รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567

ยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 5 : KR1.2.1, 1.2.4, 3.1.1, 3.1.2/1 , 3.4.1/1, 5.1.2/1

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ
(Nursing for Holistic Community Wellness)

ผู้จัดทำโครงการ​

รศ.ดร.มนพร ชาติชำนิ ผศ.ดร.นิภา กิมสูงเนิน อาจารย์สุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง และนางปราณี บุญญา

สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

ในยุคปัจจุบัน ความท้าทายด้านสุขภาพในระดับชุมชนที่หลากหลายร่วมกับเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของคุณภาพชีวิตที่ดี การพยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสําคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Wellness) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตจากข้อมูลการสํารวจในปี 2567 ตรวจพบปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น อ้วนลงพุง โรคเรื้อรัง และโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตอย่างความเครียด และซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตประสบปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย เช่น
(1) ประชากรวัยทํางานและผู้สูงอายุร้อยละ 79.63 มีภาวะน้ําหนักเกิน (2) ร้อยละ 42.59 มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) ร้อยละ 96.30 มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (4) ประชากรร้อยละ 53.70 ไม่เคยเข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและโรคซึมเศร้า ก็เป็นอีกประเด็นที่พบในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีนักศึกษาถึงร้อยละ 68 รายงานว่ามีระดับความเครียดปาน
กลางถึงรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัว

การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดีในทุกมิติ (Nursing for Holistic Community Wellness) มุ่งเน้น การบูรณาการการดูแลสุขภาพกาย ใจ และจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงปัจจัยทั้ง ส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคก่อนเกิดปัญหารุนแรง รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระยะยาว

ประเด็นปัญหา
1. ภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง ความชุกของภาวะน้ําหนักเกินและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และโรคหัวใจ กําลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกําลังกาย และความเครียดสะสม
2. สุขภาพจิตในกลุ่มวัยเรียนและวัยทํางาน ความเครียดและความกดดันในชีวิตประจําวัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่อาจพัฒนาไปสู่โรคซึมศร้าหรือภาวะคิดฆ่าตัวตาย จําเป็นต้องมีการดูแลด้านจิตใจอย่างครอบคลุม
3. การขาดการคัดกรองและป้องกันโรค อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งเต้านม และการวัดความดันโลหิต ยังอยู่ในระดับต่ํา ซึ่งเป็นช่องว่างสําคัญในการป้องกันโรค

แนวทางการพัฒนาโครงการ
• การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม: จัดกิจกรรมการพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพกาย เช่น การให้ความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกําลังกาย และสุขภาพจิต เช่น การฝึกสติ (Mindfulness-Based Stress Reduction)
• การตรวจคัดกรองโรคเชิงรุก: เพิ่มการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ เช่น การตรวจวัดความดันโลหิตและระดับ น้ําตาลในเลือด
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: รณรงค์การลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และส่งเสริมการออกกําลังกายที่เหมาะสมสําหรับแต่ละช่วงวัย
• การสนับสนุนสุขภาพจิต: สร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สําหรับการพูดคุยปัญหาและให้คําปรึกษา

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ 
          โครงการนี้มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษานําความรู้จากการเรียนพยาบาลอนามัยชุมชนมาใช้ในสถานการณ์จริง พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน อีกทั้งนําทฤษฎีการพยาบาลมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ โครงการยังเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์การสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา 

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

❒ ความรูจากคลังความรูของเว็บไซตระบบการจัดการความรู KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)
❒  เจาของความรู/สังกัด
 อื่น ๆ เอกสารPDCA จากผลสําเร็จของโครงการ

วิธีการดำเนินการ

          แนวทางการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” สําหรับแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “โครงการแม่บ้านรังสิต หัวใจฟิต ชีวิตฟิน กินดีมีสุข”, “สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข” และ “สูงวัยรู้ทัน เข้าใจ ห่างไกลภัยติดเตียง”, มีแนวทางการดําเนินการที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” ให้ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของแม่บ้านรังสิต ก่อนออกแบบโครงการ ควรมีการเก็บข้อมูลสุขภาพของแม่บ้านมหาวิทยาลัยรังสิตโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชา BNS 481 ปฏิบัติการการพยาบาลอนามัยชุมชน ผ่านแบบสํารวจสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกําหนดปัญหาหลักที่ต้องการแก้ไข เช่น โรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด) ภาวะเครียดจากการทํางานและชีวิตครอบครัว การขาดโอกาสในการออกกําลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพจิต และการบริหารจัดการความเครียด
2. แนวทางดําเนินโครงการ (PDCA Model)
(P) Plan – การวางแผน
1. กําหนดเป้าหมายของโครงการ
    o สร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทุกมิติ
    o ลดอัตราความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

    o พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
2. ออกแบบกิจกรรมที่ครอบคลุมสุขภาพแบบองค์รวม
    o สุขภาพกาย: กิจกรรมออกกําลังกาย โภชนาการที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
    o สุขภาพจิต: ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เทคนิคจัดการอารมณ์
    o สุขภาพสังคม: สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ สนับสนุนทางสังคม
    o สุขภาพสิ่งแวดล้อม: การจัดการที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ
3. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย
    o แม่บ้านและพนักงานในมหาวิทยาลัยรังสิต
    o จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ลงทะเบียน
4. พัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพ
    o แบบสอบถามสุขภาพก่อน-หลังโครงการ
    o การตรวจคัดกรองโรค (BMI, ความดันโลหิต, น้ําตาลในเลือด)
5. เตรียมทรัพยากรและงบประมาณ
    o ประสานงานกับคณะพยาบาลศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    o ขอสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน

(D) Do – การดําเนินโครงการ ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนํามาใช้ในโครงการ:
กิจกรรมที่ 1: รู้ทันโรค ห่างไกลความเสี่ยง
        • ให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง
       • ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมคําแนะนําจากพยาบาล
       • ใช้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมสุขภาพ
กิจกรรมที่ 2: หัวใจฟิต ชีวิตฟิน
       • ฝึกออกกําลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว โยคะ เต้นแอโรบิก
       • แนะนําโปรแกรมออกกําลังกายที่สามารถทําได้ที่บ้าน
       • แนะนําเทคนิคการใช้เครื่องมือติดตามสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ แอปพลิเคชันสุขภาพ
กิจกรรมที่ 3: กินดี มีสุข
       • สาธิตการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามหลัก 2:1:1
       • สอนการอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
       • เชิญนักโภชนาการมาให้คําแนะนําเกี่ยวกับเมนูสุขภาพ

กิจกรรมที่ 4: สุขภาพใจดี ชีวีมีสุข
       • เทคนิคการบริหารความเครียดและการทําสมาธิ
       • จัดเวิร์กช็อปการฝึกสติและการจัดการอารมณ์
       • สนับสนุนเครือข่ายสังคมเพื่อให้กําลังใจกันและกัน
กิจกรรมที่ 5: สิ่งแวดล้อมดี ชีวิตมีสุข
      • แนะนําแนวทางปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ
      • การจัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยลดความเครียด
      • กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อสุขภาพจิต

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดําเนินการ การนําเสนอประสบการณ์การนําไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้
หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
        • แบบสอบถามวัดความรู้และพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังโครงการ
        • วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพที่ได้จากการคัดกรอง
        • วัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
        • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพหลังโครงการ 1 เดือน และ 3 เดือน

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

1. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสอนที่เน้นนวัตกรรม (O 1.2)
• KR1.2.1 การพัฒนากิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
        o ปรับปรุงโครงการโดยใช้ผลการประเมินเพื่อนํามาพัฒนาเนื้อหาการอบรม
        o ขยายขอบเขตของกิจกรรมไปยังบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
        o ส่งเสริมให้แม่บ้านเป็น “แกนนําสุขภาพ” ในครอบครัวและชุมชน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• KR1.2.4 การสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ผ่านโครงการที่มีผลลัพธ์ชัดเจน
        o บูรณาการกิจกรรมด้านการพยาบาลและการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน
        o นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าร่วมโครงการและนําความรู้ไปพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

2. การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือข้ามหน่วยงาน (O3.1, O3.4)
• KR3.1.1 การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพผ่านความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอก
        o จัดตั้งกลุ่ม “แม่บ้านสุขภาพดี” เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการดูแลสุขภาพ
        o ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สําหรับการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพผ่านคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์

• KR3.1.2/1 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี
        o ส่งเสริมให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมมือกันในโครงการส่งเสริมสุขภาพ เช่นศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย
        o ประสานงานกับศูนย์บริการสุขภาพชุมชน เพื่อสร้างโครงการดูแลสุขภาพเชิงรุกที่
สามารถขยายสูระดับชุมชน

• KR3.4.2 การพัฒนาทักษะของบุคลากรสายสอนให้มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพชุมชน
        o สนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลเข้าร่วมโครงการและพัฒนาทักษะด้านการพยาบาลชุมชน
       o ให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการอบรมเชิงปฏิบัติการและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสุขภาพ

3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคม (O5.1)
• KR5.1.2/1 การพัฒนาโครงการที่สร้างคุณค่าเชิงสังคมและยกระดับชื่อเสียงมหาวิทยาลัย
        o จัดโครงการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสําหรับชุมชน
        o ทํางานร่วมกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล คลินิก และหน่วยงานด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโครงการ
         o จัดทํา Health Map ของแม่บ้านเพื่อช่วยติดตามสุขภาพและวางแผนการดูแลที่เหมาะสม

บทสรุป

         โครงการ “การพยาบาลเพื่อชุมชนสุขภาพดี ครบทุกมิติ” มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผ่านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และองค์กรสุขภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถขยายผลไปยังชุมชนได้ในอนาคต การดําเนินโครงการนี้จะช่วยให้แม่บ้าน และบุคลากรในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลมีโอกาสพัฒนาทักษะที่สําคัญต่อการพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ การพัฒนาความร่วมมือข้ามหน่วยงาน และการยกระดับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน

Scroll to Top