รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 4.1.6/1
กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับบัณฑิตรุ่นใหม่

ผู้จัดทำโครงการ
อ.ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด รศ.ดร. บัญญัติ เศรษฐฐิติ อ.ประณต มณีอินทร์ ดร.อาทิตย์ พงษ์ทิพย์ และ อ.ธนกร พรมโคตรค้า
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ในยุคปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ การมีความสารมารถในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้บัณฑิตสามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้จากแหล่งต่างๆทั่วโลกเสริมสร้างโอกาสในการทำงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีความต้องการบุคคลากรที่มีทักษะภาษาสูง นอกจากกนี้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นโลกไร้พรมแดน องค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกต่างก็ได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัล การมีความรู้และความสามารถทางภาษาอังกฤษจะช่วยให้บัณฑิตสามารถปรับตัวและประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมการทำงานการใช้ชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน จะได้รับความสนใจเรียนรู้กันทั่วโลก บัณฑิตจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาของชาติที่เป็นประเทศมหาอำนาจและการเรียนรู้ภาษาประจำชาติเพื่อคงความเป็นชาติไว้ หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงกำหนดให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาภาษาไทยที่เป็นภาษาหลักของชาติไปด้วย เพื่อใช้สื่อสารกับคนในประเทศเดียวกัน และใช้ภาษาอังกฤษไว้ใช้สื่อสารกับคนต่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้วัฒนธรรมสังคม และเศรษฐกิจที่เปิดเสรีมากขึ้น มีผลให้สถาบันการศึกษาต่างๆเกิดการตื่นตัวในการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศหลากหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลีภาษาญี่ปุ่น แต่ภาษาอังกฤษยังคง เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นภาษากลางของโลกสำหรับการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษาการทำธุรกิจการลงทุน การท่องเที่ยวและการใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยัง เป็นภาษาที่ใช้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอีกด้วย แต่จากผลการทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษระดับชาติ พบว่า ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น การหาวิธีการ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมชาติอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต จุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้ภาษาทุกภาษา ย่อมต้องการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ ซึ่งการเรียนการภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศหรือใน ฐานะภาษาที่สองพบว่า ผู้เรียนภาษามักจะมีปัญหาในทักษะทางภาษา 4 ทักษะในลักษณะต่างๆกัน ปัญหาของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศนั้น ผู้เรียนจะมีปัญหาในการฟังมากที่สุด อาจเป็นเพราะผู้เรียนเหล่านั้นมีโอกาสพบกับเจ้าของภาษาน้อย ดังนั้นพวกเขาจึงประสบปัญหาในการฟังบรรยายของเจ้าของภาษา ทักษะการฟังไม่ได้รับความสนใจเท่าเทียมกับทักษะ อื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความไม่กล้าแสดงออกและทำให้หมดกำลังใจ การที่ผู้เรียนที่ไม่สามารถฟังภาษาต่างประเทศหรือ ภาษาที่สองได้เข้าใจ ถึงแม้จะได้ผ่านการเรียนวิชาการสนทนามาแล้วทั้งในชั้นระดับชั้นประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาหรือระดับอุดมศึกษา อาจเนื่องมาจากปัญหาที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ 1) ความยากลำบากในการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของข้อความที่มีความยาวมาก ๆ 2) ความเร็วในการพูดที่มีข้อความที่ไม่ชัดเจน 3) ความไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่พูดหรือข้อความที่ได้ฟัง
ภาษาอังกฤษมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของคนไทย เพราะมีผลต่อการเรียนและการทำงานเป็นอย่างมาก ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลที่มีประโยชน์ทั่วโลกได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาส ในการได้งานที่ดีจึงเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการเรียนและการทำงานในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาไทย ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องมาจากไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ จึงได้จัดให้มีการสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานภาษาอังกฤษเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายยกระดับภาษาอังกฤษของระดับอุดมศึกษา ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและมหาวิทยาลัยรังสิต
ดังนั้น ทางคณะนวัตกรรมเกษตรได้จัดกิจกรรมการพัฒนาภาษาอังกฤษขึ้น ทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ประกอบด้วย การสื่อสารภาษาอังกฤษ เบื้องต้น (Basic English for Communication) ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอและสัมมนา (English for Presentation and Seminar) และการเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) เพื่อฝึกฝนทักษะ ส่งเสริม และทบทวนการใช้ภาษาอังกฤษในด้านต่างๆ ของนักศึกษา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนจบการศึกษาอีกด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสาคัญที่นามาใช้:
ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT) คือ ‘ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์’ บันไดวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning spiral ซึ่งประกอบไปด้วย
- Experiencing เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นความรู้สึกจากประสบการณ์จริง การลงมือทำ เน้นการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้คิดเองทำเอง
- Reflecting เป็นขั้นตอนการสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม โดยที่ผู้เรียนนำข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้มาทบทวน คิดไตร่ตรอง ทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้จากการสังเกต และการจดบันทึก
- Thinking เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสรุปผลที่ได้จากการสะท้อนความคิด จากการสังเกตแล้วคิดไตร่ตรองจนสร้างเป็นแนวคิดของตนเอง
- Acting เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนำแนวคิดที่ตนเองสร้างไปทดลองปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่จนทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวงจรการเรียนรู้ใหม่ ตามภาพที่ 1

ภาพที่ 1 แสดง วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT)
การเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT) เป็นการลงมือทำจากความรู้ใหม่ที่ได้ แล้วเรียนรู้ว่าสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนควรปรับปรุง จากนั้นจะกลับเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ“เพราะโหมดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นซ้ำ จะขยายความเข้าใจของผู้เรียนได้ ผู้เรียนจะค้นพบว่าในทางปฏิบัติ จะเจอปัญหาอะไร และพบการประยุกต์ความรู้ใหม่ที่ทำได้หลากหลาย โดยการนำสิ่งที่เคยเรียนรู้ในสถานการณ์หนึ่งมาใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่วนซ้ำอย่างต่อเนื่องของวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ (ได้แก่ experiencing, reflecting, thinking, และ acting) วงจรนี้ไม่ใช่วงกลมแต่เป็นบันไดวน เนื่องจากการเดินทางผ่านวงจรแต่ละครั้งจะกลับไปสู่ประสบการณ์ด้วยความเข้าใจใหม่ที่ได้จาก experiencing, reflecting, thinking, และ acting ดังนั้น บันไดวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยอธิบายว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์นำไปสู่การพัฒนาได้อย่างไร ซึ่งถ้าหากในอนาคต ผู้เรียนได้เข้าไปรับประสบการณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก ก็ให้หมุนวงจรกลับไปที่ขั้นแรก และทำต่อไปจนขั้นที่ 4 อีกครั้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
อื่น ๆ (โปรดระบุ) เจ้าของความรู้ นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 มาตีความสู่การดำเนินงาน
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
อื่น ๆ (ระบุ) เจ้าของความรู้ถอดความรู้กระบวนการจัดทาโครงการ หลังจากที่ได้ดาเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557
วิธีการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ คณะอาจารย์เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาฯ ผู้รับผิดชอบ ประชุมเพื่อ วางแผนกำหนดการดำเนินงาน วางแผนแนวทางในการจัดกิจกรรม และจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินงาน
- เขียนแผนโครงการฯ เพื่อขออนุมัติจัดทำ
- มอบหมายหน้าที่กับคณะทำงาน ในการจัดทำโครงการฯ
- เตรียมแผนและประชาสัมพันธ์โครงการฯ
- ดำเนินงานการประสานงานระหว่างคณะทำงาน เพื่อเตรียมจัดกิจกรรมโครงการฯ
- จัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่กำหนด
5.1 การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life)
5.2 ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอ (English for Presentations)
