Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : KR 2.2.1

สร้างนวัตกรรมงานวิจัย
(Innovative Research and Development)

ผู้จัดทำโครงการ​

อ.กัญจนพร โตชัยกุล
ผศ.ดร นัฐพงษ์ มูลคำ

คณะรังสีเทคนิค

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

แนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร (นวัตกรรมทางด้านวัสดุป้องกันรังสี)
         อุปกรณ์กันรังสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นวัสดุที่ผลิตจากตะกั่วและมี Density ที่สูง ทำให้มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี มักใช้ในห้อง General X-ray, CT Scan, Cath Lab, X-ray C-arm, Operation Room หรือใช้ประกอบกับประตูกันรังสี ฉากกันรังสีภายในห้อง ตลอดจนฉากเลื่อนกันรังสีต่างๆ แต่เนื่องจากด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงและตะกั่วมีความเป็นพิษ จึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของส่วนผสมสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodine contrast media) และ epoxy resin ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระ รวมถึงศึกษาคุณสมบัติการในการดูดกลืนรังสีและพัฒนาไปสู่วัสดุที่ช่วยป้องกันรังสี
          โดยสารทึบรังสีหมายถึงสารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง และสารทึบรังสีที่ใช้กันทางรังสีวินิจฉัยเป็นสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี ซึ่งสามารถนำไปผสมในส่วนประกอบต่างๆ เพื่อขึ้นรูปสำหรับเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสี โดยเฉพาะผสมกับ epoxy resin ที่มีคุณสมบัติขึ้นรูปง่ายและส่วนผสมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นวัสดุกันรังสีดังกล่าวจะสามารถป้องกันรังสีในระดับพลังงานต่ำได้ และมีข้อดีในการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต น้ำหนักเบา ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถประยุกต์ขึ้นรูปในการสร้างเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสีในส่วนต่างๆของร่างกายได้ และผลลัพธ์สุดท้ายจะสามารถนำไปจดขออนุสิทธิบัตรที่ว่าด้วย เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) :
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้ 

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
   1) อาจารย์ภายในคณะร่วมกันวางแผนดำเนินการต่างๆ สำหรับการแนวทางการเขียนขอทุนนวัตกรรมและสร้างผลงานนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค
   2) อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เตรียมสร้างผลงานนวัตกรรมรวมถึงขออนุสิทธิบัตร
   3) เริ่มเตรียมบทความฉบับสมบูรณ์ (manuscripts) สำหรับส่งตีพิมพ์บทความ
   4) อาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์บทความและได้เลขอนุสิทธิบัติ จะมีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ภายในคณะสามารถอภิปราย แลกเปลี่ยน ซักถาม ได้

2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ประโยชน์ต่อบุคลากร

    1) เพื่อให้เป็นแนวทางการสร้างนวัตกรรมวิจัยและขออนุสิทธิบัตร
    2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างที่หลากหลาย
ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย

    1) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีคุณภาพและสามารถพัฒนาผลงานทางวิชาการในรูปแบบนวัตกรรมวิจัย ร่วมถึงยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นที่รู้จักกว้างขว้างมากขึ้น
    2) คณาจารย์คณะรังสีเทคนิคมีความรู้ด้านงานวิจัย และสอดคล้องกับแนวคิดงานวิจัยของมหาวิทยาลัย 

3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
    การพาณิชย์: องค์ความรู้และเทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี ทำให้เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) ในทางพาณิชย์ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนหรือหน่วยงานร่วมดำเนินการวิจัย

    ภายในมหาวิทยาลัย: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้านและสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

         ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและคณะรังสีเทคนิคในทางด้านวิชาการ: ความรู้เกี่ยวกับวัสดุป้องกันรังสีชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ผลการศึกษาจะทำได้ได้วัสดุที่ผลิตจากสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันรังสีได้เทียบเท่าตะกั่ว ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการสร้างวัสดุกันรังสีภายในประเทศและองค์ความรู้สามารถต่อยอดในงานวิจัยได้หลายด้าน และสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้ทาง radiation protection
         ประโยชน์ในนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม: วัสดุป้องกันรังสีดังกล่าวเป็นชนิดที่ปราศจากตะกั่ว ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสร้างแนวคิดทางนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปใช้ในระดับคลินิกและเพิ่มประสิทธิภาพของนวัตกรรมของไทย โดยกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ได้แก่ ทีมผู้วิจัย, ภาคเอกชน, สหวิชาชีพที่อยู่ในสาขารังสีวิทยา รวมถึงสถานที่มีการใช้อุปกรณ์กันรังสี