รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.1.1

"หลักสูตรนวัตกรรมเกษตรแนวใหม่ โดนใจ Gen Z"

ผู้จัดทำโครงการ​

อาจารย์ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด อาจารย์ประณต มณีอินทร์
รศ.ดร. บัญญัติ เศรษฐฐิติ ดร.อาทิตย์ พงษ์ทิพย์
และ อาจารย์ธนกร พรมโคตรค้า

คณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          หลักสูตรนวัตกรรมเกษตร คือ เป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และ
เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล โดยใช้ข้อมูลของต้นพืช สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการตัดสินใจปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาต้นพืชอย่างพอเหมาะ รวมถึงการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพเอาไว้ให้นานที่สุด เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ผลิตผลเกษตรที่สําคัญของโลก แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตต่ํา ทําให้เกษตรกรของไทยยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน ขณะเดียวกันจํานวนประชากรที่สูงขึ้น ชุมชนเมืองที่ขยายตัว พื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง
สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากปัญหาโลกร้อน รวมทั้งความต้องการผลิตผลเกษตรเพื่อแปลงเป็นพลังงานที่สูงขึ้น ทําให้เกษตรกรรมแบบดั้งเดิมยิ่งไม่สามารถให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการได้ และความพยายามในการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีเดิมๆ กลับทําให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ จากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจําเป็น นอกจากนี้ผลิตผลเกษตรจํานวนมากยังคงสูญเสียไปตั้งแต่เก็บเกี่ยวตลอดเส้นทางไปสู่ผู้บริโภคหรือสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีพอ นวัตกรรมเกษตรจึงเป็นศาสตร์ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย เกษตรกรรมแบบแม่นยําสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรกรรมในเมือง และเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมไปถึงการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร นวัตกรรมเกษตรจึงเป็นเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นและถือว่าเป็นเกษตรกรรมของอนาคตอย่างแท้จริง นวัตกรรมเกษตรจะเป็นเครื่องมือสําคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสําคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป หลักสูตรนวัตกรรมเกษตร ได้เปิดทําการเรียนการสอนครั้งแรก ในปี 2557 โดยการออกแบบหลักสูตรในปีแรก เป็นการออกแบบหลักสูตรแบบ Central Design ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดย และครบรอบปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 1.ในปี 2561 และหลักสูตรปรับปรุง ปี 2562 ครบรอบปรับปรุงหลักสูตร ในปี 2566 และเปิดการเรียนการสอนในปี 2567 ซึ่งหลักสูตร ปี 2557 เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Student center จากการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 1
          ทางหลักสูตรได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จ าเป็นในการพัฒนา (ปรับปรุง) หลักสูตร ตามเป้าหมายการพัฒนาด้านการเกษตร แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และกรอบ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (value-based economy) ที่ใช้ความได้เปรียบที่ประเทศ เรามีอยู่แล้ว คือ ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติทั้งนี้ประเทศไทยมีนโยบาย การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG model) และสังคมคาร์บอนต ่า รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้าและการเคลื่อนย้ายอาชีพการท างาน ท าให้เกิดการแข่งขันทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ซึ่งรวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งกระทบต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของสินค้าเกษตร ด้วยแผนพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจชาติดังกล่าว รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยีนวัตกรรม และสังคม ท าให้เกิดการแข่งขันกันด้วยความรู้ความสามารถ และทักษะวิชาชีพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเพิ่มการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาด้านเกษตรที่รองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงข้างต้น และนอกจากนี้ทางหลักสูตรยังได้มีการวิเคราะห์ความต้องการของสังคม ตลาดงาน และหรือผู้ใช้บัณฑิตด้วย วิธีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย กับการผลิตบัณฑิตของหลักสูตร ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรและนวัตกรรมเกษตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ในการวิเคราะห์ความต้องการของ Stakeholders ทางคณะกรรมการหลักสูตรได้ใช้วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูลหลายวิธี

ความรู้ที่เป็นประเด็นสําคัญที่นํามาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรคือ : “Backward Curriculum Design :
BCD”
          เป็นกระบวนการออกแบบหลักสูตรแบบ ย้อนกลับ ที่ทางคณะนํามาปรับใช้ในการออกแบบหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร โดยนําเอาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Outcomes – Based Education ; OBE) มาออกแบบแผนการดําเนินงาน ซึ่งการออกแบบต้องคํานึงถึงความสอดคล้อง ให้ไปในแนวเดียวกันของผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) วิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Assessment method) และการจัดการเรียนการ (Teaching/ Learning Approaches) ซึ่งการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ (Backward Curriculum Design ; BCD) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่สําคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กําหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Identify desired goals/ Outcomes) ขั้นตอนที่ 2 กําหนดหลักฐานและวิธีวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Determine Acceptable Evidence/Assessment) ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Plan learning experiences and Instruction/Activities) ดังแสดงในภาพที่ 1

