รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, 2.1.4, 2.4.3/1

สร้างนวัตกรรมเพื่อการศึกษาอย่างไรให้ตอบโจทย์
และได้รางวัล

ผู้จัดทำโครงการ​

ทพญ.กาญจนา สิงขโรทัย และ ทพญ.ฐิติพร กังวานณรงค์กุล

วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรักษาทางศัลยกรรมช่องปากที่ต้องมีการปฏิบัติในคนไข้ ซึ่งขบวนการรักษาทางศัลยกรรมในคนไข้ครั้งแรกๆของนักศึกษาจะมีความตื่นเต้น, ความกังวล รวมถึงความแตกต่างของคนไข้ที่ทำให้การรักษานั้นยากมากขึ้น และมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น ทำให้ อ.ทพญ. กาญจนา สิงขโรทัย และ อ.ทพญ.ฐิติพร กังวานณรงค์กุล อาจารย์ประจำในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก ได้สังเกตเห็นถึงปัญหา และวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์เองก็มีเรื่องของงานนวัตกรรมที่อยู่ในขบวนการการเรียนการสอนอยู่ด้วยจึงได้นึกถึงงานนวัตกรรมในการแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการเรียนการสอนในการฝึกปฏิบัติก่อนทำการรักษาในคนไข้จริงให้ใกล้เคียงคนไข้จริงมาที่สุด และเมื่อต้องทำงานแล้วงานที่ได้ควรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เต็มที่เมื่อเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไปจึงได้ตั้งเป้าในการส่งประกวดร่วมด้วย จึงได้เริ่มงานนวัตกรรมจากได้เริ่มจากสังเกตุในการฝึกปฏิบัติของคนไข้ที่ทำอยู่เกี่ยวกับการเย็บแผ่นหนังซึ่งเวลาฝึกจะไม่สามารถเลียนแบบท่าเข้าเย็บเหมือนในช่องปากที่มีฟันเป็นอุปสรรค และมีช่องปากในการเข้าทำที่ยากกว่าการทำบนแผ่นหนัง และเมื่อใช้แล้วแผ่นหนังจะเป็นรูซึ่งทำให้การเย็บซ้ำจะมีร่องรอยไม่สามารถใช้ได้เหมือนครั้งแรก   จึงนำไปสู่ประเด็นของการสร้างนวัตกรรม โดยนำปัญหานี้มาพูดคุยกับนักศึกษาที่เป็นผู้ใช้จริงเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหานี้ เป็นการให้โอกาสในการคิดและเสนอแนวทางการคิดและในการตั้งกำหนดเป้าหมายในการทำงานชัดเจนทำให้นักศึกษาสามารถร่วมกันสร้างนวัตกรรม และร่วมกันแก้ปัญหาจนสามารถผลิตนวัตกรรมที่ใช้ฝึกเย็บที่สามารถใช้ใน model คนไข้เสมือนจริงที่มีใช้อยู่แล้วในคลินิกทันตกรรมและสามารถใช้วัสดุ silicone sheet ที่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาด ใช้ง่าย และสามารถเปลี่ยนเพื่อใช้ใหม่ได้ คุณสมบัติคล้ายเหงือกมากกว่าแผ่นหนัง และราคาประหยัด เมื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง มีราคาประหยัดจึงทำให้สามารถประกวดในงานนวัตกรรมของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์และได้รางวัลที่ 1 นอกจากนี้ยังได้ส่งประกวด ในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และได้รับรางวัล Thailand New Gen Inventors Award 2024 ระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มเรื่อง สุขภาพและการแพทย์ และได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีถัดมา ในวิธีคิดและการวางแผนการในการทำงานที่ทำด้วยใจ มีความสนุกและมีเป้าหมายที่ชัดเจนกับงานและมีงานต่อยอด ในการประดิษฐ์ model เพื่อใช้ถอนฟัน ซึ่งก็ทำให้ได้รางวับรองชนะเลิศในการประกวดงานนวัตกรรมในวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

