รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR ไม่ระบุ
“Daily Note” ระบบแจ้งเตือนผลการวัดคุณภาพ
การรักษาผู้ป่วย ของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก

ผู้จัดทำโครงการ
ทพ. ดร. กุญชร เกิดมณี
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การจัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิก สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้มีคุณภาพครบทั้ง ความรู้ความสามารถในการรักษา มีจิตใจที่เมตตา และมีจริยธรรมในวิชาชีพ
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เลือกวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care” ที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย สามารถรับผิดชอบดำเนินการรักษาตามแผนที่วางไว้จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ด้วยตนเอง รวมถึง การติดตามผลการรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างยั่งยืน
ในการประเมินความพร้อมของนักศึกษา วิทยาลัยฯ ได้ใช้การวัดและประเมินผลนักศึกษาขณะรักษาผู้ป่วย โดยให้อาจารย์ผู้ดูแลบันทึกข้อมูลลงในแบบให้คะแนนที่เรียกว่า “Daily Performance” ซึ่งมุ่งประเมินทั้งในมิติของความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย ในทุกครั้งที่นักศึกษารักษาผู้ป่วย
ด้วยจำนวนนักศึกษาและการปฎิบัติงาน 9 คาบต่อสัปดาห์(คาบละ 3 ชั่วโมง) ทำให้เกิดข้อมูลจำนวนหลายหมื่นรายการต่อภาคการศึกษา เป็นปัญหาหลักต่อการนำข้อมูลมาประเมินผลอย่างยิ่ง
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาระบบการบันทึกคะแนน“Daily Performance”
เริ่มจากการบันทึกด้วยกระดาษมาเป็นระบบดิจิทัล ผ่าน google form เพื่อลดปัญหาการจัดเก็บเอกสาร และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยให้การประเมินผลทำได้ทันทีหลังการบันทึก ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มสามารถติดตามและตรวจสอบผลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตามระบบการบันทึกคะแนน “Daily Performance”ผ่าน google form ยังคงพบปัญหาสำคัญคือ ขาดกลไกการแจ้งเตือนหรือยืนยันว่าคะแนนได้ถูกบันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล คะแนนนักศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว ทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบและติดตามคะแนนที่อาจมีความผิดพลาดหรือตกหล่นได้เช่น อาจารย์ลงคะแนนแล้วไม่ขึ้นในระบบ อาจารย์กรอกข้อมูลส่วนวันที่หรือเวลาผิด หรืออาจารย์เลือกชื่อนักศึกษาผิด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพิจารณาเกรดของวิชาคลินิกที่มีความสำคัญยิ่ง
การตรวจสอบและติดตามคะแนนด้วยวิธีการเดิมต้องใช้เวลามาก ในขณะที่นักศึกษาทันตแพทย์เองก็มีภาระการเรียนที่หนัก ทำให้มีเวลาว่างน้อยในการติดตามผลคะแนนดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทำโครงการจึงได้พัฒนาต่อยอดเป็น “ระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฎิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก” หรือ “ Daily Note” เพื่อลดภาระในการติดตามตรวจสอบคะแนน และเพื่อให้มั่นใจว่าคะแนนได้ถูกบันทึกอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ระบบแจ้งเตือนนี้จะส่งการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติไปยังนักศึกษาเมื่อมีการบันทึกคะแนนโดยอาจารย์ผู้ประเมินแล้ว ทำให้นักศึกษาสามารถสอบทานความถูกต้องของคะแนนได้ทันที และระบบยังสามารถตรวจสอบการให้คะแนนที่ผิดพลาดผิดวันผิดพลาดปฏิบัติงาน หากพบข้อผิดพลาด นักศึกษาสามารถแจ้งอาจารย์ผู้ประเมินได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทำการแก้ไขคะแนนให้ถูกต้อง กลไกดังกล่าวจะช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลของนักศึกษาเกี่ยวกับความถูกต้องของคะแนน ทำให้สามารถใช้เวลาไปกับการเรียนและฝึกปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงานในคลินิกมากขึ้น
นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาแล้ว ระบบนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระของอาจารย์ผู้รับผิดชอบในการตรวจทานความผิดพลาดของคะแนน และลดความเสี่ยงที่คะแนนที่ผิดพลาดหรือตกหล่นส่งผลกระทบต่อผลการเรียน หรือการพิจารณาเกรดในภาพรวม ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติจะทำให้กระบวนการติดตามและแก้ไขคะแนนเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
สรุปได้ว่า ระบบแจ้งเตือนนี้จะช่วยยกระดับกระบวนการบันทึก ติดตาม และแก้ไขคะแนนประเมินการปฎิบัติงานคลินิกของนักศึกษาทันตแพทย์ ให้มีความถูกต้อง โปร่งใส สะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลดีต่อทั้งตัวนักศึกษาเอง ต่อวิทยาลัยฯ รวมถึงต่อการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมต่อไปในอนาคต
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ความรู้ด้านระบบสาระสนเทศและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
- การใช้ Google Services (Google Form, Google Sheets, Google Apps Script) เพื่อสร้างระบบการบันทึกและจัดการข้อมูลแบบดิจิทัล
- การออกแบบระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติ (Notification System) ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลออนไลน์
- การพัฒนาระบบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Validation) เพื่อลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล
ความรู้ด้าน การบริหารจัดการการศึกษาทางทันตแพทยศาสตร์
- หลักการ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ “Comprehensive Dental Care”
- การออกแบบระบบการวัดและประเมินผล ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและเกณฑ์สภาวิชาชีพ
- กระบวนการติดตามและตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนในระดับคลินิก
ความรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- การ นำวงจรคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
- การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากผู้ใช้งานระบบทั้งอาจารย์และนักศึกษา
- การปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องตามหลักการของ Continuous Quality Improvement (CQI)
ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา
- การ ลดความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษาในกระบวนการประเมินผล
- การสร้างความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการประเมินผลการเรียนรู้
- การส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรับผิดชอบในการติดตามและพัฒนาผลการเรียนของตนเอง
ความรู้ด้านการทำงานเป็นทีมและการจัดการความรู้ในองค์กร
- การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างทีมคณาจารย์ผู้พัฒนาระบบ
- การทำงานแบบบูรณาการข้ามสาขาวิชาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- การถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมจากผู้พัฒนาสู่ผู้ใช้งานในวงกว้าง
การนำความรู้ทั้งห้าด้านมาประยุกต์ใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ สอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนการสอนทันตแพทยศาสตร์ และก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)
เจ้าของความรู้/สังกัด คณะกรรมการจัดการความรู้วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
อื่น ๆ (โปรดระบุ)
- เอกสารการใช้งาน เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง Google Services (Google Form, Google Sheets, Google Apps Script)
- คู่มือการวัดและประเมินผลนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- การใช้ AI ช่วยในการเขียนโค้ดโปรแกรมระบบแจ้งเตือน
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เจ้าของความรู้/สังกัด
- อาจารย์ทันตแพทย์ ดร กุญชร เกิดมณี รหัสบุคลากร 5890326 วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
- ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบแจ้งเตือนและการประยุกต์ใช้ Google Apps Script
- ประสบการณ์การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระบบการบันทึกข้อมูลทางคลินิก
- อาจารย์ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ รหัสบุคลากร 5990255 วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
- ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและรับผิดชอบโดยอาจารย์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการศึกษา
- ประสบการณ์การใช้ Google Services การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูล Daily Performance
อื่น ๆ (ระบุ)
- ประสบการณ์จากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิก
- ข้อมูลย้อนกลับจากอาจารย์ผู้ใช้งานระบบในการประเมินนักศึกษา
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ประจำวิทยาลัยที่มีความชำนาญด้านการพัฒนาระบบสาระสนเทศและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษา
วิธีการดำเนินการ
- การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
- การวิเคราะห์ฐานข้อมูล: ทำการวิเคราะห์ฐานข้อมูล Daily Performance รับผิดชอบโดยอาจารย์ทันตแพทย์ วิธวินท์ เดโชศิลป์ เพื่อศึกษารูปแบบทั้งหมดของความผิดพลาดของข้อมูลที่มีโอกาสเกิดขึ้นในระบบ
- การศึกษาปัญหาจากอาจารย์ผู้ประเมิน: รวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาจารย์ในขณะทำการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษา เช่นการเลือกวันผิด การเลือกรายชื่อนักศึกษาผิด หรือการไม่แน่ใจว่าข้อมูลถูกบันทึกเรียบร้อยแล้วหรือไม่
- การสัมภาษณ์นักศึกษา: สัมภาษณ์นักศึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาและความยากลำบากในการตรวจสอบติดตามข้อมูลคะแนนของตนเอง รวมถึงความต้องการในการได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการบันทึกคะแนน
- การออกแบบระบบ
- การกำหนดโครงสร้างระบบ: ออกแบบระบบแจ้งเตือนที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล Daily Performance เดิม โดยไม่กระทบกระบวนการทำงานปกติ
- การกำหนดกลไกการแจ้งเตือน: ออกแบบระบบให้สามารถส่งการแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังนักศึกษาเมื่อมีการบันทึกคะแนน โดยระบุรายละเอียดของคะแนนที่ได้รับการบันทึก
- การกำหนดระบบตรวจสอบข้อผิดพลาด: ออกแบบให้ระบบสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลที่บันทึก เช่น การบันทึกคะแนนผิดวัน หรือผิดคาบปฏิบัติงาน
- การพัฒนาระบบ
- การพัฒนาโค้ด: พัฒนาโค้ดด้วย Google Apps Script เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานร่วมกับ Google Form และ Google Sheets
- การสร้างระบบเชื่อมโยง: พัฒนาระบบให้สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Daily Performance และเมื่อได้รับการประเมินคะแนนปฏิบัติงานในคลินิกจากอาจารย์ โค้ดจะทำการส่งการแจ้งเตือนไปยังนักศึกษาผ่านทางอีเมล ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและหากต้องมีการแก้ไขรายละเอียดของคะแนน จะมีคำแนะนำส่งให้ทั้งอาจารย์ผู้ประเมิน และนักศึกษาเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
- การพัฒนาระบบรายงาน: สร้างระบบรายงานสรุปที่นักศึกษาสามารถตรวจสอบคาบการปฏิบัติงานของตนเองได้แบบเรียลไทม์
- การทดสอบระบบ
- การทดสอบเบื้องต้น: ทดสอบการทำงานของระบบในสภาพแวดล้อมควบคุมก่อนนำไปใช้จริง
- การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง: ทดลองใช้ระบบกับกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์จำนวนหนึ่งเพื่อประเมินประสิทธิภาพและรับฟังข้อเสนอแนะ
- การทดสอบสถานการณ์จำลอง: จำลองสถานการณ์ปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเพื่อทดสอบการทำงานของระบบในการแก้ไขปัญหา
- การนำไปใช้จริงและการติดตามผล
- การติดตั้งระบบ: นำระบบแจ้งเตือนไปใช้งานจริงในกระบวนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์
- การให้คำแนะนำผู้ใช้งาน: ชี้แจงและให้คำแนะนำการใช้งานระบบแก่อาจารย์และนักศึกษาผ่านทาง infographic ที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
- การเก็บข้อมูลและติดตามผล: ติดตามการทำงานของระบบและรวบรวมข้อมูลป้อนกลับจากผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง
- การประเมินผลและปรับปรุง
- การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ: ประเมินประสิทธิภาพของระบบในการลดข้อผิดพลาดและอำนวยความสะดวกในการติดตามคะแนน
- การรวบรวมข้อเสนอแนะ: รับฟังข้อเสนอแนะจากนักศึกษาและอาจารย์เพื่อนำมาปรับปรุงระบบ
- การพัฒนาต่อยอด: วางแผนการพัฒนาระบบในระยะต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
