การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3
รางวัลดีเด่น ปี2564
ผู้จัดทำโครงการ
รศ.นันทชัย ทองแป้น
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปัจจัยที่สาคัญที่ทาให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนเติบโตเป็นมหาวิทยาลัยระดับต้นๆของประเทศและก็ติดอยู่ในระดับโลกถึงแม้อันดับจะไม่สูงมากนักก็คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นามหาวิทยาลัยที่เป็นผู้กาหนดวิสัยทัศน์และเป็นที่รวมจิตวิญญาณของทุกอย่างของมหาวิทยาลัยรังสิต ทิศทางการการดาเนินงานที่ชัดเจน
บุคลากร
ในส่วนของระดับคณะหรือวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน สาหรับในส่วนของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมาอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้นยุทศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็น Road Map ที่สาคัญที่ทาให้สามารถเดินได้มาจุดในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นก่อนที่จะทาการกาหนดยุทธศาสตร์ จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตอยู่ตรงไหน? ภารกิจหลักของคณะ/วิทยาลัยคืออะไร ? คาตอบในเชิงยุทธศาสตร์ก็คือ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมาย โดยใช้การจัดการเป็นฐาน สาหรับวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นมีเป้าหมายคือ มหาวิทยาลัยรังสิตติด Top1000/โลกและ Top 10/ประเทศไทย รวมทั้งต้องการให้มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองของประเทศไทยได้
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
การบริหารจัดการ คือกระบวนการในการวางแผน การจัดการองค์การ การสั ่งการ การควบคุมการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้โดยที่คณะ/วิทยาลัยเป็นหน่วยงานที ่มีหน้าที ่โดยตรงในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายโดยใช้การจัดการเป็นฐาน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับจะต้องรู้และเข้าใจตรงกันก็คือ ความจริงของปัจจุบันและอนาคตและสิ่งที่ต้องพิจารณาในการนำพาคณะ/
วิทยาลัยว่า ภูมิทัศน์ของโลกในศัตวรรษที่ 21 ในทุกมิตินั้นจะเป็นมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นแบบเชิงเส้น
อีกต่อไป ส่งผลทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะในทุกด้านไม่เหมือนเดิม รวมทั้งทักษะในการดำรงชีวิตก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ถึงสภาพความจริงดังกล่าว รวมทั้งต้องศึกษาและวิเคราะห์ถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และทิศทางของมหาวิทยาลัยให้ชัดเจนและลึกซึ้งว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่ส าคัญจะต้องศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของ
มหาวิทยาลัย คณะ/วิทยาลัยรวมไปถึงอัตราการเติบโตในมิติต่างๆ ขององค์ประกอบที่สำคัญในระดับโลก ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศถึงสภาพอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำไปใช้การบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้รับการยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 และในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โดยท่านอธิการบดีให้นโยบายและทิศทางการด าเนินงานในด้านต่างๆของวิทยาลัยว่าให้คณะ/วิทยาลัยในแนวใหม่ที่สร้างนวัตกรรม ไม่ต้องยึดติดกับกรอบงานเอกสารแบบเดิม ไม่ว่านักศึกษาที่เข้ามาเป็นอย่างไร แต่จบออกไปให้มีคุณภาพ สอนให้นักศึกษามีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ สอนให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรม เน้นให้ทั้งบุคลากรและบัณฑิตที่จบออกไปเป็นคนที่มีสมรรถนะสูงทั้งในด้านวิชาการ วิชางานและวิชาคนทางวิทยาลัยได้นำเอาดำริทางด้านนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานของวิทยาลัยจากท่านอธิการบดีมาจัดทำเป็นโมเดลของรูปแบบของการบริหารจัดการแบบครบวงจรได้ดังรูป
พิจารณาจากรูปสามารถอธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ วงจรของการบริหารจัดการวิทยาลัยหรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยนั้น ถ้ามองแบบครบวงจรจะสามารถเขียนเป็นรูปแบบได้ดังรูปข้างบน โดยที่ปัจจัยสิ่งที่สำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเอกชนให้เกิดขึ้นนั้น ต้องมาจากงบประมาณ ซึ่งก็คือรายได้ซึ่งมาจาก 2 แนวทางคือจากผู้เรียนหรือนักศึกษา และจากรายได้จากแหล่งอื่นได้แก่ ทุนวิจัย การแต่งตำราหรือเอกสารทาง วิชาการ การนำผลงานวิจัยดำเนินการในเชิงพาณิชย์ หรือบริการวิชาการในรูปแบบต่างๆ จากรายได้ดังกล่าวก็จะนำไปใช้ในการจัดสรรในด้านต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งบุคลากรที่เก่งๆ และมีสมรรถนะสูง ทำให้ สามารถสร้างเครือข่ายในเชิงวิชาการ วิชางาน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยที่จะดึงดูด นักศึกษาเข้ามาได้มากทั้งจำนวนและคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพงานในทุกมิติรรวมทั้งได้บัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดี สิ่งที่ตามมาคือ ชื่อเสียงของวิทยาลัยก็จะถูกเผยแพร่ออกไปทั้งในระดับในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผล ย้อนกลับทำให้ค่านิยมในการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยมีจำนวนมากขึ้น ถ้าสามารถทำให้การพัฒนา ของวงจรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาของของวิทยาลัย/ มหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างยั่งยืน
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เจ้าของความรู้/สังกัด วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิธีการดำเนินการ
ทางวิทยาลัยได้นำนโยบายและทิศทางการพัฒนาดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการนำพาวิทยาลัยโดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ SWOT ในทุกมิติทั้งด้านคุณภาพและปริมาณทั้งในส่วนของงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งศึกษาอัตราการเติมโตในด้านต่างๆ ดังกล่าวทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยในระดับประเทศได้นำเอาหลักเกณฑ์ในระดับประเทศมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยมุ่งที่จะพัฒนาให้อัตราการเจริญเติบโตในแต่ละปีให้มากกว่าเกณฑ์ดังกล่าวไม่ต่ากว่า 10-15เปอร์เซ็นต์
โดยทางวิทยาลัยได้ คิดคาขวัญประจาวิทยาลัยคือการเติบโตแบบก้าวกระโดด “Quantum Leap to the Innovation & Entrepreneurship Faculty” ด้วยปรัชญา (Philosophy) “นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนามาซึ่งความสาเร็จ” โดยมีปณิธาน (AIM)ว่า “มุ่งผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการเพื่อเติมเต็มระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้กับสังคม”ด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) ในการนาวิทยาลัยก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อสังคมของอาเซียน”ที่มีอัตลักษณ์ในการ “ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ”
สาหรับทิศทางการบริหารจัดการวิทยาลัยนั้น ได้จัดโครงสร้างการบริหารจัดการ การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานเป็นสาคัญ ได้ใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์ พยายามสลายรอยต่อของรายวิชาเพื่อให้เกิดการบูรณาการแบบครบวงจร มุ่งปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับคณาจารย์ที่ต้องเปลี่ยนจากผู้สอนเป็นผู้ออกแบบกระบวนและอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่มุ่งไปที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ไม่ใช่รายวิชาอีกต่อไป การดาเนินงานนั้นมุ่งเน้นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
สำหรับหลักการที่สาคัญที่นามาใช้คือ ใช้กลยุทธ์การ Synergy ของทุกองคาพยพของวิทยาลัย โดยการปฏิบัติภารกิจใดๆต้องส่งผลทาให้มีผลต่อภารกิจหลักอื่นๆอย่างครบวงจร เช่นการทำวิจัย ต้องสามารถนำไปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาตาแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ การประชาสัมพันธ์เพื่อนาชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัย รวมทั้งการนาไปใช้ในการดาเนินการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
จากการบริหารจัดการวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระยะเวลา 5 ปี ตามรูปแบบและแนวทางที่กล่าวมาพบว่าผลลัพธ์จากการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางที่ดี เห็นได้จากการได้คะแนนการทางด้านประกันคุณภาพโดยภาพรวมเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิตตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีทุนวิจัยและผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงงานวิจัยเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยรังสิต นักศึกษาสอบผ่านภาษาอังกฤษเกณฑ์มาตรฐาน CEFR มากกว่าร้อยละ 80 ผลงานในด้านต่างๆติดอันดับ 1-3 ของมหาวิทยาลัย บัณฑิตที่จบออกไปสามารถได้งานทาได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วด้วยเงินเดือนและรายได้ที่สูงที่สามารถยกระดับสถานะและคุณภาพชีวิตให้กับตนเองและครอบครัวได้ดีมากขึ้น สถิติการเป็นผู้ประกอบการของศิษย์เก่าที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ชื่อเสียงและเครดิตของวิทยาลัยได้รับการยอมรับต่อวงการวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระดับประเทศและต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้จานวนนักศึกษาแรกเข้าเกินเป้าหมายในทุกปี รวมทั้งอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นในทุกปี
สำหรับพัฒนาการของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์นั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมาได้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยสรุปจานวน แผนยุทธศาสตร์โยสรุปดังนี้
แผนที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ BME1.0 2545 -2554 เป็นยุทธศาสตร์ในระยะเริ่มต้นในเริ่มพัฒนาโดยเน้นการสะสมพลังและสร้างความพร้อมในทุกมิติทั้งในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านการวิจัย และบริการวิชาการขณะนั้นเป็นหลักสูตรหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์
แผนที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์ BME2.0 2555-2559 ยุทธศาสตร์การเข้าสู่องค์กรแห่งการวิจัยจนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2559 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขึ้นเป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ในระยะเวลา 2 ปีถัดมาคือ ในวันที่16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีคาสั่งประกาศยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
แผนที่ 3 คือ แผนยุทธศาสตร์ BME 3.0 2560-2564 ระยะการเข้าสู่วิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และ
แผนที่ 4 คือ แผนยุทธศาสตร์ BME4.0 2564 -2569 เป็นต้นไป ระยะการการพัฒนาไปสู่วิทยาลัยแห่งผู้นวัตกรรมและประกอบการ อย่างเต็มรูปแบบ
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดาเนินการ การนาเสนอประสบการณ์การนาไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่ *
สรุปประเด็นสาคัญของแผนแนวคิดและยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ดังนี้คือ
1. การบริหารจัดการจะเน้นการโดยใช้เป้าหมายเป็นฐาน (Target Based Management)
2. เน้นการพัฒนาบัณฑิตโดยเน้นการเปลี่ยนจาก Formative/Informative Learning เป็น Transformative Learning โดยเน้นในด้านของการเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง (Leadership, Change Agent Skill)
3. ใช้ยุทธศาสตร์แบบเสริมพลัง (Synergistic Strategy) ในการบริหารจัดการภารกิจและคน
4. เน้นการทาภารกิจทุกอย่างแบบมี Partnership
5. มี Brain Bank ของคณะ/วิทยาลัย
6. เน้นการผลักดันให้การพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่เป็นเสาหลักของการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแนวทางหนึ่งของแนวปฏิบัติที่ดีในด้านของการบริหารจัดการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางของของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และหวังว่าการเผยแพร่แนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่สามารถนาเอาไปประยุกต์ใช้ตามแนวทางที่เหมาะสมต่อบริบทของแต่ละคนแต่ละองค์การต่อไป
* ข้อมูลบางส่วนสามารถนามาจากแบบฟอร์มรายงานการดาเนินโครงการของสานักงานวางแผนได้ ในกรณีที่โครงการที่ดาเนินการมีประเด็นความรู้ที่สาคัญซึ่งนามาใช้ในโครงการ