รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 1.1.4, KR 3.4.1

การลดระยะเวลาโดยการใช้ Flow Chart
ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ

ผู้จัดทำโครงการ​

นายกิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย

สำนักงานมาตรฐานวิชาการ

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้​

1. หลักการและเหตุผล / ความสำคัญ / ประเด็นปัญหา *
          สำนักงานมาตรฐานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เนื่องจากสำนักงานมาตรฐานวิชาการมีหน้าที่รับผิดชอบงานตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ได้ผลิตผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น ตลอดจน ให้อาจารย์ได้ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับงานสอน โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเสนอผลงานผ่านคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเบื้องต้นฯ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชการ และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับ ตลอดจนมีการสนับสนุนให้อาจารย์ผลิต ผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง สำนักงานฯ เห็นว่าการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมีความสำคัญ และควรมีขั้นตอนในการปฏิบัติในแต่ละช่วงให้ชัดเจน เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยการใช้ Flow Chart ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ จึงได้จัดทำเป็นกรอบในการทำงาน Flow Chart เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงขั้นตอน ระยะเวลาในการดำเนินการ และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินการในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างชัดเจน จึงได้กำหนดระยะเวลาในการการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

2. ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
        จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดแนวคิดเพื่อเป็นการสนับสนุน และส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับระเบียบ คำสั่ง แนวปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนหน้านี้ขั้นตอนและกระบวนการในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการอาจใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างล่าช้า ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการในการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และได้มีการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการทำงานจากที่ประชุม Corrective Action Committee เพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานตำแหน่งทางวิชาการ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ได้ โดยการลดระยะเวลาในการดำเนินงานขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสามารถเห็นขั้นตอน และกระบวนการในการดำเนินการในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

ประเภทความรู้และที่มาความรู้

ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : สำนักงานมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ดำเนินการเอง
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : เจ้าของความรู้

วิธีการดำเนินการ

1. วิธีการดำเนินการ
    1. จัดทำ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดและกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ

    2. ดำเนินการเผยแพร่ Flow Chart ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านเว็บไซด์ของสำนักงานมาตรฐานวิชาการ ในงานตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้รับทราบรายละเอียดและขั้นตอนในการขอตำแหน่งทางวิชาการ และสามารถนำไปดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
    3. ดำเนินงานตามกรอบและระยะเวลา

2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
    1. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ขั้นตอน และกระบวนการต่างๆ ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ

    2. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเกิดความสะดวก รวดเร็ว และสามารถทราบระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
    3. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสามารถที่จะวางแผนในการดำเนินการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้
    4. ผลการดำเนินการตาม Flow Chart ระยะเวลาในการดำเนินงานขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจะลดลง ในปัจจุบันใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ
8-9 เดือน
    5. ผู้ทรงคุณวุฒิบางสาขาค่อนข้างหายาก และมีภารกิจค่อนข้างมาก มีผลต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการประเมิน

3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
     จากการดำเนินงาน โดยการกำหนดระยะเวลาตาม Flow Chart ในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ผ่านมานั้น และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการโดยเฉลี่ยไม่เกิน 270 วัน นับจากวันที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการยื่นเรื่องมาที่สำนักงานมาตรฐานวิชาการ
     ดังนั้น หากมีผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้ระยะเวลาที่น้อยลงตามรายละเอียด จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์มีความสนใจในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น และได้พัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และเป็นการส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชา ของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้อาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น 

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice

          ควรต้องมีการพิจารณาการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการว่าจะสามารถลดระยะเวลาในช่วงใดได้อีก เพื่อให้ระยะเวลาในการดำเนินงานเร็วขึ้น

Scroll to Top