ซึ่งการกําหนดผลลัพธ์การเรียนรู้จะต้องเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ของหลักสูตร เช่นผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมเกษตร ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงตัวบัณฑิต แล้วจึงนําข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) แล้วจึงนํามาถอดเป็นหลักสูตร (Curriculum) แล้วนําไปจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินผลแล้วดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หากผลลัพธ์และ Feedback ที่ได้เป็นไปนืทศทางที่ดี ให้จัดไว้เป็น Standardized แต่หากยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง ให้นําไปพัฒนาต่อ หรือไปสอบถามความต้องการของ Stakeholders ซ้ําอีกครั้ง ซึ่งกลไกที่ทางคณะใช้ในการออกแบบเพื่อปรับปรุงหลักสูตร จะเป็นวงจร PDCA เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตามภาพที่ 2 นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังได้มีการนําแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ประเด็นการพัฒนาความมั่นคงด้านการเกษตร และอาหารของประเทศและชุมชน ในมิติปริมาณ คุณภาพ ราคาและการเข้าถึงอาหารมาใช้ประกอบ การออกแบบหลักสูตร รวมถึง นโยบายรับมือการผลิตทางการเกษตรในภาวะโลกร้อนอีกด้วย

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

  • อื่น ๆ (โปรดระบุ) เจ้าของความรู้ นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • อื่น ๆ (ระบุ) เจ้าของความรู้ถอดความรู้กระบวนการจัดทำหลักสูตร หลังจากที่ได้ดำเนินการมา
    อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557

วิธีการดำเนินการ

ขั้นตอนที่ 1 กําหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Identify desired goals/Outcomes)


กําหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในหลักสูตร โดยหลักสูตร ได้มีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการวิพากษ์ หลักสูตร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) พร้อมออกหนังสือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆมาให้ความเห็น เกี่ยวกับทิศทาง และคุณลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการ ทางหลักสูตรมีการระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ชัดเจน ให้ครอบคลุม ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcomes Base Learning) 3 ด้าน ได้แก่ Knowledge (ด้านความรู้) ด้านทักษะ (Skill) และด้านลักษณะส่วนบุคคล (Attitude) ว่าความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านทัศนคติ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อสําเร็จการศึกษาจากหลักสูตร โดยตั้งคําถามสําคัญ (Essential Questions) เพื่อใช้กําหนดเป็นกรอบความคิดหลักว่า เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตรแล้ว บัณฑิตควรมีความรู้อะไร และมีความเข้าใจในหัวข้อความรู้หรือสาระการเรียนที่เป็นแก่นสําคัญใน เรื่องใดบ้างควรปฏิบัติและแสดงความสามารถในเรื่องใดบ้าง ระบุความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สําคัญของหลักสูตร จากนั้นคณะกรรมการประจําหลักสูตรทําการรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
(Stakeholders’ Need Analysis) ซึ่งถือเป็น กระบวนการสําคัญในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้แน่ใจว่าหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยตรงกับความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงาน “demand drive” ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และเป็นการรองรับทิศทางการเติบโต ของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร กําหนด Program Learning Outcomes : PLOs ออกแบบหลักสูตร กําหนดเนื้อหาวิชา โครงสร้างหลักสูตร (Structured and progressive) CLOs,YLOs ออกแบบกระบวนวิชา Course Learning Outcomes

ขั้นตอนที่ 2 กําหนดหลักฐานและวิธีวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Determine Acceptable
Evidence/Assessment)
ระบุเครื่องมือที่ใช้วัดประเมินผลและวิธีการวัดประเมินผล โดยเน้นการวัดจากพฤติกรรมการเรียนรู้ รวบยอด (Performance Assessment) เพื่อประเมินว่าผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นผลมาจาก การมีความรู้ความเข้าใจตามเกณฑ์ที ่ได้กําหนดไว้ในเป้าหมายหลักของการจัดการเรียนรู ้ได้จริงหรือไม่ อะไรคือ ร่องรอยหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนรู้และสามารถทําได้ตามที่มาตรฐานกําหนด ซึ่งทางหลักสูตร ได้มีการประเมินผลทั้ง 3 ระยะคือ ประเมินผลก่อนเรียน ในระหว่างเรียน และเมื่อสิ้นสุดการเรียน โดยใช้เครื่องมือการวัดในหลากหลายรูปแบบ เช่น การประเมินก่อน-หลังการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ การสังเกต การพูดคุย การทดสอบย่อยการกําหนดโจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ให้ผู้เรียนคิด การลงมือปฏิบัติ(ในรายวิชาปฏิบัติการ) การสังเกตความพร้อมทางการเรียน การสังเกตการทํากิจกรรม การตรวจการบ้าน การสอบบูรณาการ การสะท้อนผลจากชิ้นงาน โดยเฉพาะรายงานโครงการพิเศษ ซึ่งทางหลักสูตรใช้เป็นการประเมินทักษะความสามารถ (Performance) ของผู้เรียน ว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ เพราะเป็นชิ้นงานที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ของผู้เรียนอย่างชัดเจน

ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Plan learning experiences and Instruction)
เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามหลักฐานการแสดงออกที่ระบุไว้ใน ขั้นที่ 2 เพื่อเป็น หลักฐานว่าผู้เรียน มีความรู้ ความสามารถตามที่กําาหนดไว้ในขั้นที่ 1 โดยผู้สอนมีการวางแผนการเรียนการสอน ว่าจะจัด กิจกรรม อย่างไรจึงจะสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้ตามที่มาตรฐานกําหนดไว้ การกําหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้รูปแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ให้มีความกลมกลืน สอดคล้องและมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งผลต่อการวัดประเมินผลได้ชัดเจน การทวนสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome Verification)

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

ผลจากการปรับปรุงหลักสูตรตามรูปแบบของ Backward Curriculum Design : BCD มีผลทําให้
2.1 มีจํานวนนักศึกษาแรกเข้าเพิ่มขึ้น
นักเรียนมัธยมปลายให้ความสนใจสมัครเรียนคณะนวัตกรรมเกษตรเพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัด จาก จํานวน –
38 คน ในปี 2561 เพิ่มเป็น 71 คนในปี 2562 หลังการปรับปรุงหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 186.84 และหลังจากนั้น
จํานวนนักศึกษาแรกเข้าของคณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปี 2565-2566 ดังแสดงในภาพที่ 3 เป็นผลจาก
กระแสการชูประเด็นการวิจัยพัฒนา ด้าน Plant wellness ไม่ว่าจะเป็นกัญชาทางการแพทย์ เห็ดทางการแพทย์
หรือ พืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการนํามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น บัวอียิปต์ ฮอปส์ ไข่ผําและ
วานิลา เป็นต้น

2.2 มีนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกให้นําเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ
โดยในปี 2566 มีนักศึกษาของคณะนวัตกรรมเกษตร ได้รับการพิจารณาให้นําเสนอผลงานวิจัยหรือ
โครงการพิเศษในงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21 จํานวน 4
คน ซึ่งการนําเสนอผลงานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของของการดําเนินงานปรับปรุงหลักสูตรใน
ขั้นตอนที่ 2 ตามหลักการของ BCD : Backward Curriculum Design

2.3 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตร ผ่านช่องทางสื่อโซเชียลได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น
คณะนวัตกรรมเกษตรได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมการเรียนการสอนของคณะ ผ่านสื่อโซเชียลช่องทางต่างๆ และมีผู้ให้ความสนใจ และติดตาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงให้เห็นถึงความสนใจในหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร ของบุคคลทั่วไป ดังแสดงในภาพที่ 5-8

ภาพที่ 5 หลักฐานแสดงการติดตามข้อมูลข่าวสารของคณะผ่านช่องทาง Fanpage Facebook

ภาพที่ 6 หลักฐานแสดงการติดตามข้อมูลข่าวสารของคณะผ่านช่องทาง Tiktok

ภาพที่ 7 หลักฐานแสดงการติดตามข้อมูลข่าวสารของคณะผ่านช่องทาง IG

ภาพที่ 8 หลักฐาน การติดตามข้อมูลผ่านช่องทาง facebook live

2.4 มีจำนวนนักเรียนมัธยมปลายให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนของคณะนวัตกรรมเกษตร ในงาน Open House ในระดับสูง จากการที่สำนักงานรับนักศึกษาได้จัดกิจกรรมเปิดบ้าน (Open House) เป็นประจำทุกปี และในส่วนของคณะได้มีการจัดกิจกรรมเยี่ยมชมผลงานการจัดการเรียนการสอนในคณะ มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมฐานของคณะจำนวนมาก จากการรวบรวมข้อมูลสถิติ ผู้ลงทะเบียนของแต่ละคณะ ทั้งลงทะเบียนล่วงหน้าและลงทะเบียนหน้างาน คณะนวัตกรรมเกษตร อยู่ในอันดับ ทอป 10 .ในกลุ่มคณะที่ได้รับความสนใจ

ภาพที่ 9 หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมฐาน OPH ของคณะนวัตกรรมเกษตร

ภาพที่ 10 หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมฐาน OPH ของคณะนวัตกรรมเกษตรในปี 2023-2024

