รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา2567
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.3, 1.2.3
แนวทางการประเมินผู้เรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ผู้จัดทำโครงการ
อ.วัฒนี รัมมะพ้อ ผศ.ดร.นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
และอ.ปรมินทร์ งามระเบียบ
คณะบัญชี
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่เปดดําเนินการสอนในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตองไดรับการรับรอง ปริญญาตรีทางการบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภจึงจะมีผลใหผูสําเร็จการศึกษาสามารถเขาสูกระบวนการทางวิชาชีพไดตามกฎหมาย การรับรองปริญญาตรีทางการบัญชีจึงอยูในอํานาจและหนาที่ของสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ในการพิจารณาใหการรับรองจะใชหลักการความสอดคลองของหลักสูตรกับมาตรฐานการศึกษาระหวางประเทศ สําหรับผูประกอบวิชาชีพบัญชี ที่มุงเนนผลลัพธ
การเรียนรูประกอบดวย ความรูความสามารถเชิงเทคนิค ทักษะทางวิชาชีพ และคานิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพเมื่อนํามาประกอบเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี เกณฑมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเปนกฎหมายที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ สถาบันอุดมศึกษาจะตองดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพผูเรียนและผูสําเร็จการศึกษา ใหมีผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด การดําเนินการหลักสูตรจึงครอบคลุมภารกิจและเปาหมายคุณภาพ ในดาน การกํากับมาตรฐาน หลักสูตร นักศึกษา อาจารยผูรับผิดชอบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุน การเรียนรูรวมทั้งสิ่งอํานวยความสะดวก ซึ่งทั้ง 6 ดานนี้ เปนองคประกอบปจจัยความสําเร็จของการบริหาร หลักสูตรอยางมีคุณภาพ ที่เปนหลักประกันคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตใหกับผูมีสวนไดสวนเสียกับหลักสูตร คุณภาพของผูเรียน และบัณฑิต เปนองคประกอบสําคัญที่มีการกําหนดไวในประเด็นยุทธศาสตรการ พัฒนาคณะบัญชี ประเด็นที่ 1 คือ การสรางความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตของคณะบัญชี โดยมีวัตถุประสงคความเปนเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต 4 ขอ ดังนี้
- หลักสูตรทันสมัยตอบสนองความตองการจําเปนของผูมีสวนเกี่ยวของ
- การจัดการเรียนสอนตองมุงใหเกิดผลสัมฤทธิ์ผลลัพธการเรียนรูที่หลักสูตรกําหนด
- คุณภาพของนักศึกษาและบัณฑิตตองเปนที่ยอมรับของตลาด และ
- คุณภาพของอาจารยที่นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตร ยังมีความสามารถ
ในการสอนดวยเทคนิคการสอนและการวัดและประเมินผลสัมฤทธการเรียนรูที่เหมาะสม มุงเนนที่ผลลัพธการเรียนรูของผูเรียน
ในทางปฏิบัติ คณะกรรมการหลักสูตรจะกําหนดเปาหมายตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอน ไวในแผนปฏิบัติการประจําปสอดคลองกับเปาหมายแผนยุทธศาสตรการพัฒนาคณะบัญชี ดังนั้นเพื่อใหการดําเนินงานหลักสูตรประสบความสําเร็จ และบรรลุเปาหมายดังกลาว คณะกรรมการหลักสูตรจะมีการออกแบบการดําเนินงานที่ขับเคลื่อนหลักสูตรไปสูเปาหมาย ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมและโครงการ ซึ่งในที่นี้จะมุงเนนเฉพาะกิจกรรมหรือโครงการ ที่มุงสูการบรรลุเปาหมายตัวชี้วัดผลลัพธ KR 1.4.3 อาจารยไดรับการพัฒนาเทคนิคการสอนหรือการประเมินผลการเรียนรูของนักศึกษา และ KR 1.2.3 รอยละของผูเรียนในแตละรายวิชามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรูไมต่ําวา ระดับคะแนน C ไมต่ํากวา รอยละ 80 ซึ่งมีกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อน คือ อาจารยผูสอน หลักสูตรจึงตระหนักถึงความจําเปนที่ตองจัดความรูใหกับอาจารยผูสอนทุกคน ไดมีความเขาใจในหลักการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู การวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน ควบคูกับการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา ซึ่งหลักสูตรไดเริ่มการพัฒนาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน ในดานนี้ตั้งแตปลายปการศึกษา 2565 จนถึงปจจุบัน และพบวาอาจารยประจําหลักสูตรทุกคน มีความเขาใจมากขึ้นและนําไปปฎิบัติไดดีขึ้นเปนลําดับ สงผลใหหลักสูตรบรรลุเปาหมายของ KR ดังกลาวทั้งสอง
จากการคัดเลือกผลงานเชิงประจักษการจัดการความรูของอาจารยประจําหลักสูตร ในปการศึกษา 2567 ทางคณะบัญชี จึงเห็นสมควรใหนําเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่อง แนวทางการประเมินผูเรียนกับการรายงานผลการจัดการเรียนรู (RQF5) ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค
- เพื่อแบงปนความรูที่เกิดจากกระบวนการทํางานเชิงคุณภาพของอาจารยประจําแบบ PACD ใน ดานการเรียนการสอน ประกอบดวยการกําหนดผลลัพธการเรียนรูรายวิชา การวางแผนการสอน กําหนดหัวขอสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู ที่ผานมาตลอดระยะเวลา 3 ป ตั้งcตปการศึกษา 2565 – 2567 โดยเนนเฉพาะการวัดและประเมินผลลัพธการเรียนรู และการจัดทํารายงานผลการติดตามผลลัพธการเรียนรูของรายวิชา (RQF5) ที่ใชเปนตนแบบของคณะบัญชี
- เพื่อเสนอแนวทางการนําไปใชเปนเครื่องมือในการเตรียมความพรอมการบริหารทางวิชาการของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2568 เนื่องจากเปนหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิด Outcome Based Education
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- เทคนิคการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้
- เทคนิคการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
- การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรูแบบชัดแจง (Explicit Knowledge)
- ความรูจากคลังความรูของเว็บไซตระบบการจัดการความรู KM Rangsit University
(http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)
เรื่อง การบริหารจัดการ การศึกษาพยาบาลที่เปนเลิศ - เจาของความรู/สังกัด ผศ.ดร.อําภาพร นามวงศพรหม และคณะ สังกัด คณะพยาบาลศาสตร
เรื่อง การออกแบบการสอนแบบทลายกําแพงวิชา
เจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ สังกัด คณะบัญชี
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรูปแบบหองเรียนกลับทาง
เจาของความรู/สังกัด ดร.สัณหสิรี เมืองมาลย คณะเทคนิคการแพทย
เรื่อง การสรางกระบวนการเรียนรูผานกิจกรรมจําลอง ในวิชา ผูประกอบการสํานักงานบัญชี
เจาของความรู/สังกัด อาจารยวัฒนี รัมมะพอ และ อาจารยอัญชลี มณีทาโพธสังกัด คณะบัญชี - อื่น ๆ : แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่มุงเนนผลลัพธการเรียนรูและเทคนิคการประเมินผูเรียน
ความรูที่ฝงลึกอยูในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจาของความรู/สังกัด คณบดีคณะบัญชี, อาจารยวัฒนี รัมมะพอ มหาวิทยาลัยรังสิต
วิธีการดำเนินการ
- คณะกรรมการหลักสูตร ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดย
- ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาวิชาการ หัวข้อ แนวคิดและหลักการ การจัดเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หลังจากที่มีประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ พ.ศ.2565 จัดโดยคณะบัญชี
- ปีการศึกษา 2566 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติ หัวข้อ การเขียนรายละเอียดหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ จัดโดยมหาวิทยาลัย
- ปีการศึกษา 2566 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การบริหารหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ จัดโดยคณะบัญชี
- ปีการศึกษา 2567 เข้าสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ การวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมรับการตรวจรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน จัดโดยคณะบัญชี
- ปีการศึกษา 2567 เข้าอบรม หลักสูตร การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) จัดโดยมหาวิทยาลัย
- คณบดีจัดประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณา เรื่องแนวทางการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ของนักศึกษาทุกชั้นปี และจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ เพิ่มเติมจากการทวนสอบ ต่อมาหลักสูตรได้นำสู่การปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 และปรับปรุงวิธีการจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ รายชั้นปี
- คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ให้เชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้หลักสูตร ในแผนการจัดการเรียนรู้ RQF3 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF3 เป็นตัวอย่าง
- คณบดีจัดประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินการจัดการเรียนรู้ RQF5 ในปีการศึกษา 2566 โดยคณบดี ได้ทำต้นแบบ RQF5 เป็นตัวอย่าง
- อาจารย์ประจำ นำความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา อบรม และประชุมคณะกรรมการฯ มาใช้ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 โดยยกเว้น รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ และรายวิชาที่สอนให้คณะวิชาอื่น
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