  1. การตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนจะสามารถนำทางไปสู่ความสำเร็จได้ตรงเป้าและถึงเป้าได้ไม่มากก็น้อย
  2. งานที่สร้างจากปัญหาและอุปสรรค ร่วมกับมีการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรคและไม่ปิดกั้น รวมทั้งมีการเพิ่มกำลังใจเชิงบวกจะทำไห้เกิดผลลัพธ์ที่น่าจดจำและมีคุณค่าแท้จริง
  3. การเลือกงานที่เรามีความชอบหรือสนใจจะทำให้มีแรงขับเคลื่อนในการทำงานได้เป็นอย่างดี
  4. การเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองเป็นหลักพื้นฐานในการทำให้งานประสบความสำเร็จได้

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

  • เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์

วิธีการดำเนินการ

          เริ่มจากการพูดคุยกับนักศึกษาโดยอธิบายถึงเป้าหมายในการทำงานในมุมทีต้องการแก้ปัญหาในการเรียนการสอนทางปฏิบัติและเริ่มต้นจากการระดมปัญหาและเลือกปัญหาที่คิดเลือก หลังจากนั้นก็ทำการร่วมกันคิดต่อโดยตั้งเป้าในมุมมองของการตอบโจทย์ในการสร้างด้วยวิธีที่ทำได้เองจากสิ่งที่หาได้ ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งก็มองเห็นปัญหานั้นเช่นกันคือ อุปกรณ์เย็บแผลจำลองที่ใช้อยู่เดิม จะทำจากแผ่นหนังสัตว์ ที่เมื่อถูกเข็มแทงจะเกิดรูทันที ใช้ฝึกปฏิบัติไปไม่นาน แผ่นหนังดังกล่าวก็จะเกิดรูพรุนอย่างมาก จนไม่สามารถใช้งานได้ต่อ นอกจากนี้ อุปกรณ์เย็บแผลจำลองดังกล่าวก็ไม่เหมือนกับกายภาพในช่องปากจริง ทำให้นักศึกษาขาดการฝึกทักษะการเข้าเย็บแผลในช่องปาก และขาดการฝึกวางท่าทางตนเองให้เหมาะสมกับการให้การรักษาในช่องปากคนไข้ไป  เมื่อทุกคนในโครงการทราบถึงปัญหาและเข้าใจในจุดที่ต้องการแก้ไข อาจารย์จึงได้กำหนดเป้าหมายของนวัตกรรมไว้อย่างชัดเจน คือ ต้องการผลิตอุปกรณ์เย็บแผลจำลองที่มีความทนทานต่อการใช้งาน ไม่เกิดรูพรุนง่ายหรือง่ายต่อการฉีกขาด ให้สัมผัสขณะฝึกเย็บที่เสมือนจริง และอยู่บนลักษณะทางกายภาพเสมือนกับช่องปากเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถฝึกการเข้าทำงานในช่องปากได้เป็นอย่างดี                                                                          
          หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว ก็ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เกิดกระบวนความคิดในเชิงบวก ร่วมกับการติดตามผลความคืบหน้าเป็นระยะต่อเนื่อง โดยเมื่อผู้ร่วมโครงการเจออุปสรรค อาจารย์ก็จะให้คำชี้แนะที่มาจากประสบการณ์การทำงานของอาจารย์โดยตรง เกิดเป็นผลลัพธ์ คือ การใช้แผ่นซิลิโคนขนาดบาง ทดแทนแผ่นหนัง  ซึ่งแผ่นซิลิโคนนั้นมีความทนทานมากกว่าแผ่นหนัง หาได้ง่าย ราคาถูก และสามารถนำมายึดบนแบบจำลองขากรรไกรที่สามารถใช้ติดกับหัวหุ่นจำลองได้ เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติสามารถเย็บแผลใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด คือ เย็บแผลในช่องปากคนไข้ 