การดำเนินการพัฒนาระบบแจ้งเตือนนี้เป็นการต่อยอดจากระบบบันทึกคะแนน Daily Performance เดิมที่ได้พัฒนาไว้แล้ว โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่พบจากการใช้งานจริง และตอบสนองความต้องการของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ในการติดตามและตรวจสอบคะแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ได้ดำเนินการผ่านกระบวนการดังนี้
การพัฒนาระบบโค้ดและการใช้เทคโนโลยี
- ใช้ Google Apps Script เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลคะแนน Daily Performance
- อาศัยเทคโนโลยี AI ช่วยในการเขียนและปรับแก้โค้ด แม้ผู้พัฒนามีความรู้ในทางเทคนิคการเขียนโค้ดไม่มากนัก แต่ AI สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้สามารถพัฒนาระบบที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนากลไกการตรวจจับข้อมูลใหม่ที่เข้าสู่ระบบผ่านการเขียนสคริปต์ที่ตรวจสอบข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาในฐานข้อมูลในช่วงเวลาที่กำหนด และส่งการแจ้งเตือนไปยังอีเมลของนักศึกษาโดยอัตโนมัติ
- การสร้างระบบตรวจสอบความผิดพลาด: พัฒนาอัลกอริทึมตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตรวจสอบความสอดคล้องของวันที่ประเมินกับตารางการปฏิบัติงานของนักศึกษา ตรวจสอบชื่อและรหัสนักศึกษาที่ผิด ตลอดจนการให้คะแนนซ้ำ และล่าช้า
- ออกแบบรูปแบบอีเมลแจ้งเตือนให้มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน เช่น วันที่ประเมิน คาบเรียน ชื่ออาจารย์ผู้ประเมิน และข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว
การทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพ
- ทดสอบระบบในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์กลุ่มย่อย เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบการทำงานและระยะเวลาในการแจ้งเตือน
- ในช่วงทดสอบเบื้องต้น พบว่าการแจ้งเตือนมีความล่าช้าถึง 5-6 นาที ผู้พัฒนาจึงได้ปรับแก้โค้ดโดยเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบข้อมูลใหม่ และปรับปรุงประสิทธิภาพของฟังก์ชันการส่งอีเมล
- หลังการปรับปรุง สามารถลดระยะเวลาการแจ้งเตือนลงเหลือเพียง 2-3 นาทีหลังการบันทึกคะแนน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
- ทดสอบระบบในสถานการณ์ที่มีการบันทึกคะแนนพร้อมกันจำนวนมาก เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถรองรับการใช้งานจริงได้โดยไม่มีปัญหา
การขยายการใช้งานจริง
- เริ่มใช้งานระบบกับนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นคลินิกทั้งหมดในวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2567
- จัดทำคู่มือการใช้งานแบบ infographic สำหรับนักศึกษาและอาจารย์ โดยอธิบายรูปแบบและการตรวจสอบข้อมูลจากอีเมลแจ้งเตือน รวมถึงขั้นตอนการแจ้งแก้ไขหากพบข้อผิดพลาด
- เปิดโอกาสให้มีการซักถามและเสนอแนะย้อนกลับมาทางผู้พัฒนา เพื่อให้ระบบตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
- จัดให้มีช่องทางการรายงานปัญหาและข้อเสนอแนะสำหรับการใช้งานระบบ เพื่อให้สามารถปรับปรุงระบบได้อย่างต่อเนื่อง
อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน
- การใช้อีเมลเป็นช่องทางการแจ้งเตือนอาจมีความล่าช้าบ้างในบางกรณี เช่น ช่วงที่ระบบมีภาระงานสูง หรือปัญหาจากระบบ Google ของมหาวิทยาลัย แต่ระยะเวลา 2-3 นาทียังเป็นเวลาที่เหมาะสม
- ประสิทธิภาพของระบบอาจลดลงเมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้พัฒนาได้วางแผนการจัดการข้อมูลโดยแยกฐานข้อมูลตามชั้นปีการศึกษาเพื่อรักษาประสิทธิภาพของระบบในระยะยาว
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
ผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ
- การลดลงของข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนน: จากการเก็บข้อมูลพบว่าข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนนลดลงจาก 10% เหลือไม่เกิน 2% ต่อวัน หลังจากใช้ระบบแจ้งเตือน ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
- จำนวนการแจ้งเตือนต่อวัน: เฉลี่ยประมาณ 350-380 การแจ้งเตือนต่อวันในช่วงคลินิก โดยแต่ละการแจ้งเตือนมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ออกแบบไว้
