รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : KR 1.4.2

การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา

(สืบเนื่องจากการคัดเลือกให้ได้รับโล่รางวัลนักบริหารการศึกษาดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2566
 ประเภทอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษาดีเด่น ของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย)KM: การสอนรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา 
(Professional Ethics for Educational Administrators)

ผู้จัดทำโครงการ​

ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วิทยาลัยครูสุริยเทพ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

         การบริหารจัดการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญและยึดถือเป็นมโนธรรมสำนึกของผู้บริหารการศึกษา การที่จะมีจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมได้อย่างไรนั้น อยู่ที่การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องมีจิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ…..จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556และตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550 จึงเป็น มาตรฐานวิชาชีพวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีศาสตร์มากำกับและมีศิลป์ในการบริหาร ผู้บริหารจึงถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์การดำเนินการอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม หลักคุณธรรมสำหรับผู้บริหารในการครองตน การครองคน การครองงาน เป็นหลักสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตนของผู้บริหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการบริหารงานในองค์การ การนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ( สิน งามประโคน ,2561) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ในหมวด 7 จึงได้กำหนดไว้ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด ”
        ในด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารการศึกษา ชุติมา รักษ์บางแหลม (2559) จากวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และประเด็นปัญหาจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา พบว่า…ความยากลำบากที่ผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาในการบริหารสถานศึกษาส่งผลกระทบระดับบุคคลทำให้เกิดความไม่สบายใจ ลำบากใจ และระดับองค์กร ขาดความสุขยุ่งยากใจในการบริหารงาน การอยู่ร่วมกัน ไม่อาจหาข้อยุติได้ง่ายจากข้อมูลที่มีอยู่ ต้องมีการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ในการแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงการค้นหาทางเลือกและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักจริยธรรมพื้นฐาน ความดีงาม ความถูกต้องและหลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักการบริหารงาน รวมถึงการตัดสินใจเลือกทางเลือก ปฏิบัติตามทางเลือกและการประเมินผลทางเลือกระยะสั้นและยาว การเผชิญและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมของสถานการณ์ ตามน้ำหนัก ความโน้มเอียงของปัญหา บริบทและสภาพแวดล้อมขององค์กร สอดคล้องกับ จุฑามาส ศรีทองคำ (2562 ) ได้ศึกษา คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ พบว่า การเสื่อมโทรมดานคุณธรรมจริยธรรมของสังคมที่มาจากสาเหตุของการยึดวัตถุมากกวาความดี การแข็งขันเพื่อเอาชนะแทนการร่วมมือ การมองคนอื่นเป็นคู่แข่งมากกว่าเป็นพันธมิตร การศึกษาน่าจะให้ทางออกที่ดีต่อปัญหาดังกล่าว และผู้นำด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาน่าจะเป็นความหวังของการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรมต่อครู นักเรียน และบุคคลอื่นในสังคมเพราะผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและทิศทางของหน่วยงาน ควรจะมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในการบริหารงาน อีกทั้งยังต้องมีความสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์การ
ประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ ผู้สอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับนักศึกษา มีทัศนคติที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกระบวนการซึมทราบทางจริยธรรม (moral internalization) มี 3 กระบวนการที่เป็นอิสระจากกัน คือ 1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought) 2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling) และ 3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior) (Hoffman ,1979) ในการนำไปใช้ตามแบบแผนพฤติกรรมที่คุรุสภากำหนด
1.ความคิดทางจริยธรรม (moral thought)
– การปรับทัศนคตินักศึกษาก่อนการเรียนรู้ ของอาจารย์ผู้สอน นอกจากหลักการแนวคิด ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้ทางสาขาการบริหารการศึกษาแล้ว
2.ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral feeling)
– ศิลปะ ที่จะนำมาใช้การส่งเสริมการสอนนั้น ต้องส่งเสริมการมีอุดมการณ์ของการเป็นผู้นำหรือการสู่การเป็นผู้บริหารการศึกษาที่มีวินัย การวางแผน การจัดระบบ แบบแผน ความมุ่งมั่น อดทน การยึดหลักคุณธรรมและเมตตาธรรม ในการปฏิบัติตน(ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม)ก่อน และไปถึงบริหารงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเปนที่ประจักษ์ และรวมถึง ความฉลาดทางอารมณ์

3.พฤติกรรมทางจริยธรรม (moral behavior)
– กิจกรรมเสริมทักษะเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรม สู่การเป็นต้นแบบของภาวะผู้นำ การเพิ่มสมรรถนะ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเป็นผู้นำทางวิชาการ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
ทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนควรมีปลูกฝัง การมีวินัย มีรูปแบบวิธีคิด (Mental Models)การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)สามารถสนองตอบต่อการแข่งขัน และ ทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การประยุกต์หรือบูรณาการ การทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายต้องวางแผนและใช้กระบวนการ PDCA ในด้านการจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ของหลักสูตรนี้จึงดำเนินไปด้วยดีและสามารถได้ แนวทางสู่การปฏิบัติ และการนำไปปฏิบัติได้จริง
    การดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังนี้

