รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.3.2

โครงการผลักดันเข้าสู่รางวัลยอดเยี่ยม Young Thai Artist Award 2024

ผู้จัดทำโครงการ​

อ.อุกฤษฎ์ จอมยิ้ม

วิทยาลัยการออกแบบ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

             ระบบการเรียนการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของหลักสูตรศิลปะภาพถ่ายและมีเดียอาร์ต คือการพยายามผลักดันให้ผลงานของนักศึกษาเป็นที่รู้จักแก่สาธารณะชน ไม่ว่าจะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) การจัดนิทรรศการในพื้นที่แสดงงานศิลปะทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญและเป็นพันธกิจของหลักสูตรมายาวนาน คือ การพยายามผลักดันให้ผลงาน เผยแพร่ผ่านเวทีงานประกวดศิลปะภาพถ่าย ทั้งเวทีภายในประเทศและเวทีต่างประเทศ

               ในรอบหลายปีที่ผ่านมาทางหลักสูตรฯ ได้ร่วมผลักดันให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดผลงานสร้างสรรค์ ในเวทีการประกวด YOUNG THAI ARTIST AWARD ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ SCG เป็นเวทีการประกวดที่เปิดโอกาสให้กับผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่หลากหลาย ซึ่งศิลปะภาพถ่ายเป็นหนึ่งในงานสร้างสรรค์ที่ถูกบรรจุให้เป็นสาขาหนึ่งของเวทีการประกวด ทั้งนี้ในทุกปีที่ผ่านมานักศึกษาสาขาศิลปะภาพถ่ายฯ จะได้เข้ารอบและชนะรางวัลในระดับยอดเยี่ยมทุกปี มีเงินรางวัล 50,000 บาท สำหรับผู้ที่เข้ารอบมาในระดับนี้ แต่ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา นักศึกษาสามารถสร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้พร้อมรับเงินรางวัล 300,000  บาท จึงเป็นที่มาของการทำรายงานแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของโครงการที่สามารถผลักดันนักศึกษาสามารถที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่นำไปสู่เวทีการประกวดงานสร้างสรรค์ระดับชาติ

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

            ในโครงการนี้ทางหลักสูตรฯ ได้นำองค์ความรู้ในรายวิชา PHO312 ศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย และ PHO 361ศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ   เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งสองรายวิชาโดยอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่ายในระดับนานาชาติ ซึ่งในรายละเอียดรายวิชาจะมีกระบวนการให้นักศึกษาทำความเข้าใจปรากฏการณ์การทำงานศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย ที่สามารถนำประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน นักศึกษาจะต้องมีกระบวนการนำความรู้ทางด้านนี้มานำเสนอหัวข้อกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อที่จะนำข้อมูลไปพัฒนาเป็นผลงานสร้างสรรค์ มีกระบวนการทดลองทั้งในด้านเทคนิคและทดลองแนวความคิด โดยเฉพาะเทคนิคของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่สามารถสื่อให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ได้ มีการนำสัญญะทางศิลปะร่วมสมัยมาใช้อย่างมีเหตุมีผล                

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรูแบบชัดแจง (Explicit Knowledge)

  • อื่น ๆ (โปรดระบุ)ความรูในทางวิชาชีพที่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน และความรูในเชิงปฏิบัติการ
    จากเจาของโครงการ

ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • อื่น ๆ (ระบุ) ความรูของหลักสูตรศิลปะภาพถายและมีเดียอารต และจากอาจรยผูสอนประจํารายวิชา
    รวมถึงศิลปนภาพถายรับเชิญ

วิธีการดำเนินการ

เริ่มจากการการนำรายวิชา PHO312 ศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย และ PHO 361ศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ ที่มีกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ความเข้าใจเชิงลึกในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงวิชาชีพ เชิงปรัชญา เน้นความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียภาพของศิลปะภาพถ่าย ที่สัมพันธ์กับสื่อแขนงอื่น บทบาททางสังคม การวิเคราะห์ ผ่านการจัดเสวนาร่วมกับศิลปินรับเชิญที่มีความเชี่ยวชาญในด้านศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์โครงงานส่วนบุคคล โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้      

  1. ในชั้นเรียนแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ให้เลือกหัวข้อที่นักศึกษาสนใจและมีความถนัดในเชิงเทคนิคทางด้านใด จากนั้นอธิบายพื้นฐานการทำงานของงานศิลปะร่วมสมัยที่มีผลต่อประเด็นทางด้านสังคมในแต่ละยุคสมัย
  2. ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่สนใจจะทำงานศิลปะภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อที่อาจารย์ประจำวิชาให้โจทย์ไว้ เช่น ความทรงจำที่สัมพันธ์กับประเด็นทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นหัวข้อกว้างๆ ทั้งก็เพื่อสร้างทางเลือกให้กับนักศึกษา ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เข้ากับแนวความคิดของเวทีการประกวดของ YOUNG THAI ARTIST AWARD 3. ให้นักศึกษานำผลงานสร้างสรรค์ที่ทำขึ้นภายใต้หัวข้อที่เลือกไว้ ให้อาจารย์ประจำรายวิชาและทีมศิลปินภาพถ่ายรับเชิญร่วมกันวิจารณ์งาน เพื่อให้นักศึกษานำคำวิจารณ์ไปพัฒนาผลงานของตนเอง ในกระบวนการนี้อาจารย์ประจำรายวิชาจะให้นักศึกษาทำงานส่งตรวจและวิจารณ์ทั้งหมด 3 ครั้ง
  3. ให้นักศึกษานำผลงาน final ไปดำเนินงานติดตั้งในพื้นที่หอศิลป์ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการติดตั้งแสดงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกฎของเวทีงานประกวดสำหรับผู้ที่เข้ารอบก่อนคัดเลือก 5 คนต้องแสดงงานนิทรรศการในพื้นที่หอศิลป์ เพื่อให้กรรมการตรวจเป็นครั้งสุดท้ายก่อนประกาศผลรางวัล ดังนั้นการฝึกติดตั้งแสดงงานในพื้นที่หอศิลป์ของวิทยาลัย จึงเป็นการเสริมองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง

          5. มีการสรุปผล แนะนำ นักศึกษาในกระบวนการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด ในขณะเดียวกับอาจารย์ประจำรายวิชา จะคัดเลือกผลงานและแนะนำนักศึกษาที่สนใจจะส่งงานเข้าประกวด โดยอาจจะให้ไปสร้างสรรค์ผลงานเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำแนวความคิดในการทำงานที่ชัดเจนมากยิ้งขึ้น        

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

เริ่มจากการการนำรายวิชา PHO312 ศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย และ PHO 361ศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ ที่มีกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ความเข้าใจเชิงลึกในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงวิชาชีพ เชิงปรัชญา เน้นความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียภาพของศิลปะภาพถ่าย ที่สัมพันธ์กับสื่อแขนงอื่น บทบาททางสังคม การวิเคราะห์ ผ่านการจัดเสวนาร่วมกับศิลปินรับเชิญที่มีความเชี่ยวชาญในด้านศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัย เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์โครงงานส่วนบุคคล โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้      

  1. ในชั้นเรียนแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ให้เลือกหัวข้อที่นักศึกษาสนใจและมีความถนัดในเชิงเทคนิคทางด้านใด จากนั้นอธิบายพื้นฐานการทำงานของงานศิลปะร่วมสมัยที่มีผลต่อประเด็นทางด้านสังคมในแต่ละยุคสมัย
  2. ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่สนใจจะทำงานศิลปะภาพถ่ายเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อที่อาจารย์ประจำวิชาให้โจทย์ไว้ เช่น ความทรงจำที่สัมพันธ์กับประเด็นทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นหัวข้อกว้างๆ ทั้งก็เพื่อสร้างทางเลือกให้กับนักศึกษา ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เข้ากับแนวความคิดของเวทีการประกวดของ YOUNG THAI ARTIST AWARD 3. ให้นักศึกษานำผลงานสร้างสรรค์ที่ทำขึ้นภายใต้หัวข้อที่เลือกไว้ ให้อาจารย์ประจำรายวิชาและทีมศิลปินภาพถ่ายรับเชิญร่วมกันวิจารณ์งาน เพื่อให้นักศึกษานำคำวิจารณ์ไปพัฒนาผลงานของตนเอง ในกระบวนการนี้อาจารย์ประจำรายวิชาจะให้นักศึกษาทำงานส่งตรวจและวิจารณ์ทั้งหมด 3 ครั้ง
  3. ให้นักศึกษานำผลงาน final ไปดำเนินงานติดตั้งในพื้นที่หอศิลป์ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการติดตั้งแสดงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกฎของเวทีงานประกวดสำหรับผู้ที่เข้ารอบก่อนคัดเลือก 5 คนต้องแสดงงานนิทรรศการในพื้นที่หอศิลป์ เพื่อให้กรรมการตรวจเป็นครั้งสุดท้ายก่อนประกาศผลรางวัล ดังนั้นการฝึกติดตั้งแสดงงานในพื้นที่หอศิลป์ของวิทยาลัย จึงเป็นการเสริมองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง

          5. มีการสรุปผล แนะนำ นักศึกษาในกระบวนการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด ในขณะเดียวกับอาจารย์ประจำรายวิชา จะคัดเลือกผลงานและแนะนำนักศึกษาที่สนใจจะส่งงานเข้าประกวด โดยอาจจะให้ไปสร้างสรรค์ผลงานเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำแนวความคิดในการทำงานที่ชัดเจนมากยิ้งขึ้น        

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

            ผลจากการดำเนินการในรายวิชา ที่ให้นักศึกษาในชั้นเรียนทำงานภายใต้หัวข้อที่กำหนดจากอาจารย์ประจำรายวิชา และทีมศิลปินที่มีประสบการณ์การทำงานศิลปะร่วมสมัย ทำให้ผลงานของนักศึกษามีคุณภาพทั้งในเชิงเทคนิคและเนื้อหา จนสามารถที่จะคว้ารางวัลยอดเยี่ยมและดีเด่นได้ถึง 3 รางวัล ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถที่จะนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาและก้าวเข้าสู่วงการศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยต่อไปในฐานะการทำงานเป็นศิลปินภาพถ่าย ถือเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งที่ทางหลักสูตรได้กำหนดไว้

          นอกจากนี้การที่งานนักศึกษาถูกวิพากษ์ (critic) จากศิลปินที่มีประสบการณ์ จะทำให้ผลงานสร้างสรรค์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างวิสัยทัศน์ และทัศนคติที่ดีและเป็นการเพิ่ม soft skill ของนักศึกษาในการนำเสนอผลงานทางด้านวิชาชีพ    

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

เนื่องจากปีนี้เป็นปีแรกที่ทางหลักสูตรฯ ประสบความสำเร็จในการผลักดันนักศึกษาให้ได้รับรางวัลในเวทีระดับชาติเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นในปีต่อๆ ไป จึงอยากหัรักษากระบวนการเรียนการสอนทั้ง 2 รายวิชาให้มีการพัฒนามากยิ่ง โดยเฉพาะการเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะร่วมสมัย ศิลปะภาพถ่าย มาร่วมทำ work shop กับนักศึกษาภายใต้หัวข้อหรือประเด็นทางด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น เพราะประเด็นเหล่านี้กำลังเป็นที่สนใจในวงการศิลปะและเวทีการประกวดระดับชาติ         

Scroll to Top