รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.3.2, KR 5.2.1
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน
ผู้จัดทำโครงการ
ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์
ผู้ให้ความรู้
ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม
คณะวิทยาศาสตร์
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาในระดับโลก ระดับประเทศ และในระดับชุมชน ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ การป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และรวมถึงการปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคม สมาชิกในชุมชนไม่เพียงแต่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนหรือชุมชนที่เกี่ยวเนื่อง การสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกัน ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยตนเองจึงเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ๆ สอดคล้องกับแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ใส่ใจกับการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตร“สิ่งแวดล้อมศึกษาสู่การพัฒนาชุมชน” ให้กับบุคลากรและผู้สนใจทั้งในหน่วยงานรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถานศึกษา เพื่อให้นำความรู้จากหลักสูตรดังกล่าวถ่ายทอดสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น ๆ ต่อไป จึงได้ริเริ่มโครงการ“สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน”ขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยเน้นการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience) องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชน เช่น ด้านการจัดการน้ำและน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ การจัดการของเหลือทิ้ง(ขยะ) การสร้างคามตระหนักในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของตน และร่วมถึงการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมชุมชน เป็นต้น ให้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ตามนโยบายของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมดังกล่าว มุ่งหวังให้ประชาชนในชุมชนและเยาวชน เกิดการรับรู้(awareness) ถึงสถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนของตน เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้ได้ และคาดหวังว่าชุมชนจะนำความรู้ดังกล่าวขยายผลต่อคนในชุมชนของตนและเครือข่ายต่อไปในอนาคต สำหรับการวางโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน สำหรับปีการศึกษานี้ (2565) ทางคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ได้รับการติดต่อประสานงานจากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิเศษโดยเฉพาะ (ไม่น้อยกว่า 300 คน ) โดยโรงเรียนมีเป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้นักเรียนทุกกลุ่มสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ โดยไม่มองว่าใครแตกต่าง มีการเสริมทักษะเฉพาะด้าน รวมถึงการส่งนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษไปฝึกงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมอื่นและเพื่อนคนอื่นได้โดยง่าย ซึ่งผลจากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ได้ข้อสรุปว่า ทางโรงเรียนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาครูให้มีเทคนิควิธีในการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการปลูกพืชลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสรรค์สร้างไม้ประดับเพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน ทั้งด้านวิชาการและเพิ่มโอกาสในการสร้างงานและสร้างอาชีพให้กับนักเรียนบางส่วนที่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ โดยเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของนักเรียนผ่านร้านค้าของโรงเรียนในอนาคต ซึ่งทั้งหมดเป็นกิจกรรมหลักในกโครงการ อนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ได้จัดกิจกรรมให้กับโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ 1) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม 2) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง Ornamental Gardening For Life และ 3) จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นอกจากนั้นยังมีหน่วยภายนอกที่สนใจ ขอเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย คือ และบุคลากรจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และประชาชนในชุมชนวัดรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุม จังหวัดปทุมธานี ซึ่งในครั้งนี้ขอนำเสนอ การจัดการความรู้ เรื่อง จัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : 1) ความรู้จากคลังความรู้ของเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้ KM Rangsit University (https://hrd.rsu.ac.th/km/)
2) องค์ความรู้ด้านการถ่ายทอดความรู้แบบผสมผสาน (onsite & online จากโครงการบริการปีการศึกษา 2565 รหัสโคงการ 640382 เรื่อง ลดมลพิษสิ่งแวดล้อมในบ้าน ชุมชนวัดรังสิต)
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้, 1) ประสบการณ์ตรง ด้านการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด (ผศ. ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม)
2) ประสบการณ์ตรง ด้านการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ (Learning Experience: L.E. : ผศ.ดร.ลาวัณย์ วิจารณ์)
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
1. คณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมสึกษาฯ ม.รังสิต ประชุมร่วมกับผู้อำนวนการโรงเรียน เพื่อวางโครงการร่วมกัน (13 กค.2565)
2. ประชุม คณะทำงานคณะทำงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาฯ ม.รังสิต เพื่อกำหนดวันเวลาจัดกิจกรรมและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ จำเป็นในการจัดกิจกรรม
3. ติดต่อประสานงาน ดำเนินกิจกรรม ตามมาตรฐานสถานการณ์ โควิด ผ่าน line application
4. จัดกิจกรรมในวันที่ 23 กค.2565 เวลา 08.00 -12.00 ณ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถปฏิบิติได้ภายใต้คำแนะนำ 5. จัดให้มีการทดสอบก่อนและหลัง การดำเนินกิจกรรม
2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลดำเนินการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติการเพาะเมล็ดผักสลัด ภายใต้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน การนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการเรื่อง การปลูกผักสลัดกินเอง สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คณะครูจากโรงเรียนพิบูลฯ ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคในการเพาะเมล็ดผักสลัด และการย้ายต้นกล้าผักสลัด โดยนำความรู้เหล่านนี้ใช้เป็นกิจกรรม การเรียนการสอนและสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.ของโรงเรียน รวมไปถึงต่อยอดเพื่อการค้า สร้างอาชีพให้กับนักเรียนที่ไม่พร้อมในการศึกษาต่อ อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานไม่มี
3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
ผลจากการดำเนินโครงการข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 สามารถเพาะเมล็ดผักสลัดและย้ายต้นกล้าผักสลัดได้อย่างถูกต้อง ทุกขั้นตอน ภายใต้คำแนะนำของวิทยากร
(ผศ.ณิชกานต์ กลิ่นกุสุม) ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวได้ว่า เป็นเพราะ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่เกิดจาก ความต้องการที่แท้จริง ของผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกิจกรรมนี้ เป็นการวางโครงการร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและทีมวิทยากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของ
โครงการนั้นๆ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
นำนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวางโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า ที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ไปทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ซ้ำ ตามหลักการ Induction และ Deduction ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป จะได้องค์ความรู้ใหม่ที่มีโอกาสที่เป็นไปได้ทั้ง Good practice หรือ Best practice หรือเกิดเป็นโจทย์วิจัยอีกมากมาย