- อัตราความสำเร็จในการส่งการแจ้งเตือน: 8% ของการบันทึกคะแนนทั้งหมดได้รับการแจ้งเตือนสำเร็จ มีเพียง 0.2% ที่เกิดข้อผิดพลาดในการส่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาของระบบ Google sheet
- ระยะเวลาเฉลี่ยในการแก้ไขข้อผิดพลาด: ลดลงจากเดิมที่ใช้เวลาหลายวัน เหลือเพียง 1-2 ชั่วโมงหลังจากได้รับการแจ้งเตือน เนื่องจากนักศึกษาสามารถตรวจสอบและแจ้งอาจารย์ขอแก้ไขได้ทันที
ผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
- การลดความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษา: จากการสัมภาษณ์นักศึกษาพบว่า ระบบแจ้งเตือนช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาไม่ต้องกังวลว่าคะแนนจะถูกบันทึกผิดพลาดหรือตกหล่น
- การเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการประเมิน: ทั้งนักศึกษาและอาจารย์รายงานว่า ระบบแจ้งเตือนช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการประเมิน เนื่องจากทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างทันท่วงที
- การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเวลาของนักศึกษา: นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนและการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น เนื่องจากทราบผลคะแนนอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน
- ความพึงพอใจของอาจารย์: อาจารย์รายงานว่าระบบช่วยลดภาระในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด และเพิ่มความมั่นใจว่าการประเมินของตนได้รับการบันทึกอย่างถูกต้อง
ความรู้และบทเรียนที่ได้รับ
- การพัฒนาระบบที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered System): ระบบแจ้งเตือนนี้พัฒนาขึ้นจากการให้ความสำคัญกับความเครียดและความกังวลของนักศึกษาเป็นหลัก เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาระบบที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน
- การใช้ AI เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพในการพัฒนาระบบ: แม้ผู้พัฒนาจะมีความรู้ทางเทคนิคการเขียนโค้ดไม่มากนัก แต่การใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาทำให้สามารถสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพได้ แสดงให้เห็นว่า AI สามารถลดช่องว่างทางทักษะและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสามารถพัฒนานวัตกรรมได้
- การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการทางการศึกษา: การพัฒนาระบบนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่แล้วของมหาวิทยาลัย (Google Services) มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในบริบทการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากร
- ความสำคัญของการออกแบบระบบที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ใช้งาน (Empathetic Design): การพัฒนาระบบโดยคำนึงถึงความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะความเครียดและความกังวลของนักศึกษา ทำให้ได้ระบบที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงและสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ชัดเจน
การอภิปรายผล
- ระบบแจ้งเตือนนี้เป็นตัวอย่างของ “การสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน” (Innovation for Student Well-being) ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพประสบการณ์การเรียนรู้
- การลดข้อผิดพลาดในการบันทึกคะแนนและการเพิ่มความโปร่งใสมีผลกระทบเชิงบวกโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษา เนื่องจากนักศึกษาสามารถมุ่งเน้นกับการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลกับความถูกต้องของการประเมิน
- การพัฒนาระบบนี้ยังส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใสและความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาที่มีคุณภาพ
- การใช้ AI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบแสดงให้เห็นถึงโอกาสใหม่ในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขั้นสูงเท่านั้น
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
การพัฒนาต่อยอดในอนาคต
- พัฒนาช่องทางการแจ้งเตือนที่หลากหลาย: ควรพิจารณาเพิ่มช่องทางการแจ้งเตือนผ่านแพลตฟอร์มอื่นนอกเหนือจากอีเมล เช่น LINE Notification API เพื่อให้การแจ้งเตือนรวดเร็วและเข้าถึงนักศึกษาได้มากขึ้น แม้อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ประโยชน์ที่ได้รับอาจคุ้มค่ากับการลงทุน
- สร้างแพลตฟอร์มติดตามคะแนนแบบเรียลไทม์: พัฒนาแพลตฟอร์มที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงเพื่อดูคะแนนและความก้าวหน้าของตนเองได้ตลอดเวลา พร้อมกับระบบวิเคราะห์และให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลการเรียน
- พัฒนาระบบการวิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบ: เพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของนักศึกษา และช่วยให้อาจารย์สามารถปรับกลยุทธ์การสอนให้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จ
- การให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Approach): การพัฒนาระบบที่เริ่มต้นจากการเข้าใจและตอบสนองต่อความเครียดและความกังวลของนักศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบประสบความสำเร็จ เพราะตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้
- การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเข้าถึงได้: การเลือกใช้ Google Services ที่มีอยู่แล้วในระบบของมหาวิทยาลัย ทำให้การพัฒนาและนำไปใช้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่
- การนำ AI มาเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพ: การใช้ AI ช่วยในการพัฒนาระบบแม้ผู้พัฒนามีความรู้ทางเทคนิคไม่มากนัก ทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- การทดสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: การทดสอบกับกลุ่มนักศึกษาจริงและการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ระบบที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง
- การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม: การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทั้งนักศึกษาและอาจารย์ในการใช้และพัฒนาระบบ ทำให้เกิดการยอมรับและการใช้งานอย่างแพร่หลาย
การขยายผลและการถ่ายทอดความรู้
- พัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับสถาบันการศึกษาอื่น: จัดทำเอกสารและคู่มือที่ครอบคลุมเพื่อให้สถาบันการศึกษาอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
- แบ่งปันประสบการณ์ในเวทีวิชาการ: นำเสนอผลงานและประสบการณ์ในการพัฒนาระบบในการประชุมวิชาการด้านการศึกษาทันตแพทยศาสตร์
- พัฒนาเป็นชุดความรู้แบบบูรณาการ: รวบรวมความรู้และประสบการณ์จากการพัฒนาระบบเป็นชุดความรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยี การศึกษาทางคลินิก และการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน
การสร้างความยั่งยืน
- พัฒนาทีมงานเพื่อดูแลและพัฒนาระบบต่อเนื่อง: ฝึกอบรมและพัฒนาทีมงานเพื่อดูแลและพัฒนาระบบในระยะยาว เพื่อไม่ให้ระบบพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากเกินไป
- สร้างกลไกรับฟังความคิดเห็นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: พัฒนากลไกในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบได้รับการปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
- บูรณาการเข้ากับระบบประกันคุณภาพการศึกษา: ผสานระบบแจ้งเตือนเข้ากับกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
โดยสรุป ระบบแจ้งเตือนการประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับคลินิกที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนานวัตกรรมที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered Innovation) ที่มุ่งเน้นการลดความเครียดและความกังวลของนักศึกษา ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการประเมินผล การผสานระหว่างความเข้าใจในบริบทการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม และการอาศัย AI เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนา ทำให้สามารถสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพและส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างชัดเจนต่อการจัดการเรียนการสอน การขยายผลและการพัฒนาต่อยอดจะช่วยให้ระบบนี้สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนต่อการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ต่อไป