เริ่มต้นจาก Plan
1.การวางแผน (Plan) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice)
เตรียมการสอน 1.1 การเขียน มคอ 3
1.2. เตรียมเอกสารประกอบการสอน
1.3 จัดทำประมวลการสอน /แผนการเรียนการสอน/สื่อ
การสอน และแหล่งค้นคว้าต่างๆ ให้สอดคล้องต่อ
บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
1.4 เตรียมกิจกรรมเชิงทักษะเพื่อส่งเสริมประสบการณ์จริง

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   วิธีการดำเนินงาน การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง โดยวิธีการสอนในรายวิชา EDA 609: จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับผู้บริหารการศึกษา จะใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานดังนี้
1.
ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ (coach) หรือ โค้ช ที่เรียกว่า รูปแบบโค้ช “3Es” ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้การโค้ชของผู้สอนประสบความสำเร็จได้ ในการสร้างความยึดมั่นผูกพัน (Engage) การเสริมพลังการเรียนรู้ (Empower) และการสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (Enliven)ผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษา (consultant)ถือได้ว่าเป็นวิธีการส่งเสริมและให้นักศึกษา ได้มีการสะท้อนคิด (Reflect)
2. การสอนแบบอภิปราย: ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เชิงท้าทายในประเด็นต่างๆ
3.
การสอนแบบ Active Learning: มุ่งพัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ของจากกิจกรรมต่างในระหว่างการสอน ลงมือปฏิบัติจริงให้เกิดทักษะ มีการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์
4. การสอนfacilitator): ผู้เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในกิจกรรมต่างๆ

2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน    
    DO
2. การปฏิบัติ (Do) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การสอน
    2.1 กิจกรรมเชิงปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงประจักษ์
    2.2 การคัดเลือกผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็น Best Practice ที่มีศิลปะในการบริหาร มาเป็นต้นแบบที่ดีในพฤติกรรมทางจริยธรรม
    2.3 การบูรณาการ ด้านความคิด ประสบการณ์ และสาเหตุพฤติกรรมทางจริยธรรม
    2.4 การกระตุ้นปัญญาทางความคิด ให้นักศึกษาในการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และในกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ทางการบริหารการศึกษา

3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่     
   3. การตรวจสอบและติดตามผล(Check) แนวทางปฏิบัติที่ดี(Best Practice) มาตรฐานการสอน
3.1 การบริหารจัดการประเมินหลังการสอน โดย การวิเคราะห์จากประสบการณ์ จากกิจกรรม (ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้บริหารในระดับนโยบาย และผู้บริหารในสถานศึกษา)และองค์ความรู้ต่างๆ จาก
การเรียนทั้ง5 Mudule ให้นักศึกษาอภิปรายร่วมและวิเคราะห์ เพื่อสู่แนวทางปฎิบัติ
3.2 ผู้สอนประเมินและติดตามผล ด้วยวิธีการประเมินที่กำหนดอย่างเหมาะสม มีการประเมินการสอนโดย 3 ระยะ คือ ทดสอบความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน (โดยการเขียน Refection thinking) เพื่อเป็นการสะท้อนคิด จากการเรียน
3.3 ด้านนักศึกษา ติดตามและประเมินผลด้านความรู้ จากการวิเคราะห์ สามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ได้
3.4 การเขียนข้อสอบเชิงวิเคราะห์

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

       Act
4. การปรับปรุงพัฒนา (Act) แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประเมินผล
   4.1 นำผลการประเมินการเรียนการสอน กิจกรรม นำมาปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม
   4.2 ด้านอาจารย์ นำผลการประเมินการเรียนการสอนกิจกรรม/ โครงการที่เกี่ยวข้อง มาประชุมหารือเพื่อปรับปรุงร่วมกันระหว่างอาจารย์ ในคณะกรรมการหลักสูตรระดับคณะ
   4.3 ด้านนักศึกษา นำผลการประเมินจากการเรียนการสอน กิจกรรม/ โครงการรวบรวมเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมการตรวจสอบผลดำเนินการโดยให้ feedback โดยการทวนสอบ
1. โดยการคิดวิเคราะห์ จากสถานการณฺฺฺจริง ลงพื้นที่พบผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา

2. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในทุกกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
3. วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับระดับความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี ต่อความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา
4. การนำความรู้ประสบการณ์ ในและนอกชั้นเรียน ไปพัฒนาสู่การปฏิบัติ (จากการวิเคราะห์ กระตุ้นปัญญาทางความคิด)
     อุปสรรคปัญหาที่พบคือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเชิงคิดวิเคราะห์ (นักศึกษาบางคนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จุดนี้อาจารย์ ต้องแสดงบทบาท เป็นcoach ในสร้างความกระตือรือร้นเสริมพลังการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษา

Scroll to Top