การสร้างเครือข่ายการพัฒนางานวิจัย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR2.2.3

รางวัลดีเด่น ปี2566

ผู้จัดทำโครงการ​

คุณลมัย ประคอนสี

สำนักหอสมุด

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การสร้างนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ของการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัย จัดหาแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ด้านสร้างความเป็นเลิศทางวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สำนักหอสมุดจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งต่อมาได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) ขึ้นมาเพื่อรวบรวมจัดทำคลังจัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่มีประโยชน์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป โดยเริ่มใช้งานออนไลน์ได้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม จัดทำคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต ให้คงอยู่และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย จากการปรับปรุงพัฒนาในระยะที่ 2 ของส่วนการสืบค้นเมนู Browse โดย ชื่อผู้แต่ง (Author)   ชื่อเรื่อง (Title) หัวเรื่อง (Subject) ที่เป็นภาษาไทยไม่ได้ ได้รับความร่วมมือในจากโปรแกรมเมอร์เพื่อแก้ไขระบบการสืบค้นดังกล่าว ให้สามารถสืบค้นภาษาไทยได้แล้ว สาเหตุเนื่องมาจากตั้งค่า default ของ tomcat เป็น iso-8859-1 ซึ่งไม่รองรับภาษาไทย ต้องแก้ไขเป็น UTF-8 จึงสามารถอ่านค่าภาษาไทยได้ และจะพัฒนาปรับปรุงให้เป็นฐานข้อมูลที่พร้อมสำหรับการสนับสนุนการวิจัยต่อไป

 

ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้

        คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคลังจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศภูมิปัญญาของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัย มีจุดประสงค์ให้ทรัพยากรสารสนเทศได้รับการจัดเก็บในรูปดิจิทัล จะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นวิชาการให้กับบุคลากรทั้งภายในและภายนอก และยังจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับชาติ และนานาชาติในฐานะมหาวิทยาลัยทางด้านวิจัย และนวัตกรรม

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) :

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

ความรู้จากคลังความรู้ที่เป็นคลังปัญญาในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง  ๆ และนำออกให้บริการในลักษณะเอกสารฉบับเต็ม (Full text) เช่น 

      – คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย  (Chulalongkorn University Intellectual Repository 

         ( https://cuir.car.chula.ac.th/community-list )

       –  คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)

         ( http://repository.li.mahidol.ac.th/dspace/ )

                                                                 

วิธีการดำเนินการ

  1. การจัดทำแผนดำเนินงานการจัดทำคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยประจำปีเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน
  2. รวบรวมไฟล์ผลงานวิทยานิพนธ์/วิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต แยกตามคณะ/สาขาวิชา/ปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2566 ได้ดำเนินการลงรายการวิจัย/วิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2565 จากที่ได้รับตัวเล่มและซีดีจาก สถาบันวิจัย และบัณฑิตวิทยาลัย โดยดำเนินการแปลงไฟล์ใส่ลายน้ำสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต
  3. ประสานงานกับทีมงานโปรแกรมเมอร์สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดูแลด้านเทคโนโลยีในเรื่องการปรับปรุงการสืบค้น Server และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  4. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการ/ส่งเสริมการใช้ โดยการแนะนำผ่านการปฐมนิเทศนักศึกษา เป็นต้น
  6. ประเมินผลโครงการประจำปีการศึกษาตามรูปแบบ PDCA

2.Prototype testing in an operational environment – DO

ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
1. จากผลการดำเนินงานต่อจาก ระยะที่ 2 ในปีที่การศึกษา 2565 ได้ดำเนินแก้ไขปัญหาในการสืบค้นโดยใช้คำค้นที่เป็นภาษาไทยได้เรียบร้อยแล้ว และพบปัญหาเรื่องบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งของดการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ที่เคยเผยแพร่แล้วเนื่องจากพบข้อมูลผิดไม่สามารถเผยแพร่ได้

2. มีการเพิ่มเติมในส่วนของแบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต (RSUIR)
3. ทำการลงรายการวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิตเพิ่มเติมจนถึงปีปัจจุบัน คือปีการศึกษา 2566 และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมจำนวน 1,935 รายการ (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 545 รายการ)
4. เพิ่มเติมการเชื่อมโยง (Link) URL งานวิจัย/วิทยานิพนธ์จากฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลบนหน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (Web Opec) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จำนวน 545 รายการ

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK

คลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Intellectual Repository หรือ RSUIR) เป็นฐานข้อมูลคลังปัญญามหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลให้ทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเป็นการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้คงอยู่ และสามารถเข้าถึงได้อย่างแพร่หลาย  ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ และต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

         การแก้ไขข้อมูลที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยทำบันทึกข้อความเพื่อแจ้งงดเผยแพร่รายการวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตที่มีข้อมูลที่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ ทำให้ต้องมีการนำรายการดังกล่าวออกจากฐานข้อมูล RSUIR จำนวน 2 รายการ และปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง จำนวน 1 รายการ ทางสำนักหอสมุดได้มีข้อตกลงกับทางบัณฑิตวิทยาลัยที่จะรับรายชื่อและไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยรับรองให้เผยแพร่ได้เท่านั้น

         ในส่วนแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิตมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 33 คน โดยแบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท ตอบมากที่สุด 21 คน รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี 11 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน ตามลำดับ โดยข้อคำถามทั้ง 5 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีข้อคำถามดังนี้

  1. ข้อมูลมีความถูกต้องตรงตามความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.09
  2. การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็วในการดาวน์โหลด มีค่าเฉลี่ย 4.48
  3. มีความสะดวกและรวดเร็วในการแสดงผลข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 4.60
  4. เป็นแหล่งข้อมูลที่ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัย มีค่าเฉลี่ย 4.27
  5. ความพึงพอใจของการใช้บริการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.30

         โปรแกรม DSpace เป็นโปรแกรม Open source มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดี ง่ายต่อการลงรายการ การ upload ไฟล์เอกสารฉบับเต็ม การเข้าถึง ตลอดจนถึงสืบค้นและดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์/วิจัย/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบ “Full Text” ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือเรื่องความไม่เสถียรของเว็บไซต์คลังทรัพยากรสารสนเทศฯ เนื่องจากต้องมีการ Run service ของ Server ทุกสัปดาห์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแต่ได้รับการประสานงานจากโปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยแนะนำให้บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบได้ทำการ Run service ของ Server ตลอดจนมีการพัฒนาบำรุงรักษาโปรแกรมฯ ในส่วนของการ Upgrade โปรแกรม DSpace ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โปรแกรมเมอร์จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในขั้นตอนในการเรียนรู้การดำเนินงานในส่วนดังกล่าว

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

การพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยรังสิต ทุกปีอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมแหล่งทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไฟล์เสียง (MP4) รูปภาพ รวมทั้งรวบรวมรายงานการค้นคว้าอิสระ (IS) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่อนุญาตให้เผยแพร่ เป็นต้น

Scroll to Top