รางวัลดีเด่น ปีการศึกษา 2567
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.5.2
การได้รับการรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)

ผู้จัดทำโครงการ
รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ ผศ.ดร.ฐิติ วิทยสรณะ นายวุฒิศักดิ์ อยู่จำนงค์ นางเบญจพร เกาะแก้ว
สำนักงานจริยธรรมการวิจัย
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในงานวิจัยที่เกี่ยงข้องกับคน ของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาจารย์ที่ต้องการใช้ผลงานวิจัยเพื่อยื่นของตำแหน่งวิชาการ โดยตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ข้อที่ (6) หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่มีการดำเนินการ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงรังสิตจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ Rangsit University – Ethical Review Board (RSU-ERB) หรือ เรียกย่อๆว่า คณะกรรมการฯ อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อออกใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ตลอดการทำงานที่ผ่านมา หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของคณะกรรมการฯ คือการได้รับความยอมรับการปฏิบัติงาน จากหน่วยงาน หรือสถาบันภายนอก ทั้งในระดับชาติและในระดับสากล โดยมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลนั้น คณะกรรมการฯต้องผ่านการรับรองมาตราฐานจากทางหน่วยงานที่มีชื่อว่า The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) หรือเรียกย่อๆว่า SIDCER-FERCAP ซึ่งทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัยและคณะกรรมการฯ ได้มีการวางแผนและเตรียมการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานจาก SIDER-FERCAP โดยแผนการและการเตรียมการนั้นทางสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ได้รายงานในแบบรายงานแนวปฏิบัติที่ดีตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เรื่อยมา ซึ่งสำนักงานจริยธรรมการวิจัยได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)”
ในปีการศึกษา 2567 หลังจากได้นำเอาหลักการ และแนวปฏิบัติที่ได้ทำมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มาปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการรับรองจากมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก SIDCER-FERCAP ถือเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ได้ได้รับการรับรอง
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
- เจ้าของความรู้/สังกัด รศ.ดร.ปานันท์ กาญจนภูมิ สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในคน
วิธีการดำเนินการ
เพื่อให้ได้การรับรองมาตราฐานจาก SIDCER-FERCAP นั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้นำเอาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ที่ได้รับรางวัลชมเชยแนวทางปฏิบัติที่ดี 3 ปีซ้อนคือ ในปีการศึกษา 2564 เรื่อง “การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” ในปีการศึกษา 2565 เรื่อง “ขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต” และในปีการศึกษา 2566 เรื่อง “การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)” ซึ่งจะกล่าวคร่าวได้ดังนี้
- การดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต และขั้นตอนการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ชุดปัจจุบัน (แต่งตั้งเมื่อปี 2566) ประกอบด้วยกรรมการภายหลักจำนวน 12 คน Lay person 2 คน และกรรมการสมทบจำนวน 70
1.2 มีการจัดตั้งสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยใช้ห้อง 1/504 ซึ่งห้องนี้จะเป็นห้องที่ใช้เป็นสำนักงานจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ
- มีการจัดหาอุปกรณ์สำนักงานสำหรับงานจริยธรรมการวิจัยในคน โดยเฉพาะ
- มีการจัดหาบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานในส่วนของจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะ
- มีการจัดทำ Standard Operating Procedures หรือ SOP ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งปัจจุบันเป็น version ที่ 2.2
- มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการครอบคลุม 3 ระดับคือ Exempted, Expedited และ Full board
- มีการพิจารณาข้อเสนอโครงการระดับ Full board ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
- มีการติดตามการดำเนินงานของนักวิจัย หลังจากที่ได้รับใบรับรองจริยธรรมการวิจัย ทุกปี
- มีการจัดอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทุกปี
- การเตรียมตัวรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคนระดับสากลจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP)”
2.1 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ
2.2 ขั้นตอนการเตรียม Standard Operating Procedures หรือ SOP
2.3 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการพิจารณาโครงการโดยคณะกรรมการฯ
2.4. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านการติดตามผลหลังจากได้รับหนังสือรับรอง และการติดตามการปิดโครงการ
2.5 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ด้านเอกสารและการจัดการเอกสาร
2.Prototype testing in an operational environment – DO
ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
คณะกรรมการฯ ได้รับการประเมินการปฏิบัติงานจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committee in Asia and Western Pacific region (FERCAP) ในวันที่ 28 – 30 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานจริยธรรมการวิจัย ห้อง 1-505 และห้องประชุม 1-301 มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้
- ศ. เกียรติคุณ ดร. พญ. จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร, Survey Coordinator
- ผศ. ดร. พญ. พรรณทิพา ว่องไว, Lead Surveyor
- รศ. ดร. พญ. ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม, Local Surveyor
- ดร. พญ. อรวรรณ ศิลปะกิจ, Local Surveyor
- Sangeeta Desai, Foreign Surveyor From India
- รศ.ดร. อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Assistance Surveyor
- กรรมการจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน อีกจำนวน 15 คน
รูปที่ 1 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2566
หลังจากได้รับการประเมิน กรรมการผู้ประเมินได้มีขอแนะนำต่างๆ ให้ทางคณะกรรมการฯแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตราฐานสากล ก่อนที่จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เมื่อได้คำแนะนำจากกรรมการผู้ประเมินแล้ว คณะกรรมการฯจึงได้ทำการวางแผนงาน และแก้ไข ปรับปรุงตามคำแนะนำต่างๆ จนในวันที่ 6 กันยายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยระบบการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand :NECAST) ได้เสนอบทบาทในฐานะผู้ตรวจติดตามการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ภายหลัง SIDCER Recognition เพื่อเป็นการทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาทำการตรวจติดตามผลการแก้ไขของคณะกรรมการฯ

รูปที่ 2 บรรยากาศในวันประเมินระหว่างวันที่ 6 กันยายน 2567
3. Proven through successful mission operation, Objectives and Key Results for Knowledge Management – CHECK
หลังจากผ่านการประเมินติดตามการดำเนินงาน และการแก้ไขปรับปรุงของคณะกรรมการฯ แล้ว คณะกรรมการฯจึงได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานจาก SIDCER-FERCAP อย่างเป็นทางการ และได้เดินทางไปรับโล่ห์การรับรองการปฏิบัติงาน ที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

รูปที่ 3 บรรยากาศการรับโล่ห์รางวัลที่โรงแรม Everest Hotel กรุงกาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

รูปที่ 4 โล่การรับรองการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จาก SIDCER-FERCAP
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
การที่คณะกรรมการฯ ได้รับรองจาก SIDCER-FERCAP ในครั้งนี้นั้น ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือ
- ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ
- คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่รับหน้าที่พิจารณาโครงการที่ส่งเข้ามาให้พิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพตรงไป ตรงมา ตามหลักวิชาการ และมีกัลยณมิตรต่อนักวิจัย
- เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจริยธรรมการวิจัย ที่ช่วยให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมการฯ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ที่ส่งโครงการเข้ามาขอการรับรอง ที่เข้าใจการทำงานของคณะกรรมการฯ
คณะกรรมการฯ ได้ผ่านการรับรองจาก SIDER-FERCAP ซึ่งถือว่าเป็นคณะกรรมการจริยธรรมในคน จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก และแห่งเดียวในตอนนี้ ที่ได้การรับรอง ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมากในวงการวิชาการและวิจัย ดังนั้นการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ถือเป็น Best Practice หรือเป็นแบบอย่างที่ดีที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จากสถาบันอื่นที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก SIDCER-FERCAP มาเรียนรู้และเป็นแบบอย่างให้ปฏิบัติตาม ซึ่งได้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนจากหลายสถาบันได้ติดต่อเข้ามาขอเยี่ยมชมการดำเนินงานของคณะกรรมฯ ตลอดจนการขอพูดคุยเพื่อขอทำ MOU กับคณะกรรมการฯ ในอนาคต