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

               หลังจากการจัดทำอุปกรณ์เย็บแผลจำลองรูปแบบใหม่ที่ตรงตามเป้าหมายสำเร็จ  อาจารย์และผู้ร่วมโครงการก็ได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวมาตรวจสอบ และทดลองฝึกปฏิบัติจริง จึงได้พบกับปัญหาแรก คือ แผ่นซิลิโคนที่หนาเกินไป ทำให้สัมผัสของการฝึกเย็บแผลไม่เหมือนจริง ซึ่งอาจารย์และผู้ร่วมโครงการได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยการเลือกใช้แผ่นซิลิโคนที่บางลง ปัญหาที่สอง คือ การยึดแผ่นซิลิโคนกับแบบจำลองขากรรไกรที่ต้องสามารถเปลี่ยนเข้าออกได้นั้น ทำได้ยาก เนื่องจากบริเวณพื้นผิวที่จะยึดแผ่นซิลโคนมีความโค้งนูน และเป็น 3 มิติ ทั้งยังต้องเป็นการยึดที่แน่นและอยู่ได้นาน ซึ่งอาจารย์และผู้ร่วมโครงการได้เลือกการยึดแผ่นซิลิโคนด้วยน๊อต ซึ่งจะทำให้เกิดการยึดที่แน่น ทนต่อแรงดีงของเข็มเย็บ และหากแผ่นซิลิโคนเริ่มชำรุดฉีกขาด ก็สามารถไขน๊อตเปลี่ยนแผ่นซิลิโคนได้อย่างง่ายดาย  โดยตลอดการแก้ไขและพัฒนานั้น อาจารย์ทั้งสองท่านมีความเข้าใจในมุมมองและข้อจำกัดด้านความรู้และประสบการณ์ของผู้ร่วมโครงการอย่างแท้จริง จึงสามารถให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ และกำลังใจ โดยมุ่งหวังในเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ทำให้ผู้ร่วมโครงการมีความตั้งใจไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ และพยายามร่วมกันหาทางแก้ไขจนพบความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้นอกเหนือจากนวัตกรรมชิ้นใหม่ ก็คือ การที่ผู้ร่วมโครงการได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ควบคุม วางแผน แก้ปัญหา จนนำมาสู่ผลลัพธ์ที่เป็นความสำเร็จ 

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

               หลังจากการนำเสนอผลงานนวัตกรรม และได้รับความเห็นว่าเป็นผลงานที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ และได้รางวัลชนะเลิศในระดับวิทยาลัยแล้ว อาจารย์กาญจนา อาจารย์ฐิติพร และผู้ร่วมโครงการ ก็ได้ใช้ผลงานไปนำเสนอในโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และได้รับรางวัล Thailand New Gen Inventors Award 2024 ระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มเรื่อง สุขภาพและการแพทย์ ซึ่งนับเป็นการยอมรับในระดับประเทศ  นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการขอจดอนุสิทธิบัตรในตัวผลงาน และในขั้นตอนวิธีการผลิตผลงานด้วย

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

  1. การกำหนดเป้าหมายแรกเริ่มที่สูงจะทำให้ผลงานตอนสุดท้ายออกมามีคุณภาพที่ดีและเป็นประโยชน์มากที่สุด
  2. การเลือกแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ เราจะสามารถมองเห็นจุดที่ต้องการแก้ไข และทางแก้ไขได้ง่ายเนื่องจากเป็นประสบการณ์จริงของตนเองซึ่งเรามักจะมีต้นทุนความรู้ความเชี่ยวชาญอยู่ นอกจากนั้น ปัญหาเหล่านั้นมักจะเห็นเป็นประจักษ์ในสายตาของผู้ร่วมโครงการเช่นกัน ก่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจน ตลอดจนเป็นแรงผลักดันในการก้าวต่อไปของโครงการอย่างต่อเนื่อง
  3. การพึ่งพาตนเอง และเชื่อในศักยภาพของตนเองก่อนที่จะมองหาทางแก้ไขที่รวดเร็วจากบุคคลอื่น ยังคงเป็นหลักพื้นฐานสำคัญในถนนสู่ความสำเร็จ
Scroll to Top