่วมกับแนวคิด Glocalization (Think globally, Act locally) ที่เป็นการรวม Globalization และ Localization เข้าด้วยกัน นำไปสู่การพลิกโฉมความรู้และแนวปฏิบัติจากสังคมโลกสู่สังคมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในสมมุติฐานของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ว่า “เครื่องมือในการพัฒนาในทุกมิติของหลักสูตรและวิทยาลัยฯให้ประสบความสำเร็จคือ การพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ จึงถูกนำมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ภายใต้วิสัยทัศน์ “ก้าวสู่ วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” โดยมีการดำเนินการโดยสรุปดังนี้

  1. จัดตั้งศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

รูปที่ 3 ศูนย์บริการวิชาการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จำนวน 3 ศูนย์ ที่ใช้เป็นฐานในการให้บริการวิชาการกับสังคม

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้จัดตั้งศูนย์บริการทางวิชาการจำนวน 3 ศูนย์หลักเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการใช้งานบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ดังรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

1.1 ศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Innovation and Service Center: BIS CENTER) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 (เริ่มเปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา2545) เดิมชื่อศูนย์วิจัย พัฒนาและบริการอุปกรณ์ชีวการแพทย์ (Biomedical Instruments Research Development and Services Center) ต่อมาในปีการศึกษา 2560 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์นวัตกรรมและบริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นศูนย์บริการที่ดำเนินกิจกรรมแบบครบวงจรของการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพ

1.2 ศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2556 โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้บริการวิชาการทางด้านการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานบริการสุขภาพทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งกับการบริหารจัดการโรงพยาบาลโดยใช้มาตรฐานสากล เช่น JCI และ DNVGL เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการมุ่งเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์

1.3 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวารแพทย์ (BMERSU Technology Transfer Center:TTC) ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นในปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในด้านการนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝนรวมทั้งหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการการทางวิชากาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ใช้เป็นศูนย์อำนวยการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในการช่วยดูแลนักศึกษาที่ป่วยในระยะที่ไม่รุนแรงและพักอยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยวิทยาลัยฯ

ทั้งนี้ศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัยทั้ง 3 ศูนย์ มีภารกิจใน 3 ลักษณะ คือ

  1. การให้บริการในด้านการยกระดับความรู้และทักษะการพัฒนาวิชางานและวิชาคนให้กับนักศึกษาและศิษย์เก่าทั้งในด้านการฝึกอบรม ให้ความรู้เพิ่มเติมและพัฒนาทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการพัฒนาทักษะปฏิบัติและทักษะการเป็นผู้ประกอบการแบบให้เปล่า เพื่อรองรับโครงการต่างๆ ในการพัฒนาเช่น โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน โครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจรที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
  2. การให้บริการเพื่อสังคมแบบให้เปล่า โดยการจัดโครงการบริการวิชาการทางด้านการอบรมเพื่อยกระดับความรู้และทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลาตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ.ให้กับโรงพยาบาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.) ในเขตจังหวัดปทุมธานีและโรงพยาบาลที่ห่างไกลความเจริญในต่างจังหวัด รวมทั้งเคยจัดโครงการให้บริการวิชาการในลักษณะนี้ให้กับโรงพยาบาลประเทศสปป.ลาวจำนวนกว่า 7 โรงพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-จนถึงปัจจุบัน
  3. การให้บริการวิชาการในเชิงพาณิชย์ทางด้านในด้านการฝึกอบรมเพื่อยกระดับความรู้และทักษะเพิ่มเติม พัฒนาทักษะปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และด้านมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยี การดูแลรักษาสุขภาพให้มีความพอเพียงและมีความพร้อมใช้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลาตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ.ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องจากศูนย์บริการทั้งสามศูนย์นี้ได้จดทะเบียนรับงานบริการวิชาการในเชิงพาณิชย์กับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยแต่ละปีได้ให้บริการวิชาการในลักษณะดังกล่าวในราคาสถานศึกษาให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวนหลายโรงพยาบาลรวมทั้งบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์จำนวนหลายบริษัท

2. ใช้ศูนย์บริการวิชาการทั้งสามศูนย์เป็นฐานในการดำเนินโครงการบริการวิชาการใน 3 ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

          สำหรับโครงการบริการวิชาการทั้งสามลักษณะที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน และโครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจร

2.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชนเป็นโครงการบริการทางวิชาการสังคมแบบให้เปล่าที่ให้บริการกับสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในลักษณะโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. รวมทั้งการจัดอบรมในเรื่องการใช้งาน การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเบื้องต้นให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่งด้วยโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้นักศึกษาและอาจารย์เรียนรู้ปัญหาจริงๆ ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการฝึกทักษะปฏิบัติ ฝึกการเรียนรู้วิชางานและวิชาคนโดยการปฏิบัติงานจริงในสถานการร์จริงรวมทั้งฝึกจิตวิญญาณในด้านการให้บริการประชะชาชนให้กับนักศึกษา

2.1.2 ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่จัดการเรียนการสอนแบบ Module ชื่อว่า Module วิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering) โดยมีอาจารย์ที่สอนในโมดูลนี้เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและเป็นผู้นำในการดำเนินการโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของวิทยาลัยฯ

2.1.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Service Learning ในลักษณะของการออกไปให้บริการทำการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพที่อยู่บริเวณรอบๆมหาวิทยาลัยรังสิตและในจังหวัดปทุมธานีรวมทั้งโรงพยาบาลในต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลที่มีการร้องขอมายังวิทยาลัยฯ ผ่านนักศึกษาปัจจุบัน ผู้ปกครองของนักศึกษาหรือศิษย์เก่านอกจากนั้นยังได้ให้บริการกับโรงพยาบาลในประเทศสปป.ลาวจำนวนมากกว่า 7 โรงพยาบาลเพื่อเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาสุวรรณภูมิของมหาวิทยาลัยรังสิตอีกทางหนึ่งด้วย

ที่สำคัญยิ่งก็คือ ทางวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจและได้รับเกียรติจากกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง ให้เข้าไปตรวจเช็คความพร้อมใช้รวมทั้งการทดสอบสอบเทียบและบำรุงรักษาเชิงป้องกันประจำปีให้กับเครื่องมือแพทย์ของกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง เป็นระยะเวลากว่า 5 ปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติเช่นน้ำท่วมโรงพยาบาลในต่างจังหวัดเช่น กรณีของอำเภอบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือโรงพยาบาลในจังหวัดอื่นๆที่เกี่ยวข้องเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ทางวิทยาลัยฯได้รับการประสานงานเพื่อขอความช่วยเหลือจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (ที่มีMOUในระดับคณะ) ทางวิทยาลัยฯก็ได้ใช้โครงการดังกล่าวนี้ระดมศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าออกไปช่วยเหลือในการบำรุงรักษาเพื่อฟื้นฟูให้เครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลกลับมาใช้งานได้ปกติในเวลาที่รวดเร็วเพื่อที่ทางโรงพยาบาลจะกลับมาให้บริการประชาชนได้ตามปกติในระยะเวลาที่รวดเร็ว

โดยจำนวนโรงพยาบาลในทุกระดับทั่วประเทศที่ได้ให้บริการทางวิชาการในโครงการดังกล่าวในระยะกว่า20 ปีที่ผ่านมาประมาณมากกว่า 50 โรงพยาบาล ถ้าคิดเป็นจำนวนครั้งประมาณมากว่า 100 ครั้ง

2.2 โครงการบริการทางด้านการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพในเชิงพาณิชย์

2.2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการนี้ดำเนินมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นโครงการบริการทางวิชาการในเชิงพาณิชย์กับสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพหรือสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินการทางด้านการให้บริการวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ความรู้ความสามารถและทักษะของอาจารย์ให้เต็มประสิทธิภาพรวมถึงเป็นที่ฝึกและขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของคณาจารย์กับประสบการณ์จริงโดยมีนักศึกษาเป็นผู้ช่วย เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ในด้านการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพเหล่านั้นเพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินงานและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. หรือตามมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพในระดับนานาชาติเช่นมาตรฐาน JCI เป็นต้น

2.2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นการให้บริการในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นการให้บริการในโครงการนี้จึงต้องเป็นไปแบบมืออาชีพ มีเรื่องของระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมทั้งมาตรฐานมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นในส่วนของนักศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักศึกษาที่คัดเลือกมาจากทุกชั้นปีโดยจะมีการรับสมัครเป็นรุ่นๆ แต่ละรุ่นทำงานไม่เกิน 3 ปี โดยแต่ละคนจะต้องผ่านการคัดเลือกและทำสัญญาจ้างงานเป็นรายปีและเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจจะมีการออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้ด้วย

2.2.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการให้บริการในเชิงพาณิชย์ในด้านการตรวจเช็ค ทดสอบ บำรุงรักษา ซ่อมบำรุง สอบเทียบเครื่องมือแพทย์และระบบวิศวกรรมโรงพยาบาลให้กับสถานบริการสุขภาพเหล่านั้น เพื่อให้เครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพมีความพร้อมใช้ในการให้บริการกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบประเมินและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. หรือตามมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพในระดับนานาชาติเช่นมาตรฐาน JCI เป็นต้น โดยการให้บริการจะเป็น 2 ลักษณะคือ การให้บริการเป็นรายปี ปีละ 1 ครั้งในทุกปีโดยการทำเป็นสัญญา และการให้บริการแบบ Walk in เข้ามาที่ศูนย์บริการของวิทยาลัยฯ โดยจะมีการจัดระบบการดำเนินการแบบมืออาชีพที่จะมีผู้ให้บริการที่ประกอบด้วยอาจารย์และ/หรือนักศึกษาจะ Standby อยู่ตลอดเวลา

โดยในแต่ละปีจะมีจำนวนโรงพยาบาลในทุกระดับทั่วประเทศที่ได้ให้บริการทางวิชาการในโครงการดังกล่าวนี้ในแบบประจำรายปีปีละประมาณ 5 โรงพยาบาลและมีการให้บริการประจำวันในทุกวันทำการในระยะกว่า 17 ปีที่ผ่านมา

2.3 โครงการ Mini MBA การบริหารจัดการวิศวกรรมชีวการแพทย์

2.3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศัยภาพทางด้านการบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้กับบัณฑิตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจัดให้เรียนได้ในโครงสร้างของหลักสูตรแบบปกติ

2.3.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ ในระยะเริ่มต้นได้จัดโครงการนี้ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนจบการศึกษาต่อมาโครงการดังกล่าวนี้ได้มีการรับทราบถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงได้สมัครเข้ามาเรียนในโครงการดังกล่าวด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 40 คนต่อ 1 รุ่น

2.3.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในวันเสาร์-อาทิตย์เป็นระยะเวลาประมาณ100ชั่วโมงเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการทัวไป หลักการบริหารจัดการบุคคล หลักการบริหารการตลาด หลักการบริหารการเงินและบัญชี การวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ เป็นต้นและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งหมดในการบริหารจัดการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ในสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพรวมทั้ง แนวทางการจัดทำและการบริหารธุรกิจทางด้านการวิศวกรรมชีวการแพทย์

2.4 โครงการ N&B Innotech & Wellness Center

2.4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการให้บริการทางวิชากาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี

2.4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 รวมทั้งได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝน รวมทั้งหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

2.4.3 ลักษณะการดำเนินการโครงการนี้ ทั้งนี้การนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงหรือนำไปดำเนินการในเชิงพาณิชย์รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิตจังหวัดปทุมธานี โดยในช่วงการแพ่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ใช้เป็นศูนย์อำนวยการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในการช่วยดูแลนักศึกษาที่ป่วยในระยะที่ไม่รุนแรงและพักอยู่ที่บ้านหรือหอพักโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยวิทยาลัยฯ

2.5 โครงการยกระดับสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ทางด้านวิศวกรรมคลินิก

2.5.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการจัดการสอบเพื่อรับรองมาตรฐานสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ในระดับ 4 ถึงระดับ 8

2.5.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตกับสมาคมวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย โดยได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพให้ใช้ศูนย์บริการของวิทยาลัยฯเป็นสถานที่สอบโดยมีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญทั้งจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิตและจากสถาบันการศึกษาอื่นๆเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยผู้เข้ารับการสอบเป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.5.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นการจัดสอบมาตรฐานสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ในระดับ4 ถึงระดับ 8 ของวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.6 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degreeทางด้านพัฒนาทักษะ Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ

2.6.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.6.2  ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.6.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้บทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวตกรรม (กระทรวงอว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน

2.7 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA)

2.7.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ

2.7.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้บทุนสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวตกรรม (กระทรวงอว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน

2.8 โครงการ TRICOLOR ย่อมาจาก Tokai Rangsit International Collaboration on Resources for BME technologies, systems, and services เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น

2.8.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อร่วมกันพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิศวกรชีวการแพทย์ของประเทศไทยให้สามารถตอบสนองต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในยุคของการดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนของโลก

2.8.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ อาจารย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องมือแพทย์จากบริษัทต่างๆในประเทศญี่ปุ่นทั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นและสาขาในประเทศไทย รวมทั้งวิศวกรชีวการแพทย์จากประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยรังสิตรุ่นละ 5 คน จำนวน 2 รุ่นต่อปี

2.8.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นผ่านมาทาง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก โดยการให้ทุนรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดอบรมและดูงานในสถานประกอบการจริงที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นโดยจัดโครงการดังกล่าวนี้จำนวน 4 รุ่นต่อเนื่องกันในระยะ 4 ปี มีผู้สำเร็จการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน

2.9 โครงการยกระดับและพัฒนาทักษะโดยการจัดอบรมแบบ Non Degree เรื่อง”Upskilled Biomedical Engineers for Transformation if Healthcare Technology Support ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากต่างประเทศ จำนวน 20 ประเทศ

2.9.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ยกระดับและพัฒนาทักษะให้กับวิศวกรชีวการแพทย์ในประเทศที่สนใจโดยการจัดอบรมหลักสูตรแบบ Non Degree เรื่อง “Upskilled Biomedical Engineers for Transformation of Healthcare Technology Support”

2.9.2 ผู้เข้าร่วมโครงการ วิทยากรประกอบด้วยอาจารย์จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิตและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นวิศวกรชีวการแพทย์จาก 15 ประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลกจำนวน 40 คน

2.9.3 ลักษณะการดำเนินการ เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศในการจัดอบรมแบบออนไลน์หลักสูตรแบบ Non Degree เรื่อง Skilled Biomedical Engineers for Transformation of Healthcare Technology Support ระหว่างวันที่ 3-26 มิถุนายน 2567

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

2.1 ผลลัพธ์โดยตรงจากการดำเนินงาน

2.1.1 โครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชน และโครงการวิศวกรรมชีวการแพทย์สัญจร

ผลการดำเนินงานตามโครงการวิศวกรชีวการแพทย์สู่ชุมชนแลโครงการวิศวกรรมชีการแพทย์สัญจรที่ได้ดำเนินการในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้ออกหน่วยให้บริการปีละประมาณ 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้นกว่า 100 ครั้ง ครอบคลุมโรงพยาบาลและ/หรือสถานบริการการดูแลรักษาสุขภาพไม่น้อยกว่า 100 แห่ง มีนักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 600 คน สามารถประหยัดงบประมาณให้กับภาครัฐได้ไม่ต่ำกว่า1,000,000 บาท ที่สำคัญก็คือหลังจากการจัดโครงการนี้ให้กับสถานประกอบการใดๆ ก็ตามเป็นระยะไม่เกิน 5ปีผ่านไป จะส่งผลกระตุ้นให้สถานประกอบการดังกล่าวสร้างบุคลากรขึ้นมาเพื่อเรียนรู้งานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือบางสถานประกอบการจะทำการสรรหาวิศวกรชีวการแพทย์และในที่สุดก็สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านการดำเนินการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้

2.1.2   โครงการบริการทางด้านการควบคุมคุณภาพตลอดวงจรชีวิตของเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพในเชิงพาณิชย์

ผลการดำเนินงานตามโครงการนี้ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปีที่ผ่านมาพบว่าสามารถช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีรายได้ไม่มากพอในการจ้างบริษัท Outsource ให้เข้าไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ปีละประมาณ 5 โรงพยาบาลและมีการให้การใช้บริการประจำวันในทุกวัน ทำการในระยะกว่า 17 ปีที่ผ่านมาโดยมีรายได้ผ่านศูนย์บริการของมหาวิทยาลัยรังสิตเฉลี่ยปีละประมาณ 350,000 บาท ส่งผลให้สามารถใช้ในการจ้างงานให้กับนักศึกษามีรายได้ระหว่างเรียน สามารถใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดภาระงบประมาณของมหาวิทยาลัยบางส่วนได้ ที่สำคัญทางวิทยาลัยได้ใช้เป็นบริษัทจำลองสำหรับให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทางด้านการทำธุรกืจทางด้านการให้บริการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์อีกทางหนึ่งด้วย