2.5 มีนักเรียนมํธยมปลายให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการค่าย SMART AG-INNOVATION CAMP เพิ่มขี้น คณะนวัตกรรมเกษตร ได้จัดโครงการ ค่าย SMART AG-INNOVATION CAMP ขึ้น 2 รอบ รอบแรก วันที่ 1– 18 กุมภาพันธ์ 2567 ผลการดำเนินงานในภาพรวม มีผู้สนใจลงชื่อเข้าร่วมโครงการจำนวน 44 คน มีนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมจริง 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีผลการประเมินเชิงคุณภาพ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับดี และดีมาก และการจัดโครงการค่าย SMART AG-INNOVATION CAMP 2 ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม พ.ศ.2567 มีนักเรียนมัธยมตอนปลายเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 34 คน และมีคะแนนประเมินความสนใจในกิจกรรมฐานแต่ละฐาน ดังแสดงในภาพที่ 10

2.6 หลักสูตรมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หลักสูตรมีหน่วยงานพันธมิตร ที่ให้ความอนุเคราะห์ทางด้านวิชาการศึกษาดูงาน ฝึกงานและฝึกสหกิจศึกษา
มั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมี่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมเกษตร ตัวอย่างหน่วยงานพันธมิตรดังแสดงใน
ตาราง ที่ 1

นอกจากนี้ยังมีได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) (ดังแสดงในภาพที่ 11) กับ Guizhou University for Nationalities ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1951 โดยสังกัดรัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจว เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่สำคัญแห่งแรกของมณฑลกุ้ยโจว รัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจวและคณะกรรมการกิจการพลเรือนแห่งชาติร่วมกันสร้างขึ้นและมหาวิทยาลัยกุ้ยโจ้วเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรติดอันดับต้นๆของประเทศจีน และ ในช่วงระหว่าง วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 – 30 กรกฎาคม 2567 ทางหลักสูตรได้มีการส่งนักศึกษา จำนวน 7 คน ไปฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อาทิ การเพาะเลี้ยงเชื้อ การคัดแยกเชื้อ การทดสอบกิจกรรมการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญของพืชสมุนไพร

ภาพที่ 11 หลักฐานแสดงข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ Guizhou University for Nationalities

2.7 บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากทางหลักสูตรมีอัตราการได้งานทำสูง
นางสาวบุญญานุช เมืองแก้ว รหัสนักศึกษา 6105127 เร็จการศึกษา เมื่อปี 2565 สามารถสอบเข้ารับราชการตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ สังกัดกรมวิชาการเกษตร เป็นนักศึกษาทุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตนิยมอันดับ 1 นอกจากนี้ยังมีนางสาวกนกวรรณ นันทเส รหัส นักศึกษา 6303860 เป็นนักศึกษาทุนต้นกล้าพัฒนาประเทศ และเป็นนักศึกษาแผนสหกิจศึกษา ฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่บริษัท วี้ดแลนด์ เมดิคอล จำกัด ในช่วงที่ฝึกสหกิจ นักศึกษาสามารรถเขียน SOP ให้กับทางบริษัท มีผลทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัท ลดขั้นตอนการทำงาน การทำงานมีประสิทธิภาพ มีผลกำไรเพิ่มขึ้น ทางบริษัทจองตัวให้เข้าร่วมงาน และสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมเหรียญทอง และปัจจุบันเข้าทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร กับบริษัท วี้ดแลนด์ เมดิคอล จำกัด (ภาพที่ 12)

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK


การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทาง Outcome-Based Education(OBE) : Backward
Curriculum Design มี concept คือ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตรงตามวัตถุประสงค์และแนว
ทางการดําเนินงานที่ตรงกัน (clear concept) ที่หลักสูตรจะกําหนดไว้ มคอ.2 ที่จะกําหนดการกระทํา/พฤติกรรม
ใดเพื่อตอบผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (พฤติกรรมที่หลักสูตรกําหนดใน TQF) ซึ่งผลการดําเนินการออกแบบ
หลักสูตรตามหลัก BCD ทําให้คณะมีคะแนนประเมินผลการดําเนินงานของหลักสูตร จากคณะกรรมการตรวจ
ประเมินภายในมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น โดยในปี 2565 มีคะแนนเฉลี่ย 3.91 อยู่ในระดับดี และในปี 2566 มีคะแนน
เฉลี่ย 4.15 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ดังแสดงในภาพ 13

ภาพที่ 13 แสดงคะแนนประเมินผลการำเนินงานของหลักสูตร

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้(Outcomes Base Learning) 3 ด้าน ได้แก่ Knowledge (ด้านความรู้)
ด้านทักษะ (Skill) และด้านลักษณะส่วนบุคคล (Attitude) โดยเฉพาะด้าน ลักษณะส่วนบุคคล (Attitude) เป็นการ
ประเมินที่ทําได้ค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่ผลลัพธ์ด้านนี้จะแฝงอยู่ในด้านความรู้และด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องมี
ทักษะในการจัดกระบวนการสอนเพื่อให้สัมพันธ์กับประเมินด้านนี้ด้วย

Scroll to Top