รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.2.1

เส้นทางความสำเร็จด้วยการผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมากเทคนิคใหม่ (RJ-TUAEP) จากจุดเริ่มต้นไปสู่รางวัลเลิศรัฐ 2567 (A to Z road to Public Sector Excellence Awards 2024 : RJ-TUAEP)

ผู้จัดทำโครงการ​

ผศ.(พิเศษ) นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

วิทยาลัยแพทยศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

        ภาวะต่อมลูกหมากโตพบมากขึ้น ในปัจจุบันผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะไม่ออก การรักษาหลักคือการผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก แบบวิธีดั้งเดิม (Transurethral Resection of Prostate :TURP) ซึ่งมีภาวะเสียเลือดปริมาณมาก (500-1000 ml) ฟื้นตัวช้า นอนโรงพยาบาลนานกว่า 4-5วัน และในผู้สูงอายุอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง(TURP syndrome) ได้ถึงร้อยละ 8 ก่อให้เกิดกระสับกระส่ายไม่รู้สึกตัว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ร้อยละ 25 ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบในระดับประเทศ โดยมีผู้มารับบริการผ่าตัดTURP ประมาณ 1,500-2,000 รายต่อปี ถึงแม้จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น กลุ่มเลเซอร์ แต่ราคาอุปกรณ์ก็สูงกว่า 15,000,000 บาท ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณของโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพของประชาชน

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 
        เป็นการพัฒนาการเทคนิคใหม่ RJ-TUAEP ที่ใช้อุปกรณ์เดิม ร่วมกับการเพิ่มทักษะของศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะในภูมิภาค เพื่อให้ได้ผลเทียบเท่าอุปกรณ์ราคาแพง อีกทั้งเป็นการพัฒนาต้นทุนมนุษย์อย่างยั้งยืน ในการสอนทักษะการผ่าตัดศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการของประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ ต่อไป

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เจ้าของความรู้/สังกัด
Transurethral Anatomical Enucleation of Prostate (TUAEP) in Benign Prostatic Hyperplasia with Bipolar System: First Study in Thailand, J Med Assoc Thai 2019;102(Suppl.4):20-5. 

วิธีการดำเนินการ

1. การพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดภาวะต่อมลูกหมากโต RJ-TUAEP และได้เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์
2. นำเสนอในงานประชุมวิชาการเผยแพร่องค์ความรู้ในงานประชุมวิชาการสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ
3. จัดการฝึกอบรมและเผยแพร่เทคนิคRJ-TUAEPกระจายสู่โรงพยาบาลระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะที่สามารถเป็นเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้โมเดลการให้บริการแก่ โรงพยาบาลในเขตสุขภาพใกล้เคียงได้ และเพิ่มการเข้าถึงของประชาชน

2.Prototype testing in an operational environment – DO 
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

ผลลัพธ์/ผลผลิตเชิงประจักษ์: ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะดีขึ้นหลังผ่าตัดทันที โดยการใช้ค่าตัวชี้วัดมาตรฐานต่าง ๆ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการรักษาพบว่าอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีดังนี้
มาตรฐานสากลในการวัดระดับความรุนแรงของอาการต่อมลูกหมากโต (international prostate symptom score : IPSS), ระดับคุณภาพชีวิต (Quality of life score : QOL), อัตราการไหลของน้ำปัสสาวะ (Qmax), ปริมาณปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ (Post Void Residual urine : PVR) อัตราการเสียเลือดเทคนิค RJ- TUAEP

ตารางที่ 1 แสดงผลการรักษาก่อน และหลังผ่าตัดด้วยวิธี RJ-TUAEP

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล

บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ ภายหลังเผยแพร่ผลงานในวารสาร การบรรยายในการประชุมวิชาการ การออกหน่วยลงพื้นที่สอนแสดงการผ่าตัด และการจัดอบรม RJ-TUAEP start up ทำให้ได้รับความสนใจในหลายโรงพยาบาล เกิดการริเริ่มให้บริการผ่าตัดแบบRJ- TUAEP เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น เป็นการยกระดับมาตราฐานการรักษาสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการอีกด้วย

ประโยชน์ที่ประชาชน และผู้รับบริการได้รับจากโครงการผ่าตัดส่องกล้องต่อมลูกหมากเทคนิคใหม่ RJ-TUAEP มีดังนี้
1. ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลในส่วนกลาง โดยไม่ต้องเดินทาง
เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาอย่างยั่งยืน
2. ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี เห็นผลดีได้ชัดเจนหลังผ่าตัด
3. ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่ปลอดภัย เสียเลือดน้อย ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง (TURP-Syndrome)
4. ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว นอนโรงพยาบาลสั้นลง ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ
5. โครงการก่อเกิดความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ส่งผลดีกับประชาชนดังนี้

10.5.1. เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
โดยส่องกล้องต่อมลูกหมากเทคนิคใหม่ RJ-TUAEP
ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ต้องทุกข์ทรมานกับภาวะปัสสาวะลำบาก
10.5.2. เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ จากโครงการมีการกระจายความรู้
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ระดับภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองหลวงกับชนบท
ในการมีโอกาสในการรับการรักษาที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาค และสมเหตุสมผล

6. ปัจจุบันมีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องต่อมลูกหมากเทคนิคใหม่ RJ-TUAEP
ในหน่วยบริการทั่วประเทศสะสมแล้วกว่า 2,000 ราย มีเครือข่ายกระจายให้บริการในเขตสุขภาพดังต่อไปนี้
เขตสุขภาพที่ 1 : เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน
เขตสุขภาพที่ 2 : เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
เขตสุขภาพที่ 3 : พิจิตร
เขตสุขภาพที่ 4 : สระบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี และลพบุรี
เขตสุขภาพที่ 5 : กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม
เขตสุขภาพที่ 6 : ระยอง และสระแก้ว
เขตสุขภาพที่ 7 : ร้อยเอ็ด และขอนแก่น
เขตสุขภาพที่ 8 : อุดรธานี
เขตสุขภาพที่ 9 : ชัยภูมิ และบุรีรัมย์
เขตสุขภาพที่ 10 : อยู่ระหว่างการวางแผนงาน
เขตสุขภาพที่ 11: นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และกระบี่
เขตสุขภาพที่ 12: สงขลา ตรัง นราธิวาส และปัตตานี

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

การต่อยอดพัฒนาในอนาคต
1. การเพิ่มปริมาณศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะที่สนใจ เข้าร่วมการอบรมในโครงการ โดยคาดการที่จำนวน 70 ท่านภายใน 5 ปี
2. สร้างเครือข่ายศูนย์ฝึกอบรมในส่วนภูมิภาค ต่อยอดเสริมศักยภาพผู้ที่ผ่านการอบรมในชุดแรก กว่า 35 ท่าน 
3. มีการควบคุมคุณภาพการผ่าตัดโดยผ่านการส่งวีดีโอผ่าตัดมาประเมินทุก 6-12 เดือน
4. การสร้างเครือข่ายการผ่าตัดระดับประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
5. การรวบรวมข้อมูลวิจัยร่วมกันเป็นฐานข้อมูลระดับประเทศต่อไป
6. สร้างเครือข่ายเผยแพร่ความรู้ระดับอาเซียนและนานาชาติ

Scroll to Top