รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.1/1
Prevalence of malnutrition in hospitalized patient

ผู้จัดทำโครงการ
รศ.พิเศษ นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปญหาโภชนาการในผูปวยเปนปญหาสําคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะผูปวยใน ปญหาทุพโภชนาการ
ในผูปวยสงผลใหผูปวยนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ภาวะแทรกซอนในการดูแลรักษา อัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น
ตลอดจนเกิดความจําเปนในการใชบุคลากรจํานวนมากขึ้น สงผลใหมีคาใชจายที่มากขึ้น การทําการสํารวจคัดกรอง
ภาวะโภชนาการแรกเขาโรงพยาบาลในผูปวยทําใหสามารถแกไขดูแลดานโภชนาการในผูปวยดีขึ้น มีผลลัพธทําให
การดูแลรักษาผูปวยดีขึ้น ปจจุบันระบบคัดกรองภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลตางๆ ยังใชเปนเอกสารบันทึกคัด
กรอง ทําใหไมสะดวก เพิ่มภาระงานบุคลากร ตลอดจนไมสามารถนําขอมูลมาทําการวิเคราะหและวางแผนงานใน
อนาคต ในแงประเด็นของความเหมาะสมของงานตอจํานวนบุคลากร งบประมาณในระดับโรงพยาบาล ระดับ
จังหวัด ระดับประเทศ ขอมูลตางๆ เหลานี้ในประเทศยังมีไมเพียงพอในการบูรณาการจัดการวางแผนนโยบาย
สาธารณสุขของประเทศ ทางหนวยงานจึงไดนําปญหานี้มาวางแผนทําโครงการ Big data Nutrition in
hospitalized patient
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ความรู้ที่นํามาใช้
1. ความรู้ทางด้านโภชนาการที่มีผลต่อผู่ป่วย
2. ความรู้ด้านการจัดการข้อมูล
3. ความรู้ด้านการวิจัย
4. ความรู้ด้านมาตรฐานการคัดกรองภาวะโภชนาการในประเทศไทย
5. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วย
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด
อื่น ๆ (โปรดระบุ) มาจาก สมาคมผูใหอาหารทางหลอดเลือดดําและทางเดินอาหารในประเทศไทย
ความรู้ที่ฝั่งลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รังสิต และสถาบันร่วมผลิตแพทย์ – กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก
โรงพยาบาลราชวิถี)
วิธีการดำเนินการ
1. จัดทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์นําระบบคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วยใน จากระบบเอกสารมาทําเป็นระบบ digital
2. ทดลองในโรงพยาบาลราชวิถีจนประสบความสําเร็จ
3. นําโปรแกรมไปติดตั้งในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ เฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลที่มีความพร้อมด้าน IT
4. จัดอบรมการใช้โปรแกรมทั่วประเทศระยะเวลา 2 ปี โดยมีโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งโปรแกรมได้ 80 แห่ง จากโรงพยาบาล 154 แห่ง
5. จัดทํา MOU นําข้อมูลของแต่ละโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยอ้างอิงการปกป้องข้อมูลแต่ละบุคคล PDPA โดยแต่ละโรงพยาบาลจะส่งข้อมูลมาที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลและส่งกลับไปที่ โรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยมีรายละเอียดในระดับขนาดโรงพยาบาล ระดับจังหวัด ระดับเขตระดับประเทศ
6. จัดทํางานวิจัยระดับประเทศ
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
จัดทําโครงการเผยแพร่และติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก เริ่มตั้งแต่ปี 2565 – 2567 มี โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 150 โรงพยาบาล โดยทีมงานได้ออกไปสอนและทํา workshop ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค จนถึงปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งโปรแกรมคัดกรองภาวะโภชนาการ ได้ทั้งสิ้น 80 โรงพยาบาล จาก 150 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และได้ทยอยส่งข้อมูลกลับมายังโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นของ prevalence ของภาวะทุพโภชนาการ ความสัมพันธ์ของภาวะทุพโภชนาการกับเรื่องค่าใช้จ่าย ภาวะแทรกซ้อน อัตราตาย และระยะเวลาวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการในแต่ละระดับ ได้ทั้งสิ้นประมาณ 100,000 ข้อมูล
ปัญหาอุปสรรค ส่วนใหญ่เกิดจากความร่วมมือของแต่ละโรงพยาบาลที่จะส่งข้อมูลกลับมาให้ทางทีมโรงพยาบาล
ราชวิถีทําการวิเคราะห์ขาดแรงจูงใจ ภาระงานที่มากขึ้นของแต่ละโรงพยาบาลแต่ละแห่งที่จะส่งข้อมูลกลับมา
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
ผลการดําเนินการ ได้ทําการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งกลับมา นําเสนอผลงานนี้ในที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข
โดยปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานในที่ประชุม และสรุปความเห็นว่าเป็นโครงการที่กระทรวงฯ จะได้ดําเนินการต่อ
เพื่อเป็นข้อมูลของประเทศ (Big data) ในการวางแผนนโยบายสาธารณสุขเกี่ยวกับด้านโภชนาการ ในประเด็น
งบประมาณ บุคลากร ตลอดจนแนวทางการป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคต่างๆ ในโรงพยาบาล
โดยที่ความรู้นี้เป็นข้อมูลในระดับประเทศที่ยังไม่มีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้มาก่อน
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ข้อเสนอแนะ ให้กระทรวงสาธารณสุขออกเป็นนโยบายที่ทุกโรงพยาบาล จะต้องส่งข้อมูลผ่านระบบ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทางโรงพยาบาลราชวิถีจัดทําขึ้น เพื่อนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นประจําทุกปี เพื่อดูแนวโน้ม
รวมทั้งปัญหาภาวะโภชนาการในผู้ป่วยในของประเทศไทย