รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, 2.2.1/1, 2.2.2, 2.2.3, 2.4.2, 2.4.3/1, 2.4.4/1
การสร้างนวัตกรรมวิจัยให้แข่งขันได้เทียมบ่าเทียมไหล่
กับมหาวิทยาลัยรัฐ

ผู้จัดทำโครงการ
รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจและได้วางแผนชีวิตในการเป็นครู สู่การพัฒนาเป็นโค้ช และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการสร้างผลงานนวัตกรรมการวิจัย เพราะนอกเหนือจากภารกิจหลักในการสอนและทำงานวิจัยแล้ว ยังมีโอกาสได้สร้างแรงบันดาลใจและผลักดันการสร้างนวัตกรรมการวิจัย ให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรมของวิชาพื้นฐานและวิชาชีพ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ research based learning เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตาตื่นใจและเกิดความต้องการที่จะอยากรู้ การสอนโดยสอดแทรกเนื้อหาจากการค้นพบจากงานวิจัย ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้ามองเห็นภาพและนำไปสู่บรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการที่เป็นรูปธรรมเพื่อหาคำตอบจากรูปแบบการทำงานวิจัยตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 การเปิดโลกการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทำให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าได้รับโอกาสที่ท้าทายขีดความสามารถ จนสามารถทลายความกลัว และลบความรู้สึกต่ำต้อยให้หมดไปจากหัวใจ ให้สามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเทียมหน้าเทียมตานักศึกษาจากมหาวิทยาลัยภาครัฐ ที่ไม่เพียงเป็นสร้างขวัญและพลังใจให้กับตนเอง แต่ยังส่งต่อสู่นักศึกษารุ่นต่อมาได้อย่างต่อเนื่อง จนมีผลงานที่ได้ถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยตั้งแต่ปี 2562 ในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และการได้รับโอกาสในเป็นตัวแทนประเทศไทยนำผลงานไปแข่งระดับนานาชาติจากการได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2568 มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการปั้นนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมวิจัยและเทคโนโลยีของตนเอง
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
- วิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (Food Biotechnology)
- วิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร
- วิชาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Research and Development of Innovation Biotechnology)
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล /วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร
วิธีการดำเนินการ
- ได้จัดการเรียนการสอนนวัตกรรมวิจัยในรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท โดยผู้สอนได้สอดแทรกลงในรายวิชา FTH342 Food Biotechnology หรือวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร และวิชา FTH 383 เทคโนโลยีข้าว ระดับปริญญาตรี ของคณะเทคโนโลยีอาหาร ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 และวิชา CAB111 Introduction to Agricultural Innovation, Biotechnology and Food Technology หรือวิชาความรู้เบื้องต้นทางนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร ระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาทั้ง 2 คณะ ทั้งคณะคณะนวัตกรรมเกษตรและคณะเทคโนโลยีอาหาร ของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารเพื่อปูพื้นและสร้างความคุ้นเคยให้กับนักศึกษาทั้งสองคณะของวิทยาลัยตั้งแต่ขั้นปีที่ 1 และได้สอนวิชา BIT691 Research Methodology and Experimental Design ในระดับปริญญาตรีและโท เพื่อให้สามารถฟอร์มทีมนักศึกษาในการส่งแข่งให้มีทั้งป.ตรี และ ป.โท ได้
- ได้ขอทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัย
- ได้ส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดเวทีต่างๆ
ผลงานสำคัญและงานที่ภาคภูมิใจ
- ผลงานการแข่งขันนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ผลงานที่ได้ถ้วยและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 24 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ มุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มพูนทักษะในการเป็นผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของตนเอง
2. ผลงานการเป็นหัวหน้าโครงการได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย
ได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาผลงานอาหารจากพืชตั้ง แต่ปี 2562 และเชื่อมโยงกับผลงานวิจัยที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2542 รวม 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท ดังแสดงในตารางที่ 3 (ตารางสีฟ้า) มีความภาคภูมิใจที่ผลงานอาหารโปรตีนจากพืชหลังปี 2562 สามารถผลักดันส่งเข้าประกวดระดับชาติ และนานาชาติได้ในปัจจุบัน
ตารางที่ 3 หัวหน้าโครงการวิจัย จำนวน 60 โครงการ






ผลงานนวัตกรรมการวิจัยได้รับทุนภายนอกและมีการโอนค่าธรรมเนียมคืนสู่มหาวิทยาลัย
หลักฐานการโอนค่าบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอกแก่มหาวิทยาลัย 10% ในปี 2567



รางวัลชมชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2567
รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2565

รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2564

รางวัลชมเชยนวัตกรรมข้าวไทย ปี 2567

รางวัล Bronze Award ปี 2565

รางวัล Silver Award ปี 2564
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา จากการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับ 4-5 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการ
- สามารถขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกได้หลากหลายแหล่งทุน และได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ได้รับการคัดเลือกให้เป็นงานวิจัยที่สามารถขยายสู่การร่วมออกจัดแสดงผลงานของแหล่งทุนในงาน FOOD FAIR ใหญ่ๆ ได้ทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ (สวก. และ วช.) และบางโครงการรับการคัดเลือกเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นจากแหล่งทุนภายนอก (บพข.) ให้นำเสนอเป็นงานวิจัยไฮไลต์
- ผลงานวิจัยที่ส่งประกวดเวทีต่างๆ ระดับประเทศได้รับการพิจจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการตัดสินให้เข้ารอบและได้รับรางวัลครบทุกเวที ยังไม่มีประวัติส่งไปแข่งแล้วไม่ติดรางวัลใดกลับมา
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
1.มีข้อเสนอแนะจากผู้เรียนให้เพิ่มเติมประเด็นการขยายผลสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ นักศึกษามีความประสงค์ที่จะทำวิจัยเชิงลึกในระดับปริญญาโท และมีข้อเสนอแนะให้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเพิ่มเติม
2.ได้คอนเนคชั่นจากแหล่งทุนเดิมในการขยายสู่แหล่งทุนภายนอกในเฟสต่อไปเพื่อให้สามารถสเกลอัปสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอาหารใหม่และอาหารฟังก์ชั่นซึ่งเป็นอาหารแห่งอนาคตที่รัฐบาลไทยเร่งการผลักดันเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. ได้รับ Feed back จากการออกบูธจัดแสดงผลงานและการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ในการปรับปรุงงานวิจัยให้ตรงใจผู้บริโภคต่างประเทศเพื่อการส่งออกในอนาคต
4.มีผลงานถ้วยรางวัลและโล่รางวัลวิจัยและนวัตกรรมจากงานวิจัยในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 25 รายการ และเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรนวัตกรรมจากงานวิจัยในการเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ 14 รายการ และผลงาน Update ในปี 2568 ได้ขยับระดับการส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดในเวทีระดับนานาชาติ จำนวน 3 เวทีคือ
4.1 เวที 2025 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx 2025) จัดโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช) ในงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 รางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลเหรียญทอง
4.2 The 3rd China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition Commitment Letter จัดโดย Ministry of Science and Technology of the People’s Republic of China ASEAN Secretariat ประเทศจีน และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศมาเลเซีย เดือนกรกฏาคม 2568 อยู่ในระหว่างรอประกาศผล ส่งแข่งโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
4.2 The 5th World Science, Environment and Engineering Competition WSEEC 2025, Jakarta จัดโดย Fakultas Universitas Pancasila ประเทศอินโดนีเซีย และนำเสนอผลงาน (pitching) ณ ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 14-22 เดือนพฤษภาคม 2568 ส่งแข่งโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
เรื่องที่ 1 งบประมาณทุนวิจัย
เป็นที่ทราบกันดีว่า มหาวิทยาลัยเอกชน จะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านทุนวิจัยจากภาครัฐ แต่จะใช้เงินรายได้จากจำนวนนักศึกษาเข้าเรียนที่ไม่แน่นอนมาจัดสรรทุนวิจัย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเข้าเรียนของนักศึกษาใหม่ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเอกชนจึงมีวงเงินจำกัดในการให้ทุนวิจัยแก่คณาจารย์ ทำให้งานวิจัยไม่ลึกและแคบรวมถึงไม่สามารถขยายสเกลสู่สหสาขาได้ และหากต้องการขอทุนระดับ 5 แสน ต้องมีการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติระดับควอไทน์ 2 ขึ้นไป ยังไม่มีการเทรดหรือการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยด้วยรางวัลการแข่งประกวดนวัตกรรม อาจเพราะไม่สามารถนำมาใช้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเหมือนบทความตีพิมพ์ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าผลงานนวัตกรรมวิจัยเป็นสิ่งที่จับต้องได้และมี impact ที่ส่งเสริมความเจริญของประเทศไทยได้ไม่ด้อยกว่าการตีพิมพ์บทความวิจัย
สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การเพิ่มออปชั่นการวัดความสำเร็จในการขอวงเงินวิจัยระดับ 5 แสนอัป ด้วยการใช้ผลงานการประกวดนวัตกรรมเพิ่มเติมจากผลงานตีพิมพ์
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้ว การขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก มีการแข่งขันอย่างดุเดือดจากคณาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนด้วยกันและจากมหาวิทยาลัยภาครัฐด้วย ดังนั้น นอกเหนือไปจากการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์และวิทยานิพนธ์จำนวนมากซึ่งเป็นบทบาทหลักของอาจารย์ประจำในการบริหารโครงการวิจัยหลักอยู่แล้ว การที่ข้าพเจ้าได้รับทุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานวิจัยเพิ่มเติมจากงานวิจัยหลัก จึงเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้รับความเชื่อถือ และสามารถปิดทุนได้ครบสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ผู้ให้ทุน ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยที่มีการทำสัญญาทุนวิจัย จำนวน 60 โครงการ มูลค่าทุนรวม 31,782,789 บาท มีความภาคภูมิใจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแหล่งทุนโดยไม่รู้สึกกดดันแต่อย่างไร
สิ่งที่อยากนำเสนอต่อแหล่งทุนภายในคือ การระบุวันที่ในใบเสร็จที่ใช้เคลียร์เงินทุนวิจัยตามงวด น่าจะมีการยืดหยุ่นให้นักวิจัยได้บ้าง เพราะนักวิจัยอย่างข้าพเจ้า มักจะทำวิจัยให้สำเร็จไปก่อนอย่างน้อย 80 % ก่อนขอทุนวิจัย เพื่อเป็นหลักประกันว่าสามารถควบคุมเวลาวิจัยได้ตรงตามช่วงรายงานความก้าวหน้า ปัญหาคือใบเสร็จเก่าที่อยู่นอกกรอบเวลา ต้องถูกทิ้งไป ไม่สามารถนำมาใช้ได้
เรื่องที่ 2 การแข่งขันประกวดผลงานในเวทีนานาชาติ มีสิ่งที่อยากนำเสนอ คือ
- เรื่องเวลา เพราะไม่สามารถเดินทางไปร่วมแข่งในรูปแบบออนไซต์ได้ ทำให้พลาดโอกาสการส่งผลงานแข่งในหลายเวทีที่ไม่ได้จัดแข่งแบบออนไลน์ ทั้งอาจารย์และนักศึกษาติดภาระกิจการเรียนการสอนที่ไม่ยืดหยุ่นในบางรายวิชาที่ไม่ให้คุณค่าการแข่งขัน ทำให้นักศึกษามีความเครียดและรู้สึกว่าการแข่งขันเป็นการบั่นทอนเกรดการเรียน
- เรื่องนโยบาย เพราะรางวัลจากการแข่งขันไม่สามารถนำมาใชประโยชน์อะไรในทางวิชาการของอาจารย์ได้เลย
กล่าวโดยสรุป ผลการดำเนินในปี 2567 ที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงจากผลงานการสร้างนวัตกรรมวิจัยที่ทำมาก่อนหน้าที่นำมาแสดง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เห็นผลชัดเจนประการหนึ่งคือ ยอดนักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) เพิ่มจาก 1 คนในปี 2566 และ 0 คน ในปี 2567 เป็น 5 คน ในปี 2568 (รหัสจำลอง ป.โท ของนศ.ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย 67911-00444, 67911-00302, 67921-00117, 67921-00113 และ 67921-112) และทั้งหมด เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ในระบบตรีควบโท ที่มีความคุ้นเคยกับการสร้างวัตกรรมการวิจัยขณะที่กำลังศึกษาในหลักสูตร ตรงตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างนวัตกรรมวิจัย และได้รับการอนุมัติทุน 50% จากมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว