รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.1.1, 2.2.1/1 ,2.5.1/1
การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็น
นักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

ผู้จัดทำโครงการ
ผศ.พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์
คณะบัญชี
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้แบบใหม่อยู่เสมอ ความต้องการนักวิจัยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานักวิจัยจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของคณะบัญชีในผลักดันอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย ให้มีโอกาสได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และให้เข้าสู่เส้นทางการเป็นนักวิจัยอาชีพและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมบุคลากรให้มีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานด้านการวิจัย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน และพร้อมก้าวสู่อนาคต สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี การพัฒนาอาจารย์ด้านวิจัยจึงจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจในการริเริ่มพัฒนา โดยการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมให้ขอทุนสนับสนุนการวิจัยและสนับสนุนในการนำเสนอผลงานวิจัย และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
การพัฒนาอาจารย์นอกจากจะพัฒนาด้านการสอน ด้านการบริการวิชาการแล้ว การพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ดังนั้นการพัฒนาอาจารย์ด้านการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยจึงถือเป็นอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของคณะบัญชี ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
Training & Development: T&D กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง
- Set T&D Goals กำหนดเป้าหมายด้านการวิจัยให้สอดคล้องกับเส้นทางเติบโตของคณะ ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ. 2565 – 2569 ระยะ 5 ปีเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
- Assessment หาจุดอ่อน (Gap) ของคณะบัญชีและอาจารย์ โดยสร้างระบบและกลไกส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย การจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี
- Training & Development Journey ออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เป็นการส่งเสริมสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัย โดยการสนับสนุนส่งเสริมความรู้และทักษะด้านการวิจัย กำหนดแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย จัดอบรมให้ความรู้ reskill และ upskill เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง
- Choose Tools / Methods เลือกเครื่องมือให้ถูกต้อง ในการพัฒนาทักษะด้านการวิจัย โดยได้มีการจัดเตรียมระบบที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล ระบบตรวจสอบการคัดลออกผลงาน ระบบฐานข้อมูลและโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ทางสถิติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องและการคัดลอกข้อมูล จึงมีระบบการเผยแพร่ข่าวสาร การอบรมสัมมนาด้านการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน ข่าวสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยของคณาจารย์ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์ ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของบทความ (Authentication) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย ระบบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนภายในและภายนอกสถาบัน ข้อมูลการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย รวมถึงข้อมูลการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย
- Work Environment สร้างวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร โดยการสร้างแรงจูงใจ จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสม สร้างทีมวิจัยโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ให้คำแนะนำก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานวิจัยให้อาจารย์มีที่ปรึกษาตลอดการดำเนินงานวิจัย
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
- ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (http://lc.rsu.ac.th/km/Knowledgebase และ https://rkms.rsu.ac.th/)
- เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี
- อื่น ๆ Training & Development กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง https://www.ftpi.or.th/en/2022/78527?fbclid=IwAR1vamM2nvif_KtM2wmBvar-p5EEoAWbfuX2M1Eiz_libpffE9Hdb12qdxo
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด ดร.ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ/คณะบัญชี
วิธีการดำเนินการ
คณะบัญชีมีพันธกิจในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพการวิจัยของคณะ โดยนอกจากจะใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับการพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัย ยังใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาวารสารที่มีคุณภาพในการตัดสินใจเลือกตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับสากล รวมทั้งคณะบัญชีมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application คณะบัญชีมีการส่งเสริมการทำวิจัยโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาและอบรมต่าง ๆ เพื่อให้คณาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์ นอกจากนี้ยังมีระบบข้อมูล SETSMART และจัดทำห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์และนักศึกษา ในปีการศึกษา 2566 คณะได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมงานวิจัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้อาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาโท สามารถใช้ระบบสารสนเทศฯ ดังกล่าวในการสืบค้นข้อมูล บทวิเคราะห์ ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยทางด้านการเงิน และตลาดทุน โดยสามารถสรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้
- ประชุมกรรมการประจำคณะและอาจารย์ประจำเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะบัญชี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคณะบัญชีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศใช้แผนเพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบข้อมูลและเป้าหมายการพัฒนาคณะโดยทั่วกัน
- กำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล พ.ศ. 2565 – 2569 เพื่อให้อาจารย์กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะ 5 ปี โดยการกำหนดแผนการพัฒนาด้านวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย การกำหนดเป้าจำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และการกำหนดเป้าหมายร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการอย่างน้อยที่ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก 00 ต่อคน
- จัดทำแผนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านวิจัย โดยการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์งานวิจัย เพื่อเตรียมพร้อมทักษะความสามารถต่อทุกการเปลี่ยนแปลง
- ดำเนินงานตามแผน โดยเมื่ออาจารย์รับทราบและกำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องดำเนินการตามแผนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้
- ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงาน 2 ครั้งต่อปีการศึกษา เพื่อเป็นการเน้นย้ำและรายงานผลการปฏิบัติงานระยะครึ่งปี
- สรุปผลการดำเนินงาน โดยรองคณบดีฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่สรุปผลการดำเนินงานจัดทำเป็นรายงานผลการเป้าหมายและผลงานเชิงประจักษ์การพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ประจำปีการศึกษา
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลการดำเนินการด้านงานวิชาการและงานวิจัยตามแผนตั้งแต่ปี พ.ศ.2565–2569 ระยะ 5 ปี สามารถสรุปได้ดังนี้
ด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566
คณะบัญชี มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับแหล่งทุนให้อาจารย์ในคณะทราบโดยประกาศผ่านทางบอร์ดภายในคณะ การให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Application โดยคณะมีการประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ งานสัมมนาต่าง ๆ เพื่อให้อาจารย์ได้รับทราบข่าวสาร และสร้างความตื่นตัวให้กับอาจารย์ นอกจากนี้ ยังมีระบบข้อมูลบริษัทจดทะเบียน SETSMART และห้องสมุดของคณะที่รวบรวมวารสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ทางการวิจัยให้แก่อาจารย์ รังสิต มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย โดยสถาบันวิจัย (สวจ.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลและบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย ที่ทุกคณะวิชาสามารถเข้าถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ และนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยได้ ดำเนินการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ และศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคสมัยใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตผลงานวิชาการ นอกจากนี้สถาบันวิจัย ยังเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา โดยมีบริการให้คำปรึกษา บริการการจัดอบรมด้านวิชาการและการวิจัย บริการข่าวสารข้อมูลด้านการวิจัยและมีสำนักงานจริยธรรม เป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน ในการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเรียนรู้ในองค์กร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566
สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตงานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกหรือรักษาความปลอดภัยในการทำวิจัยหรือการผลิตผลงานสร้างสรรค์ โดยมีโปรแกรม อักขรวิสุทธิ์ และTurnitin เป็นเครื่องมือใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Checker) เช่น วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ทั้งนักศึกษาและอาจารย์สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนี้ เพื่อให้ประโยชน์ในด้านการวิจัย
การจัดกิจกรรมกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) คณะบัญชีมีความร่วมมือกับสมาคมบัญชีบริหารแห่งเอเซีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Management Accounting Association: APMAA) ในการจัดการประชุมทางวิชาการ และการสัมนาในรูปแบบออนไลน์ โดยในปี 2565 มีการจัดสัมมนา International Conference – Indonesia Chapter (วันที่ 8-11 November 2022) และมีการจัดสัมนาในลักษณะออนไซต์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีแขกรับเชิญจากต่างประเทศ จำนวน 14 ท่าน จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บังคลาเทศ เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ International Seminar Topic: Possibility of Research Collaborations between universities ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการเข้าฟังบรรยาย และมีส่วนร่วมในการจัดการสัมมนา รวมทั้งการร่วมจัดประชุมและสัมมนาวิชาการด้านการศึกษาทางการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูถัมภ์ โดยมีบุคลากรของคณะร่วมเป็นกรรมการจัดงาน และผู้ร่วมเสวนาในการสัมมนาวิชาการ กิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้เป็นกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยที่คณะ เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์ในคณะมีความเติบโตทางการวิจัยและวิชาการ
ผลการดำเนินงานด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการะและงานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566
โดยปีการศึกษา 2565 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 15 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 และ TCI2) จำนวน 8 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 5 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ
โดยปีการศึกษา 2566 คณาจารย์ของคณะบัญชีมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งรวมอยู่ในทุนวิจัยตามสัญญารับทุนอุดหนุนวิจัยของอาจารย์ประจำคณะบัญชี โดยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์จำนวนทั้งสิ้น 20 บทความ แยกเป็นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ (TCI 1 TCI2 และ Scopus) จำนวน 13 บทความ การตีพิมพ์ในการประชุมระดับชาติ จำนวน 3 บทความ และการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 4 บทความ โดยผลงานวิจัย ปี 2566 มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่มีระดับคุณภาพสูงขึ้น

ผลการดำเนินงานด้านเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์งานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2566
ปีการศึกษา 2565 คณะบัญชี มีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 ทุนวิจัย เป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 342,143บาท) และเป็นทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกในประเทศ 1 ทุนวิจัย และจากต่างประเทศ 2 ทุนวิจัย (เงินทุนวิจัย 221,425 บาท) รวมเงินทุนวิจัยทั้ง 8 ทุนวิจัย เป็นจำนวน 563,568 บาท
ปีการศึกษา 2566 คณะบัญชีมีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ศึกษาต่อ] จำนวน 11 คน โดยมีเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในรวมทั้งสิ้น 655,406.50 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปีการศึกษา 2566 จำนวน 308,647.50 บาท และทุนวิจัยจากสัญญาทุน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346,759.00 บาท ทุนวิจัยจากภายนอกสถาบัน รวมทั้งสิ้น 298,301.00 บาท แบ่งเป็นทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2566 รวม 61,492.00 บาท และทุนวิจัยจากสัญญาทุนปี 2565 รวม 236,809.00 บาทเมื่อคำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในละภายนอกต่อจำนวนอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 11 คน เงินสนับสนุนทุนวิจัยเฉลี่ยรายบุคคลเท่ากับ 86,700.68 บาท และแปลงค่าจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามกลุ่มสาขาวิชาฯ ได้คะแนนเท่ากับ 5.00 คะแนน

3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์การนำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การตรวจสอบผลการดำเนินงานด้านการวิจัยพบว่าปี พ.ศ.2565-2566 การพัฒนาอาจารย์ด้วยการวิจัยนั้นบรรลุความสำเร็จทุกเป้าหมายและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างนวัตกรรมงานวิจัย KR2.1.1 สัดส่วนอาจารย์ นักวิจัยที่มีงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และ/หรือนวัตกรรมต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด KR2.2.1/1 จำนวนเงินทุนสนับสนุน งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์ (รวมทั้งภายในและภายนอก) และ KR2.5.1/1 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงานวิชาการ ดังนี้

ผลการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีพ.ศ.2565-2566 บรรลุเป้าหมายเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และตัวบ่งชี้ที่ 2.3ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ทำให้คณะบัญชีมีผลการประเมิน 5.00 คะแนน

สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
การดำเนินงานด้านการวิจัยเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2565-2569 เพื่อให้คณะสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานคณะได้ต่อไป เมื่อคณะมีการกำหนดแผนการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว ให้มีการประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้อาจารย์สามารถนำไปกำหนดแผนการพัฒนาด้านการวิจัยให้สอดคล้องไปกับแผนการดำเนินคณะและมหาวิทยาลัย
การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงควรมีแผนการดำเนินงานและเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถออกแบบแผนการพัฒนาอาจารย์ด้านการวิจัยต่อไป การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนอกจากจะเน้นการอำนวยความสะดวกด้านสิ่งสนับสนุนงานวิจัยแล้ว ยังต้องมีการสร้างแรงจูงใจ และมีทีมวิจัยใจที่ดีมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำส่งผลการดำเนินงานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในปี 2567 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กำลังเปลี่ยนโลกของการค้นพบและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในการเริ่มต้นใช้ AI เพื่อการเรียนรู้และวิจัย ควรมีการพัฒนาเรียนรู้วิธีการใช้ AI tools เป็นผู้ช่วยนักวิจัยตัวน้อย ที่จะช่วยให้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์สนุกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะใช้ AI เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกแห่งอนาคต