2.1.3 โครงการMini MBA การบริหารจัดการวิศวกรรมชีวการแพทย์

ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ถืว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจมีผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจำนวนมากกว่า 400 คน และผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรนี้พบว่า สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์จากที่เรียนไปใช้ในการปฏิบัติจนส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทำงานอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แหล่งงานจำนวนหลายบริษัทรวมทั้งโรงพยาบาลในภาครัฐได้ส่งพนักงานที่ต้องการส่งเสริมให้เป็นผู้บริหารในระดับต้นเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวรวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้สมัครเข้ามาเรียนในโครงการดังกล่าวด้วยจึงทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

2.1.4 โครงการ N&B Innotech & Wellness Center

ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า สามารถผนึกกำลังความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์กับคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิฟ้าหลังฝนนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักศึกษาทางด้านระบบการแพทย์ทางไกล ไปใช้งานสำหรับ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านในช่วงการระบาดของโควิด-19 รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการทางด้านการยืมเครื่องมือแพทย์ไปใช้งานให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี

2.1.5 โครงการ ยกระดับสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ทางด้านวิศวกรรมคลินิก

ผลการดำเนินงานของโครงการนี้พบว่าในระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา สามารถพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรชีวการแพทย์ของประเทศไทยให้สอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะวิศวกรชีวการแพทย์ระดับ 4-6 กว่า 100 คน

2.1.6 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านพัฒนาทักษะ Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ

ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวในระยะเวลา1ปีพบว่าสามารถจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non Degree ทางด้าน Digital Transformation ทางด้านเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยมีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 2 รุ่น มีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน80 คน ส่งผลทำให้ผู้ผ่านการอบรมเหล่านี้สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ไปยกระดับตนเองได้ทั้งทางด้านการประกอบอาชีพและรายได้

2.1.7 โครงการอบรมหลักสูตร Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA)

ผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวในระยะเวลา 1 ปี พบว่าสามารถจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบแบบ Non Degree ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ: Life Cycle Assessment (LCA) ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วประเทศ โดยโครงการดังกล่าวได้จัดอบรมต่อเนื่องกันจำนวน 2 รุ่นมีผู้จบการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน สำเร็จการอบรมส่วนหนึ่งสามารถใช้ชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนางาน สำคัญที่สุดก็คือผลทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยที่ถือว่าวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และชุดทักษะ ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีการดูแลรักษาสุขภาพ ให้กับบุคลากรต้นแบบหรือแม่ไก่ให้กับประเทศไทย เพื่อไปขยายผลให้กับองค์กรและประเทศไทยต่อไปในอนาคต เป็นผู้นำและบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ทั้งในระดับโลก ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยรวมทั้งยุทธศาสตร์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่อง GREEN and CLEAN Hospital หรือโครงการโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.1.8 โครงการ TRICOLOR ย่อมาจาก Tokai Rangsit International Collaboration on Resources for BME technologies, systems, and services เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น

ผลการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวกว่า 4 ปี พบว่ามีผู้สำเร็จการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน  ที่สำคัญก็คือโครงการดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้รับความเชื่อถือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นจนได้ให้ทุนในการร่วมมือกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก เพื่อพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศญี่ปุ่นร่วมกับประเทศไทย ให้สามารถตอบสนองต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในยุคของการดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนของโลก

2.1.9 โครงการยกระดับและพัฒนาทักษะโดยการจัดอบรมแบบ Non Degree เรื่อง”Upskilled Biomedical Engineers for Transformation in Healthcare Technology Support” ให้กับวิศวกรชีวการแพทย์จากต่างประเทศ จำนวน 20 ประเทศ

ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวพบว่า มีวิศวกรชีวการแพทย์จากทั่วโลกกว่า 40 คน จาก 15 ประเทศทั่วโลกผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว โดยผู้สำเร็จการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวนี้จะสามารถใช้ชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนางานจนมีความก้าวหน้าทั้งทางด้านผลการดำเนินงาน ตำแหน่งงานและค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนของประเทศที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งนำไปขยายผลให้กับบุคลากรและองค์กรต่างๆ ในประเทศตนเองและ/หรือเครือข่ายประเทศใกล้เคียงอีกทางหนึ่งในอนาคต ในทางกลับกันผลทางอ้อมอีกด้านหนึ่งที่สำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ การที่ได้รับความเชื่อมั่นในการเข้ารับการพัฒนาชุดความคิด ชุดองค์ความรู้และชุดทักษะ ทางด้าน Smart Medical Devices และ Smart Healthcare Technology จากผู้เข้ารับการอบรม เป็นการแสดงเห็นถึงศักยภาพในการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตามวิสัยทัศน์ของท่านดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

2.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม

2.2.1 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอาจารย์

2.2.1.1 อาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญงานและมีประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้องกับภาคผู้ประกอบการจริงมากขึ้น สามารถนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้ทันกับโลกของปัจจุบัน ส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ในที่สุดจะส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เรียนมากขึ้น

2.2.1.2 อาจารย์จะได้เห็นถึงโอกาสในการทำงานวิจัยวิจัยมากขึ้นจากการได้เห็นปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ส่งผลให้การหาโจทย์วิจัยในมิติต่างๆ มีความชัดเจนและตรงต่อความต้องการของโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น ในที่สุดส่งผลต่อคุณภาพของการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์มากขึ้น เห็นได้จากการที่ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์ทั้งผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมรวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และที่เกี่ยวข้องในแต่ละปีการศึกษาเกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจำนวนมาก

2.2.1.3 การพัฒนาตนเอง เมื่ออาจารย์สามารถบูรณาการงานสอน งานวิจัยและงานบริการวิชาการเข้าด้วยกันได้ จะส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของอาจารย์ในทุกมิติทั้งในแง่ผลงานสอนรวมทั้งผลงานทางวิชาการ ในที่สุดจะส่งผลต่อความก้าวหน้าของอาจารย์ทั้งในด้านการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งในที่สุดก็จะเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพมากขึ้น

2.2.1.4 มาตรฐานทางด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยสัดส่วนของคุณวุฒิปริญญาโทต่อปริญญาเอกของอาจารย์และสัดส่วนของตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสืบค้นข้อมูลพบว่าตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ของอาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตมีจำนวนสูงสุดในบรรดามหาวิทยาลัยของประเทศไทย

2.2.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาและบัณฑิต

นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาจนบรรลุเป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้งในระดับรายวิชา ระดับชั้นปี และระดับผลลัพธืการเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการวิชางานและวิชาคน ได้รับรางวัลทั้งในระดับสถาบันระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง จนจบเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ มีความสามารถในการแข่งขันในทุกระดับจนเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและเป็นที่พึงของสถานประกอบการ ส่งผลให้บัณฑิตที่จบออกไปได้งานก่อนจบ และ จบไปแล้วไม่เกินระยะเวลา 2 เดือนได้งานครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ทำงานในอัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่ามาตรฐานของสกอ. รวมทั้งสามารถสอบเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในส่วนหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรภาษาไทยและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ1-10 ของโลกเช่น Imperial College ของอังกฤษ เป็นต้น ที่สำคัญยิ่งก็คือ การที่บัณฑิตมีความจงรักภักดีกับสาขาวิชา คณะฯและมหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือกับสาขาวิชาในด้านต่างๆ ด้วยดีตลอดมา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของวิทยาลัยก็คือการที่อัตราการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตที่ได้รับการพัฒนาในทิศทางดังกล่าวพบว่า มีการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานทั้งในเรื่องค่าตอบแทนและตำแหน่งในระดับดีมาก ศิษย์เก่าที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทแม่ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของประเทศออสเตรีย ทำงานเป็นวิศวกรที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นผู้บริหารในองค์กรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งระดับกลางและระดับดับสูง รวมทั้งสามารถทำการเปิดบริษัทของตัวเองทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ ในขณะที่จบการศึกษาออกไปได้เพียง 2 ปีและบริษัทดังกล่าวมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่ดีในตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย

2.2.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

          จากผลการดำเนินงานในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลต่อชื่อเสียง ความเชื่อมั่น ในการเป็นการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติทำให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้าของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากในระยะเริ่มต้นรวมทุกชั้นปีจำนวนประมาณ 160 คน ปัจจุบันมีนักศึกษารวมทุกชั้นปีทุกระดับการศึกษาจำนวนประมาณมากกกว่า 400 คน ในส่วนของระดับคะแนนการประกันคุณภาพประจำปีเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี สำหรับในแง่ของความพึงพอใจของนักศึกษาในทุกระดับการศึกษาในด้านระบบสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมากตลอดมา

2.2.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยรังสิต

จากการที่วิทยาลัยได้ดำเนินการในยุทธศาสตร์ทางด้านการบริการวิชาการที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้ได้รับการยอมรับในด้านการเป็นการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ส่งผลต่อเนื่องถึงการพัฒนาผลงานและความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาและคณาจารย์สามารถทำชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตได้หลายๆ ผลงานในทุกปีการศึกษา ได้รับการยกระดับจากมหาวิทยาลัยรังสิตจากระดับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตามลำดับ

2.2.5 ผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับวิชาชีพและระดับประเทศ

          ผลจากการดำเนินยุทธศาสตร์ในด้านการบริการวิชาการดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลต่อการพัฒนาในระดับวิชาชีพและระดับประเทศ โดยสรุปดังนี้

2.2.5.1 มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำในการยกระดับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ให้มีตัวตนในวิชาชีพของประเทศ

2.2.5.2 นักศึกษาและบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิชาชีพของประเทศไทยและมีส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในการเป็นหนึ่งในทีมงานที่มีคุณภาพในด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนอย่างมีมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล

2.2.5.3 สามารถกำจัดและ/หรือลด Pain Point ทางด้านวิศวกรรมคลินิกและ/หรือความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศไทย

2.2.5.4 เป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาทางด้านวิศวกรรมคลินิก รวมทั้งด้านDigital Transformation ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพให้กับวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางด้านการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย

2.2.6 ผลกระทบในระดับอาเซียนและนานาชาติ

     ผลจากการดำเนินยุทธศาสตร์ในด้านการบริการวิชาการดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับอาเซียนและนานาชาติโดยสรุปดั งนี้

2.2.6.1 เป็นผู้ผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และวางระบบบริหารจัดการงานเครื่องมือแพทย์ให้กับประเทศสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยจากการติดตามผลของความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของบัณฑิตในประเทศสปป.ลาวตลอดมากกว่า10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีเยี่ยมโดยในปัจจุบันประเทศสปปป.ลาวได้นำเอาหลักและวิธีการที่ได้จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรวมทั้งการปฏิบัติงานและที่สำคัญผู้บริหารที่เป็นรับผิดชอบงานเครื่องมือแพทย์ทั้งประเทศสปป.ลาวคือบัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งได้รับทุนการศึกษาจากต่างประเทศให้มาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตอย่างต่อเนื่อง

2.2.6.2 การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาและยกระดับบุคลากรทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับนานาชาติของประเทศในย่านอาเซียนและประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชนของประเทศ

2.3 อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

สำหรับความท้าทายของการดำเนินการตามแนวคิดและหลักการที่ได้กล่าวมมานั้นสามารถสรุปได้ ดังนี้

2.3.1 ส่วนของบุคลากรสายอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ ในระยะเริ่มต้น ที่จะต้องปรับแนวความคิดหรือชุดความคิด (Mindset) และหลังจากที่ผ่านทดลองงานหรือมีประสบการณ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ก็จะสามารถดำเนินการได้ราบรื่นมากขึ้น

2.3.2 ส่วนของกฎระเบียบส่วนกลางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับประเทศที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคเนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องใช้พลังงานของผู้บริหารระดับคณะ/วิทยาลัยในการทำความเข้าใจ แก้ไขและปรับปรุงเป็นระยะๆ อยู่ตลอด เพื่อให้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

          จากความเชื่อและสมมติฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการเพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติของหลักสูตรและวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ประสบความสำเร็จคือ “การพัฒนาและใช้งานบริการบริการวิชาการเป็นฐานในการพัฒนาในทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและวิทยาลัยฯ” โดยในเรื่องดังกล่าวนี้ เรามีความเชื่อว่าหนึ่งในตัวแปรต้นหรือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการก็คือ “งานบริการวิชาการ”และมีตัวแปรตามซึ่งหมายถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ก็คือ

  • ความสำเร็จในการพัฒนานักศึกษาทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทัศนคติและการมีงานทำและ/หรือการประกอบอาชีพส่วนตัว
  • ความสำเร็จในการพัฒนาอาจารย์ทั้งในแง่คุณภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
  • ความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
  • ความสำเร็จในการพัฒนาวิชาชีพ
  • ความสำเร็จในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ

โดยมีตัวแปรควบคุมคือ “งานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์.

         ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นถือว่าทางวิทยาลัยได้ใช้ระยะเวลากว่า 20 ปี ในการพิสูจสมมุติฐานในรูปของการวางยุทธศาสตร์การแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนงานและเป็นแผนปฏิบัติการและสุดท้ายก็คือ การลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาข้างต้นถือได้ว่าสมมติฐานทั้งหมดที่ได้ตั้งไว้มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพรวมทั้งประสิทธิผลในระดับสูง ทำให้ถือว่าเป็นการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่สมบูรณ์แบบนั่นคือสามารถยืนยันได้ว่า งานบริการบริการวิชาการสามารถใช้เป็นฐานและนำมาใช้ผนึกกำลังกับงานสอนและงานวิจัยเพื่อพัฒนาทุกมิติของการบริหารจัดการหลักสูตรและคณะ/วิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาได้ดังรายละเอียดที่ได้พิสูจน์โดยการดำเนินการในวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์กว่า 20 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งสามารถสรุปได้ว่างานบริการวิชาการเป็นหนึ่งเสาหลักของยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ โดยใช้เป้าหมายเป็นฐาน (Target Based Management) ที่เน้นการพัฒนาบัณฑิตที่เปลี่ยนจาก Formative/Informative Learning เป็น Transformative Learning โดยมุ่งให้เป็นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership, Change Agent Skill) โดยใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการที่สำคัญที่สุดก็คือส่งผลให้วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการยอมรับในด้านการเป็นการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

           เนื่องจากภูมิทัศน์ของโลกและของประเทศไทยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกของการเรียนรู้ที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเนื่องโลกจะเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงและเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและด้านอื่นๆ ดังนั้นการพัฒนาทักษะในอนาคต(Skills Future)ให้กับผู้เรียน ผู้ที่จบการศึกษาและทำงานแล้วรวมทั้งผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะตอบโจทย์ในเรื่องของการที่การเรียนรู้ของทุกวัยรวมทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความเท่าเทียมทางด้านการเข้าถึงการศึกษาของประชาชน โดยหนึ่งในภารกิจที่สำคัญสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวก็คือการให้บริการทางวิชาการ

         จากเหตุผลดังกล่าว การวางแผนยุทธศาสตร์ทางด้านการจัดการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องผนึกกำลัง(Synergy) ของภารกิจอาจารย์ทั้งด้านการสอน การทำวิจัยและการบริการวิชาการเข้าด้วยกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้เนื่องจากการทุกภารกิจจะไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้นั่นคือ การสอนเพื่อพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆจากการวิจัยตลอดเวลาและปัญหาโจทย์วิจัยก็ต้องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ซึ่งสามารถหาได้จากการที่ออกไปให้บริการวิชาการรวมทั้งเอาองค์ความรู้จากการวิจัยออกไปให้บริหารวิชาการก็จะทำให้เรียนรู้ถึงปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นจริง จึงจะสามารถนำไปใช้สอนและใช้ในการวิจัยซึ่งจะเปิดเป็นลูกโซ่แบบนี้อยู่ตลอดเวลาแลลเป็นพลวัต ดังนั้นในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ได้ค้นพบแนวทางและได้วางยุทธศาสตร์ดังที่กล่าวมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ก็ยังคงยึดถือแนวทางที่กล่าวมาและจะปรับปรุงในรายละเอียดบางส่วนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกและประเทศไทยในมิติต่างๆ  ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้สามารถยืนยันได้ว่าแนวทางดังกล่าวสามารถใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม Key Result ได้ และมั่นใจว่ายุทธศาสตร์ในด้านดังกล่าวนี้ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางต้นแบบสำหรับประยุกต์ใช้เพื่อการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อยกระดับสู่ความเป็นขุมพลังแห่งปัญญาเพื่อชี้นำสังคมทางด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้อย่างยั่งยืนสืบไป

Scroll to Top