การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชุน เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 1

รางวัลดีเด่น ปี2564

ผู้จัดทำโครงการ​

ผศ.ดร.สุมามาลย์ ปานคำ

วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

          จาก KM Rangsit University ปี พ.ศ. 2562 หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media Technology: SMT) ได้ส่งการจัดการความรู้ ประเด็นการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เรื่อง เทคนิคการบริหารหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศด้วย SMT Model ซึ่ง S : Scanning ค้นหาจุดเด่นของหลักสูตรฯ, M : Marketing ทำการตลาดออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก และ T : Teaching-Learning Process วางแผนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้น  โดยหลักสูตรฯ กำหนดวิสัยทัศน์ คือ สร้างนักเทคโนโลยีสื่อสังคมที่มีคุณภาพเน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริงและผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี

          ในปีการศึกษา 2561 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 20 คน ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI1 จำนวน 5 บทความ TCI2 จำนวน 11 บทความ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ และการประชุมวิชาการระดับชาติ จำนวน 2 บทความ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 2 คน ได้แก่ นายกีรติ แย้มโอษฐ รหัสนักศึกษา 6102332  และนางสาวสุดาทิพย์ สันทนาประสิทธิ์ รหัสนักศึกษา 6102314

          ในปีการศึกษา 2562 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 29 คนและตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI 1 จำนวน 7 บทความ TCI 2  จำนวน 19 บทความ และการประชุมวิชาการระดับชาติ จำนวน 3 บทความ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 1 คน ได้แก่ ร้อยโทศุภสัณห์ เกิดสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 6202892

         ในปีการศึกษา 2563 มีผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี จำนวน 32 คนและตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ TCI1 จำนวน 15 บทความ TCI2 จำนวน 22 บทความ  นอกจากนี้ นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาบางคนสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้มากกว่า 1 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 5 คน ได้แก่  นางสาวนงนภัส ชัยรักษา รหัสนักศึกษา 6302966, นายกิตติธัช ช้างทอง รหัสนักศึกษา 6304047, นายกฤษฎา ฟักสังข์ รหัสนักศึกษา 6304277, นางสาวกัญญ์กานต์ กุญโคจร รหัสนักศึกษา 6303580 และนางสาวกัญญานีน์ กุลกนก รหัสนักศึกษา 6303041

          จากการบริหารหลักสูตรฯ ที่มีประสิทธิภาพ เน้นความรู้ ลงมือปฏิบัติจริง และวางแผนการเรียนการสอนที่ดีทำให้ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ที่สูงกว่าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาปกติ ในส่วนของการจัดการความรู้ครั้งนี้ ผู้ให้ความรู้ขอถอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรอื่นฯ และมหาวิทยาลัยต่อไป

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
🗹 ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University 
     (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase)

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
🗹 เจ้าของความรู้/สังกัด ผศ.ดร.สุมามาลย์ ปานคำ

วิธีการดำเนินการ

การบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้เห็นขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน รวมถึงระบุช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแต่ละกระบวนการตั้งแต่วันที่รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาจนจบการศึกษา ดังภาพที่ 1

การบริหารอย่างไรให้นักศึกษาเรียนจบได้ใน 1 ปีและตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้เห็นขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน รวมถึงระบุช่วงเวลาที่กำหนดสำหรับแต่ละกระบวนการตั้งแต่วันที่รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาจนจบการศึกษา ดังภาพที่ 1

จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร เน้นให้มีวิชาการวิจัย 2 วิชาในแต่ละเทอม เพื่อใช้สําหรับถ่ายทอดความรู้และติดตามการทําวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือเรียกว่า เรียนรู้ไป
พร้อมกับการปฏิบัติจริง

2.Prototype testing in an operational environment – DO 

หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media Technology: SMT) ได้ปฏิบัติตามกระบวนการตามแผนที่วางไว้ ดังภาพที่ 1 รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินการ  ดังนี้

  1. คลังข้อมูลวิจัย: ผู้สอนสร้างคลังความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยของศิษย์เก่า หรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ใน Google Drive ตามความต้องการของผู้เรียน เช่น บทความวิจัย, เล่มวิจัย, PPT ของศิษย์เก่าในการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ เป็นต้น 
  2. ไลน์กลุ่มวิจัย: นักศึกษาส่งชื่อเรื่องวิจัยในไลน์กลุ่มเพื่อตรวจสอบไม่ให้หัวข้อวิจัยของนักศึกษาซ้ำกันในรุ่น และซ้ำกับรุ่นพี่ที่ทำวิจัยเสร็จสิ้นไปแล้ว
  3. สร้างแรงจูงใจและเป้าหมายร่วมกัน: ผู้สอนวางแผนร่วมกันกับนักศึกษาทุกคน โดยสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาว่าตั้งใจเรียนจบ 1 ปีหรือไม่ ซึ่งนักศึกษาทุกคนจะตอบว่า “จะเรียนให้จบ 1 ปี” เป็นการสร้างแรงจูงใจและคำสัญญาระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา
  4. แผนปฏิบัติการวิจัย: ผู้สอนอธิบายกระบวนการทำวิจัยและส่งแผนการทำวิจัยที่จะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี ให้นักศึกษาทุกคนทราบ และ ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนในภาพที่ 1 จนถึงนักศึกษาสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ 

5. การจัดสรรเวลาให้คำปรึกษา: สิ่งสำคัญในการดำเนินการ คือ ผู้สอนต้องจัดสรรเวลาให้คำปรึกษาออฟไลน์หรือออนไลน์กับนักศึกษานอกเหนือจากเวลาเรียนเสาร์-อาทิตย์ เช่น วันจันทร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. หรือวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

          จากปัญหาและอุปสรรคที่พบ หลักสูตรพยายามแก้ปัญหานักศึกษาที่ไม่ทำตามแผนปฏิบัติการวิจัยโดย ผู้สอนจัดทำตารางตรวจสอบผลการดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาทุกคน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยในแต่ละเดือน จะพบว่ามีนักศึกษาบางคนทำวิจัยไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนั้น ผู้สอนจะดำเนินการแก้ไขในทันที โดยให้เพื่อนที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม (เด็กเก่ง) ที่ทำวิจัยสำเร็จในขั้นตอนนั้นๆ แล้ว ไปช่วยให้คำแนะนำ สอนวิธีการ เพื่อให้งานวิจัยเสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ได้ผู้สอนจะไปช่วยเหลือนักศึกษาด้วยตนเองว่าติดปัญหาอะไรและดำเนินการช่วยเหลือ นอกจากนี้ ผู้สอนยังสร้างแรงจูงใจให้หัวหน้ากลุ่มและเพื่อนๆในกลุ่มที่จะรับปริญญาพร้อมกันทุกคนในเดือนธันวาคมของทุกปี หากนักศึกษารู้สึกท้อให้นักศึกษาคิดถึงรูปเพื่อนๆ ในรุ่นใส่ชุดครุยวิทยฐานะ 2 แถบ ถ่ายรูปพร้อมกันทุกคน ให้นักศึกษาทุกคนมองความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จร่วมกันไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ทุก ๆ คนพยายามที่จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดี และพยายามที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้ทุกคนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

          สิ่งสำคัญในการดำเนินการ คือ ต้องแก้ไขในทันทีไม่ให้นักศึกษาหลุดลอยจากแผนที่วางไว้ เนื่องจากเมื่อหลุดลอยไปแล้วจะทำให้ตามเพื่อนๆ ไม่ทันส่งผลให้เกิดความท้อไม่อยากทำวิจัยและทิ้งวิจัยไปในที่สุด

          บทสรุปความรู้ คือ ผู้สอนวางแผนและติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักศึกษาทุกคนในทุกขั้นตอนเป็นระยะ นอกจากนี้ยังสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาทุกคนช่วยเหลือเพื่อนเพื่อจะได้รับปริญญาพร้อมกันทุกคน

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

  1. ต้องมีการวางแผนที่ดี รู้ว่าปัจจัยของความสำเร็จอยู่ที่ใด ซึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโท คือการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตั้งแต่การกำหนดวิชาวิจัยให้มี 2 วิชา และจัดในแต่ละเทอม การกำหนดหัวข้อวิจัยในขอบเขตที่ไม่กว้างจนเกินไป เพื่อที่จะให้นักศึกษาทุกคนรวมถึงผู้สอน สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ซึ่งการวางแผนดังกล่าว ทำให้การทำวิจัย ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่มเติมหรือต้องทำหลังจากเรียนทุกวิชาครบ แต่สามารถทำได้ในขณะที่เรียน จุดนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนจบได้ใน 1 ปี และตีพิมพ์บทความวิจัยได้
  2. สร้างผู้นำทีมของนักศึกษาในการทำวิจัย เนื่องจากนักศึกษาจะไม่กล้าขอคำแนะนำจากผู้สอนเพราะกลัวว่าจะถูกตำหนิเมื่อวิจัยล่าช้า
    3. สร้างทีมผู้สอน โดยดึงสมรรถนะของผู้รับผิดชอบหลักสูตรมาใช้ให้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เล็กเจริญ ช่วยแนะนำวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติให้นักศึกษาส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุมามาลย์ ปานคำ ช่วยแนะนำวิธีการเขียนบทความวิจัยตามแบบฟอร์มของแต่ละวารสารวิชาการต่างๆ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
Scroll to Top