รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, 2.2.3
งานมัคคุเทศก์เป็นมัคคุเทศก์ได้จริง

ผู้จัดทำโครงการ
ผศ.ดร. นพปฎล ธาระวานิช
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
วิชางาน TRM 225 งานมัคคุเทศก์ เป็นรายวิชาชีพบังคับตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการมีการเรียนการสอน โดยเน้นการปฏิบัติงานในฐานะมัคคุเทศก์ซึ่งมีความต้องการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้แก่ประเทศและทำให้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาพที่ดี การสอนวิชานี้จึงต้องมีการสอนโดยการเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในฐานะมัคคุเทศก์ เริ่มตั้งแต่ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการต้อนรับนักท่องเที่ยว มารยาทไทย วิธีการดูแลนักท่องเที่ยวที่มีความแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติ การใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกต้อง และการนำไปใช้ในการบรรยายสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมไปถึงการทำงานในฐานะมัคคุเทศก์ตั้งแต่เริ่มต้นและจบการทำงาน
ดังนั้น จึงทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อศึกษาถึงวิธีการที่จะทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ การฝึกปฏิบัติและการทำงานในฐานะมัคคุเทศก์ไปใช้ได้จริงด้วยการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
งานมัคคุเทศก์เป็นการศึกษาหาความรู้จากการพัฒนาความสามารถและทักษะเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตจึงต้องมีการศึกษาหาความรู้และเรียนรู้ประสบการณ์จากกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง และฝึกปฏิบัติงานจริงโดยนำความรู้จากการค้นคว้าและจากการเรียนมาใช้ในการทำงานในฐานะมัคคุเทศก์ จึงมีศาสตร์หลายแขนงที่ต้องนำมาประกอบในการทำงานตั้งแต่การพัฒนาบุคลิกภาพ พฤติกรรมที่เหมาะสม การต้อนรับ การทักทาย ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาถ่ายทอดต่อสู่เยาวชนโดยมหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับสสส. ในการจัดทำโครงการพัฒนานักเรียนให้เป็นยุวอาสาพาเที่ยววัดรังสิต 2 ทำให้นักศึกษาได้นำวิชาความรู้และประสบการณ์มาเป็นผู้สอนให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดรังสิต
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เจ้าของความรู้/สังกัด บทความวิจัยเรื่อง การเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน:
กรณีศึกษาวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์และ TRM 383 การนำชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศไทย
วิธีการดำเนินการ
นำนักศึกษาที่เรียนรายวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์แล้วจำนวน 40 คน มาทดสอบและทบทวนความรู้ในงานมัคคุเทศก์ วางหัวข้อและแผนการอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดรังสิต
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
นักศึกษาสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาใช้ในการสอนนักเรียนโรงเรียน วัดรังสิตจำนวน 40 คนได้เป็นอย่างดี โดยนักศึกษาสามารถกำหนดบทเรียน เวลาและหัวข้อที่จะสอนนักเรียนได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นจากการสอนด้านบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน การทักทายและศิลปะการต้อนรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การบรรยายและข้อมูลการบรรยาย ทำให้นักเรียนโรงเรียนวัดรังสิตที่เข้ารับการอบรมมีความกล้าและมีความสามารถในนำเที่ยววัดรังสิตได้
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
ผลการดำเนินการพบว่า เชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนวัดรังสิตจำนวน 40 คน (ร้อยละ 100) มีการพัฒนาที่ดีในด้านบุคลิกภาพ การต้อนรับ การใช้ข้อมูลในการบรรยายสถานที่ท่องเที่ยวและมีความกล้าในการแสดงออกและสามารถนำนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเที่ยวชมวัดรังสิตได้
เชิงคุณภาพ พบว่า นักเรียนผ่านการทดสอบและมีความสามารถในการนำเที่ยววัดรังสิตโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นักศึกษามีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดีและมีผลการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
การให้นักศึกษามาเป็นผู้สอน ทำให้นักศึกษามีการวางแผน มีการกำหนดหัวข้อและการสอนที่มีคุณภาพ ทำให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรมตามโครงการมีตัวอย่างที่ดีและสามารถนำไปใช้ในการนำเที่ยวได้จริงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่สองที่ใช้ในการสอน