รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR1.2.1, 1.2.2, 1.2.3, 1.2.4, 1.3.1, 1.3.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.4, 5.1.5

การพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ

ผู้จัดทำโครงการ​

รศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ ผศ.อนันตศักดิ์ วงศ์กำแหง
อ.กิตติพันธ์ รุ่งประเสริฐ และ ผศ.ดร.ศนิ บุญญกุล

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

           กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF) กำหนดให้สถาบันการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผ่านการเรียนรู้ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

          การส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติไม่เพียงแต่ช่วยให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นในวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคม เช่น การมีจริยธรรมในวิชาชีพ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการทำงาน และสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างดี

          วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์มีความมุ่งมั่นที่จะมุ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์สำหรับทุกช่วงวัยของชีวิตแห่งอาเซียน เพื่อทำให้บัณฑิตคิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาผู้ประกอบการ มีสมรรถนะและโลกทัศน์ในระดับสากลจึงมีความจำเป็นในการที่จะต้องพัฒนาความพร้อมให้กับนักศึกษา พัฒนาความตระหนักและปลูกจิตสานึกและความรับผิดชอบและการค้นพบตัวเองให้กับนักศึกษา พัฒนาให้นักศึกษาเกิดความชอบในวิชาชีพและฝึกการทำงานเป็นทีมให้กับนักศึกษา ในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกการทำกิจกรรม มีความมุ่งมั่นที่จะนำผลงานวิจัย งานบริการทางวิชาการกับสังคม รวมทั้งด้านการผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีความรู้ควบคู่กับทักษะปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษามีคุณค่าและความสง่างาม ใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีความรับผิดชอบและมีวินัย  อันเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

          จากที่มาและความสำคัญกล่าวมาข้างต้น คุณลักษณะของบัณฑิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ นักศึกษาต้องผ่านกิจกรรมต่างๆที่หล่อหลอมอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง  กระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมต้องเน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานการณ์จริงให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

ความรู้และประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนานักศึกษาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ มีดังนี้

  1. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการกำหนดคุณลักษณะและผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยกำหนด 5 มาตรฐานหลัก ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม, ความรู้, ทักษะทางปัญญา, ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ, และทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. การบูรณาการการเรียนรู้กับกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นแนวทางที่นำการเรียนการสอนในห้องเรียนมาเชื่อมโยงกับกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวม
  3. การปรับตัวและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ ได้

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

  • อื่น ๆ (โปรดระบุ) ความรู้จากประสบการณ์การทำงาน  

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • อื่น ๆ (ระบุ) เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงาน ในระดับคณะและวิทยาลัย ความรู้จากงานที่รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

วิธีการดำเนินการ

           วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีการจัดทำแผนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษาทุกๆปี การวางแผนงานเป็นไปตามประเด็นยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านงานวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง โดยมีคณบดีและกรรมการบริหารวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดนโยบาย มีรองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบด้านวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบดูแลด้านกิจการนักศึกษา รองฝ่ายวิเทศสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบด้านภาษา ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและบริการวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบด้านงานบริการวิชาการ โดยมีนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และชมรมเครื่องมือแพทย์อาร์เอสยูเพื่อสังคมเป็นผู้ร่วมการจัดทำแผนงานและเป็นผู้ดำเนินการ นักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครอบคลุมทั้งสติปัญญา สังคม อารมณ์รวมถึงด้านคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแผนพัฒนานักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักศึกษา ดังนี้

  1. กิจกรรม “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” See it, Own it, Solve it and Do it ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2

ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

  • กิจกรรมไหว้ครู มอบเสื้อชอปของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านภาวะจิตใจ และอารมณ์ก่อนเข้าเรียน
  • กิจกรรมปฐมนิเทศของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • กิจกรรมรับน้อง
  • กิจกรรมประกวดแข่งขัน Start Up Thailand League
  1. กิจกรรมการพํฒนานักศึกษาให้เกิดความชอบในวิชาชีพและฝึกการทำงานเป็นทีมให้กับนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

  • กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมงานทำบุญสงกรานต์
  • โครงการงานรับปริญญาแก่บัณฑิต
  • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา อบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR)
  • กิจกรรม Pre-BME Open House และกิจกรรมรังสิตวิชาการ
  • กิจกรรมทำบุญปีใหม่
  1. กิจกรรมพัฒนาความคิดแบบนวัตกรรมในการมุ่งทำความดีให้กับสังคม

 ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: ชมรมเครื่องมือแพทย์อาร์เอสยูเพื่อสังคมร่วมกับศูนย์ BIS

  • กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์
  • กิจกรรมการให้บริการทางวิชาการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมสโมสรนักศึกษา ด้านกีฬา ครอบครัว BMI สัมพันธ์น้องพี่ และ BME SAT ของนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าและค่ายอุปกรณ์ฯ
  • กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4
  • กิจกรรมงานบริการวิชาการโดยผ่านศูนย์บริการวิชาการของวิทยาลัย
  1. กิจกรรมพัฒนาความเป็นวิศวกรชีวการแพทย์และความเป็นผู้ประกอบการ

 ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: อาจารย์ และ ศูนย์ BIS

  • กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 4
  • กิจกรรมเสริมทางด้านภาษาต่างประเทศ
  • กิจกรรมมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก (Table Manners/ Dining Etiquette)
  • กิจกรรมนำเสนอผลงานของนักศึกษาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
  • กิจกรรมงานประกวดผลงานนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์
  • กิจกรรมการขอรับรองมาตรฐานการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน
  1. กิจกรรมการพัฒนาความเป็นสังคมครอบครัววิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต

ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน: สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

  • กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กิจกรรมงานรับปริญญา

ในการจัดแผนงานได้วางแผนการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายการจัดสรรงบประมาณ การส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิต รวมถึงผู้รับผิดชอบ โดยแผนจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ เป็นดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แผนจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์

อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

    ในการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้มักจะพบกับอุปสรรคหรือปัญหา โดยอุปสรรคหลักๆ และวิธีการแก้ไขมีดังนี้

  1. การขาดแรงจูงใจหรือความสนใจจากนักศึกษา
  • ปัญหา: นักศึกษาบางคนอาจไม่สนใจหรือไม่มีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมต่ำและขาดความกระตือรือร้น
  • การแก้ไข: การสร้างแรงจูงใจด้วยการออกแบบกิจกรรมที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับความสนใจของนักศึกษา การให้โอกาสนักศึกษาเลือกกิจกรรมที่ต้องการเอง
  1. ข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากร
  • ปัญหา: กิจกรรมบางอย่างต้องใช้ทรัพยากร เวลา หรือสถานที่ที่จำกัด ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำคัญ
  • การแก้ไข: การวางแผนให้เหมาะสมและเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  1. ความขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
  • ปัญหา: การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาจทำให้กิจกรรมไม่ได้คุณภาพหรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้
  • การแก้ไข: การเชิญวิทยากร หรือการร่วมมือกับภาคเอกชนอื่นๆ เพื่อเพิ่มบุคลากรและวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
  1. ความหลากหลายของความต้องการและความสนใจของนักศึกษา
  • ปัญหา: นักศึกษาแต่ละคนมีความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถตอบสนองทุกคนได้
  • การแก้ไข: การสำรวจความต้องการและความสนใจของนักศึกษาก่อนเริ่มกิจกรรม และจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อรองรับนักศึกษาที่มีความสนใจแตกต่างกัน

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

          วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ดำเนินการจัดทำ กิจกรรม/โครงการ ตามแผนงาน  ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน จำนวน 22 กิจกรรม/โครงการ โดยคณะกรรมการคณะทำงานกิจการนักศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญของวงจรคุณภาพ PDCA จึงได้ดำเนินการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาวิทยาลัยด้านการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  และยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทางวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา  โดยเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแผน ซึ่งอยู่ใน PDCA ของทุกกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ จัดขึ้น ดังนี้

 เป้าประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาสู่การจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา

  1. บัณฑิตมีความสุขและความท้าทายและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานและโลกในอนาคตเป็นโลกเดียวกัน
  2. บัณฑิตมีความรู้และทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมจนกลายเป็นที่ความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต
  3. บัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการทำงาน ประกอบกิจการรวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคม

          จากเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนานักศึกษา กำหนดแนวการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งสิ้น  22 กิจกรรม มีการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 22 กิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.64 คะแนน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ที่เป็นไปตาม พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดที่แสดงในแผนพัฒนานักศึกษา

          จากการประเมินกิจกรรมหรือโครงการที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2566  พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีความพร้อมปรับตัว และประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย  มีความตรงต่อเวลา  มีความพร้อมเพรียงให้ความสนใจในวัฒนธรรมองค์กร  มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นจำนวนมาก สามารถสรุปตามการกำหนดโมดูลการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ได้ดังนี้

          นักศึกษาชั้นปีที่ 1 “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” การประเมินศักยภาพตัวเอง การเข้าใจผู้อื่น การปลูกฝังสํานึกรับผิดชอบ มีค่านิยมและจริยธรรมผู้ประกอบการ และมีความคิดในเชิงบวก โดยมีการให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย ปลูกจิตสำนึกการเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ เป็นผู้ช่วยให้กับรุ่นพี่ปี 2 เรียนรู้งานที่จะสืบสานต่อในอนาคต ซึ่งในปีการศึกษา 2566 นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ขึ้นมาเรียนในชั้นปีที่ 2 โดยได้เรียนรู้งานต่างๆของรุ่นพี่ และได้รับผิดชอบการจัดงานต่างๆ ซึ่งทำได้อย่างดี  จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้ตนเอง และเข้าใจผู้อื่น และเต็มใจเข้าร่วมช่วยงานกิจกรรมของวิทยาลัย   กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มี 4 กิจกรรม ดังนี้

วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ดำเนินการจัดทำ กิจกรรม/โครงการ ตามแผนงาน  ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน จำนวน 22 กิจกรรม/โครงการ โดยคณะกรรมการคณะทำงานกิจการนักศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญของวงจรคุณภาพ PDCA จึงได้ดำเนินการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาวิทยาลัยด้านการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  และยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา จัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทางวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา  โดยเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแผน ซึ่งอยู่ใน PDCA ของทุกกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ จัดขึ้น ดังนี้

 เป้าประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาสู่การจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา

  1. บัณฑิตมีความสุขและความท้าทายและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานและโลกในอนาคตเป็นโลกเดียวกัน
  2. บัณฑิตมีความรู้และทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมจนกลายเป็นที่ความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคต
  3. บัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการทำงาน ประกอบกิจการรวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคม

จากเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนานักศึกษา กำหนดแนวการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  รวมทั้งสิ้น  22 กิจกรรม มีการประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 22 กิจกรรม ได้คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.64 คะแนน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ที่เป็นไปตาม พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดที่แสดงในแผนพัฒนานักศึกษา

จากการประเมินกิจกรรมหรือโครงการที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2566  พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีความพร้อมปรับตัว และประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย  มีความตรงต่อเวลา  มีความพร้อมเพรียงให้ความสนใจในวัฒนธรรมองค์กร  มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นจำนวนมาก สามารถสรุปตามการกำหนดโมดูลการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ได้ดังนี้

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 “เรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น” การประเมินศักยภาพตัวเอง การเข้าใจผู้อื่น การปลูกฝังสํานึกรับผิดชอบ มีค่านิยมและจริยธรรมผู้ประกอบการ และมีความคิดในเชิงบวก โดยมีการให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของวิทยาลัย ปลูกจิตสำนึกการเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ เป็นผู้ช่วยให้กับรุ่นพี่ปี 2 เรียนรู้งานที่จะสืบสานต่อในอนาคต ซึ่งในปีการศึกษา 2566 นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ขึ้นมาเรียนในชั้นปีที่ 2 โดยได้เรียนรู้งานต่างๆของรุ่นพี่ และได้รับผิดชอบการจัดงานต่างๆ ซึ่งทำได้อย่างดี  จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้ตนเอง และเข้าใจผู้อื่น และเต็มใจเข้าร่วมช่วยงานกิจกรรมของวิทยาลัย   กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มี 4 กิจกรรม ดังนี้

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาในชั้นปีที่ 2 จะพัฒนาต่อจากการเรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่นของชั้นปีที่ 1  เมื่อเรียนรู้ตนเอง เข้าใจผู้อื่น จึงก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ การมีมนุษย์สัมพันธ์ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมในวิทยาลัย สามารถสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เป็นสโมสรนักศึกษา ซึ่งจะรับผิดชอบงานกิจกรรมของวิทยาลัย  โดยผลงานของนักศึกษาวัดจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว และพร้อมที่จะขึ้นสู่การทำงานในชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคมในชั้นปีที่ 3 จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2  มีความปรารถนาอันแรงกล้า มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม โดยทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วง นักศึกษามีทัศนคติในการทำงาน รู้จักการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย รู้จักการทำงานร่วมกัน กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นสโมสรนักศึกษารับผิดชอบในการจัดงานทั้งหมด 6 กิจกรรม ดังนี้  

  • กิจกรรมงานทำบุญปีใหม่ วิทยาลัยฯ และ วันคืนสู่เหย้าของศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมงานทำบุญสงกรานต์
  • โครงการงานรับปริญญาแก่บัณฑิต
  • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา อบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR)
  • กิจกรรม Pre-BME Open House และกิจกรรมรังสิตวิชาการ
  • การอบรมสัมมนาเรื่อง Cardiopulmonary Resuscitation (CPR)

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จะพัฒนาต่อจากโมดูลที่ 2  การเตรียมความพร้อมด้านคุณวุฒิวิชาชีพ 1 การพัฒนาภาษาอังกฤษ การมีภาวะผู้นำ มีความคิดเชื่อมโยง มีทักษะในการทำงานเป็นทีมในสังคม สามารถสร้างเครือข่าย การพัฒนานวัตกรรม การสร้างเสริมองค์ความรู้ และการสร้างแนวคิดธุรกิจให้กับนักศึกษา โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทำงานให้กับชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคม ซึ่งจะรับผิดชอบงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ได้แก่ งานบริการวิชาการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ งานออกค่ายต่างๆ เป็นต้น มีการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสื่อสารให้กับนักศึกษาทำให้นักศึกษาสามารถสอบผ่าน CEFR ระดับ B1 ได้ถึงร้อยละ 84.31 จากนักศึกษาที่เข้าสอบ โดยผลของนักศึกษาวัดจากการจัดกิจกรรมออกค่าย การทำงานเพื่อสังคม ที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่ให้บริการ โดยให้มาบริการงานวิชาการในปีต่อๆ ไป กิจกรรมที่ชมรมอาร์เอสยูเพื่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีทั้งสิ้น 6 กิจกรรม ดังนี้

  • โครงการงานสานสัมพันธ์วิศวกรรมชีวการแพทย์
  • กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่า และเครือข่ายพันธมิตรทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ โครงการค่ายวิศวกรชีวการแพทย์สัญจร
  • โครงการการอบรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
  • กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา: บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • โครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า ซึ่งดำเนินงานภายใต้รายวิชาทางด้านเครื่องมือแพทย์
  • โครงการบริการวิชาการแบบแบบมีรายได้ ซึ่งดำเนินงานภายใต้ศูนย์ BIS

จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที 3 มีภาวะความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อการจัดงานได้อย่างดีเยี่ยม มีความคิดเชื่อมโยง มีทักษะในการทำงานเป็นทีม และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และหน่วยงานภายนอกได้ให้ความไว้วางใจในการดำเนินงานบริการวิชาการในปีต่อไป

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 กิจกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาต่อเนื่องจากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 การเตรียมความพร้อมด้านคุณวุฒิวิชาชีพ  การขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การพัฒนามาตรฐานภาษาอังกฤษ มีการทดลองทักษะการคิดสร้างสรรค์ การทดลองสร้างนวัตกรรม การทดลองสร้างแนวคิดธุรกิจใหม่ โดยมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมภายนอกในรูปแบบการทำโครงงานสร้างนวัตกรรม การประกวดโครงงาน การแสดงผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการ และการแสดงนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในงานปัจฉิมนิเทศ

เมื่อนักศึกษามีโอกาสได้ออกไปฝึกฝนประสบการณ์ในวิชาชีพ ด้วยการบริการสังคม จะทำให้นักศึกษาได้มองเห็นแนวทางของการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต จากการสังเกตของอาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ขณะวางแผนร่วมกันก่อนจัดกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม และหลังจากการทำกิจกรรม  สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที 4 มีความพร้อมในการเข้าร่วมการประกวดต่างๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของตนเอง  มีความพร้อมในการนำเสนอผลงานในระดับชาติ มีความมั่นใจที่จะก้าวเข้าสู่การทำงาน สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องปี 3 ในด้านการบริการวิชาการสู่สังคม ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่จบการศึกษาสามารถมีงานทำอย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้เข้าร่วมและจัดงานมีจำนวนทั้งสิ้น 9 กิจกรรม ดังนี้

  • โครงการสนับสนุนและส่งเสริมนักศึกษานำเสนอผลงานวิชาการและ Pitching Idea ในงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (HTCON 2023) วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • โครงการอบรมสัมมนาเรื่อง แนวทางการขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • โครงการงานบริการวิชาการทางด้านการดูแลบำรุงรักษาเครืองมือแพทย์ ให้กับฝ่ายแพทย์หลวงพระบรม มหาราชวัง โดยปี 4 จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับปี 3
  • โครงการงานบริการวิชาการทางด้านการดูแลบำรุงรักษาเครืองมือแพทย์ ให้กับ คลินิกมูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ วัดสุทธาราม กรุงเทพ มหานคร โดยปี 4 จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับปี 3
  • โครงการส่งผลงานนักศึกษาประกวดงาน Thailand New Gen Inventors Award 2024 (I – New Gen Award 2024) ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2567 โดยผลงานที่ส่งประกวดมี 6 ชิ้นงาน มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4, 3, 2 และปีที่ 1 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน
  • โครงการส่งผลงานนักศึกษาเข้าร่วมประกวดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” Thailand Research Expo 2023 ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน
  • กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน โครงการปัจฉิมนิเทศ และ BME Innovation2024 & Job Fair
  • กิจกรรมมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก (Table Manners/ Dining Etiquette) โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิทยาลัยการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กิจกรรมการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาในด้านวิชาชีพ และความเป็นนานาชาติ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น

จากการจัดกิจกรรมให้ทั้ง 4 ชั้นปี ได้บรรลุตามเป้าประสงค์ของวิทยาลัย โดยนักศึกษาจบเป็นบัณฑิตมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ มีความคิดในเชิงนวัตกรรมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการเรียน โลกแห่งการทำงานได้ สามารถทำงานให้กับหน่วยงานได้อย่างดี บัณฑิตมีทักษะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี ทักษะในด้านความเป็นสากลทั้งในด้านการสื่อสารได้ มีความมั่นใจในตนเองสำหรับการทำงาน และบัณฑิตมีทัศนคติ ความประพฤติอย่างมีคุณธรรมและสร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆทำให้บัณฑิตบางคนได้งานก่อนจบการศึกษา

 

ผลการประเมินตามคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.86  อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบไปด้วย (1) ความซื่อสัตย์สุจริต ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (2) ความมีนํ้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (3) ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (4) ความขยันอดทน อุตสาหะ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (5) การตรงต่อเวลา ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73

2) ด้านความรู้ ประกอบไปด้วย (1) ความรู้ในสาขาวิชาที่เรียน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.80 (2) ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (3) ความสามารถในการนำเสนองานที่ทำ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (4) ความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93

3) ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบไปด้วย (1) ความสามารถในการเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนางาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.73 (2) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (3) ความรู้ ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหางานที่รับผิดชอบ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (4) การแสวงหาความรู้ใหม่ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93

4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลความรับผิดชอบ ประกอบไปด้วย (1) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (2) การแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (3) ความรับผิดชอบต่องานที่ทำ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (4) ความสามารถในการบริหารจัดการ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.80

5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย (1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (2) การใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์/สถิติกับงานที่ทำ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87 (3) ทักษะในการสื่อสารและประสานงาน ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.93 (4) ทักษะในการใช้อุปกรณ์/เทคโนโลยี/คอมพิวเตอร์ ระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ย 4.87

จากการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนานักศึกษามีผลทำให้ นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกระดับชาติและนานาชาติ มากมาย ดังนี้

ระดับมหาวิทยาลัย:

  1. บัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับรางวัลบัณฑิตเหรียญทองสังคมธรรมาธิปไตย
  2. บัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับรางวัลบัณฑิตเหรียญทองดีเด่น มหาวิทยาลัยรังสิต
  3. มหาบัณฑิตจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปีการศึกษา 2566
  4. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลคนดีศรีรังสิต
  5. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลนักศึกษากิจกรรมชมรมดีเด่น
  6. ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลศิษย์เก่ายอดเยี่ยม ผู้ประสบความสำเร็จในด้านวิชาชีพ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและเอกชน

ระดับชาติ:

1. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับทุนจากโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED FUND) จำนวน 100,000 บาท เพื่อจัดทำผลงานเครื่องวัดกรดยูริกแบบไม่รุกล้ำ

2. นักศึกษานำเสนอผลงานวิชาการและ Pitching Idea ในงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (HTCON 2023) โดยนำเสนอบทความรวมทั้งสิ้น 6 บทความ ได้รับประกาศนียบัตรเข้าร่วมนำเสนอผลงาน

3. นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้เข้าแข่งขันประกวดงาน Pitching Idea ในงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีสุขภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (HTCON 2023) โดยนำเสนอผลงานรวมทั้งสิ้น 5 ชิ้นงาน

4. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับรางวัล 1 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดงจากการประกวดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” Thailand Research Expo 2023

5. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับรางวัล 5 เหรียญทอง จากการประกวดงาน Thailand New Gen Inventor Award 2024 (I-New Gen Award 2024) ประจำปี 2567

6. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่ 4 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Seed for the Future ไปทัศนศึกษาที่ประเทศจีนและเยี่ยมชมนิทรรศการ Huawei Connect ที่เซี่ยงไฮ้

7. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย ในโครงการประกวดผลงานวิจัย ในงาน Thailand Start up League x Japan Expo Thailand 2024 ณ EDEN 3 @ Central World

8. นักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาประยุกต์ งานแข่งขันโครงการ “ Brain Hackathon ” ได้ เงินรางวัล 10,000 บาท จากทีม Victory Monkey

9. นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผ่านเข้ารอบการคัดเลือกกิจกรรม DIPROM x DELTA ANGLE FUND 2024 ในหัวข้อ แอปพลิเคชันนวัตกรรมช่วยวางแผนการท่องเที่ยว และกำลังเข้าอบรมต่อในรอบที่ 2

10. ศิษย์เก่าของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดแข่งขันในงาน AI/Robotics for All Super Engineering Season 3

ระดับนานาชาติ:

  1. นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและร่วมจัดนิทรรศการในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง วิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 16 ณ ห้อง ออดิทอเรียม ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี วันที่ 8-11 สิงหาคม 2566 และแสดงนิทรรศการผลงาน
  2. นักศึกษาระดับปริญญาโท ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต รางวัลเหรียญทอง ระดับนานาชาติ จากการประกวดแข่งขันผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จากการแข่งขันงาน 2023 Kaohsiung International Invention & Design EXPO held on 1-2 Dec 2023 in Kaohsiung ณ ประเทศไต้หวัน

จากผลงานข้างต้นเป็นผลที่เกิดกับนักศึกษาตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตและยังได้สร้างชื่อสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงอีกทางหนึ่ง ดังนี้

KR1.1.4 จำนวนนักศึกษาแรกเข้าในระดับปริญญาตรีเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน มคอ.2 มีจำนวน 138 คน

KR1.2.1  มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและสอดคล้องมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง  โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยการจัดกระบวนการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนในทุกระดับ ที่เน้นการพัฒนาวิศวกรชีวการแพทย์ที่มีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ มีสมรรถนะและโลกทัศน์ในระดับสากล

KR1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ จำนวน 22 กิจกรรม

KR1.3.1 อัตราการได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษามากกว่า 65% ของผู้สำเร็จการศึกษา ร้อยละ 100

KR1.3.2 จำนวนนักศึกษาหรือบัณฑิตที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ/ได้รับรางวัลหรือการยกย่องชมเชย ระดับชาติขึ้นไป/ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ/ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูง  99 คน

KR 5.1.10 อัตราการได้งานของบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ 100%

KR5.1.11 นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า มีชื่อเสียงหรือได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

จากผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาคณะ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านงานวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา ผลความสำเร็จไปตาม KR1.2.4 กิจกรรม/โครงการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์บรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จและวัตถุประสงค์ทุกข้อ

สำหรับการพัฒนานักศึกษาให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ของคณะและวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาที่ตั้งไว้ เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะในอนาคต ประสบความสำเร็จตาม Key Result สามารถดำเนินการได้ดังนี้:

  1. ประเมินและปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ การประเมินหลังการดำเนินกิจกรรม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  2. เสริมสร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษา บูรณาการเทคโนโลยี โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนากิจกรรม เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่ใช้ได้จริงในสายอาชีพ โดยการจัดโปรแกรมฝึกงานหรือโครงการที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาของตนเอง โดยการสนับสนุนด้านทุนวิจัยและการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และ ส่งเสริมการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบัณฑิต
  4. การบริหารภาพลักษณ์และการสร้างชื่อเสียง พัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคณะ โดยการใช้ช่องทางออนไลน์เช่น Youtube, TikTok และ Instagram เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จและความเป็นเลิศทางการศึกษาและการวิจัยของคณะ พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่น ภาคอุตสาหกรรม องค์กรภาครัฐ และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างชื่อเสียงและเปิดโอกาสในการพัฒนานักศึกษาในระดับสากล      
Scroll to Top