5.3 การเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) - สรุปผล ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาทักษาษาอังกฤษ ตาม วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning Theory (ELT)
ขั้นที่ 1 Experiencing คือประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
เป็นการพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางด้านนวัตกรรมเกษตร จึงได้กำหนดหัวข้อเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชสมุนไพร ในรายวิชา AIL327 โดยการทำยาดมสมุนไพร โดยอาจารย์แบ่งนักศึกษา ออกเป็นกลุ่ม คละความสามารถ จากนั้นอาจารย์จะเป็นจะเริ่มสอบถามนักศึกษาว่ารู้จักสมุนไพรชนิดใดบ้าง แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีประโยชน์หรือสรรพคุณอย่างไร จากนั้น จะชักชวนให้นักศึกษา ทำการโคลนผลิตยาดมสมุนไพรโดยให้นักศึกษา เลือกส่วนผสมสมุนไพรที่นักศึกษาสนใจ พร้อมอธิบายเครื่องมืออุปกรณ์และส่วนผสมที่จำเป็นต้องใช้ในการทำยาดมสมุนไพร ขั้นตอนการทำ ในการใช้ส่วนประกอบของยาดมสมุนไพร ที่ใช้ในการฝึก ได้แก่ 1. สมุนไพรแห้งที่มีกลิ่นหอม เช่น กระวาน, กานพล, โป้ยกั๊ก, พริกไทยดำ, ลูกผักชี,อบเชย
2. สารให้กลิ่นหอม ได้แก่ การบูร, เมนทอล, พิมเสน, น้ำมันยูคาลิปตัส
3. ขวดสำหรับใส่ยาดมสมุนไพร
อาจารย์เป็นผู้สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในขณะส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ตลอดจนการวางแผนและลงมือทำ การชั่งตวงสูตรส่วนผสม เป็นการพัฒนาศัพท์เทคนิคทางด้านการเกษตร ในรายวิชา AIL327
โดยในขั้นแรก อาจารย์เป็นผู้กำหนดสูตรส่วนผสม ดังนี้
1.ตวงพิมเสนและการบูร อย่างละ 1 ช้อนชา
2. ตวงเมนทอล 2 ช้อนชา ใส่ในขวดแก้วปากกว้างที่มีฝาปิด แล้วคนให้เข้ากัน จนกลายเป็นสารละลาย
3. เทน้ำมันยูคาลิปตัส 3 มล. ลงไปผสมให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้
4. นำกระวาน 1 ผล กานพลู 5 ดอก โป๊ยกั๊ก 1 ผล อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี พริกไทยดำ อย่างละ 1 ช้อนชา ใส่ชาผสม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. ตักสมุนไพรในข้อ 4 ใส่ลงในขวดสำหรับใส่ยาดม แล้วเติมสารละลายในข้อ 3 ลงไปพอประมาณ แล้วปิดฝา เสร็จขั้นตอนพร้อมนำไปใช้ดมได้
ขั้นที่ 2 Reflecting คือการสะท้อนคิดจากการสังเกต
โดยการฝึกให้นักศึกษาทุกคนอภิปรายผลที่ได้และความรู้สึกจากการลงมือทำยาดมสมุนไพรด้วยตนเองในครั้งแร ซึ่งอาจารย์จะคอยช่วยเสริมประเด็นในการอภิปราย ในประเด็นต่างๆ เช่น คำนึงถึงความสะอาดในการทำหรือไม่ อย่างไร เทคนิคการชั่งตวงส่วนผสม ลำดับขั้นตอนการเติมส่วนผสม ความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์
จากนั้นตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปถึง “การทำยาดมสมุนไพร” ประเมินว่านักศึกษามีความรู้สึกกับผลงานยาดมสมุนไพรฝีมือหรือผลงานของตนเองอย่างไร มีจุดบกพร่องหรือมีข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร เพื่อให้นักศึกษาบันทึกผลที่เกิดขึ้น และสาเหตุของการเกิด เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่ 3 Thinking การสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรม
หลังจากที่แต่ละกลุ่มทำยาดมสมุนไพรเสร็จ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปวิธีการทำ และอัตราส่วนของสารผสม (พิมเสนและการบูร อย่างละ 1 ช้อนชา เมนทอล 2 ช้อนชา น้ำมันยูคาลิปตัส 3 มล. กระวาน 1 ผล กานพลู 5 ดอก โป๊ยกั๊ก 1 ผล อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี พริกไทยดำ อย่างละ 1 ช้อนชา)
โดยให้นักศึกษา เขียน Flow chart ตามขั้นตอนของแต่ละกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ประเมินความสามารถของนักศึกษาจากแบบบันทึกวิธีการทำยาหม่องสมุนไพร
ขั้นที่ 4 Acting คือการทดลองปฏิบัติ
นักศึกษา ในแต่ละกลุ่มลงมือทำยาหม่องสมุไพรอีกรอบตามวิธีการที่ได้จากแนวคิดของกลุ่ม โดยกำหนดให้ทุกกลุ่มต้องเปลี่ยนสูตรส่วนผสมห้ามซ้ำกับรอบแรก จากนั้นให้นักศึกษาเสนอสูตรการทำยาหม่องสมุนไพรจากวัตถุดิบส่วนผสมที่มี หรือวัตถุดิบส่วนผสมอื่นที่นักศึกษาคิดว่าจะเป็นส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ของยาดมสมุนไพร อาจเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกมากในพื้นที่ หรือเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม โดยใช้อุปกรณ์ ส่วนผสมเดิม โดยในขั้นตอนนี้ อาจารย์ใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรมของนักศึกษา และประเมินคุณภาพของยาดมสมุนไพรที่นักศึกษาลงมือทำ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากรอบแรกอย่างไร นักศึกษาได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดจากการทำครั้งแรกตรงจุดไหนบ้างและนำมาปรับปรุงในขั้นตอนนี้อย่างไร เพื่อทำให้คุรภาพของยาดมสมุนไพรมีคุณภาพดีขึ้น เช่นหอมขึ้น ไม่แฉะ ไม่หกเลอะเทอะ ใช้ง่ายและสะดวก
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการการนำไปใช้หรือการลงมือปฏิบัติจริงอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
2.1 การพัฒนาทักษะด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life)
จากการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม โดยเชิญ ผศ.ดร.พนิตนาฏ ชูฤกษ์ เป็นวิทยากรอบรม ผลการดำเนินงาน ทักษะด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (English Communication in Everyday Life) ผ่านกิจกรรมกลุ่ม การทำยาดมสมุนไพร โดยการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการพัฒนาทักษะ ด้านการสื่อสาร นักศึกษาสามารถอธิบายส่วนผสม อุปกรณ์ ลำดับขั้นตอน การทำยาดมสมุนไพรได้ (ภาพที่ 2)



ภาพที่ 2 หลักฐานแสดงกิจกรรมกลุ่มการทำยาดมสมุนไพร ในโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
2.2 การพัฒนาทักษะการเขียน resume ภาษาอังกฤษ (English Resume Writing) เป็นการพัฒนาทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทุกคน ได้ฝึกเขียน Resume ภาษาอังกฤษ

ภาพที่ 3 ตัวอย่างหลักฐานการเขียน Resume ภาษาอังกฤษ
2.3 ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอ (English for Presentations)
วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2024 นักศึกษาของคณะนวัตกรรมเกษตร ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่ประเทศอินเดีย ในหัวข้อ In vitro biocontrol potential of natural substance combination against microbial plant diseases ภาพที่ 4




ภาพที่ 4 หลักฐานแสดงการนำเสนอผลงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ
2.4 มีการทำ MOU กับมหาวิทยาลัยกุ้ยโจว สาธารณณัฐประชาชนจีน
โดยในปี 2024 ทางหลักสูตรได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ Guizhou University for Nationalities ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1951, โดยสังกัดรัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจว,เป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่สำคัญแห่งแรกของมณฑลกุ้ยโจว,รัฐบาลของมณฑลกุ้ยโจวและคณะกรรมการกิจการพลเรือนแห่งชาติร่วมกันสร้างขึ้น,และมหาวิทยาลัยกุ้ยโจ้วเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรติดอันดับต้นๆของประเทศจีนโดยในความร่วมมือดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยกุ้ยโจว ได้มีการมานำเสนอผลงานวิจัยด้านโรคที่เกิดจากเชื้อราในพริก และการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ โดย Prof. Yong Wang ให้กับนักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตร และ ในช่วงระหว่าง วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 – 30 กรกฎาคม 2567 ทางหลักสูตรได้มีการส่งนักศึกษาของคณะ จำนวน 7 คน (ภาพที่ 5) ไปฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยลักษณะงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย อาทิ การเพาะเลี้ยงเชื้อ การคัดแยกเชื้อ การทดสอบกิจกรรมการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญของพืชสมุนไพร ซึ่งนักศึกษาของเราได้ค้นพบเชื้อราตัวใหม่ที่เป็นเชื้อราสาเหตุโรคในพริกที่ไม่เคยมีการระบาดและตรวจพบมาก่อนใน จีนชื่อเชื้อ Stagonosporopsis pogostemonis มีลักษณะสปอร์ ดังแสดงในภาพที่ 6


ภาพที่ 5 นักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตรที่ไปฝึกงานที่ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว

ภาพที่ 6 แสดงลักษณะสปอร์ของเชื้อ Stagonosporopsis pogostemonis
ในปี 2567 Assoc. Prof. Dr. Xiang Yu Zeng. จาก Department of Plant Pathology Guizhou University มาบรรยายเกี่ยวกับ “เทคนิคการจำแนกสสปีชีส์เชื้อราสาเหตุโรคพืชด้วย AI” ภาพที่ 7

ภาพที่ 7 หลักฐานแสดงรายชื่อการร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
2.5 มีการจัดกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านการปฏิบัติระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
จากการจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษอังกฤษให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร มีนักศึกษาของทั้ง 2 คณะ เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย (ภาพที่ 8)



ภาพที่ 7 หลักฐานแสดงรายชื่อการร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
มหาวิทยาลัยรังสิต โดยสถาบันภาษาอังกฤษ ได้จัดให้มีการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาเป็นประจำทุกปี ซึ่งในแต่ละปี มีนักศึกษาของคณะนวัตกรรมเกษตรเข้ารับการทดสอบ RSU2 -Test มีผลการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ในระดับ A2 กับ B2 ภาพที่ 5



ภาพที่ 5 แสดงคะแนนทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ RSU2-Test ของคณะนวัตกรรมเกษตร ในแต่ละปี
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ในส่วนของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร ซึ่งมี 3 หลักสูตร และทั้ง 3 หลักสูตรได้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ให้กับนักศึกษา คณะนวัตกรรมเกษตร นอกเหนือจากการจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีโครงการพัฒนาทักษะภาจีนและภาษญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิต ในการไปฝึกงานที่จีนและญี่ปุ่น คณะเทคโนโลยีอาหาร มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ Toyo College of Food Technology เป็นประจำทุกปี ส่วนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในนามวิทยาลัย ให้นักศึกษาของทั้ง 3 หลักสูตรได้เข้าร่วม แต่ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จมากกว่านี้ ผู้ถ่ายทอดบทเรียนขอเสนอ
- ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ควรจัดให้มีพื้นที่ หรือห้อง ที่มีสื่อหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
- แนะนำแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซด์ที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาทักษะการฟัง
- ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อโซเชียล เพื่อให้มีอัตราส่วนของนักศึกษานานาชาติที่สนใจได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้ให้มากกว่านี้ และเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาไทยได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษครบทั้ง 3 ด้าน