รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.2

ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข กิจกรรม ปลูกป่าสมุนไพร ปลูกใจกรุณา ดำเนินการที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดสาลโคดม จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร.ทนพ. ปฐมพงษ์ สถาพรพงษ์

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

        ในปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพืชสมุนไพร มีผลกระทบโดยตรงต่อวงการแพทย์และเภสัชกรรม ซึ่งพืชสมุนไพรเป็นแหล่งสำคัญของสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในตำรับยาแผนไทยและแผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่ป่า การใช้สมุนไพรอย่างไม่ยั่งยืน และการขาดความตระหนักในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดสาลโคดม จังหวัดสิงห์บุรี ได้ดำเนินโครงการ "ธมฺมจารี สุขํ เสติ: ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข" กิจกรรมปลูกป่าสมุนไพร ปลูกใจกรุณา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเป็นการแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงฉวี บุนนาค คณบดีผู้ก่อตั้งเนื่องในโอกาสได้รับรางวัล ภสัชกรแห่งชาติ โดยสภาเภสัชกรรม

โครงการนี้ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1. การอนุรักษ์สมุนไพรและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
     o ส่งเสริมให้เกิดการปลูกและดูแลพืชสมุนไพรในพื้นที่วัดและสถาบันการศึกษา
     o เพิ่มจำนวนพืชสมุนไพรที่สำคัญทางเภสัชกรรมให้คงอยู่ในระบบนิเวศ
     o สนับสนุนการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักเภสัชศาสตร์
2. การบูรณาการความรู้ทางเภสัชศาสตร์และพระพุทธศาสนา
     o เชื่อมโยงศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์กับหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยเน้นการพึ่งพาธรรมชาติและการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสันติ
     o เสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมและความเมตตา ผ่านกิจกรรมปลูกป่าและการดูแลสมุนไพร
     o สร้างโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักธรรม เช่น ความกรุณา และความรับผิดชอบต่อสังคม
3. การส่งเสริมสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม
     o การปลูกป่าสมุนไพรช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
     o สนับสนุนการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมการแพทย์ทางเลือกและองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรอย่างปลอดภัย
     o ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ชุมชน และวัด ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมุนไพร

เหตุผลของการจัดโครงการ
การจัดโครงการนี้มีความสำคัญและความจำเป็นจากหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. การลดลงของทรัพยากรสมุนไพรและความจำเป็นในการอนุรักษ์
    o สมุนไพรไทยหลายชนิดกำลังสูญพันธุ์หรือมีจำนวนลดลงจากการใช้ประโยชน์ที่เกินขีดจำกัด 
    o การจัดตั้งพื้นที่ปลูกป่าสมุนไพรภายในวัดและสถานศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชสมุนไพรให้มีความยั่งยืน

2. การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากร
    o นอกจากการเรียนรู้เกี่ยวกับเภสัชศาสตร์ นักศึกษาควรได้รับการปลูกฝังแนวคิดด้านจริยธรรมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
    o พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณค่าของความเมตตา ความรับผิดชอบ และความกลมกลืนกับธรรมชาติ

3. การส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการพัฒนาทักษะที่จำเป็น
    o การจัดโครงการในพื้นที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดสาลโคดม ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับบรรยากาศทางธรรมชาติและหลักธรรม
    o นักศึกษาเภสัชศาสตร์สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่อง รวมถึงการวิจัยและพัฒนายาสมุนไพร

4. การมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    o วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรที่ยั่งยืน
    o การดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา วัด และชุมชน จะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง

4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดี ปลูกฝั่งจิตที่ดี มีสติ และคุณธรรมแก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์ และบุคลากรวิทยาลัยเภสัชศาสตร์
2. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ และบุคลากรวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ได้เรียนรู้และปฏิบัติธรรมจริง ได้ฟังในเรื่องที่มีประโยชน์และเสริมสร้างจิตใจที่ดี
3. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการ ธมฺมจารี สุขํ เสติ: ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข

        เป็นโครงการที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พืชสมุนไพร ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจผ่านกิจกรรมการปลูกป่าและการเรียนรู้ภายในพื้นที่วัดและสถาบันการศึกษา การดำเนินโครงการนี้เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable
Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ทั้งนี้ ความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา คณาจารย์ นักศึกษา วัด และชุมชน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อเภสัชศาสตร์และการแพทย์ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 
         โครงการ “ธมฺมจารี สุขํ เสติ: ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข” เป็นโครงการที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์และพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สมุนไพรและพัฒนาจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมหลักของโครงการประกอบด้วย การปลูกป่าสมุนไพรและการเรียนรู้คุณค่าทางเภสัชกรรมของพืชสมุนไพร ควบคู่กับการปลูกฝังหลักธรรมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การดำเนินโครงการที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดสาลโคดม จังหวัดสิงห์บุรี ได้นำไปสู่การค้นพบและการตระหนักถึงประเด็นความรู้ที่สำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 มิติหลัก 
ได้แก่ (1) องค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์และสมุนไพร (2) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและการพัฒนาจิตใจ และ (3) แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น มีหลัก "พุทธปรัชญาด้านสิ่งแวดล้อม"
ซึ่งเน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลและมีความรับผิดชอบ หรือหลักธรรม เช่น เมตตา กรุณา และสันโดษ ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการปลูกฝังแนวคิด "ธมฺมจารี สุขํ เสติ"
(ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข) เชื่อมโยงกับการปฏิบัติที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสังคม การปลูกพืชสมุนไพรหรือไม้ยืนต้นยังช่วยสร้างระบบนิเวศที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและการศึกษา และส่งเสริมการศึกษาความสัมพันธ์ของพืชสมุนไพรกับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วัดและชุมชน ตลอดจนเป็นการสร้างฐานข้อมูลสมุนไพรในพื้นที่วัดและสถานศึกษาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดการศึกษาและการวิจัย ดังนั้นความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนา นโยบายการอนุรักษ์สมุนไพร, การพัฒนาหลักสูตรด้านเภสัชศาสตร์ และการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน นอกจากนี้ โครงการนี้ยังเป็นต้นแบบของการบูรณาการศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืนและมีความสมดุลทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณ

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
☑︎ อื่น ๆ (โปรดระบุ)
ความรู้ที่เกิดประสบการณ์การจัดโครงการแล้วบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
☑︎ เจ้าของความรู้/สังกัด อ.ดร.ทนพ. ปฐมพงษ์ สถาพรพงษ์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

วิธีการดำเนินการ

2.Prototype testing in an operational environment – DO 
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง

ครงการ ธมฺมจารี สุขํ เสติ: ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข
         เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สมุนไพรไทย ควบคู่กับการพัฒนาจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและคุณธรรมจริยธรรมในหมู่คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรที่เป็นทรัพยากรสำคัญในทางการแพทย์และเภสัช
กรรม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบนิเวศของพืชสมุนไพรที่กำลังลดลง การดำเนินโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้บริหารของวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งตระหนักถึงความจำเป็นของการบูรณาการองค์ความรู้ด้านสมุนไพรและเภสัชศาสตร์เข้ากับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรม โดยมีการดำเนินกิจกรรม ณ โถงหน้าสำนักงานธุรการวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดสาลโคดม จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.00 น. และนำต้นไม้และพืชสมุนไพรไปปลูกที่วัดสาลโคดม จังหวัดสิงห์บุรี ในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามากกว่าร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย และมีระดับความพึงพอใจในกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์สูง โดยได้ดำเนินการคัดเลือกและปลูกพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางเภสัชศาสตร์ และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในมหาวิทยาลัยและวัดที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สามารถเติบโตและเป็นแหล่งเรียนรู้ระยะยาว โครงการนี้ยังมีนักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจและความตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์สมุนไพร นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์จริงในการเพาะปลูกและดูแลสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาสรรพคุณทางเภสัชวิทยาของพืชแต่ละชนิดที่สามารถบูรณาการเนื้อหาด้านพฤกษศาสตร์เภสัชกรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าสู่หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษาและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจสูงต่อกิจกรรม โดยเห็นว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์ทั้งทางด้านวิชาการและการพัฒนาคุณธรรม

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผลบทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่

        การดำเนินกิจกรรมเป็นโครงการความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ การส่งเสริม และสนับสนุนด้านจริยธรรม คุณธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสร้างสรรค์แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเพื่อให้คณาจารย์ คลากรและนักศึกษาได้มีความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมดำเนินกิจกรรมในรั้ววิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โอกาสในการพัฒนาสติ เจริญปัญญา ทบทวนและขัดเกลาคุณธรรมและจริยธรรม
สร้างสติภายในตัวเพื่อให้ทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาใช้ชีวิตทั้งการปฏิบัติงานการเรียนและการสอน
ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร ตลอดจนเป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อสร้างสันติสุข ปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสืบสานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผ่านการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจหลักในการสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ร่วมกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นสถาบันที่มีบทบาท ส่งเสริมและสนับสนุน คุณธรรม จริยธรรม การประกอบสัมมาชีพและจรรโลงไว้ซึ่งพระศาสนา โดยผลที่เกิดขึ้นส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์มีโอกาสได้ฟังธรรมตามกาล ได้ฝึกสติ เจริญภาวนาซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้มีสติ อันจะนำไปสู่การหาทางออกและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งในการศึกษาเล่าเรียน และในชีวิตประจำวัน รวมถึงมีโอกาสสั่งสมบุญบารมี ได้มีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเกิดการบ่มเพาะ และส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม และความซื่อสัตย์ทั้งต่อการศึกษาเล่าเรียนและต่อวิชาชีพ ตลอดจนนักศึกษาเภสัชศาสตร์มีโอกาสในการทำกิจกรรมและสร้างความสัมพันธ์กับทั้งคณาจารย์และบุคลากรอื่นๆ การมีสุขภาพทั้งกายและจิตที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาและสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเจริญพร้อมทั้งทางด้านวัตถุและคุณภาพทางจิตใจส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถสร้างบัณฑิตเภสัชศาสตร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม วางตนในบริบทที่เหมาะสม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัย

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          เนื่องจากเป็นโครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ที่มีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างทั้งสองสถาบัน ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมจึงมีกรอบแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสามารถดำเนินโครงการต่อเนื่องตามแนวทางความร่วมมือระหว่างสองสถาบันได้อย่างเกิดประสิทธิผล

Scroll to Top