รางวัลชมเชย ปีการศึกษา 2565
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : KR 3.3.3
กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation
จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ผู้จัดทำโครงการ
อาจารย์นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร
ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ/ความรู้ที่เป็นประเด็นสำคัญที่นำมาใช้
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานในระดับประเทศจาก สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งอาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการของศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนําข้อมูลของห้องปฏิบัติการนี้ไปดําเนินการเพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัยจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้
ประเภทความรู้และที่มาความรู้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) : จากการลงมือปฏิบัติจริง
ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) : นำประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในระบบมาตรฐานอื่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน
วิธีการดำเนินการ
1. วิธีการดำเนินการ
1. ถ่ายรูปห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย (Lab safety)
2. ทำการประเมินห้องปฏิบัติการในระบบ ESPReL check list ตามข้อกำหนดของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( ESPReL check list จากจำนวนข้อกำหนด 162 ข้อ 7 องค์ประกอบ การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation มีข้อกำหนดพื้นฐาน 137 ข้อ)
3. นำคะแนนจาก ESPReL check list ที่ได้มาวิเคราะห์ Gap Analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ
4. ดำเนินการตาม gap analysis โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
4.1 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายใน 6 เดือนแรก
4.1.1 จัดทำนโยบาย แผนการดำเนินงาน โครงสร้างการบริหารจัดการความปลอดภัยและตั้ง ทีมงานดำเนินการ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
4.1.2 จัดทําระบบบันทึกข้อมูลสารเคมี ทำบัญชีรายการวัสดุห้องปฏิบัติการ สารเคมี และ แยกประเภทสารเคมีตามความเป็นอันตรายในระบบ GHS และสารที่ไม่สามารถเข้ากันได้ จัดหาภาชนะรองรับสารเคมีที่เหมาะสม กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บสารเคมี จัดทํารายงานความเคลื่อนไหวสารเคมี แนวปฏิบัติในการจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว จัดหาอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสารเคมี จัดหา spill kit หรืออุปกรณ์ทดแทนที่เหมาะสมในกรณีสารเคมีหกรั่วไหล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) ข้อกำหนดในการจัดเก็บแก็ส ติดตั้งอุปกรณ์ห้องเก็บแก๊ส จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน quality procedure/ work Instruction/ safety data sheet (SDS)
4.1.3 การจัดการข้อมูลของเสีย การบันทึกข้อมูลของเสีย การรายงานข้อมูล การแยก ประเภทของเสีย การเก็บบรรจุของเสีย การตรวจสอบภาชนะบรรจุ เขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) การลดการเกิดของเสีย การบำบัดและกำจัดของเสีย
4.1.4 จัดทําระเบียบปฏิบัติในการใช้งานเครื่องมือทุกชนิดในห้องปฏิบัติการ ทำ Preventive Maintenance เครื่องมืออุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ยกเลิกการใช้งานปลั๊กพ่วงและเขียนระเบียบปฏิบัติ (Work Instruction) ในกรณีที่ต้องใช้งานปลั๊กพ่วง
4.1.5 การป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย จัดทําแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติและภาวะ ฉุกเฉิน ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน จัดทําแบบประเมิน/ รายงานความเสี่ยงรายบุคคลและห้องปฏิบัติการ จัดทํารายงานอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ จัดทำและบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการให้เข้มงวด
4.1.6 อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ แม่บ้าน และนักศึกษาผู้มาใช้บริการห้องปฏิบัติการ
4.2 ข้อกำหนดที่สามารถปฏิบัติได้ภายหลัง 6 เดือน
4.2.1 ขออนุมัติงบประมาณ จัดซื้อ ตู้เก็บกรด ตู้เก็บสารไวไฟ
4.2.2 ขออนุมัติงบประมาณซ่อมแซมพื้นห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้ เหมาะสมกับการใช้งาน
4.2.3 ประสานงานฝ่ายอาคารและสิ่งแวดล้อม ขอข้อมูลการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ระบบโครงสร้าง ระบบสุขาภิบาล ระบบระบายอากาศ ระบบฉุกเฉิน
5. ยื่นเอกสารการขอรับการตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยก่อนยื่นขอรับการตรวจประเมินให้พิจารณาดังนี้
5.1 เมื่อสามารถดำเนินการตาม Gap Analysis ครบถ้วน และเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่าทุกองค์ประกอบ ได้คะแนนเต็ม 100% สามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation ครบทุกองค์ประกอบได้
5.2 เมื่อดำเนินการตาม gap Analysis สำเร็จแล้วบางส่วน และเมื่อเข้าไปทำการประเมินห้องปฏิบัติการใน ESPReL check list แล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยทั้ง 7 องค์ประกอบได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80% โดยมีบางองค์ประกอบได้คะแนนเต็ม 100 % และจะต้องไม่มีองค์ประกอบใดเลยได้คะแนนน้อยกว่า 50% ก็จะสามารถยื่นขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน Peer Evaluation เป็นรายองค์ประกอบได้
6. ผู้ตรวจประเมิน จะทำการตรวจสอบเอกสารที่ยื่นขอรับการตรวจประเมิน และถ้าผู้ตรวจประเมิน พิจารณาแล้วว่าห้องปฏิบัติการนั้นมีความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถให้การรับรองมาตรฐานได้ จะทำการนัด วัน เวลาในการเข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการที่ยื่นขอการรับรอง
7. ในวันที่คณะผู้ตรวจประเมิน เข้าตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการ หัวหน้าห้องปฏิบัติการจะต้อง เตรียมเอกสารหลักฐานครบทั้ง 7 องค์ประกอบให้คณะผู้ตรวจประเมินตรวจสอบ และเตรียมบุคลากรที่ทำหน้าที่นำเสนอ ตอบคำถาม และพาคณะผู้ตรวจประเมินเข้าไปตรวจสอบในจุดต่างๆของห้องปฏิบัติการ เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานการจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย
8. เมื่อคณะผู้ตรวจประเมินทำการตรวจประเมินครบถ้วนแล้ว จะแจ้งสรุปผลการตรวจประเมิน ข้อบกพร่องและข้อสังเกตเบื้องต้นกับหัวหน้าห้องปฏิบัติการ
9. คณะผู้ตรวจประเมินจะจัดทำรายงานข้อบกพร่องและข้อสังเกตที่ตรวจพบ ส่งให้ห้องปฏิบัติการ ดำเนินการแก้ไข และระบุวันที่ต้องส่งรายงานการแก้ไข
10. ห้องปฏิบัติการ ต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่คณะผู้ประเมินตรวจพบ และจัดทำรายงานแก้ไข ข้อบกพร่อง พร้อมเอกสารที่แสดงการแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ส่งให้กับผู้ตรวจประเมินตามวันที่ระบุไว้ ส่วนข้อสังเกตสามารถดำเนินการแก้ไขและส่งพร้อมการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายหลังได้
11. คณะผู้ตรวจประเมิน ตรวจสอบการแก้ไข และสรุปผลการตรวจประเมิน ส่งให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พิจารณา
12. กรณีที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติออกใบรับรองมาตรฐานระบบ Peer Evaluation ใน 2 รูปแบบ คือ
1. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายองค์ประกอบ
2. ใบรับรองที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกองค์ประกอบ (7 องค์ประกอบ)
2. ผลการดำเนินการ การนำไปใช้ หรือการลงมือปฏิบัติจริง อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
ผลการดำเนินการ การลงมือปฏิบัติจริง
1. ภาพถ่ายก่อน/หลังดำเนินโครงการ
2. ประเมินผ่านระบบ ESPReL Checklist % ก่อนดำเนินโครงการ % หลังดำเนินโครงการ
1) การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย 33.3 100
2) ระบบการจัดการสารเคมี 67.5 100
3) ระบบการจัดการของเสีย 62.9 100
4) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ 2.4 100
5) ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย 49.2 100
6) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 3.7 100
7) การจัดการข้อมูลและเอกสาร 14.3 100
รวม 51.5 100
3. การตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
3.1 ผ่านการประเมินครบทั้ง 7 องค์ประกอบ
3.2 ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
4. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงาน
อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน
เนื่องจากต้องมีการขอเอกสารการตรวจโครงสร้าง ระบบอาคาร จากหน่วยงานอื่นทำให้การดำเนินงานมีความล่าช้า
3. การตรวจสอบผลการดำเนินการ การนำเสนอประสบการณ์นำไปใช้ สรุปและอภิปรายผล บทสรุปความรู้หรือความรู้ที่ค้นพบใหม่
1. การตรวจสอบผลการดำเนินการ
1.1 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยการประเมินตนเองภายหลังการดำเนินการ ตามข้อกำหนด ในระบบ EspreL checklist
1.2 ตรวจสอบผลการดำเนินการ โดยคณะผู้ตรวจประเมิน และนำข้อบกพร่องและข้อสังเกต จากคำแนะนำของผู้ตรวจประเมิน มาทำการแก้ไข
2. การนำเสนอประสบการการนำไปใช้
2.1 การได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในการประชุมประจำปีเครือข่ายวิจัย : ภาคกลาง วันที่ 5 เมษายน 2565 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
2.2 ได้รับเลือกให้นำเสนอผลการดำเนินงาน ในการประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2565 (ครั้งที่ 3) 10 พฤศจิกายน 2565 โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
สรุปอภิปรายผล บทสรุปความรู้
เมื่อทำตามขั้นตอนตามวิธีการดำเนินการ กลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยครบถ้วน ผลที่ได้รับคือ
1. ผ่านการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ
2. ได้รับใบรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
3. ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น และรับมอบทุนสนับสนุนการดำเนินงาน การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในอนาคต หรือการดำเนินการเพื่อสามารถนำไปสู่การเป็น Good Practice นั้น ปัจจัยในความสำเร็จของกลยุทธ์การขอรับรองมาตรฐาน Peer Evaluation จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นี้คือ หัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้ดูแลห้องปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วนทุกองค์ประกอบ องค์กรมีวัฒนธรรมความปลอดภัยและมีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย