รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.2/1, KR 5.2.1/1 และ KR 5.2.2/1

แนวทางการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมี
ชื่อเสียงของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร. ศิรประภา ศรีวิโรจน์ ผศ. ดร. นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
และ ผศ. เกศรา สุพยนต์

คณะบัญชี

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

           แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารภาพลักษณ์และสร้างความมีชื่อเสียงให้กับองค์กร (Image and Reputation Management) โดยมีวัตถุประสงค์

1) การสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรังสิต (Brand Reputation)
2) กลุ่มคณะวิชามีชื่อเสียงหรือได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ (Faculty Quality)
3) การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษา (Student Life Experience)

คณะบัญชีจึงได้นําเป้าหมายผลลัพธ์ (KR) ในแต่ละวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นเป้าหมายของการพัฒนาคณะบัญชีในระยะ 5 ปีนับแต่ปี 2565 -2569 ดังแสดงในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี โดยกําหนดกลยุทธ์สําคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายผลลัพธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 การสนับสนุนการสร้างชื่อเสียงของอาจารย์โดยการพัฒนาทักษะการวิจัยและสร้างผลงานวิจัยคุณภาพเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพที่อยู่ในฐาน SCOPUS และการเพิ่มผลงานวิจัยคุณภาพ ทุนวิจัย ให้เป็นที่ประจักษ์ในการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างภาพลักษณ์ของอาจารย์และนักศึกษาโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพทั้งระดับประเทศ และระดับนานาชาติ จัดกิจกรรมทางวิชาการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งการพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และสังคมชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงของอาจารย์และนักศึกษาโดยส่งผลงานทางวิชาการที่ทําร่วมกัน ได้แก่ บทความวิจัย รายงานวิจัย เข้าประกวดในเวทีระดับชาติ และนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการ
ส่งนักศึกษาเข้าแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการบัญชี บทวิเคราะห์การศึกษาด้านการบัญชีและธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 4 การให้ความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ในการเข้าร่วมดําเนินกิจกรรม/โครงการ วันสําคัญของชาติการสืบสานประเพณี และ การส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/ โครงการด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ก่อเกิดคุณค่า/มูลค่าเพิ่มแก่สังคมและประเทศชาติของคณะวิชาการสนับสนุนกิจกรรม/โครงการ
          คณะบัญชี โดยคณบดี และคณะกรรมการประจําคณะ ตระหนักถึงความสําคัญในการพัฒนาและนํากลยุทธ์ ทั้ง 4 ลงสู่การปฏิบัติดังปรากฏในแผนปฏิบัติการประจําปี โดยคณะบัญชี ได้วางเป้าหมายและมาตรการส่งเสริมการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ของแผนยุทธศาสตร์ฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้จุดแข็งและโอกาสของคณะ ต่อไปนี้ในการกําหนดกลยุทธ์เพื่อให้คณะบัญชี สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว

จุดแข็ง

  • มีอาจารย์ที่มีความสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาหรือองค์กรวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ
  • มีเครือข่าย และความร่วมมือในด้านวิชาการ การวิจัย กับองค์การวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทต่างๆ
  • บุคลากรมีความร่วมมือในการทํางาน สามารถทํางานเป็นทีม และมีความเกื้อกูลกัน
  • มีโครงสร้างการบริหารคณะที่รองรับพันธกิจสถาบันอุดมศึกษา และมีคําอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบของตําแหน่งผู้บริหารและคณะกรรมการชุดต่างๆ ชัดเจน
  • อาจารย์ส่วนใหญ่อุทิศตนในการทํางานเพื่อคณะ

โอกาส

  • ผลงานวิจัยที่อาจารย์ทํารวมกับนักศึกษาสามารถนับเป็นผลงานของทั้งอาจารย์และนักศึกษาได้
  • แหล่งทุนวิจัยเปิดโอกาสในการเสนอโครงการวิจัยแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อมุ่งเป้าผลลัพธ์การพัฒนาชัดเจน
  • หน่วยงานภายนอกและองค์กรวิชาชีพบัญชีในประเทศให้ความสนใจและยินดีที่จะพัฒนาเครือข่ายกับ มหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดดําเนินการสอนหลักสูตรทางการบัญชีมากขึ้น
  • มหาวิทยาลัยมีสถาบันภาษาที่จะช่วยในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้กับอาจารย์และนักศึกษา
    มหาวิทยาลัยมีศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ที่จะช่วยสนับสนุนการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียน
    การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ

        การคัดเลือกผลงานเชิงประจักษ์การจัดการความรู้ของคณะบัญชีในปีการศึกษา 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการประจําคณะ จึงเห็นสมควรให้นําเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่อง การบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงของคณะบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการคณะวิชาในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่มีความยากลําบากพอสมควรสําหรับคณะวิชาขนาดเล็ก ความสําเร็จที่เกิดขึ้น ในช่วงระยะเวลาแผนยุทธศาสตร์แม้จะยังมีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกันคณะวิชาอื่นที่มีขนาดใหญ่ แต่ก็กล่าวได้ว่า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีส่งผลให้คณะบัญชีติดอันดับ TOP 10 ของตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพ ที่เชื่อมโยงได้ กับเป้าหมายตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงตลอด 2 ปีที่ผ่าน คือปี 2565-2566 รวมทั้งแนวโน้มที่ดีในปีการศึกษา 2567

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 

  1. เทคนิคและแนวทางในการแสวงหาและสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรภายนอกทางวิชาชีพและวิชาการบัญชี ที่จะทําให้ความร่วมมือในการสร้างกิจกรรมหรือโครงการที่มุ่งพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ให้มี
    จิตอาสาทําประโยชน์เพื่อส่วนรวม รวมทั้งการมุ่งส่งเสริมพันธกิจของคณะในการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย การรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  2. ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านมาตรฐานวิชาชีพบัญชี ดานเศรษฐกิจและการเงิน ด้านโมเดลทางธุรกิจ ที่มีต่อความต้องการของ
    ตลาด หรือความคาดหวังที่ตลาดมีต่อสถาบันการศึกษา
  3. การเรียนรู้ศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ และการทํางานของคณาจารย์ คณะบัญชี ที่มีอยู่ หลากหลาย สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงให้กับคณะวิชา

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knoedge)

  • ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University
    (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)
  • เรื่อง การพัฒนาชุมชนด้วยการวิจัยพัฒนาและกิจกรรมขับเคลื่อน
    เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.นิ่มนวล วิเศษสรรพ์/คณะบัญชี
  • เรื่อง การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนด้วยเครื่องมือทางสังคม
    เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.นิ่มนวล วิเศษสรรพ์/คณะบัญชี
  • เรื่อง การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร
    เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ดร.คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์/คณะบัญชี
  • เรื่อง การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.นันทชัยทองแป้น/วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • เรื่อง การส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดงานวิจัยและนวัตกรรม
    เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์/วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2
    เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เจ้าของความรู้/สังกัด คณบดีคณะบัญชี/ มหาวิทยาลัยรังสิต

วิธีการดำเนินการ

  1. การสร้างและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรวิชาชีพและวิชาการบัญชีที่มีอยู่ และแสวงหาใหม่ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
  2. การสร้างวัฒนธรรมการทํางานแบบมุ่งมั่นสู่ความสําเร็จและบรรลุเป้าหมาย ในการบริการวิชาการ การ
    ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมการเข้าแข่งขัน ประกวดผลงาน โดยใช้มาตรการส่งเสริมที่เหมาะสม และคงไว้ซึ่งคุณภาพการเรียนการสอน
  3. การศึกษากติกา ข้อบังคับ ระเบียบการต่าง ๆ ให้ชัดเจนในวางแผนดําเนินงาน เพื่อให้การดําเนินงาน ประสบผลสําเร็จ
  4. การสร้างความตระหนักรู้นความสําคัญ คุณค่าในตัวของนักศึกษา บุคลากร จากผลงานและความสําเร็จที่ ส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของคณะ
  5. การให้รางวัล และการขอบคุณแก่เจ้าของผลงานและผู้มีส่วนร่วมในความสําเร็จ รวมทั้งการเปิดเวทีภายในคณะเพื่อให้มีถ่ายทอดการทํางานและความสําเร็จที่เกิดขึ้น

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

  1. การนําเป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงของคณะบัญชีลงสู่การปฏิบัติอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการงานแผน งบประมาณ และการบริหารความเสี่ยง คณะบัญชี ซึ่งมีคณบดีคณะบัญชีเป็นประธานคณะกรรมการ เริ่มจากการกําหนดเป้าหมายผลลัพธ์ และกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่จะดําเนินการในแต่ละปี้การศึกษา โดยมุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา อาจารย์ และคณะวิชา ดังนี้
         – นักศึกษา เป้าหมายผลลัพธ์ คือ ผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัล
         – อาจารย์ เป้าหมายผลลัพธ์ คือ ผลงานของอาจารย์ที่ได้รับรางวัล การได้รับเชิญเป็นกรรมการใน คณะกรรมการทางวิชาการ หรือวิชาชีพขององค์กรภายนอก ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารที่อยู่ในฐาน SCOPUS
         – คณะวิชา เป้าหมายผลลัพธ์ คือ โครงการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน โครงการหรือกิจกรรม สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ที่นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมดําเนินงานกับคณะ หรือมหาวิทยาลัยรังสิต
  2. ออกแบบกิจกรรม โครงการ มาตรการ ต่างๆ ที่จะสนับสนุนการดําเนินงานเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ในด้านนี้และในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ประสบความสําเร็จและบรรลุเป้าหมาย โดยเปิดโอกาสให้มีการ
    ทํางานร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และองค์กรภายนอก
  3. คณบดีให้การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรภายนอก เพื่อใช้เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 โดยทําการเสาะแสวงหาความช่วยเหลือ อํานวยการประสานงานกับองค์กรวิชาชีพบัญชี ทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ในกระบวนการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ การทําข้อตกลงความเข้าใจ รวมทั้งการทํางานร่วมกันในการสร้างสรรค์กิจกรรมทางวิชา การสร้างผลงานวิจัย และโครงการบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน
  4. คณบดีให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการด้านการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยรับเป็นที่
    ปรึกษาคณะกรรมการดําเนินงานการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม และสนับสนุนให้อาจารย์ และนักศึกษาของคณะเข้าร่วมเป็นกรรมการดําเนินงานในกิจกรรมต่างๆ และสร้างสรรค์กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ในทุกโครงการหรือกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
  5. การจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการดําเนินงานในปีต่อ ๆ ไป
  6. การจัดกิจกรรมยกย่อง ชมเชย การมอบรางวัลให้กับเจ้าของผลงาน และผู้มีส่วนร่วมในความสําเร็จ ในที่ประชุมคณะกรรมการประจําและอาจารย์ประจําคณะ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หรืออาจารย์ และนําสิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับการพิจารณาความดีความชอบประจําปี

อุปสรรคหรือปัญหาในการดําเนินงาน และการแก้ไขปัญหา

  1. งบประมาณที่มีอยู่อย่างจํากัด ทําให้คณะจําเป็นต้องหาแหล่งทุนภายนอก เพื่อให้สามารถดําเนินงานตามแผนฯ ประสบความสําเร็จบรรลุเป้าหมาย ครอบคลุมตัวชี้วัดความสําเร็จตามแผนปฏิบัติการ
  2. กําลังคนที่มีเพียง 11 คน นั้นหมายความว่าทุกคนจะต้องรับผิดชอบและมีส่วนร่วมกันในการบริหาร ภาพลักษณ์และสร้างความมีชื่อเสียง แต่เป้าหมายทั้งหมดมีทั้งเป้าาหมายระดับบุคคล และระดับคณะ
    ดังนั้นจะต้องมีอาจารย์บางท่านเท่านั้นที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม หรือโครงการในด้านการบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสําเร็จ กําหนดไว้
    อย่างชัดเจน ในฐานะคณบดีจําเป็นตัองให้การสนับสนุน ช่วยเหลือตามความจําเป็นอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างขวัญกําลังใจ ให้เกิดเป็นพลังบวกให้กับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ
    กิจกรรม หรือโครงการในด้านการบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรม นอกเหนือจากความรับผิดชอบในการผลิตผลงานวิจัยคุณภาพซึ่งเป็นของทุกคน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายผลลัพธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 นี้ให้สําเร็จ
  3. ภาระงานสอนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากจํานวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น เบียดบังชั่วโมงการทํางานและการดําเนินงาน ที่จะขับเคลื่อนแผนและเป้าหมายผลลัพธ์ที่กําหนด อาจารย์เกิดความเหนื่อยล้า ส่งผลต่อผลลัพธ์การดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ ซึ่งพบว่า ผลงานที่ปรากฎในแต่ละปี ไม่สม่ําเสมอ จึงต้องปรับปรุงการดําเนินงานในปีต่อไป

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

การตรวจสอบผลการดําเนินการ

           การนํากลยุทธ์ทั้ง 4 ลงสู่การปฏิบัติปรากฏในรายงานผลการติดตามแผนปฏิบัติการประจําปีที่ผ่าน มา 2 ปี โดยคณะบัญชีได้วางเป้าหมายและมาตรการส่งเสริมการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดความ สําเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง มีดังนี้  

 นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ 5.1 ได้รับการประเมินในระดับดีมาก (5 คะแนนเต็ม) อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา

การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้

          ประสบการณ์การบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงของคณะบัญชี ที่สามารถนำไปใช้ได้ คือการเริ่มต้นจากเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5  และกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสม  เมื่อนำสู่การปฏิบัติ คณะกรรมการงานแผน งบประมาณ และบริหารความเสี่ยง  จะร่วมกันพิจารณาและออกแบบการดำเนินการ โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี  โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจวางแผนกิจกรรมและโครงการ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายของแผน

          ในการบริหารจัดการจำเป็นต้องมีระบบและกลไกในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ โดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มุ่งเป้าหมายความสำเร็จ  คณบดีต้องให้กับสนับสนุนอย่างเต็มที่ในทุกด้านตามความจำเป็น  รวมทั้งการยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล แก่เจ้าของผลงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้งานสำเร็จ  เพื่อสร้างเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากร 

บทสรุปข้อค้นพบ

            แนวทางการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง ของคณะบัญชี  มีดังนี้

  1. สร้างภาพลักษณ์คุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงของคณะ โดยใช้การจัดกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงศักยภาพของอาจารย์ประจำ สร้างความประทับใจ ความน่าเชื่อถือ ในแวดวงวิชาการและวิชาชีพบัญชี
  2. สร้างภาพลักษณ์คุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงของคณะ โดยส่งนักศึกษาเข้าแข่งขันในเวทีระดับชาติ และพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ ที่จะได้รับรางวัลจากการแข่งขันทางวิชาการที่จัดโดยองค์กรภายนอกระดับประเทศ และนานาชาติ
  3. สร้างภาพลักษณ์คุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงของคณะ โดยสนับสนุนอาจารย์เข้าไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการทางวิชาการให้กับองค์กรภายนอกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้รับเชิญอย่างต่อเนื่อง
  4. สร้างภาพลักษณ์คุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงของคณะ โดยใช้การเข้าร่วมดำเนินงานกับสถาบันส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อแสดงถึงความตระหนักรู้ในคุณค่า ค่านิยม และทัศนคติที่ดีต่อการสืบสานวัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทยและความเป็นไทย โดยส่งอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมทำงานกับสถาบันฯ ทำคุณประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติ
  5. สร้างภาพลักษณ์คุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงของคณะ โดยให้การส่งเสริมการนำเสนอบทความวิจัยในเวทีประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวด ทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ ในเวทีต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ได้รับการการคัดเลือกบทความวิจัย หรือผลงานวิจัย ดีเด่น

               สิ่งที่สำคัญ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้เป็นที่ประจักษ์ โดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง

        ในที่นี้ จะพิจารณาจำแนกเป็นรายด้านตามเป้าหมายผลลัพธ์ของแผนปฏิบัติการ  มีดังนี้
ในด้านผลงานของนักศึกษา

  1. การสร้างความสำเร็จ และนำผลแห่งความสำเร็จไปใช้เป็นสิ่งจูงใจให้กับนักศึกษารุ่นน้อง โดยจัดงานเลื้ยงและประกาศกิตติคุณให้กับนักศึกษาที่สร้างผลงานทำให้คณะและมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง และเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของความสามารถ
  2. อาจารย์ประจำคณะ มีความรับผิดขอบสูงในการทำหน้าที่โค้ชทีมแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษาทีม  อาจารย์ติวสอบแข่งขัน ภายใต้การให้การสนับสนุนของคณบดีอย่างเต็มที่ในด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวก
  3. ระบบกลไกการสร้างและพัฒนาทีมแข่งขัน เพื่อให้เกิดความพร้อมในการแข่งขัน
  4. การให้การยอมรับ ชื่นชม ยกย่องชมเชย การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และการมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัล

ในด้านผลงานของอาจารย์

  1. การสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างความมีชื่อเสียงของคณะ มาจากผลงานของอาจารย์ ดังนั้นผลงานของอาจารย์ทุกท่านคือผลงานของคณะ 
  2. คณบดี ให้การสนับสนุนส่งเสริมอาจารย์ทุกคน ให้มีการทำวิจัย ทำตำรา โดยสรรหาผู้ประเมินที่เหมาะสมในการให้ความเห็น ข้อแนะนำต่างๆ  รวมทั้งการจัดให้มีโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ วิชาชีพ และการวิจัยให้กับอาจารย์ประจำ อย่างต่อเนื่อง
  3. สร้างวัฒนธรรมการทำวิจัยเป็นทีม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับนักวิจัยมือใหม่ ก่อให้การเรียนรู้จากการลงมือทำ
  4. การบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกให้ตรงกับความต้องจำเป็น

ในด้านผลงานของคณะวิชา

  1. การวางโครงสร้างการบริหารคณะ ให้สอดรับกับพันธกิจสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการที่สนับสนุนการทำงานของทุกฝ่าย
  2. งบประมาณและการบริหารงบประมาณ ที่เอื้อความสามารถในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จภายใต้ข้อจำกัดงบประมาณ
  3. มีระบบและกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ในการวางแผน การดำเนินงาน  การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงการดำเนินงาน
  4. การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล
  5. บุคลากรของคณะ มีความรับผิดชอบสูงมาก

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต

  1. เนื่องจากภาระงานสอนที่เพิ่มมากขึ้น ทางคณะกรรมการงานแผน งบประมาณ และการบริหารความเสี่ยงของคณะบัญชี จะพิจารณาทบทวนปรับเป้าหมายการดำเนินงาน และการกำหนดสัดส่วนการใช้ทรัพยากรไปในงานแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อไม่สร้างความกดดันให้อาจารย์จนเกินไป และสร้างสมดุลยในการดำเนินงานระหว่างพันธกิจสถาบันต่างๆ ให้มากขึ้น โดยให้คณาจารย์คณะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  2. การสร้างภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงด้านนักศึกษา อาจทดลองใช้แนวทางใหม่ โดยให้นักศึกษามีส่วนขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรนักศึกษา ให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของนักบัญชียุคใหม่ เช่น มีความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล AI ซึ่งสามารถสอดแทรกในการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นต้น โดยมีความใส่ใจเรียนรู้เทคโนโลยี และใช้อย่างมีคุณธรรมจริยธรรมแทนการมุ่งเน้นการสร้างผลงานที่ได้รับรางวัล
  3. การสร้างภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียงด้านอาจารย์ ต้องสนับสนุนให้อาจารย์สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน SCOPUS ให้มากขึ้น โดยเรียนรรู้การใช้ AI อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
Scroll to Top