รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : KR 1.2.1, 4.1.6/1
ICC x YUFE x ORM การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
เชิงสร้างสรรค์

ผู้จัดทำโครงการ
ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อินทร์ ดร.สมิตา กลิ่นพงศ์
พจ.พรพรรณ ทรัพย์เอี่ยม และพจ.ณัฏฐา มูลศาลา
วิทยาลัยนานาชาติจีน
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การสื่อสารทางภาษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีนักศึกษาต่างชาติศึกษาอยู่ร่วมกัน จำนวนมากจำเป็นต้องพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม การพัฒนาทักษะการสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เพียงเพื่อการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้นแต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อสำหรับโอกาสในอนาคตของนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- ความรู้ด้านการใช้ภาษาจีน และภาษาไทย
- การเรียนรู้ภาษาจากเจ้าของภาษาทำให้สามารถใช้ภาษาที่เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เรียนรู้ในการสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าของภาษาในบรรยากาศที่เป็นมิตร และไม่เป็นทางการจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการสื่อสาร
การเรียนรู้ภาษาที่ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันจะช่วยให้ทั้งนักศึกษาจีน และไทยสามารถเข้าใจ และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
คลังความรู้ที่ทำการศึกษาด้วยตนเอง
วิธีการดำเนินการ
- ICC ประสานไปทางคณะบริหารเพื่อเชิญชวน นักศึกษาไทยในโครงการ YUFE (โครงการ 2 ปริญญา Yunnan University of Finance and Economics) และ ORM (แพทย์แผนจีน) มาทำกิจกรรมการเรียน ภาษาต่างประเทศเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง ในคาบเรียนวิชา ICT104
- จัดกิจกรรมเล่นเกมส์เพื่อละลายพฤติกรรม
- ให้นักศึกษาจับกลุ่มกันเพื่อเรียนรู้ภาษาของกันและกัน
- ให้นักศึกษาจีนสอนภาษาจีนให้แก่นักศึกษาไทย และนักศึกษาไทยสอนภาษาไทยให้นักศึกษาจีนภายใต้หัวข้อที่กำหนด และออกมานำเสนอร่วมกัน
- หลังจบคลาสเรียนให้นักศึกษาแลกเปลี่ยน CONTACT ซึ่งกันและกันตามความสมัครใจ เพื่อทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันต่อไป
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
เดิมตั้งใจให้นักศึกษา YUFE และ ORM เข้ามาร่วมกิจกรรมในวิชา ICT104 ตลอดภาคการศึกษา แต่นักศึกษาไทยมีตารางกิจกรรมค่อนข้างแน่นจึงทำให้การจัดกิจกรรมได้เป็นครั้งคราวขาดความต่อเนื่อง
- นักศึกษาทั้งสองกลุ่มได้ร่วมทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมในตอนเริ่มต้น ซึ่งช่วยให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายและ เปิดใจมากในการใช้ภาษาต่างประเทศร่วมกันมากขึ้น
- การจับกลุ่มเพื่อเรียนรู้ภาษาซึ่งกันและกันทำให้นักศึกษาจีน และไทยได้มีโอกาสสอนภาษาและอธิบายวิธีการใช้ภาษาที่เป็นกันเองซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้
- เกิดการแลกเปลี่ยน CONTACT นำมาซึ่งการกระตุ้นให้มีการติดต่อ และสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนานในอนาคต
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
กิจกรรมในครั้งนี้ช่วยให้นักศึกษาทั้ง 2 ประเทศเปิดใจ และทำความรู้จักกันได้ง่ายขึ้นในบรรยากาศที่สนุกสนานและเป็นกันเองรวมถึงช่วยเสริมสร้างทักษะภาษาต่างประเทศระหว่างนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม เพิ่มความเข้าใจในการสื่อสารที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม และภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้เหล่านักศึกษาเข้าใจซึ่งกันและกันจนนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกันในอนาคต
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
- อาจารย์ผู้ประสานงานโครงการ YUFE และ ORM ต้องมีความเข้าใจและเห็นพ้องที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
- ผู้สอนต้องมีความเข้าใจในภาษา และวัฒนธรรมที่หลากหลาย และยินดีสร้างสรรค์
- นักศึกษาทั้ง2ฝ่ายต้องเห็นประโยชน์การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน