รงวัลชมเชย ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : KR 5.1.2/1
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

ผู้จัดทำโครงการ
นางสาวณัฐวรรณ วาเรืองศรี นายศุภวิชญ์ พรมติ๊บ
และนายสิทธินนท์ คำไวย์
สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารออมสินร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการนี้มุ่งเน้นให้เยาวชนได้นำความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการในชุมชน โดยมีแนวคิดสำคัญคือการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- ด้านการเงินการบัญชี เป็นการนำความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่าย รวมถึงการคำนวณต้นทุน เพื่อให้เกิดการขายในจุดที่เหมาะสม และมีกำไรเกิดขึ้น
- ด้านการตลาด โดยการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาทำให้สินค้าเป็นที่น่าสนใจ และเกิดการซื้อของผู้บริโภค รวมถึงการซื้อซ้ำ ตลอดจนการวางแผนการตลาดเป็นวงกว้างเพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อขาย
- ด้านการออกแบบ เป็นการนำความรู้มาออกแบบบรรจุภัณฑ์ และหีบห่อให้มีความน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง และมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าของแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์
- ด้านเทคโนโลยีและความเป็นนวัตกรรม เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการขาย หรือการนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตในแต่ละช่วง
ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการและนักพัฒนาชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ช่วยให้ธุรกิจในชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและแข่งขันได้ในตลาดกระตุ้นการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา และในการลงพื้นที่เพื่อไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมาจากหลากหลายคณะ ทั้งนี้จึงต้องมีการวางแผนและประสานงานกันให้ดี เพื่อให้งานที่ลงไปพัฒนาสำเร็จลุล่วง
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
เจ้าของความรู้/สังกัด นักศึกษา / มหาวิทยาลัยรังสิต
วิธีการดำเนินการ
1.คัดเลือกชุมชนตามเงื่อนไขที่ได้รับ
สถาบันการศึกษา (สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพยืสินทางปัญญา ผู้รับผิดชอบโครงการ) ลงพื้นที่เพื่อทำการคัดเลือกชุมชนที่เหมาะสมตามเงื่อนไขที่ทางธนาคารออมสินกำหนด จากนั้นนำเสนอต่อธนาคารออมสินภาค 14 ผ่านไปยังสำนักงานใหญ่เพื่อพิจารณา อนุมัติโครงการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
2.ตัวแทนอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา โดยได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยรังสิต
ทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา จะทำการวางแผนคัดเลือกคณะ/วิทยาลัย ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ เพื่อเป็นตัวหลักในการพัฒนา และจะแจ้งไปยังคณะต่างๆ เพื่อขอความอนุเคราะห์ส่งตัวแทนคณาอาจารย์ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน พร้อมนักศึกษา ที่มีความสนใจในการจะนำความรู้ในสิ่งที่เรียนมาพัฒนาชุมชนให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยุ่ในแต่ละด้าน เข้าร่วมโครงการ และจะทำหนังสือไปขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาสุงสุดเพื่อส่งร่างขออนุมัติแต่งตั้ง ก่อนส่งให้สำนักงานบุคคลออกหนังสือแต่งตั้งเป็นทางการ
3.ลงพี้นที่เพื่อสอบถามความต้องการ และแก้ปัญหาให้กับชุมชน
สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา จะนำนักศึกษา/ อาจารย์ ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อพบปะพูดคุยกับสมาชิกในแต่ละชุมชน ว่ามีความต้องการที่ชุมชนอยากให้ช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อพัฒนาสินค้า/บริการ ของชุมชนที่มีอยู่หรือต้องการเพิ่มสินค้า/บริการให้มีมากขึ้น หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทางทีมงานอาจารย์และนักศึกษาจะต้องนำปัญหา หรือสิ่งที่ชุมชนต้องการนำมาประชุมในกลุ่มอีกครั้งเพื่อวางแผนที่จะพัฒนาต่อไปในระยะเวลาที่เหลือของโครงการ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในระยะนั้นจะมีการลงพื้นที่เพื่อไปพัฒนา โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน และทีมงานนักสึกษา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำในการดำเนินการในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง โดยแต่ละช่วงเวลาทางสำนักงานบ่มเพาะฯจะคอยเป็นพี่เลี้ยงและประสานงานต่างๆ ให้ในระหว่างการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มให้สามารถดำเนินการได้สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว
4.ดำเนินการและติดตามผล
อาจารย์/นักศึกษา นำผลของการปฏิบัติงาน มาหารือร่วมกันระหว่างชุมชน อาจารย์ และนักศึกษาในกลุ่ม เพื่อขอความคิดเห็นในเรื่องการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือบริการ เพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงจนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ชุมชนต้องการ ในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ หีบห่อให้ทันสมัยดูดี ของสินค้า หรือบริการ และเพิ่มช่องทางการขายที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตลาดให้เกิดวงกว้าง และเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งในแต่ละช่วงการดำเนินการ ในส่วนของสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจฯ จะต้องทำการถ่ายทำวีดิโอ ถ่ายภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดการพัฒนาสินค้า/บริการ เป็นไปตามความต้องการของชุมชน
5.สรุปผลและนำเสนอผลงาน
ประเมินผลโครงการ โดยเมื่อได้สินค้า/บริการ ตามความต้องการของแต่ละชุมชน สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจฯ จะต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน จัดเวทีให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมานำเสนอผลงาน ให้กับกรรมการประกอบด้วยกรรมการจากธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ธนาคารออมสินภาค 14 และ กรรมการจากมหาวิทยาลัยลัย ร่วมตัดสินเพื่อพิจารณาจาก 5 ทีม ให้เหลือ 1 ทีม ที่จะต้องเข้าไปแข่งขันกับอีก 63 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกจากทุกมหาวิทยาลัย เพื่อเป็น THE BEST OF THE BEST เป็นสิ่งที่เราคาดหวัง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากที่สุด และในปี 2566 เราสามารถเป็น THE BEST OF THE BEST ในหมวดคิดดี และเป็น รอง THE BEST OF THE BEST ในปี 2567 ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่เราสามารถไปสู่จุดมุ่งหมาย 2 ปีซ้อน และได้รับการยกย่องว่าเป็น BEST PRACTICES ในการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์ และเอาแนวปฏิบัตินี้ไปนำเสนอให้กับมหาวิทยาลัยอื่นได้ปฏิบัติงาน
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานวิสาหกิจชุมชน ทีมงานของอาจารย์และนักศึกษาของแต่ละกับ และกับทางธนาคารออมสินภาค 14 และธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับผิดชอบในการถ่ายทำวีดิโอ ถ่ายภาพ ทำโปสเตอร์ รวมถึงการช่วยให้ความเห็นเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ หีบห่อ ของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ตอบโจทย์กับตลาด และความเป็นเอกสักษณ์ของชุมชนซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนปิดโครงการ โดยการจัดทำเอกสารตั้งแต่เสนอโครงการเพื่อขอเงินสนับสนุนงบประมาณ และรายงานขั้นตอนจนปิดโครงการอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังต้องมีหน้าที่ติดตามดูแลโครงการชุมชนที่เข้าร่วมอยู่สม่ำเสมอ ร่วมกับธนาคารออมสิน
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
– อุปกรณ์ในการทำงานของสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา มีจำกัด เพราะในบางครั้งมีตารางลงพื้นที่ของกลุ่มภายในวันเดียวกัน จนทำให้ต้องแบ่งอุปกรณ์ในการใช้งาน ไปใช้งานตามกลุ่มต่างๆ หรือ ต้องขอความร่วมมือกับนักศึกษาที่มีอุปกรณ์มาช่วยในการเก็บภาพและวีดีโอ ตลอดระยะเวลาในการทำโครงการ
– อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเครื่องรุ่นเก่า มากๆ spec คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเปิดโปรแกรมที่ใช้งานได้ในบ้างครั้ง ส่งผลให้งานล่าช้าต้องแก้ไขกันบ่อยครั้ง ซึ่งการทำคลิปวีดิโอมีความจำเป็น เพราะชิ้นงานคลิปมีผลต่อการให้คะแนนไนการประกวดผลงาน
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่ดี มุ่งพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้ผลลัพธ์จริง ซึ่งการทำงานดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน งานจึง่จะเกิดการพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่แท้จริง ซึ่งทางสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญโครงการดังกล่าว จึงพยายามให้ความรู้และชี้แนะในบางส่วนที่ทางเราจะสามารถช่วยทีมนักศึกษาและชุมชนได้ โดยอาศัยความร่วมมือจาก อาจารย์ นักศึกษาและชุมชน ความสำเร็จของโครงการไม่ได้อยู่แค่การเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักศึกษา นำความรู้ ความสามารถ พัฒนาทักษะและได้เรียนรู้ในการทำงาน นำไปใช้พัฒนาชุมชนได้แบบยั่งยืน และชณะเดียวกันชุมชนก็ให้ความรู้กับนักศึกษาของเราเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และเข้าร่วมโครงการมาเป็นปีที่ 7 การดำเนินงานดังกล่าว ทำให้นักศึกษาทุกคณะ/วิทยาลัย ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน จึงถือว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อนักศึกษา สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศชาติได้ และสิ่งที่เราประสบผลสำเร็จก็คือ เราสามารถนำทีมนักศึกษาเข้ารอบจนได้รับเป็น ทีม THE BEST OF THE BEST ระดับประเทศ และได้ระดับรอง THE BEST OF THE BEST 2 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากธนาคารออมสินให้เป็น BEST PRACTICES ในการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์ และเอาแนวปฏิบัตินี้ไปเผยแพร่ให้กับมหาวิทยาลัยอื่นได้ปฏิบัติงานตามแบบอย่างของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อไป นอกจากโครงการดังกล่าวยังใช้งบประมาณจากภายนอกมาสนับสนุน ในการดำเนินงานได้ โดยไม่ต้องของบประมาณของมหาวิทยาลัยรังสิตในการดำเนินงาน