หลักสูตรได้มีการกำกับติดตามการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยวางแนวทางปฏิบัติดังนี้
- อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชา (กรณีอาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์พิเศษ) จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการสอน และนำขึ้นระบบ TQF ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากยังเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต พ.ศ. 2563 จึงยังคงใช้ มคอ. 5 จนถึงปีการศึกษา 66 คณบดีได้นำเสนอให้มีการเพิ่มเติมผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาลงในแผนการดำเนินการสอน (มคอ.3) เพิ่มเติมจากมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้การวัดและประเมินผลมีความชัดเจนมากขึ้นว่า “ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหลังจากเรียนรายวิชานั้นแล้วนักศึกษาจะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ยังไม่บังคับแต่เป็นการขอความร่วมมือ
- หัวหน้าหลักสูตร จะเป็นผู้ตรวจทานความถูกต้องของการแผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ. 3) ให้เป็นไปตามหลักสูตรกำหนด โดยเฉพาะวัตถุประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา หัวข้อสอนที่จะต้องมีครบตามคำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การวัดและประเมินผล และผลลัพธ์ผู้เรียน หากพบข้อผิดพลาด หรือมีข้อสังเกตใดๆ จะแจ้งให้อาจารย์ผู้สอน/ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการแก้ไข ก่อนเปิดภาคเรียน
- คณบดี ได้ทำต้นแบบของแผนการดำเนินการสอน ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างผลลัพธ์เรียนรู้รายวิชา กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร และผลลัพธ์ผู้เรียน นอกจากนี้การกำหนดกลยุทธ์การสอน และกลยุทธ์การวัดและประเมินผลผู้เรียนในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังนั้น จะต้องมีเหมาะสมสอดคล้องกัน ดังตัวอย่าง กระบวนวิชา ACC 421 การบัญชีขั้นสูง ภาคการศึกษาที่ 2/2566 ต่อไป




4. เมื่อมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ อย่างชัดเจนแล้ว อาจารย์ผู้สอนจะดำเนินการตามแผน พร้อมทั้งมีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายใน1 วิชา เช่น การสังเกตตามสภาพจริงที่ปรากฏในชั้นเรียน การใช้แบบทดสอบความรู้ การใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics Score เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการประเมินที่ใช้จะต้องแจ้งให้นักศึกษาเข้าใจและรู้เป้าหมายในการพัฒนาตนเอง
5. การกระจายคะแนนในการประเมินผล จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และเหมาะสมกับเวลาที่ใช้ไปในการสอนการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่หลักสูตรกำหนด จะได้รับการจัดสรรคะแนนส่วนใหญ่ ในด้านทักษะความรู้และทักษะปัญญา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
6. อาจารย์ผู้สอน ต้องออกแบบเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งอาจใช้มาตรวัดที่แตกต่างไปจากการให้คะแนน เช่น การให้ผ่าน หรือการไม่ให้ผ่าน เป็นต้น โดยต้องตั้งเกณฑ์ผ่านและแจ้งให้นักศึกษาทราบ ดังตารางที่ 1 ดังนั้นในการรายงานผลการประเมินผู้เรียน จึงมีตารางคะแนนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และแสดงคะแนนของนักศึกษาเป็นรายบุคคล จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้
- ผลรวมของคะแนนที่ได้จากการประเมินผลจำแนกตามเครื่องมือวัดผลลัพธ์ นำไปใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียน (เกรด) ตามระบบการวัดและประเมินผลของมหาวิทยาลัย
- ผลรวมของคะแนน จำแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ นำไปใช้ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลการประเมิน จะเป็น ผ่าน หรือไม่ผ่าน
7. อาจารย์ผู้สอนรายงานผลการดำเนินการสอน (มคอ. 5) โดยคณบดีได้ออกแบบต้นแบบของการจัดทำรายงานฯ เพื่อเสนอต่ออาจารย์ทุกท่านในที่ประชุมคณะกรรมการประจำและอาจารย์ประจำคณะบัญชี
(ดูตัวอย่างการรายงานจากเอกสารแนบท้าย)
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
หลังจากที่ได้มีการเรียนรู้จากต้นแบบที่คณบดี นำเสนอและเผยแพร่ให้อาจารย์ทุกท่านได้ศึกษาและทดลองทำ มีรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำได้ดำเนินการตาม ในส่วนของรายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ หรือ รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์ประจำแต่เป็นการสอนให้กับคณะอื่น ยังไม่มีการดำเนินการ พบว่ามีอุปสรรค ดังนี้
- อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นแบบที่คณบดีได้นำเสนอ แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอนในบางรายวิชา ยังคงรายงานในรูปแบบเดิมตาม มคอ.5 ทางหลักสูตรจึงเห็นว่าเป็นช่วงที่เริ่มศึกษาและทำความเข้าใจ ประกอบกับเวลาที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลมีมากขึ้นหากทำตามต้นแบบ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรายงานผลให้ทันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- รายวิชาที่สอนโดยอาจารย์พิเศษ จะดำเนินได้ยาก เพราะเป็นอาจารย์อาวุโส และบางรายวิชาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาวุโส การที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการในส่วนของการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่ในการรายงานผลการดำเนินการสอน อาจทำได้ยาก
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
ในการประยุกต์ใช้ต้นแบบการวัดและประเมินผู้เรียน ขึ้นอยู่กับการออกแบบกระบวนวิชา ที่อาจารย์ผู้สอนจะแสดงในแผนการสอนรายวิชา โดยจะต้องลงรายละเอียดของวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนั้นจากประสบการณ์การนำไปใช้ พบว่า อาจารย์หลายท่านสามารถทำได้และมีการพัฒนาทักษะการออกแบบกระบวนวิชา การสอนและการวัดประเมินผล มากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2567 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้มีนำ RQF3 มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการกำกับติดตามคุณภาพการสอนของอาจารย์ ซึ่งส่งผลไปยังการทำเอกสารแบบฟอร์มของการติดตามการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อแสดงคะแนนของนักศึกษาที่ทำได้ จำแนกเป็นรายบุคคลและรายด้านของผลลัพธ์การเรียนรู้ ในลักษณะ Metric รวมทั้งการสรุปผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน เพื่อนำข้อสรุปนี้รายงานลงใน มคอ.5 จะทำให้ การรายงานผลการดำเนินการสอน กระชับขึ้นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชนืในการติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี ต่อไป
บทสรุปความรู้ที่ได้ คือ ปัจจัยความสำเร็จในเรื่องนี้ คือ การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ประจำทุกคนในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา กลยุทธ์การสอน และการวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จะต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม และที่สำคัญเมื่อนำสู่การปฏิบัติต้องก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้และเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามความคาดหวัง
ในปีการศึกษาต่อไป คณบดี และหัวหน้าหลักสูตร มีแผนงานที่จะช่วยกันจัดทำระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ทุกท่านในการป้อนข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้ในการติดตามพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดกับนักศึกษาแต่ละคนได้
ความสำเร็จตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของการดำเนินงาน คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี บรรลุเป้าหมาย ทั้ง KR 1.4.3 และ KR 1.2.3 และได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ 5.3 ในระดับดี คะแนน 4 มาโดยตลอดตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 จนถึงปี 2566
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้นำต้นแบบการออกแบบกระบวนวิชาของคณบดี ไปใช้ในทางปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2565- ปี2567 เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นตามที่หลักสูตรกำหนดโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และการรายงานผลอย่างถูกต้อง อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการสอนหลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความพร้อมในการรับตรวจ Post Audit ที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษา 2569 ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวง อว. กำหนด
ข้อเสนอแนะในอนาคต คือ หลักสูตรจะผลักดันให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน โดยเฉพาะอาจารย์ประจำ จะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอนให้เป็นไปตามแผน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ ให้ถูกต้องตามหลักการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ และเพื่อให้มีการรวมข้อมูลอยู่ในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน อันจะทำให้การกำกับติดตามการดำเนินงาน และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จำแนกรายบุคคล เป็นไปได้อย่างเรียบร้อย